รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออก

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย
(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟพัทยา)

รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายตะวันออก มีจำนวน 79 สถานี

หมายเหตุ: ที่หยุดรถ หมายถึง สถานีรถไฟที่ไม่มีอาคารสถานีและนายสถานีประจำ แต่อาจมีที่พักผู้โดยสารและที่ขายตั๋วแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจถูกยุบเลิกหรือตั้งใหม่ได้ ที่หยุดรถบางที่อาจไม่มีรถหยุดเลยแม้แต่รถธรรมดา สำหรับสถานีทุกแห่ง รถธรรมดาจะหยุดทุกสถานี

รถเร็ว จะหยุดเป็นบางสถานี รถด่วนและด่วนพิเศษ จะหยุดห่างขึ้นตามศักดิ์ของขบวน

รายชื่อสถานีรถไฟ

แก้

กรุงเทพ (หัวลําโพง) – ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก

แก้
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ รหัสสถานี ระยะทางจาก กท. ชั้นสถานี ที่ตั้ง หมายเหตุ
เลข ตัวย่อ ตำบล อำเภอ จังหวัด
กรุงเทพ – ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก
กรุงเทพ (หัวลําโพง) 1001 กท. 0.00 กม. พิเศษ รองเมือง ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

เริ่มต้นทางรถไฟสายตะวันออกที่สถานีนี้ ออกจากสถานีเป็นทางสาม ทางทีหนึ่งและสองเป็นทางสำหรับสายใต้ สายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ทางที่สามเป็นทางสำหรับไปสายแม่น้ำและสายตะวันออก จากสายตะวันออกมีทางแยกเฉพาะรถสินค้าไปสายตะวันออกเฉียงเหนือได้
ผ่านทางชุมทางคลองสิบเก้าจนถึงชุมทางแก่งคอย ซึ่งในบางครั้งจะมีรถโดยสารเดินเมื่อทางสายเหนือหรือสายตะวันออกเฉียงเหนือไม่สามารถเดินรถได้

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางกรุงเทพ (นตท.กท.)
อุรุพงษ์ 3102 รุ. 2.64 กม. ป้ายหยุดรถ ทุ่งพญาไท ราชเทวี
เมื่อพ้นจุดตัดทางรถไฟที่ถนนพระรามที่ 6 จะเริ่มเขตทางคู่ช่วงอุรุพงษ์-มักกะสัน โดยรางคู่ด้านซ้ายจะเป็นขบวนรถสินค้าและขบวน 376 จากสถานีรถไฟรังสิต
พญาไท 3103 ญท. 3.67 กม. ป้ายหยุดรถ ถนนพญาไท
มักกะสัน 3001 มส. 5.17 กม. 1 มักกะสัน

สิ้นสุดทางคู่ เริ่มเขตทางเดี่ยว ช่วงมักกะสัน-หัวหมาก และและมีทางแยกไปสถานีแม่น้ำและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางมักกะสัน (นตท.มส.)
อโศก 3105 อโ. 6.98 กม. ป้ายหยุดรถ
เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีมักกะสัน และรถไฟฟ้ามหานคร สถานีเพชรบุรี
คลองตัน 3009 คต. 9.85 กม. 2 บางกะปิ ห้วยขวาง
สุขุมวิท 71 3106 วท. 11.14 กม. ป้ายหยุดรถ สวนหลวง สวนหลวง
เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีรามคำแหง
หัวหมาก 3010 หม. 15.18 กม. 1

สิ้นสุดเขตทางเดี่ยว เริ่มเขตทางสาม ช่วงหัวหมาก-ชุมทางฉะเชิงเทรา และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีพัฒนาการ

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางหัวหมาก (นตท.หม.)
บ้านทับช้าง 3012 ทช. 20.87 กม. 2 ประเวศ ประเวศ
เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์บ้านทับช้าง
ซอยวัดลานบุญ 3013 ซว. 23.94 กม. ป้ายหยุดรถ ลาดกระบัง ลาดกระบัง
เชื่อมต่อกับวัดลานบุญ และ ถนนลาดกระบัง ซอย 1
ลาดกระบัง 3014 ะบ. 26.75 กม. 2

เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ลาดกระบัง

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางลาดกระบัง (นตท.ะบ.)
พระจอมเกล้า 3107 พม. 30.33 กม. ป้ายหยุดรถ
หัวตะเข้ 3015 หข. 30.91 กม. 1

เชื่อมต่อกับคณะวิทยาศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และโรงเรียนพรตพิทยพยัต

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางหัวตะเข้ (นตท.หข.)
บรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบัง 3016 ซด. 33.86 กม. พิเศษ คลองสามประเวศ
มีทางแยกเข้าไปที่สถานีหัวตะเข้ ตัวสถานีไม่อยู่ติดเส้นทางรถโดยสารตามปกติ จึงไม่มีการหยุดรับส่งผู้โดยสาร
คลองหลวงแพ่ง 3017 คพ. 39.50 กม. 3 ขุมทอง
สถานีสุดท้ายในเขตกรุงเทพมหานคร, มีพื้นที่ใกล้เคียงกับคลองหลวงแพ่ง และตำบลคลองหลวงแพ่ง ในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้กึ่งกลางคลองเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัด
คลองอุดมชลจร 3018 ดจ. 43.43 กม. ป้ายหยุดรถ คลองอุดมชลจร เมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา
เปรง 3019 คป. 46.49 กม. 3 คลองเปรง

เป็นต้นทาง/ปลายทางของขบวนรถปูนซีเมนต์ของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) ที่ 507/508 ระหว่างสถานีรถไฟเปรง – สถานีรถไฟหินลับ

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางเปรง (นตท.คป.)
คลองแขวงกลั่น 3020 แข. 51.02 กม. ป้ายหยุดรถ บางเตย
ที่หยุดรถใกล้กับตลาดคลองสวน 100 ปี
คลองบางพระ 3021 คบ. 53.99 กม. 3
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางคลองบางพระ (นตท.คบ.)
บางเตย 3022 งย. 57.10 กม. ป้ายหยุดรถ
ชุมทางฉะเชิงเทรา 3023 ฉท. 60.99 กม. 1 หน้าเมือง

สิ้นสุดทางสาม เริ่มเขตทางคู่ช่วง ชุมทางฉะเชิงเทราชุมทางคลองสิบเก้าชุมทางแก่งคอย ,
มีทางแยกไปสายตะวันออกใต้ ในเส้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทราบ้านพลูตาหลวง ,
เป็นสถานีปลายทางของขบวนพิเศษนำเที่ยวรถจักรไอน้ำขบวนที่ 903 กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา และเป็นต้นทางของรถจักรไอน้ำขบวนที่ 904 ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางฉะเชิงเทรา (นตท.ฉท.)
โพรงอากาศ 3053 โก. 74.53 กม. ที่หยุดรถ โพรงอากาศ บางน้ำเปรี้ยว
เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2528[1]
บางน้ำเปรี้ยว 3055 บย. 79.04 กม. 3 บางขนาก
ชุมทางคลองสิบเก้า 3057 สเ 85.60 กม. 3 โยธะกา

มีทางแยกไปเชื่อมต่อกับทางสายอีสานที่สถานีชุมทางแก่งคอย ในเส้นทาง ชุมทางคลองสิบเก้าชุมทางแก่งคอย และเป็นทางคู่ , เข้าเขตทางเดี่ยวช่วง ชุมทางคลองสิบเก้าด่านพรมแดนบ้านคลองลึก

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางคลองสิบเก้า (นตท.สเ.)
คลองยี่สิบเอ็ด 3058 เอ. 89.42 กม. ที่หยุดรถ
โยทะกา 3059 ยท. 93.73 กม. 3 บางเตย บ้านสร้าง ปราจีนบุรี
ชื่อสถานีนี้พ้องกับชือ "ตำบลโยธะกา" ของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ตัวสถานีรถไฟอยู่ในเขตตำบลบางเตย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
บ้านสร้าง 3061 สา. 101.53 กม. 2 บ้านสร้าง
หนองน้ำขาว 3063 งข. 109.49 กม. ที่หยุดรถ บางพลวง
เดิมเป็นที่หยุดรถ เปิดเป็นสถานีในวันที่ 10 มกราคม 2497[2]และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2528[3]
บ้านปากพลี 3064 าป. 115.28 กม. 3 ปากพลี ปากพลี นครนายก
ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
กับตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ใช้กึ่งกลางของทางรถไฟสายตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบล
โดยตัวสถานีอยู่ในเขตตำบลปากพลี[4] ด้านทางหลีกอยู่ในเขตตำบลวัดโบสถ์[5]
ปราจีนบุรี 3066 ปจ. 121.78 กม. 1 หน้าเมือง เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ตัวสถานีตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี[6][7], โดยยึดตามหลักเขตเทศบาลและหลักเขตตำบล[8]

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางปราจีนบุรี (นตท.ปจ.)
บ้านหนองกระจับ 3067 อะ. 126.25 กม. ป้ายหยุดรถ ดงพระราม
โคกมะกอก 3068 กอ. 131.00 กม. 3 โนนห้อม
ประจันตคาม 3070 จค. 137.65 กม. 2 ประจันตคาม ประจันตคาม
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางประจันตคาม (นตท.จค.)
หนองแสง 3071 หแ. 143.41 กม. ป้ายหยุดรถ หนองแสง
บ้านดงบัง 3072 ดบ. 146.73 กม. 3 ดงบัง
หนองศรีวิชัย 3125 ศิ. 148.91 กม. ป้ายหยุดรถ
บ้านพรมแสง 3073 พส. 151.85 กม. ที่หยุดรถ วังดาล กบินทร์บุรี
เคยเป็นสถานี ปัจจุบันลดระดับเป็นที่หยุดรถแล้ว
เกาะแดง 3074 เด. 156.15 กม. ที่หยุดรถ
กบินทร์บุรี 3075 กบ. 161.26 กม. 1 กบินทร์

สถานีตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลกบินทร์ ตำบลกบินทร์[9][10]

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางกบินทร์บุรี (นตท.กบ.)
กบินทร์เก่า 3076 กก. 165.50 กม. ที่หยุดรถ เมืองเก่า
หนองสัง 3077 อส. 172.71 กม. 3 บ้านนา
พระปรง 3081 พป. 183.76 กม. ที่หยุดรถ
เดิมเป็นที่หยุดรถ เปิดเป็นสถานีในวันที่ 15 ธันวาคม 2496[11] และยุบเป็นที่หยุดรถในภายหลัง
บ้านแก้ง 3083 นแ. 190.06 กม. 3 บ้านแก้ง เมืองสระแก้ว สระแก้ว
หลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้อาคารสถานีในปี 2555 จนถูกยุบเป็นที่หยุดรถไปช่วงหนึ่ง[12] ปัจจุบันมีการสร้างอาคารสถานีขึ้นใหม่ในโครงการปี 2562[13][14] ใช้แบบอาคารจากสถานีสีคิ้ว[15] และมีฐานะเป็นสถานี
ศาลาลำดวน 3085 ลด. 195.87 กม. ที่หยุดรถ ศาลาลำดวน
เคยเป็นสถานี ปัจจุบันลดระดับเป็นที่หยุดรถแล้ว, ตำบลศาลาลำดวนและตำบลโคกปี่ฆ้องใช้กึ่งกลางของทางรถไฟสายตะวันออกเป็นแนวแบ่งเขต[16] ตัวอาคารสถานีจึงอยู่ในเขตตำบลศาลาลำดวน ส่วนด้านทางหลีก (เดิม) อยู่ในเขตตำบลโคกปี่ฆ้อง
สระแก้ว 3087 ะก. 205.25 กม. 2 สระแก้ว
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางสระแก้ว (นตท.ะก.)
ศูนย์ราชการจังหวัดสระแก้ว 3089 ศก. 212.938 กม. ที่หยุดรถ ท่าเกษม
เป็นที่หยุดรถไฟ แต่ไม่ได้มีอยู่ในสารบบของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ท่าเกษม 3090 ทเ. 216.28 กม. ที่หยุดรถ
ห้วยโจด 3092 ยจ. 223.40 กม. ที่หยุดรถ ห้วยโจด วัฒนานคร
เดิมเป็นที่หยุดรถ เปิดเป็นสถานีในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2497[17] และยุบเป็นที่หยุดรถในภายหลัง
วัฒนานคร 3094 วค. 233.86 กม. 2 วัฒนานคร
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางวัฒนานคร (นตท.วค.)
บ้านโป่งคอม 3096 อม. 240.32 กม. ที่หยุดรถ ผักขะ
ห้วยเดื่อ 3097 หอ. 245.03 กม. ที่หยุดรถ
เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2519[18]
อรัญประเทศ 3100 อร. 254.50 กม. 1 อรัญประเทศ อรัญประเทศ
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางอรัญประเทศ (นตท.อร.)
ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 3130 ลง. 260.23 กม. 3
สุดทางรถไฟสายตะวันออกเหนือที่สถานีนี้ และเป็นสถานีรถไฟสุดท้ายในเขตประเทศไทย ก่อนเข้าสู่เขตกัมพูชาที่สถานีรถไฟปอยเปต

ชุมทางฉะเชิงเทรา – จุกเสม็ด

แก้
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ รหัสสถานี ระยะทางจาก กท. ชั้นสถานี ที่ตั้ง หมายเหตุ
เลข ตัวย่อ ตำบล อำเภอ จังหวัด
ชุมทางฉะเชิงเทรา – จุกเสม็ด
ชุมทางฉะเชิงเทรา 3023 ฉท. 60.99 กม. 1 หน้าเมือง เมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา
สถานีรถไฟประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา , มีทางแยกไปสายตะวันออกเหนือ ในเส้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทราด่านพรมแดนบ้านคลองลึก , เข้าเขตทางคู่ช่วง ชุมทางฉะเชิงเทราชุมทางศรีราชาแหลมฉบัง
แปดริ้ว 3025 แร. 62.87 กม. ที่หยุดรถ
ดอนสีนนท์ 3026 ดอ. 75.97 กม. 3 หนองตีนนก บ้านโพธิ์
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางดอนสีนนท์ (นตท.ดอ.)
พานทอง 3029 งท. 91.53 กม. 3 พานทอง พานทอง ชลบุรี
ชลบุรี 3032 ชบ. 107.79 กม. 1 บ้านสวน, หนองข้างคอก เมืองชลบุรี

กึ่งกลางอาคารสถานี เป็นเส้นแบ่งเขตตำบล อาคารสถานีจากจุดกึ่งกลางนับไปทางด้านเหนือ เป็นเขตตำบลบ้านสวน อาคารสถานีจากจุดกึ่งกลางนับไปทางด้านใต้ เป็นเขตตำบลหนองข้างคอก

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางชลบุรี (นตท.ชบ.)
บางพระ 3034 ระ. 121.31 กม. 3 บางพระ ศรีราชา

เชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ และตลาดหินเพิง

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางบางพระ (นตท.ระ.)
เขาพระบาท 3035 ขะ. 125.35 กม. ที่หยุดรถ
เชื่อมต่อกับ ถนนสุขุมวิท
ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ที่หยุดรถ
เชื่อมต่อกับ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
ชุมทางศรีราชา 3036 ศช. 130.60 กม. 1 สุรศักดิ์

มีทางคู่แยกไปท่าเรือแหลมฉบัง ในเส้นทาง ชุมทางศรีราชาแหลมฉบัง และเป็นทางเดี่ยวจนถึงท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งบริเวณนั้นจะมีที่ตั้งของโรงรถจักร CSR , เข้าเขตทางเดี่ยวช่วง ชุมทางศรีราชา – ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางศรีราชา (นตท.ศช.)
บางละมุง 3039 มุ. 144.08 กม. 1 บางละมุง บางละมุง
มีทางแยกเข้าคลังก๊าซ ปตท. สถานีรถไฟบางละมุงเป็นต้นทางของขบวนรถสินค้าบรรทุกแก๊สที่มีปลายทางไปยัง สถานีรถไฟสำราญ และสถานีรถไฟนครสวรรค์ (ในอดีตเคยมีขบวนรถขนแก๊สไปยังปลายทางนครลำปาง)
พัทยา 3041 พา. 155.14 กม. 2 นาเกลือ

สถานีรถไฟในเขตเมืองพัทยา

  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางพัทยา (นตท.พา.)
พัทยาใต้ 3042 ใต. 158.82 กม. ที่หยุดรถ
ตลาดน้ำ 4 ภาค 3124 ตภ. 163.00 กม. ที่หยุดรถ
ตัวชานชลาอยู่ติดกับตลาดน้ำ 4 ภาค มีขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 997/998 (กรุงเทพ–จุกเสม็ด–กรุงเทพ) หยุดรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหยุดรถนี้ในวันเสาร์ อาทิตย์
บ้านห้วยขวาง 3043 ยข. 168.34 กม. 3 ห้วยใหญ่
ญาณสังวราราม 3123 ญส. 171.10 กม. ที่หยุดรถ นาจอมเทียน สัตหีบ
สวนนงนุช 3044 นุ. 174.09 กม. ที่หยุดรถ
ตัวชานชลาอยู่ในสวนนงนุช, มีขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 997/998 (กรุงเทพ–จุกเสม็ด–กรุงเทพ) หยุดรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหยุดรถนี้ในวันเสาร์ อาทิตย์
ชุมทางเขาชีจรรย์ 3045 ชจ. 180.00 กม. 3 บางเสร่
มีทางคู่แยกไปสถานีรถไฟมาบตาพุด จังหวัดระยอง ในเส้นทาง ชุมทางเขาชีจรรย์มาบตาพุด และเป็นทางเดี่ยว
บ้านพลูตาหลวง 3047 พต. 184.03 กม. 3 พลูตาหลวง
อู่ตะเภา 3048 อต. 189.00 กม. สัตหีบ
จุกเสม็ด 3049 จเ. 195.00 กม. 1

ชุมทางศรีราชา – แหลมฉบัง (ศช.–ฉบ.)

แก้
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ รหัสสถานี ระยะทางจาก กท. ชั้นสถานี ที่ตั้ง หมายเหตุ
เลข ตัวย่อ ตำบล อำเภอ จังหวัด
ชุมทางศรีราชา – ท่าเรือแหลมฉบัง
ชุมทางศรีราชา 3036 ศช. 130.60 กม. 1 สุรศักดิ์ ศรีราชา ชลบุรี
แหลมฉบัง 3037 ฉบ 139.85 กม. 1 ทุ่งสุขลา

ชุมทางเขาชีจรรย์ – มาบตาพุด (ชจ.–าพ.)

แก้
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ รหัสสถานี ระยะทางจาก กท. ชั้นสถานี ที่ตั้ง หมายเหตุ
เลข ตัวย่อ ตำบล อำเภอ จังหวัด
ชุมทางเขาชีจรรย์ – มาบตาพุด
ชุมทางเขาชีจรรย์ 3045 ชจ. 180.00 กม. 3 บางเสร่ สัตหีบ ชลบุรี
ตรงไปในเส้นทางเดิม คือ สายตะวันออกใต้ สุดเส้นทางที่สถานีจุกเสม็ดที่กำลังก่อสร้างใหม่
บ้านฉาง 3110 บฉ. 192.25 กม. 3 บ้านฉาง บ้านฉาง ระยอง
มาบตาพุด 3115 าพ. 200.48 กม. 2 มาบตาพุด เมืองระยอง
ในอดีตนั้น การรถไฟฯ เคยมีโครงการทางรถไฟไปจังหวัดตราด แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องงบประมาณ จึงถูกยกเลิกโครงการไปในที่สุด

ชุมทางคลองสิบเก้า – ชุมทางแก่งคอย (สเ.–กค.)

แก้
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ รหัสสถานี ระยะทางจาก กท. ชั้นสถานี ที่ตั้ง หมายเหตุ
เลข ตัวย่อ ตำบล อำเภอ จังหวัด
ชุมทางคลองสิบเก้า – ชุมทางแก่งคอย
ชุมทางคลองสิบเก้า 3057 สเ. 85.60 กม. 3 โยธะกา บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา
ยังอยู่ในเขตทางคู่ช่วง ชุมทางฉะเชิงเทราชุมทางคลองสิบเก้าชุมทางแก่งคอย , ตรงไปในเส้นทางเดิม คือ สายตะวันออกเหนือ ซึ่งจะเข้าเขตทางเดี่ยว สุดเส้นทางที่สถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึก
องครักษ์ 3118 อษ. 115.00 กม. 3 คลองใหญ่ องครักษ์ นครนายก
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางองครักษ์ (นตท.อษ.)
วิหารแดง 3120 วแ. 138.40 กม. 3 หนองสรวง วิหารแดง สระบุรี
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการนายตรวจทางวิหารแดง (นตท.แว.)
เข้าอุโมงค์พระพุทธฉาย ยาว 1197.00 เมตร กม.147+102.046 ถึง กม.148+299.046
บุใหญ่ 3121 ให. 149.00 กม. 3 ห้วยแห้ง แก่งคอย สระบุรี
ชุมทางบ้านไผ่นาบุญ 3122 บญ. 162.811 กม. 3 ตลิ่งชัน เมืองสระบุรี
เป็นสถานีที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ในโครงการรถไฟทางคู่ช่วง ชุมทางคลองสิบเก้าชุมทางแก่งคอย โดยมี Chord line ที่เป็นทางแยกออกซ้ายไปเชื่อมกับสาย ชุมทางบ้านภาชีนครราชสีมาอุบลราชธานี หรือสายอีสานใต้ที่สถานีชุมทางหนองบัว
ชุมทางหนองบัว 2009 นบ. 119.24 กม. 3
เป็นสถานีที่แยกไปทางด้านซ้าย จากสถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ
ชุมทางแก่งคอย 2011 กค. 125.10 กม. 1 แก่งคอย แก่งคอย
เป็นสถานีที่แยกไปทางด้านขวาจากสถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ, เชื่อมบรรจบกับเส้นทาง ชุมทางบ้านภาชีนครราชสีมาอุบลราชธานี หรือสายอีสานใต้ที่สถานีแห่งนี้

มักกะสัน – แม่น้ำ (มส.–มน.)

แก้
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ รหัสสถานี ระยะทางจาก กท. ชั้นสถานี ที่ตั้ง หมายเหตุ
เลข ตัวย่อ แขวง เขต จังหวัด
มักกะสัน – แม่น้ำ
มักกะสัน 3001 มส. 5.17 กม. 1 มักกะสัน ราชเทวี กรุงเทพมหานคร
แม่น้ำ 3002 มน. 9.87 กม. 1 ช่องนนทรี ยานนาวา
ใช้ประแจกลสายลวด สัญญาณไฟสีสองท่า และห่วงตราทางสะดวกควบคุมการเดินรถ ตัวสถานีไม่ได้อยู่ติดเส้นทางรถโดยสารปกติ จึงไม่มีการหยุดรับส่งผู้โดยสาร แต่มีการจองตั๋วรถโดยสารเหมือนกันกับสถานีทั่วไป
ท่าเรือใหม่ 3003 รห. 14.00 กม. พิเศษ คลองเตย คลองเตย
ถัดไปเป็นลานกองคอนเทนเนอร์ (CY) บนเส้นทางสายแม่น้ำ
โรงกลั่นน้ำมันบางจาก 3004 งจ. 22.00 กม. พิเศษ พระโขนงใต้ พระโขนง
ตั้งอยู่ในพื้นที่หวงห้ามของบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ขบวนรถที่ไปถึงที่แห่งนี้ต้องเป็นขบวนรถน้ำมันเท่านั้น

อ้างอิง

แก้
  1. "ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2528 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ณ สมุดเลขรหัส แทนชื่อสถานีและที่หยุดรถ เริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2528
  2. "คำสั่ง ยกที่หยุดรถหนองน้ำขาว เป็นสถานีไม่มีทางสะดวก". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14. วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2497
  3. "ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2528 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ณ สมุดเลขรหัส แทนชื่อสถานีและที่หยุดรถ เริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2528
  4. "แผนที่ดินและสารสนเทศดินระดับตำบลในตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก". กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน. สืบค้นวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565
  5. "แผนที่ดินและสารสนเทศดินระดับตำบลในตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี". กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน. สืบค้นวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565
  6. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (48 ก): 676–681. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2499
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (159 ก): (ฉบับพิเศษ) 20-25. วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516
  8. "แผนที่ดินและสารสนเทศดินระดับตำบลในตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี". กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน. สืบค้นวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 30-31. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498
  10. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลกบินทร์ จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ๒๕๐๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (16 ก): 460–463. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
  11. "คำสั่งยกที่หยุดรถด่านพระปรง สายตะวันออก เป็นสถานีไม่มีทางสะดวก". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14. วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2496
  12. สถานีรถไฟบ้านแก้งอายุกว่า 100 ปี วอดทั้งหลัง
  13. "การจ้างงานก่อสร้างอาคารสถานีบ้านแก้ง (จำนวน 1 หลัง) ที่ย่านสถานีบ้านแก้ง แขวงบำรุงทางวัฒนานคร กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา ศูนย์บำรุงทางภาคกลาง ฝ่ายการช่างโยธา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  14. "ร่างขอบเขตของงาน การก่อสร้างอาคารสถานีรถไฟบ้านแก้ง (จำนวน ๑ หลัง) ที่ย่านสถานีบ้านแก้ง แขวงบำรุงทางวัฒนานคร กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา ศูนย์บำรุงทางภาคกลาง ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  15. "รายการประกอบแบบและข้อกำหนดทั่วไป – แบบอาคารสถานีสีคิ้ว" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (133 ง): 2224–2226. วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2515
  17. "คำสั่งยกที่หยุดรถห้วยโจด กม. 223 เป็นสถานีไม่มีทางสะดวก". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497
  18. "ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้