อุโมงค์พระพุทธฉาย

อุโมงค์พระพุทธฉาย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 8 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์เพียงแห่งเดียวในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก มีความยาวรองจากอุโมงค์ขุนตานเพียงแห่งเดียว ตัวอุโมงค์ยาว 1,197 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต รูปแบบก่อสร้างเป็นรูปเกือกม้า กว้าง 7 เมตร สูง 5.5 เมตร ใช้หมอนคอนกรีตและรางเชื่อม 100 ปอนด์[1] ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟบุใหญ่ กับสถานีรถไฟวิหารแดง ในเขตตำบลพระฉาย อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

อุโมงค์พระพุทธฉาย

การก่อสร้าง แก้

อุโมงค์พระพุทธฉาย เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2536 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ด้วยงบประมาณ 127.5 ล้านบาท เปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2538 [2] นับเป็นอุโมงค์รถไฟลอดฝีมือคนไทยที่ยาวที่สุด[3]

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างให้บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด ดำเนินโครงการงานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟทางคู่ "อุโมงค์พระพุทธฉายแห่งที่สอง" (ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย สัญญาที่ 2 ช่วงอุโมงค์พระพุทธฉาย) โดยเทคนิค New Austrian tunneling method (NATM) [4]

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติอุโมงค์ขุนตาน และการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-10-08.
  2. http://www.yimsiam.com/club/board/topicRead.asp?wbID=civil-srt&id=000006[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.wahwoon.com/board/index.php?topic=2680.0[ลิงก์เสีย]
  4. https://www.matichon.co.th/news/564578

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

14°24′41″N 101°00′33″E / 14.411275°N 101.009106°E / 14.411275; 101.009106