ทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก
ทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก[1][2][note 1] หรือ ทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา–สัตหีบ[3] เป็นเส้นทางเดินรถไฟทางไกลระหว่างจังหวัดของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยสองช่วงหลักคือ ชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางแก่งคอย[1] และ ชุมทางฉะเชิงเทรา-ท่าเรือแหลมฉบัง[2]-ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ-ท่าเรือมาบตาพุด โดยมีช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางคลองสิบเก้า ซ้อนทับกับทางรถไฟสายตะวันออก[note 2][1]
ทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก | |
---|---|
![]() | |
![]() ขบวนพิเศษที่ 1151-1152 กรุงเทพ - มาบตาพุด - ฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย - กรุงเทพ ขณะผ่านสถานีญาณสังวราราม | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดให้บริการ / ก่อสร้างส่วนต่อขยาย |
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ปลายทาง |
|
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | รถไฟระหว่างเมือง |
ระบบ | รถไฟทางไกล ของการรถไฟแห่งประเทศไทย |
ผู้ดำเนินงาน | การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนในส่วน ของสถานีขนถ่ายสินค้า |
ศูนย์ซ่อมบำรุง | โรงรถจักรดีเซลแก่งคอย |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 269.38 กม. (167.38 ไมล์) |
รางกว้าง | ราง 1 เมตร ทางเดี่ยว (ระหว่างโครงการก่อสร้างทางคู่) |
ประวัติแก้ไข
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2512 รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี เพื่อก่อสร้างทางรถไฟระหว่างสถานีฉะเชิงเทรา - สัตหีบ[4] ในปีพ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2520 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการสำรวจ วางแนวเขต และเวนคืนที่ดินในบริเวณแนวที่จะก่อสร้าง และได้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2524 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528[5] ต่อมา วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ได้มีพิธีเปิดทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างเป็นทางการ หลังทางรถไฟช่วงชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย สร้างแล้วเสร็จ โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานในพิธีเปิด ที่สถานีรถไฟญาณสังวราราม[6]
รายชื่อสถานีแก้ไข
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ | ชื่อภาษาอังกฤษ | เลขรหัส | ระยะทางจาก กท. | ชั้นสถานี | ตัวย่อ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
ชุมทางฉะเชิงเทรา - ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ | ||||||
ชุมทางฉะเชิงเทรา | Chachoeng Sao Junction | 3023 | 60.99 กม. | 1 | ฉท. | |
แปดริ้ว | Paet Riu | 3025 | 62.87 กม. | * | แร | |
ดอนสีนนท์ | Don Si Non | 3026 | 75.97 กม. | 3 | ดอ. | |
พานทอง | Phan Thong | 3029 | 91.53 กม. | 3 | งท. | เข้าเขตจังหวัดชลบุรี |
ชลบุรี | Chon Buri | 3032 | 107.79 กม. | 1 | ชบ. | |
แสนสุข | Saen Sook | 3033 | 114.46 กม. | * | แน. | |
บางพระ | Bang Phra | 3034 | 121.31 กม. | 3 | ระ. | |
เขาพระบาท | Khao Phrabat | 3035 | 125.35 กม. | * | ขะ. | |
ชุมทางศรีราชา | Si Racha Junction | 3036 | 130.60 กม. | 2 | ศช. | |
บางละมุง | Bang Lamung | 3039 | 144.08 กม. | 2 | มุ. | |
พัทยา | Pattaya | 3041 | 155.14 กม. | 3 | พา. | |
พัทยาใต้ | Pattaya Tai | 3042 | 158.82 กม. | * | ใต. | |
ตลาดน้ำสี่ภาค พัทยา | Pattaya Floating Market | 3124 | 163.00 กม. | * | ตภ. |
เป็นป้ายหยุดรถที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว |
บ้านห้วยขวาง | Ban Huai Kwang | 3043 | 168.34 กม. | 3 | ยข. | |
ญาณสังวราราม | Yanasangwararam | 3123 | 171.10 กม. | * | ญส. | อดีตเคยเป็นสถานีไม่มีทางสะดวก แต่มีรางตัน 1 ราง ปัจจุบันลดระดับเป็นที่หยุดรถ |
สวนนงนุช | Suan Nong Nuch | 3044 | 174.09 กม. | * | นุ. | |
ชุมทางเขาชีจรรย์ | Kao Chi Chan Junction | 3045 | 180.00 กม. | 3 | ชจ. | มีทางแยกไปสายมาบตาพุด |
บ้านพลูตาหลวง | Ban Plu Ta Luang | 3047 | 184.03 กม. | 3 | พต. | |
อู่ตะเภา | U-Tapao | 189.00 กม. | 2 | สามารถเดินทางไปสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาได้ | ||
แสมสาร | Samaesarn | 3048 | 191.09 กม.[7] | ** | ||
แจมโบรี | Jamboree | 3049 | 193.09 กม.[8] | ** | แโ | สร้างขึ้นเฉพาะกิจเพื่อรองรับงานชุมนุมลูกเสือโลกในอดีต ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว |
จุกเสม็ด | Chuk Samet | 195.00 กม. | 2 | สถานีรถไฟประจำอำเภอสัตหีบ
และเป็นสถานีสิ้นสุดปลายทาง ตัวสถานีใกล้กับเรือหลวงจักรีนฤเบศร์ หาดนางรำ หาดนางรอง และหาดน้ำใส | ||
ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ | Sattahip Port | 3050 | 195.50 กม. | พิเศษ | หบ. |
โครงการส่วนต่อขยายแก้ไข
ช่วงฉะเชิงเทรา - ท่าเรือแหลมฉบังแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ช่วงฉะเชิงเทรา - แก่งคอย และทางเลี่ยงเมืองแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงแก้ไข
สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง | |
---|---|
สะพานทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก มองจากฝั่ง ต.หน้าเมือง | |
พิกัด | 13°41′45″N 101°05′27″E / 13.6958°N 101.0907°E |
เส้นทาง | ทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก กม. 64+094.653 - 64+958.245 |
ข้าม | แม่น้ำบางปะกง |
ที่ตั้ง | ตำบลบางไผ่ และ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ชื่ออื่น | สะพานยกระดับบางปะกง |
ผู้ดูแล | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
เหนือน้ำ | เขื่อนบางปะกง |
ท้ายน้ำ | สะพานฉะเชิงเทรา |
ข้อมูลจำเพาะ | |
วัสดุ | คอนกรีตเสริมแรง |
ความยาว | 1,743.20 เมตร (5,719.2 ฟุต) |
ความลึกของน้ำ | 16 เมตร (52 ฟุต) |
ช่วงยาวที่สุด | 30 เมตร (98 ฟุต) |
จำนวนช่วง | 105 |
จำนวนตอม่อ | 5 |
ที่ตั้ง | |
สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง[9] หรือที่เรียกว่า สะพานยกระดับบางปะกง[10] อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 64+094.653 ถึง กิโลเมตรที่ 64+958.245 ตั้งอยู่ระหว่างที่หยุดรถแปดริ้ว และสถานีดอนสีนนท์ สะพานมีความยาวประมาณ 1743.20 เมตร ประกอบด้วยสะพานเดิม และสะพานใหม่สร้างคู่ขนานกันไปสำหรับเดินรถข้ามแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามจุดหนึ่งบนเส้นทาง สามารถมองเห็นภาพมุมกว้างของตัวเมืองฉะเชิงเทราริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงได้รอบทิศทาง โดยสามารถนั่งรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก และรถไฟนำเที่ยวขบวนพิเศษเพื่อข้ามสะพานและชมวิวทิวทัศน์[11]
สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกนั้นถือเป็นสะพานยกระดับผ่านช่วงเมืองแห่งแรก ๆ ของประเทศไทยที่มีการก่อสร้างขึ้น ซึ่งช่วงหนึ่งของสะพานก่อสร้างเป็นทางโค้งที่มีลักษณะที่สวยงามซึ่งถือเป็นจุดชมวิวสำคัญอีกแห่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการนั่งรถไฟ[12] และนับเป็นสะพานยกระดับที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออกของประเทศไทย[10]
ลักษณะของสะพาน ใช้ตอม่อแบบเสากลมคู่ขนาน มีตอม่อทั้งสิ้นจำนวน 105 ช่วง อยู่ในแม่น้ำบางปะกงทั้งหมด 5 ช่วง ซึ่งช่วงในแม่น้ำบางปะกงระยะห่างแต่ละช่วงประมาณ 30 เมตร[9]
หมายเหตุแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 โครงการทางคู่ เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย เก็บถาวร 2015-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ↑ 2.0 2.1 โครงการทางคู่ เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – ศรีราชา – แหลมฉบัง เก็บถาวร 2016-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ↑ "พระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอพานทอง อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา–สัตหีบ พ.ศ. 2540" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (66 ก): 25. 10 พฤศจิกายน 2540.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอพานทอง อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๑๒ (เพื่อสร้างทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา - แหลมฉบัง - สัตหีบ)
- ↑ ประวัติแขวงบำรุงทางศรีราชา บล็อกของ สมบุญ ธรรมวรางกูร
- ↑ รายงานประจำปีการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3104&postdays=0&postorder=asc&start=80
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3104&postdays=0&postorder=asc&start=80
- ↑ 9.0 9.1 การรถไฟแห่งประเทศไทย. รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก : ศรีราชา-ฉะเชิงเทรา. หน้า 2-35
- ↑ 10.0 10.1 รักพล สาระนาค. (2553). Seaside Express จากแก่งคอย สู่มาบตาพุด Nature Explore, (125), 78-81
- ↑ "ตะลอนทัวร์อิ่มบุญ อิ่มอร่อย ช้อปคุ้ม เสริมสิริมงคลรับปีใหม่ ด้วยขบวนรถ KIHA 183". kapook.com. 2023-01-02.
- ↑ panyanut(cherry) (2022-12-04). "พา 'เข้าโค้ง' ชมสารพัดโค้งตามเส้นทางรถไฟในไทยที่แฟนพันธุ์แท้คัดมาให้แล้วว่าต้องไปชม". The Cloud.