คลองหลวงแพ่ง เป็นคลองชลประทานที่เชื่อมต่อระหว่างคลองประเวศบุรีรมย์กับคลองนครเนื่องเขต ขุดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันคลองหลวงแพ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตหนองจอกและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร กับอำเภอบางน้ำเปรี้ยวและอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

คลองหลวงแพ่งช่วงตัดกับคลองประเวศบุรีรมย์

ประวัติ

แก้

คลองหลวงแพ่งขุดตั้งแต่คลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งเหนือขึ้นไปถึงคลองนครเนื่องเขตเป็นระยะทาง 383 เส้น 15 วา (15.35 กิโลเมตร)[1] กว้าง 4 วา ลึก 3 ศอก ยืนขึ้นไปจากคันคลองฝั่งละ 26 เส้น เริ่มขุดระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2431 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2433 โดยหลวงแพ่งซึ่งเป็นกรมการเมืองนครเขื่อนขันธ์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขุดคลองที่ตำบลทุ่งกาหลง ฝั่งเหนือ แขวงนครเขื่อนขันธ์[2]

ในครั้งนั้นหลวงแพ่งมีหน้าที่ดูแลการจับจองที่ดินทำกินและเก็บค่าจับจองจากราษฎร แต่หลังจากลงทุนได้สักพักก็ประสบปัญหาด้านการเงินเพราะต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ทำให้ขุดไม่สำเร็จ[3]

การใช้พื้นที่

แก้

ตลาดหลวงแพ่งตั้งอยู่บริเวณสามแยกที่คลองประเวศบุรีรมย์ตัดกับคลองหลวงแพ่ง ในอดีตตลาดแห่งนี้รุ่งเรืองมาก เรียกได้ว่ามีร้านค้า 100 ห้องก็เต็มทุกห้อง ค้าขายของกินของใช้ ร้านทองในย่านนี้มีมากกว่า 10 ร้าน มีเรือมาจอดเทียบฝั่งคึกคักทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ปัจจุบันมีร้านค้าเปิดอยู่ไม่กี่คูหา[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "คลองขุดในประเทศไทย". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-19. สืบค้นเมื่อ 2022-08-21.
  2. "รัชกาลที่ 5 ทรงอนุญาตขุด "คลองรังสิต" ในทุ่งหลวงเหนือกรุงเทพฯ ที่มีโขลงช้าง และไข้ป่า". ศิลปวัฒนธรรม.
  3. พิมพ์อุมา โตสินธพ. "คลองเชื่อมกับพัฒนาการของชุมชนในลุ่มแม่น้ำบางปะกง ระหว่าง พ.ศ. 2420-2500" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 88.
  4. "วิถีชีวิตชุมชนคลองหลวงแพ่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-16. สืบค้นเมื่อ 2022-08-21.