เขตลาดกระบัง

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ลาดกระบัง เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร (รองจากเขตหนองจอก) สภาพโดยทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีแหล่งชุมชนหนาแน่นทางทิศใต้และมีเขตนิคมอุตสาหกรรมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่

เขตลาดกระบัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Lat Krabang
ภาพมุมสูงของเขตลาดกระบัง
ภาพมุมสูงของเขตลาดกระบัง
คำขวัญ: 
"ลาดกระบัง" อุดมคลอง ทำเลทองการเกษตร เขตนิคม ชมตลาดโบราณหัวตะเข้ เสน่ห์วิศวกรรมเจ้าคุณทหาร สืบสานประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ รถไฟฟ้าเชื่อมสุวรรณภูมิ
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตลาดกระบัง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตลาดกระบัง
พิกัด: 13°43′20.34″N 100°45′34.81″E / 13.7223167°N 100.7596694°E / 13.7223167; 100.7596694
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด123.859 ตร.กม. (47.822 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด179,899[1] คน
 • ความหนาแน่น1,452.45 คน/ตร.กม. (3,761.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10520
รหัสภูมิศาสตร์1011
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1471/1 ถนนลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/ladkrabang
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตลาดกระบังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประวัติศาสตร์

แก้

เดิมเขตลาดกระบังเป็นพื้นที่การปกครองของเมืองมีนบุรีซึ่งเป็นเมือง (จังหวัด) หนึ่งในมณฑลกรุงเทพ มีชื่อเรียกว่า อำเภอแสนแสบ ต่อมาใน พ.ศ. 2470 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอลาดกระบัง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ[3] และใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบมารวมกับจังหวัดพระนคร[4] อำเภอลาดกระบังจึงย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครด้วย

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2481 กระทรวงมหาดไทยได้ยุบอำเภอลาดกระบังลงเป็น กิ่งอำเภอลาดกระบัง ขึ้นกับอำเภอมีนบุรี เนื่องจากในขณะนั้นมีปริมาณงานไม่มากนักและมีจำนวนประชากรน้อย[5] จนกระทั่งในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2500 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอลาดกระบัง อีกครั้ง[6] โดยได้โอนตำบลแสนแสบไปขึ้นกับอำเภอมีนบุรี และแบ่งพื้นที่บางส่วนของตำบลทับยาว มาจัดตั้งเป็นตำบลขุมทองใน พ.ศ. 2504[7]

ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 อำเภอลาดกระบังจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตลาดกระบัง ตั้งแต่นั้น

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตลาดกระบังแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 6 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ลาดกระบัง Lat Krabang
10.823
30,137
2,784.53
 
2.
คลองสองต้นนุ่น Khlong Song Ton Nun
14.297
67,200
4,700.29
3.
คลองสามประเวศ Khlong Sam Prawet
17.458
15,947
913.45
4.
ลำปลาทิว Lam Pla Thio
33.752
26,171
775.39
5.
ทับยาว Thap Yao
25.834
32,060
1,241.00
6.
ขุมทอง Khum Thong
21.695
8,384
386.45
ทั้งหมด
123.859
179,899
1,452.45

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้

ทางสายหลักในพื้นที่เขตลาดกระบัง ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

ขนส่งมวลชนทางราง

สถานที่สำคัญ

แก้
 
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สถาบันการศึกษา
 
สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง
วัด
อื่นๆ

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  2. ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 24 ตุลาคม 2551.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอแสนแสบเปนอำเภอลาดกระบัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44: 1480. 14 สิงหาคม 2470.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22.
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55: 1840–1842. 29 สิงหาคม พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลาดกระบัง พ.ศ. ๒๕๐๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (23 ก): 543–545. 5 มีนาคม 2500.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (44): 1320–1322. 23 พฤษภาคม 2501.
  8. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้