ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

ทางหลวงพิเศษสายตะวันออกของประเทศไทยและทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 149.300 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก[1] แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งในถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 และทางหลวงเอเชียสาย 123 ในปัจจุบัน ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ได้ใช้การเก็บค่าผ่านทางระบบปิด โดยจะมีการเก็บค่าผ่านทางตามจำนวนกิโลเมตรที่ผู้ใช้ทางหลวงพิเศษ

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
ถนนกรุงเทพ–บ้านฉาง
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (กรุงเทพฯ–ทางแยกต่างระดับหนองขาม)
และ (กรุงเทพฯ–ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง))
ความยาว149.300 กิโลเมตร (92.771 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2541–ปัจจุบัน
ประวัติสร้าง พ.ศ. 2534
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ทางพิเศษศรีรัช (ส่วน D) / ถ.ศรีนครินทร์ / ถ.พระราม 9 ในเขตสวนหลวง กรุงเทพฯ
 
ปลายทางทิศใต้ ถ.สุขุมวิท ใน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีเส้นทางที่เก็บค่าผ่านทางตั้งแต่กรุงเทพมหานครไปถึงเพียงเมืองพัทยา ส่วนเส้นทางไปยังอำเภอบ้านฉาง (อู่ตะเภา) อยู่ในช่วงเปิดทดลองวิ่งโดยไม่เก็บค่าผ่านทาง นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในปัจจุบัน ยังถูกกำหนดในเส้นทางอื่นอีก ได้แก่ ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน, ทางแยกเข้าชลบุรี, ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าเมืองพัทยา รวมถึงทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ)

รายละเอียดของเส้นทาง แก้

 
แนวทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางแยกต่างระดับ
 
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ขาเข้ากรุงเทพมหานคร บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ในแขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง
 
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในเขตลาดกระบัง
 
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ฝั่งมุ่งหน้าไปเมืองพัทยา บริเวณทางแยกต่างระดับชลบุรี ในตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

เส้นทางหลัก แก้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงที่หนึ่ง ซึ่งเรียกถนนในช่วงแรกนี้ว่า ถนนกรุงเทพ–ชลบุรี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ถนนกรุงเทพ–ชลบุรี สายใหม่ เป็นถนนขนาด 8 ช่องจราจร เริ่มต้นที่ปลายทางพิเศษศรีรัช ส่วน D และถนนพระราม 9 บริเวณจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร มีแนวทางตัดไปทางทิศตะวันออก[2] ข้ามคลองบึงบ้านม้า เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตสะพานสูงกับเขตประเวศ ตัดกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) ที่ทางแยกต่างระดับทับช้าง ข้ามคลองแม่จันทร์เข้าสู่เขตลาดกระบัง ตัดกับถนนร่มเกล้าที่ทางแยกต่างระดับร่มเกล้า เบี่ยงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ก่อนเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านอำเภอบางเสาธง และอำเภอบางบ่อ แล้วผ่านอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ข้ามแม่น้ำบางปะกง จากนั้นเข้าสู่จังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอพานทอง เข้าสู่อำเภอเมืองชลบุรี และสิ้นสุดช่วงแรกที่ทางแยกต่างระดับคีรีนคร โดยมีเส้นทางตัดแยกออกไปยังเขตเทศบาลเมืองชลบุรี

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงที่สอง ซึ่งเรียกถนนในช่วงนี้ว่า ถนนชลบุรี–พัทยา เข้าสู่อำเภอศรีราชา มีเส้นทางตัดแยกไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ที่ทางแยกต่างระดับหนองขาม โดยตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงบริเวณนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 จากนั้นถนนมีช่องจราจรลดลงเหลือ 6 ช่อง (ปัจจุบันกำลังก่อสร้างขยายเป็น 8 ช่องจราจร) และเข้าสู่อำเภอบางละมุง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ที่ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) โดยตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ทางหลวงเอเชียสาย 123 และสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับหนองปลาไหล

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงที่สาม ซึ่งเรียกถนนในช่วงนี้ว่า ถนนพัทยา–มาบตาพุด เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ผ่านตำบลหนองปรือ แล้วจึงออกเขตเมืองพัทยาที่คลองหนองชมพู ผ่านตำบลห้วยใหญ่ และเข้าสู่อำเภอสัตหีบ ผ่านตำบลนาจอมเทียน และ ผ่านตำบลพลูตาหลวง จากนั้นเข้าสู่จังหวัดระยอง ผ่านอำเภอบ้านฉาง ไปสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท ณ บริเวณทางแยกต่างระดับอู่ตะเภา บริเวณใกล้สะพานข้ามทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งจากนี้สามารถไปนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด

นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างทางบริการชุมชน มีลักษณะเป็นถนนคู่ขนานทั้งสองข้างของทางหลวงพิเศษในบางช่วง อยู่นอกเขตและไม่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษ สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับถนนอื่นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน โดยได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดิน[3] ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 และ 3702 ซึ่งเป็นทางบริการด้านซ้ายและด้านขวาของทางหลวงพิเศษตามลำดับ

ทางเชื่อมต่อ แก้

นอกจากสายหลัก ยังมีสายแยกที่เชื่อมต่อทางหลวงพิเศษสายหลักกับเมืองหรือเขตเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินที่มีแนวเส้นทางขนานกับทางหลวงพิเศษสายหลัก เช่น ถนนสุขุมวิท สายแยกดังกล่าวนี้ มีเส้นทางมุ่งสู่ชายทะเล และออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษที่มีลักษณะกึ่งควบคุมการเข้า-ออก ทางเชื่อมต่อดังกล่าวมีดังนี้

  • ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน (บางวัว) เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับบางควาย บริเวณประมาณกิโลเมตรที่ 40 ของสายหลัก ผ่านตำบลบางวัว และตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และสิ้นสุดที่ถนนเทพรัตน ที่ทางแยกต่างระดับบางบ่อ
  • ทางแยกเข้าชลบุรี เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับคีรีนคร บริเวณประมาณกิโลเมตรที่ 79 ของถนนสายหลัก มีเส้นทางอยู่ในตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 (ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี) ที่ทางแยกต่างระดับหนองข้างคอก
  • ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับหนองขาม ผ่านตำบลหนองขาม ตำบลสุรศักดิ์ ตัดกับถนนสุขุมวิท และสิ้นสุดที่ท่าเรือแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  • ทางแยกเข้าพัทยา
  • ทางแยกไปบรรจบถนนสุขุมวิท (บ้านอำเภอ)

ประวัติ แก้

การก่อสร้างในช่วงแรก แก้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในอดีตเคยถูกกำหนดหมายเลขสายทางเป็น "ทางหลวงพิเศษหมายเลข 36"[4] (ใช้เรียกรวมตลอดสายทางตั้งแต่กรุงเทพมหานคร (ลาดกระบัง) ไปจนถึงระยอง)[5][6] ถูกออกแบบและก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษไม่มีทางเชื่อมควบคุมการเข้า-ออก เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. 2534 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรตลอดสายเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541[7] ก่อสร้างเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ต่อมา ได้มีการรวมแนวเส้นทางเก่าของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 (ถนนบายพาสสายชลบุรี พัทยา ระยอง) มาเป็นส่วนหนึ่งในช่วงชลบุรี–พัทยา[8] และก่อสร้างเพิ่มเติมจากเดิมสิ้นสุดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 เป็นสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท บริเวณพัทยากลาง เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการเปิดการจราจรตลอดสาย

ต่อมา กรมทางหลวงได้ขยายช่องจราจรหลักเพิ่มเติมบนถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรี สายใหม่ ช่วงถนนศรีนครินทร์–ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็น 8 ช่องจราจร ขยายเข้าหาศูนย์กลางบริเวณร่องน้ำ โครงการนี้มีแนวทางไปทางทิศตะวันออกมุ่งสู่ชลบุรี ลอดผ่านสะพานเข้า-ออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางเข้า-ออกสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้าผ่านข้ามทางรถไฟของสถานีขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว

ด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางถาวร แก้

กรมทางหลวงได้มีการปรับปรุงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี–พัทยาให้เป็นทางหลวงพิเศษควบคุมการเข้าออกเต็มรูปแบบ[9][10] ในช่วงสะพานข้ามทางรถไฟ–ทางแยกต่างระดับบางพระ หรือแยกวังตะโก มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 4-8 ช่องจราจร วางช่องจราจรละ 3.60เมตร ไหลทางนอก 2.50-3.00 เมตร ไหลทางใน 1.00 เมตร ระยะทาง 4 กิโลเมตร จะมีการปรับปรุงเป็นทางรวมและกระจายการจราจร ปิดช่องกลับรถกลางถนน แล้วก่อสร้างจุดกลับรถในรูปแบบของทางลอด หรือสะพานกลับรถเกือกม้า มีจุดกลับรถ 1 จุด คือบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ

นอกจากนี้ ยังมีปรับปรุงทางแยกต่างระดับคีรีนคร จากเดิมทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรี สายใหม่ จะมาสิ้นสุดที่แยกนี้ จะเปลี่ยนแนวทางของสะพาน ให้สายทางแยกเข้าชลบุรีมาสิ้นสุดที่แยกนี้ และให้ถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรี มีเส้นทางตรงลงพัทยาได้โดยไม่ต้องเลี้ยวซ้าย ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว รวมทั้งก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 1 จุด ได้แก่ ด่านบางพระ บริเวณทางแยกต่างระดับบางพระ

ช่วงทางแยกต่างระดับบางพระหรือแยกวังตะโก ถึงทางแยกต่างระดับหนองขาม มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 8 ช่องจราจรวางช่องจราจรละ 3.60เมตร ไหลทางนอก 2.50-3.00 เมตร ไหลทางใน 1.00 เมตร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ในบางส่วน ระยะทาง 21 กิโลเมตร และช่วงทางแยกต่างระดับหนองขาม–ทางแยกต่างระดับมาบประชัน มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 8 ช่องจราจรวางช่องจราจรละ 3.60เมตร ไหลทางนอก 2.50-3.00 เมตร ไหลทางใน 1.00 เมตร และทางบริการขนาด 2-3 ช่องจราจร ในบางส่วน ระยะทาง 17 กิโลเมตร จะมีการปรับปรุงให้เป็นทางหลวงพิเศษที่ควบคุมการเข้า-ออก ก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 2 จุด ได้แก่ ด่านหนองขาม และด่านพัทยา ในช่วงที่ 1 จะมีจุดกลับรถ 5 จุด และในช่วงที่ 2 จะมีจุดกลับรถ 9 จุด เป็นแบบทางลอดทั้งหมด มีรั้วกั้นระหว่างทางหลักกับทางบริการ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ป้ายจราจร ไฟฟ้าส่องสว่าง มีสถานที่บริการทางหลวง 1 จุด บริเวณเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กิโลเมตรที่ 98-99 และปรับปรุงทางแยกต่างระดับหนองขามให้มีทางเลี้ยวเพิ่มเติม[11]

ในช่วงทางแยกต่างระดับหนองขาม–ทางแยกต่างระดับแหลมฉบัง มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 8 ช่องจราจร วางช่องจราจรละ 3.60เมตร ไหลทางนอก 3.00 เมตร ไหลทางใน 1.00 เมตร และทางบริการหรือทางคู่ขนานบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3608-3611 2-3 ช่องจราจร ระยะทาง 8 กิโลเมตร โดยจะปรับปรุงให้เป็นทางรวมและกระจายการจราจรในลักษณะกึ่งควบคุม เพื่อแยกรถบรรทุกสินค้า และรถในท้องถิ่นออกจากกัน รวมทั้งจะกำหนดจุดเข้า-ออกทางสายหลักในตำแหน่งที่เหมาะสมอีกด้วย[12][13]

ช่วงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดบรรจบทางหลวงหมายเลข 3–ทางแยกต่างระดับมาบประชัน มีเขตทาง 70-170 เมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร วางช่องจราจรละ 3.60เมตร ไหลทางนอก 2.50-3.00 เมตร ไหลทางใน 1.00 เมตร และทางบริการ 2 ช่องจราจร เฉพาะเชื่อมต่อการเดินทางท้องถิ่น ระยะทาง 6 กิโลเมตร มีจุดกลับรถ 1 จุด จะมีการก่อสร้างสะพานข้าม และทางลอดทางหลวงในบริเวณจุดตัดถนนเดิมสำหรับการสัญจรในท้องถิ่น เพื่อเน้นการให้บริการประชาชนในท้องถิ่น และก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 1 จุด ได้แก่ ด่านพัทยา บริเวณถัดจากทางแยกต่างระดับมาบประชัน

การก่อสร้างช่วงพัทยา–มาบตาพุด แก้

โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ–บ้านฉาง ช่วงพัทยา –มาบตาพุด[14] เริ่มต้นจากถนนชลบุรี–พัทยา บริเวณกิโลเมตรที่ 124 เป็นแนวตรงจากทางแยกต่างระดับพัทยาไปยังสนามบินอู่ตะเภา นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยมีเขตทาง 70 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ในช่วงที่มีการสร้างทางบริการจะมีเขตทาง 110 เมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร และ 4 ช่องจราจรเมื่อพ้นสะพานข้ามถนนพรประภานิมิต จนถึงด่านเก็บค่าผ่านทางอู่ตะเภา และทางบริการ 2 ช่องจราจร ระยะทาง 32 กิโลเมตร และถนนรวมและกระจายการจราจร สายห้วยใหญ่–บ้านอำเภอจะมีเขตทาง 50 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 7.856 กิโลเมตร

ทางแยกต่างระดับของโครงการมีทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ ทางแยกต่างระดับมาบประชัน บริเวณจุดเริ่มต้น ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ บริเวณแยกของถนนสายห้วยใหญ่–บ้านอำเภอ ทางแยกต่างระดับเขาชีโอน บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 และทางแยกต่างระดับอู่ตะเภา บริเวณจุดสิ้นสุด มีสถานที่บริการทางหลวง 1 จุด บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตลอดเส้นทางมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 4 จุด ได้แก่ ด่านมาบประชัน, ด่านห้วยใหญ่, ด่านเขาชีโอน และด่านอู่ตะเภา ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับทุกจุดของโครงการ มีด่านชั่งน้ำหนักสำหรับรถบรรทุก 3 จุด สำหรับการเชื่อมต่อชุมชนสองข้างทางจะออกแบบเป็นทางลอด ทางข้าม และสะพานข้ามถนนท้องถิ่นเช่นเดียวกับช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรี และชลบุรี–พัทยา

รายชื่อทางออก แก้

สายหลัก แก้

จังหวัดอำเภอกม. ที่ทางออกชื่อจุดหมายปลายทางหมายเหตุ
กรุงเทพมหานครสวนหลวง0+0001Cทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ (หัวหมาก)  ทางพิเศษศรีรัช (ทางหลัก) และ   ถนนพระราม 9 (ทางขึ้นและทางลง)
0+0001B  ถนนศรีนครินทร์ – บางกะปิ
0+0001A  ทล.3702 – ถนนศรีนครินทร์, พัฒนาการ
สะพานสูง/ประเวศ6+6002ทางแยกต่างระดับทับช้าง    ถนนกาญจนาภิเษก – เหนือ: อ.บางปะอิน; ใต้: บางนา
ลาดกระบัง11+3503Aทางแยกต่างระดับร่มเกล้า  ถนนร่มเกล้า – เหนือ: มีนบุรี; ใต้: ลาดกระบัง, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคารคลังสินค้า), บางพลีไม่มีทางออกบนฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ
11+3503B  ถนนกิ่งแก้ว
  ถนนสุวรรณภูมิ 2 – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคารคลังสินค้า)
11+3503Cสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้าไม่มีทางออกบนฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ
11+3503D  ถนนสุวรรณภูมิ 1 – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคารผู้โดยสาร)
12+7504Aสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้าไม่มีทางออกบนฝั่งขาออกกรุงเทพฯ
12+7504B  ถนนสุวรรณภูมิ 1 – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคารผู้โดยสาร)
  ทางคู่ขนานทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
ไม่มีทางออกบนฝั่งขาออกกรุงเทพฯ
กรุงเทพมหานคร/
สมุทรปราการ
ลาดกระบัง/บางเสาธง20+8005ทางแยกต่างระดับลาดกระบัง  ถนนหลวงแพ่ง – ตะวันออก: ฉะเชิงเทรา; ตะวันตก: ลาดกระบัง
ด่านเก็บค่าผ่านทางลาดกระบัง
ฉะเชิงเทราบางปะกง40+8506ทางแยกต่างระดับบางควาย  ทางแยกไปบรรจบ ทล.34 (บางวัว) – บางวัว, บางบ่อ, บรรจบ    ถนนเทพรัตน
46+6957/7A/7Bทางแยกต่างระดับบางปะกง  ถนนสิริโสธร – เหนือ: ฉะเชิงเทรา; ใต้: อ.บางปะกง, บรรจบ   ถนนเทพรัตน
48+007สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
48+ศูนย์บริการทางหลวงบางปะกง
ชลบุรีเมืองชลบุรี65+3758ทางแยกต่างระดับพานทอง  ถนนศุขประยูร – ตะวันออก: พนัสนิคม; ตะวันตก: ชลบุรี
72+5509ทางแยกต่างระดับชลบุรี   ทล.344 – ตะวันออก: บ้านบึง, แกลง; ตะวันตก: ชลบุรี
78+80010ทางแยกต่างระดับคีรีนครขาออก:   ทล.3701บางแสน, ศรีราชา
ขาเข้า:   ทางแยกเข้าชลบุรี – บรรจบ    ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี, บางแสน, ชลบุรี
ศรีราชา99+70011Aทางแยกต่างระดับหนองขาม    ทล.331 – บ.มาบเอียง
ขาออก:   ทล.3701 – บ่อวิน
ขาเข้า:   ทล.3702ศรีราชา
99+70011B  ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง – แหลมฉบัง
บางละมุง116+95012ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง)ตะวันตก:   ทล.36บางละมุง, พัทยา
ตะวันออก:     ทล.36ระยอง
119+80013ทางแยกต่างระดับมาบประชัน  ทางแยกเข้าพัทยา – พัทยา
132+00014ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่  ทางแยกไปบรรจบถนนสุขุมวิท (บ้านอำเภอ) – หาดจอมเทียน, บ้านอำเภอ
สัตหีบ143+00015ทางแยกต่างระดับเขาชีโอน   ทล.331 – สัตหีบ, พนมสารคาม
ระยองบ้านฉาง149+85516Aทางแยกต่างระดับอู่ตะเภา  ทล.3 – ระยอง
149+85516B  ทล.3 – ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา, สัตหีบ
149+855  ทล.พ.7 – นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
1.000 mi = 1.609 km; 1.000 km = 0.621 mi

ทางเชื่อมต่อ แก้

รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ทางต่างระดับบางควาย−ทางต่างระดับบางวัว
ฉะเชิงเทรา 0+000 ทางแยกต่างระดับบางควาย       ทล.พ.7 จากฉะเชิงเทรา, ชลบุรี       ทล.พ.7 จากกรุงเทพฯ
4+000 ทางแยกต่างระดับบางวัว    ถนนเทพรัตน ไปบางวัว, ชลบุรี    ถนนเทพรัตน ไปบางบ่อ, บางนา
  ทางต่างระดับคีรี−ทางต่างระดับหนองข้างคอก
ชลบุรี 0+000 ทางแยกต่างระดับคีรีนคร       ทล.พ.7 จากพัทยา, ระยอง       ทล.พ.7 จาก อ.บ้านบึง, กรุงเทพฯ
3+728 ทางแยกต่างระดับหนองข้างคอก    ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ไปบางแสน    ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ไปชลบุรี, กรุงเทพฯ (บางนา)
  ทางต่างระดับหนองขาม−ท่าเรือแหลมฉบัง
ชลบุรี 0+000 ทางแยกต่างระดับหนองขาม เชื่อมต่อจาก:     ทล.331 จาก บ.มาบเอียง, อ.พนมสารคาม
    ทล.พ.7 จากพัทยา, ระยอง       ทล.พ.7 จากชลบุรี, กรุงเทพฯ
4+000 ทางแยกเก้ากิโล   ถนนเก้ากิโล ไป โรงงานเครือสหพัฒน์   ถนนเก้ากิโล ไป อ.ศรีราชา
4+545 สะพาน ข้ามสายตะวันออก
5+710 ทางแยกทุ่งสุขลา   ถนนทุ่งสุขลา ไป โรงงานเครือสหพัฒน์   ถนนทุ่งสุขลา ไป บ.ทุ่งสุขลา, อ่าวอุดม, ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
7+715 ทางแยกต่างระดับแหลมฉบัง   ถนนสุขุมวิท ไป อ.บางละมุง, พัทยา, อ.สัตหีบ   ถนนสุขุมวิท ไป อ.ศรีราชา, ชลบุรี
ตรงไป: ทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
  ทางต่างระดับมาบประชัน–พัทยา
ชลบุรี 0+000 ทางแยกต่างระดับมาบประชัน   ทล.พ.7 จาก อ.บ้านฉาง, ระยอง   ทล.พ.7 จาก อ.ศรีราชา, กรุงเทพฯ
3+085 ทางแยกหนองปรือ   ทล.3240 ไป บ.หนองปรือ   ทล.3240 ไป บ.นาเกลือ
5+710 สะพาน ข้ามสายตะวันออก
6+165 ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท-พัทยา (แยกมอเตอร์เวย์)   ถนนสุขุมวิท ไปพัทยากลาง, พัทยาใต้, อ.สัตหีบ   ถนนสุขุมวิท ไปพัทยาเหนือ, อ.บางละมุง
  ทางต่างระดับห้วยใหญ่–บ้านอำเภอ
ชลบุรี 0+000 ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่   ทล.พ.7 จาก อ.บ้านฉาง, ระยอง   ทล.พ.7 จากพัทยา, กรุงเทพฯ
2+000   ถนนห้วยใหญ่–ชากแง้ว ไป บ.ชากแง้ว   ถนนห้วยใหญ่–ชากแง้ว ไป บ.ห้วยใหญ่
5+500   ถนนเทศบาล 1 ซอย 12 ไป บ.นาจอมเทียน   ถนนเทศบาล 1 ซอย 12 ไป บ.ห้วยใหญ่
7+000 สะพาน ข้ามสายตะวันออก
7+856 ทางแยกบ้านอำเภอ   ถนนสุขุมวิท ไปบางเสร่, อ.สัตหีบ   ถนนสุขุมวิท ไปหาดจอมเทียน, พัทยา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เขตการควบคุม แก้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 11 ตอน ได้แก่

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
ช่วงที่ ตอน ชื่อตอน หลัก กม. ระยะทาง (กม.) หมวดทางหลวง แขวงทางหลวง จังหวัด
1 0101 ถนนศรีนครินทร - แขวงคลองสองต้นนุ่น 0+000 - 8+000 8.000 หมวดทางหลวงคันนายาว พิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพมหานคร
2 0102 ทางแยกเข้าสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้า 0+000 - 0+512 0.512 หมวดทางหลวงลาดกระบัง
3 0103 แขวงคลองสองต้นนุ่น - พิมพา 8+000 - 39+000 31.000 สมุทรปราการ
4 0104 พิมพา - หนองข้างคอก 39+000 - 77+800 38.800 หมวดทางหลวงพานทอง ฉะเชิงเทรา
5 0105 หนองข้างคอก - ตะเคียนเตี้ย 77+800 - 110+000 32.200 หมวดทางหลวงแหลมฉบัง ชลบุรี
6 0106 ตะเคียนเตี้ย - พลา 110+000 - 150+850 40.850 หมวดทางหลวงพัทยา ชลบุรี, ระยอง
7 0107 ทางต่างระดับบางควาย - ทางต่างระดับบางวัว 0+000 - 4+000 4.000 หมวดทางหลวงพานทอง ฉะเชิงเทรา
8 0108 ทางต่างระดับคีรี - ทางต่างระดับหนองข้างคอก 0+000 - 3+728 3.728 หมวดทางหลวงแหลมฉบัง ชลบุรี
9 0109 ทางต่างระดับหนองขาม - ท่าเรือแหลมฉบัง 0+000 - 8+091 8.091
10 0110 ทางต่างระดับมาบประชัน - พัทยา 0+000 - 6+165 6.165 หมวดทางหลวงพัทยา
11 0111 ทางต่างระดับห้วยใหญ่ - บ้านอำเภอ 0+000 - 7+856 7.856 ระยอง
รวม 11 ตอนควบคุม รวมระยะทาง 181.202 กม.

ที่พักริมทาง แก้

เนื่องจากทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแบบปิด คือมีการควบคุมการเข้าออกของสายทางแบบสมบูรณ์[15] ทำให้ไม่สามารถจอดแวะพักตามสถานบริการน้ำมันหรือร้านค้าต่าง ๆ ได้เหมือนทางหลวงแผ่นดินแบบปกติ ทำให้มีการกำหนดที่พักริมทางไว้ในระหว่างช่วงต่าง ๆ ของเส้นทาง หลายขนาดด้วยกันตามศักยภาพในการให้บริการ[15] ประกอบไปด้วย

ชื่อที่พักริมทาง ประเภท หลัก กม. สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
ลาดกระบัง จุดพักรถ (Rest Stop) 21+700 เปิดให้บริการแล้ว กำลังศึกษารูปแบบการร่วมพัฒนากับเอกชนเชิงพาณิชย์ [16]
บางปะกง สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 49+300 เปิดให้บริการแล้ว [17]
หนองรี จุดพักรถ (Rest Stop) 72+500 เปิดให้บริการแล้ว กำลังศึกษารูปแบบการร่วมพัฒนากับเอกชนเชิงพาณิชย์ [18]
ศรีราชา ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 95+750 อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมทุน [19]
มาบประชัน จุดพักรถ (Rest Stop) 119+200 อยู่ระหว่างการก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน [20]
บางละมุง สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 137+800 อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมทุน [21]
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

จุดพักรถลาดกระบัง แก้

 
จุดพักรถลาดกระบัง 1 ฝั่งที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคล

จุดพักรถลาดกระบัง ถือเป็นที่พักริมทางขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 21+700 ใกล้เคียงทางแยกต่างระดับลาดกระบังทั้ง 2 ทิศทาง ประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน คือ ลานจอดรถ ห้องน้ำ และศาลาพักผ่อน[16]

ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วและกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ คาดว่าให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2566[16]

จุดพักรถลาดกระบัง มีเนื้อที่ที่พักริมทางดังนี้

  • ทิศทางขาออกกรุงเทพฯ มุ่งหน้าชลบุรี ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 21+600 แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ เนื้อที่ประมาณ 11.8 ไร่
  • ทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ มุ่งหน้ากรุงเทพฯ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 21+800 ตำบลศรีษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ประมาณ 9.6 ไร่

สถานที่บริการทางหลวงบางปะกงแห่งใหม่ แก้

สถานที่บริการทางหลวงบางปะกงแห่งใหม่ เป็นที่พักริมทางขนาดกลาง บริเวณกิโลเมตรที่ 47+000 ทางแยกต่างระดับบางปะกง บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ซึ่งภายในสถานที่บริการทางหลวงดังกล่าวจะประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ครบถ้วน ได้แก่ ที่จอดรถ ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำบริการประชาชน ร้านอาหาร ร้านขายของ สถานีบริการน้ำมัน หน่วยกู้ภัย ศูนย์บริการ ระบบผ่านทางอัตโนมัติ และการบริการอื่น ๆ[17]

  • ทิศทางขาออกกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าชลบุรี ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 47+000 ตำบลท่าสะอ้าน อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 70.0 ไร่
  • ทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ มุ่งหน้ากรุงเทพฯ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 47+000 ตำบลท่าสะอ้าน อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 35.5 ไร่

สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง แก้

สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง ถือเป็นที่พักริมทางขนาดกลาง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 49+300 ใกล้เคียงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ตั้งอยู่ทั้ง 2 ทิศทางของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว ประกอบไปด้วย ลานจอดรถ ห้องน้ำ ศาลาพักผ่อน สถานีบริการน้ำมัน หน่วยกู้ภัยทางหลวง ศูนย์บริการระบบผ่านทางอัตโนมัติ (M-Pass) และการบริการจัดการเชิงพาณิชย์ ประกอบไปด้วย ร้านค้าทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของต่าง ๆ ภายใต้ข้อตกลงระหว่างกรมทางหลวงและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) สัญญาระเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2541 - 2570)[17]

หลังจากนั้นก่อนหมดสัญญา 5 ปี จะดำเนินการหาผู้เข้าจัดการพื้นที่ต่อไปตาม พรบ.การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562[17]

สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง มีเนื้อที่ที่พักริมทางดังนี้

 
สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง 1 (ฝั่งขาออกจากกรุงเทพฯ)
  • ทิศทางขาออกกรุงเทพฯ มุ่งหน้าชลบุรี ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 49+300 ตําบลเขาดิน อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 29.9 ไร่
  • ทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ มุ่งหน้ากรุงเทพฯ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 49+300 ตําบลเขาดิน อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 29.3 ไร่

จุดพักรถหนองรี แก้

จุดพักรถหนองรี ถือเป็นที่พักริมทางขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 72+500 ใกล้เคียงทางแยกต่างระดับบ้านบึงทั้ง 2 ทิศทาง ประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน คือ ลานจอดรถ ห้องน้ำ และศาลาพักผ่อน[18]

ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วและกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ คาดว่าให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2566[18]

จุดพักรถหนองรี มีเนื้อที่ที่พักริมทางดังนี้

  • ทิศทางขาออกกรุงเทพฯ มุ่งหน้าชลบุรี ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 71+700 ตําบลหนองรี อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 14.3 ไร่
  • ทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ มุ่งหน้ากรุงเทพฯ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 73+300 ตําบลหนองรี อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 14.3 ไร่

สถานที่บริการทางหลวงศรีราชา แก้

สถานที่บริการทางหลวงศรีราชา มีชื่อโครงการว่า โครงการพัฒนาและบริหารจัดการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง ช่วงชลบุรี – พัทยา ถือเป็นที่พักริมทางขนาดใหญ่ที่อยู่ในขั้นตอนของโครงการพัฒนาและบริหารจัดการ ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 93+750 ระหว่างทางแยกต่างระดับบางพระ (คีรี) และทางแยกต่างระดับหนองขาม ประกอบไปด้วย ลานจอดรถ ห้องน้ำ ศาลาพักผ่อน สถานีบริการน้ำมัน หน่วยกู้ภัยทางหลวง ศูนย์บริการระบบผ่านทางอัตโนมัติ (M-Pass) และการบริการจัดการเชิงพาณิชย์ ประกอบไปด้วย ร้านค้าทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของต่าง ๆ[19]

ปัจจุบันโครงการอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนในการร่วมทุน โดยสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงปี พ.ศ. 2566 - 2568 มีแผนจะเปิดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในปี พ.ศ. 2567 และเปิดบริการพื้นที่พาณิชย์ในปี พ.ศ. 2568[19]

สถานที่บริการทางหลวงศรีราชา มีเนื้อที่ที่พักริมทางดังนี้

  • ทิศทางขาออกกรุงเทพฯ มุ่งหน้าพัทยา ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 93+750 ตําบลบางพระ และตำบลสุรศักดิ์ อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 60.1 ไร่
  • ทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ มุ่งหน้ากรุงเทพฯ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 93+750 ตําบลบางพระ และตำบลสุรศักดิ์ อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 56.8 ไร่

จุดพักรถมาบประชัน แก้

จุดพักรถมาบประชัน ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและออกแบบรายละเอียด และดำเนินการก่อสร้าง ถือเป็นที่พักริมทางขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 119+200 ใกล้เคียงทางแยกต่างระดับมาบประชันทั้ง 2 ทิศทาง ประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน คือ ลานจอดรถ ห้องน้ำ และศาลาพักผ่อน คาดว่าให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2566[20]

จุดพักรถมาบประชัน มีเนื้อที่ที่พักริมทางดังนี้

  • ทิศทางขาออกกรุงเทพฯ มุ่งหน้าอู่ตะเภา ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 119+950 ตําบลเมืองพัทยา อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 19.1 ไร่
  • ทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ มุ่งหน้ากรุงเทพฯ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 118+450 ตําบลหนองปลาไหล และตำบลโป่ง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 20.6 ไร่

สถานที่บริการทางหลวงบางละมุง แก้

สถานที่บริการทางหลวงบางละมุง มีชื่อโครงการว่า โครงการพัฒนาและบริหารจัดการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ช่วงพัทยา – มาบตาพุด ถือเป็นที่พักริมทางขนาดกลางที่อยู่ในขั้นตอนของโครงการพัฒนาและบริหารจัดการ ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 137+800 ระหว่างทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ และทางแยกต่างระดับเขาชีโอน ประกอบไปด้วย ลานจอดรถ ห้องน้ำ ศาลาพักผ่อน สถานีบริการน้ำมัน หน่วยกู้ภัยทางหลวง ศูนย์บริการระบบผ่านทางอัตโนมัติ (M-Pass) และการบริการจัดการเชิงพาณิชย์ ประกอบไปด้วย ร้านค้าทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของต่าง ๆ[21]

ปัจจุบันโครงการอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนในการร่วมทุน โดยสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงปี พ.ศ. 2566 - 2568 มีแผนจะเปิดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในปี พ.ศ. 2567 และเปิดบริการพื้นที่พาณิชย์ในปี พ.ศ. 2568[21]

สถานที่บริการทางหลวงศรีราชา มีเนื้อที่ที่พักริมทางดังนี้

  • ทิศทางขาออกกรุงเทพฯ มุ่งหน้าอู่ตะเภา ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 137+800 ตําบลห้วยใหญ่ อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 32.6 ไร่
  • ทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ มุ่งหน้ากรุงเทพฯ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 137+800 ตําบลห้วยใหญ่ อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 32.6 ไร่

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 แก้

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 คือทางหลวงที่เป็นถนนคู่ขนานของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตลอดแนวเส้นทาง แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 56 ตอน ได้แก่

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701
ช่วงที่ ตอน ชื่อตอน หลัก กม. ระยะทาง (กม.) หมวดทางหลวง แขวงทางหลวง จังหวัด
1 0100 ถนนศรีนครินทร์ - ลาดกระบัง 0+312 - 5+785 5.473 หมวดทางหลวงสะพานสูง กรุงเทพ กรุงเทพมหานคร
2 7+218 - 10+526 3.308
3 13+118 - 20+371 7.253
4 21+000 - 22+375 1.375
5 0200 ลาดกระบัง - บางควาย 22+465 - 23+517 1.052 หมวดทางหลวงบางพลี สมุทรปราการ สมุทรปราการ
6 23+667 - 24+197 0.530
7 24+389 - 25+022 0.633
8 25+174 - 26+799 1.625
9 26+871 - 27+294 0.423
10 27+346 - 28+541 1.195
11 28+593 - 28+752 0.159
12 29+010 - 30+845 1.835
13 30+911 - 31+854 0.943
14 32+032 - 32+783 0.751
15 32+949 - 34+184 1.235
16 34+230 - 34+849 0.619
17 34+875 - 36+104 1.229
18 36+230 - 38+126 1.896
19 38+258 - 38+600 0.342
20 0300 บางควาย - เขาดิน 38+600 - 39+475 0.875 หมวดทางหลวงบางปะกง ฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี
21 39+493 - 40+365 0.872
22 40+505 - 40+705 0.200
23 40+735 - 46+400 5.665
24 47+500 - 52+000 4.500
25 0401 เขาดิน - ดอนหัวฬ่อ 52+000 - 55+824 3.824 หมวดทางหลวงหนองไม้แดงที่ 2 ชลบุรีที่ 1 ชลบุรี
26 55+864 - 57+226 1.362
27 57+309 - 59+265 1.956
28 59+315 - 65+300 5.985
29 0402 ดอนหัวฬ่อ - หนองข้างคอก 65+360 - 65+732 0.372 หมวดทางหลวงหนองไม้แดงที่ 1
30 65+820 - 65+907 0.087
31 66+125 - 66+600 0.475
32 67+950 - 71+500 3.550
33 72+500 - 73+425 0.925
34 73+750 - 74+600 0.850
35 74+700 - 77+700 2.700
36 0501 ทางต่างระดับคีรี - ทางต่างระดับมาบประชัน (รวมทางต่างระดับมาบประชัน - พัทยา) 0+408 - 3+037 2.629 หมวดทางหลวงเขาเขียว ชลบุรีที่ 2
37 3+107 - 3+372 0.265
38 3+682 - 3+880 0.198
39 4+441 - 4+801 0.360
40 4+975 - 5+394 0.419
41 5+446 - 5+740 0.294
42 80+144 - 116+544 36.400
43 118+147 - 118+417 0.270
44 118+892 - 119+507 0.615
45 0502 ทางต่างระดับมาบประชัน - ห้วยใหญ่ 123+850 - 126+025 2.175 หมวดทางหลวงบางละมุง
46 126+550 - 128+300 1.750
47 129+250 - 130+800 1.550
48 0503 ห้วยใหญ่ - คลองบางไผ่ 134+580 - 134+820 0.240 หมวดทางหลวงเขาไม้แก้ว
49 135+275 - 137+300 2.025
50 138+925 - 139+100 0.175
51 139+375 - 139+750 0.375
52 140+000 - 140+150 0.150
53 140+460 - 141+200 0.740
54 141+350 - 141+675 0.325
55 142+500 - 144+550 2.050
56 145+250 - 145+325 0.075
รวม 56 ตอนควบคุม รวมระยะทาง 119.154 กม.

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติความเป็นมาของสายทาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
  2. แผนที่สายทาง กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง
  3. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางบริการในเขตทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง และในเขตทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เป็นทางหลวงแผ่นดิน
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-04. สืบค้นเมื่อ 2020-02-04.
  5. ภาพถ่ายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 36 จาก บริษัทไทยวัฒน์วิศวการทาง จำกัด
  6. ภาพถ่ายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 36 จาก บริษัทไทยวัฒน์วิศวการทาง จำกัด
  7. ข้อมูลสาระน่ารู้ วารสารทางหลวง ปีที่ 42 ฉบับที่ 1[ลิงก์เสีย]
  8. ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองชลบุรี–พัทยา[ลิงก์เสีย]
  9. "โครงการก่อสร้างด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางถาวรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี–พัทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-24. สืบค้นเมื่อ 2015-01-20.
  10. "กรมทางหลวง เตรียมจัดเก็บค่าผ่านทาง ถนนหลวงหมายเลข 7 สายชลบุรี-พัทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
  11. โครงการก่อสร้างปรับปรุงทางแยกต่างระดับหนองขาม (แหลมฉบัง)
  12. "โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สาย กรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง ตอนแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ระหว่าง กม.6+250+000 - กม.8+500.000 (ตอน 3)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
  13. "สรุปรูปแบบการปรับปรุงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-31.
  14. เปิดแนวใหม่มอเตอร์เวย์"พัทยา-มาบตาพุด"เวนคืน2พันไร่ทุ่ม1.6หมื่นล.เสริมโลจิสติกส์"ชลบุรี-ระยอง" ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
  15. 15.0 15.1 "การพัฒนาที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ – บ้านฉาง (ช่วงกรุงเทพฯ – ชลบุรี – พัทยา – มาบตาพุด) พ.ศ. 2563 – 2567 ของกรมทางหลวง – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. 16.0 16.1 16.2 "จุดพักรถลาดกระบัง (Ladkrabang Rest Stop) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 "สถานที่บริการทางหลวงบางปะกงแห่งใหม่ (Bangpakong New Service Area) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  18. 18.0 18.1 18.2 "จุดพักรถหนองรี (Nong Ri Rest Stop) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  19. 19.0 19.1 19.2 "โครงการพัฒนาและบริหารจัดการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ช่วงชลบุรี – พัทยา – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  20. 20.0 20.1 "จุดพักรถมาบประชัน (Mabprachan Rest Stop) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  21. 21.0 21.1 21.2 "โครงการพัฒนาและบริหารจัดการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ช่วงพัทยา – มาบตาพุด – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้