เทศบาลตำบลบางละมุง

เทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

บางละมุง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1–5 ตำบลบางละมุง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง) รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของหมู่ 6 ตำบลหนองปลาไหล (เฉพาะนอกเขตเมืองพัทยา) และบางส่วนของหมู่ 2 ตำบลตะเคียนเตี้ย

เทศบาลตำบลบางละมุง
สถานีรถไฟบางละมุง
สถานีรถไฟบางละมุง
ทต.บางละมุงตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ทต.บางละมุง
ทต.บางละมุง
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลบางละมุง
พิกัด: 13°1′2.77″N 100°55′47″E / 13.0174361°N 100.92972°E / 13.0174361; 100.92972
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอบางละมุง
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.38 ตร.กม. (2.46 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด13,248 คน
 • ความหนาแน่น2,076.49 คน/ตร.กม. (5,378.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05200402
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 189 หมู่ 2 ถนนบางละมุง 12/2 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
เว็บไซต์www.banglamung.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เทศบาลตำบลบางละมุง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

  • ทิศเหนือ ตั้งอยู่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ปากคลองบางละมุง ติดกับเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ฝั่งใต้เป็นเส้นเลียบริมคลองบางละมุง ฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลังเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางละมุง ฝั่งใต้ที่เส้นแบ่งเขตตำบลบางละมุง กับตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  • ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นเลียบแบ่งเขตตำบลบางละมุง กับองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนเตี้ยไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตตำบลบางละมุงกับเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล
  • ทิศใต้ ติดกับเมืองพัทยาตำบลนาเกลือจากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบแบ่งเขตตำบลบางละมุง กับตำบลหนองปลาไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดซึ่งเป็นที่ตั้งหลักเขตเมืองพัทยาหลักเขตที่ 3 จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเลียบเขตเมืองพัทยาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดซึ่งเป็นหลักที่ตั้งเขตเมืองพัทยาหลักเขตที่ 2
  • ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวไทยจากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบริมทะเลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนบรรจบหลักเขตที่ 1

ประวัติ

แก้

ปี พ.ศ. 2507 นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และพลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาท้องที่ตำบลบางละมุงมีตลาด วัด โรงเรียน และชุมนุมชนที่หนาแน่นกระจายทั้งตำบล โดยเฉพาะบริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (สุขุมวิท) จึงจัดตั้งตำบลบางละมุงทั้งตำบล เป็น สุขาภิบาลบางละมุง[3] และตั้งสำนักงานของสุขาภิบาล ณ ที่ว่าการอำเภอบางละมุง

ปี พ.ศ. 2534 ทางราชการได้แยกพื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลบางละมุง เฉพาะทิศเหนือของฝั่งคลองบางละมุง ไปรวมตั้งกับพื้นที่ตำบลทุ่งสุขลา กับพื้นที่บางส่วนของตำบลสุรศักดิ์ ตำบลบึง และตำบลหนองขาม ของอำเภอศรีราชาเป็น เทศบาลตำบลแหลมฉบัง[4] ในปีเดียวกันหลังจากแยกพื้นที่บางส่วน สุขาภิบาลบางละมุงได้ปรับเปลี่ยนเขตใหม่ โดยลำดับหมู่บ้านในเขตสุขาภิบาลใหม่เป็น หมู่ 1,3 บ้านโรงโป๊ะ, หมู่ 2 บ้านเนินตาเบี่ยง, หมู่ 4 บ้านบางละมุง และหมู่ 5 บ้านนากลาง ของตำบลบางละมุง กับรับพื้นที่บางส่วนของหมู่ 6 บ้านหนองเกตุน้อย ของสภาตำบลหนองปลาไหลและรับพื้นที่บางส่วนของหมู่ 2 บ้านตะเคียนเตี้ย ของสภาตำบลตะเคียนเตี้ย[5]

ปี พ.ศ. 2542 ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลบางละมุง เป็นเทศบาลตำบลบางละมุง ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล[6] ด้วยผลของกฎหมาย

สถานศึกษา

แก้

สถานศึกษาในท้องที่เทศบาลตำบลบางละมุง มีสถาบันศึกษาอยู่ 5 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางละมุง 1 แห่ง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลบางละมุง 1 แห่ง ศูนย์การเรียนชุมชน 1 แห่ง ศูนย์การศึกษาอื่นๆ 2 แห่ง

สาธารณสุข

แก้
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบลบ้านโรงโป๊ะ
  • สถานบริการสาธารณสุขเอกชน คลินิกเอกชน 2 แห่ง
  • ร้านขายยา 6 แห่ง

ศาสนสถาน

แก้

สถานที่ราชการ

แก้
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
  • สถานตากอากาศบางละมุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • สถานสงเคราะห์คนพิการ การุณยเวศม์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

คมนาคม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. งานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลบางละมุง วันที่ 30 เมษายน 2553
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (93 ง): 2496–2497. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2507
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา และอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (211 ก): (ฉบับพิเศษ) 37-41. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2534
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (227 ง): 12862–12863. วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2534
  6. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542