ถนนสุขุมวิท

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ของไทย

ถนนสุขุมวิท (อักษรโรมัน: Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทยโดยมีแนวต่อเนื่องจากถนนเพลินจิต โดยเริ่มต้นที่แยกด่วนเพลินจิต บริเวณขอบทางรถไฟสายแม่น้ำฟากตะวันออก ในกรุงเทพมหานคร เลียบตามชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร

ถนนสุขุมวิท
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (ระยอง-บ้านหาดเล็ก)
ความยาว488.387 กิโลเมตร (303.470 ไมล์)
426.931 กิโลเมตร เป็นของกรมทางหลวง
ประวัติ
สร้างพ.ศ. 2466; 101 ปีที่แล้ว (2466) (แยกใต้ทางด่วนเพลินจิต-สุชุมวิท ซอย 13)
พ.ศ. 2470; 97 ปีที่แล้ว (2470) (สุชุมวิท ซอย 13-สมุทรปราการ)
พ.ศ. 2477; 90 ปีที่แล้ว (2477) (สมุทรปราการ-บางปะกง)
เปิดให้บริการพ.ศ. 2468; 99 ปีที่แล้ว (2468) (แยกใต้ทางด่วนเพลินจิต-สุชุมวิท ซอย 13)
8 กันยายน พ.ศ. 2479; 88 ปีก่อน (2479-09-08) (สุชุมวิท ซอย 13-สมุทรปราการ)
พ.ศ. 2480; 87 ปีที่แล้ว (2480) (สมุทรปราการ-บางปะกง)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถ.เพลินจิต ใน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
 
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทางหลวงหมายเลข 48 ในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ประวัติ

แก้
 
ป้ายชื่อถนนสุขุมวิท เขียนเป็นอักษรภาษาไทยและอักษรภาษาอังกฤษ

ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร มีประวัติเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462[1] เมื่อนางสาว อี.เอส.โคล หรือ "แหม่มโคล" ครูใหญ่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ได้ย้ายโรงเรียนจากข้างโรงพยาบาลศิริราชมาอยู่ริมคลองแสนแสบซึ่งตอนนั้นยังไม่มีชุมชน การคมนาคมก็มีเพียงแต่คลองแสนแสบ จึงขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเพลินจิตต่อจากถนนปทุมวัน (ถนนพระรามที่ 1) จนถึงจุดบรรจบบนถนนวิทยุที่แยกไปสถานีวิทยุโทรเลข (แยกเพลินจิต) ซึ่งถนนดังกล่าวอยู่ในแนวถนนที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ดำริจะตัดไปสมุทรปราการอยู่แล้ว แต่กรมสุขาภิบาลยังไม่มีเงินสร้าง ในปี พ.ศ. 2466 โรงเรียนกุลสตรีวังหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย นาย เอ.อี.นานา ได้เรี่ยไรเจ้าของที่ดินในย่าน แล้วนำเงินมาให้กรมสุขาภิบาลขุดคลองเอาดินพูนขึ้นเป็นถนน จากแยกเพลินจิตไปจนถึงซอยเข้าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือซอยสุขุมวิท 19) เป็นระยะทาง 3,072 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อตัดถนนต่อจากซอยเข้าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยตั้งปลายทางไว้ที่เมืองสมุทรปราการ ได้ชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาพระพิศาลสุขุมวิท (ประสบ สุขุม) อธิบดีกรมทางในขณะนั้น ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยายมราชและท่านผู้หญิงตลับ ได้จัดทำ "โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็นแม่บทในการสร้างทางหลวงเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ถูกกำหนดให้เป็นทางสายหลักของภาคตะวันออก จึงสร้างต่อจากสมุทรปราการ ผ่านชลบุรี ระยอง ไปจนถึงตัวเมืองตราด เรียกชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-ตราด" ต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ให้ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินจำนวน 44 เส้นทาง โดยทางหลวงแผ่นดินสายกรุงเทพฯ-ตราดได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า "ถนนสุขุมวิทย์" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท[2] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากชื่อถนนผิดจากราชทินนามของพระพิศาลสุขุมวิท จอมพล ถนอม กิตติขจร จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2503 ให้แก้ชื่อถนนเป็น "ถนนสุขุมวิท" มาจนถึงปัจจุบัน[3]

ต่อมาได้มีการกำหนดให้รวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 ตลอดทั้งสาย (ช่วงตัวเมืองตราดถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่) ให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ทำให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 มีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 89 กิโลเมตร

รายละเอียดของเส้นทาง

แก้
ความยาว
  ไมล์ กิโลเมตร
กรุงเทพมหานคร 7.83 12.6
จังหวัดสมุทรปราการ 25.79 41.5
จังหวัดฉะเชิงเทรา 14.04 22.6
จังหวัดชลบุรี 65.24 105
จังหวัดระยอง 63.38 102
จังหวัดจันทบุรี 55.05 88.6
จังหวัดตราด 65.59 112
รวม 300.93 484.3

กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดสมุทรปราการ

แก้
 
แผนที่ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร
 
ถนนสุขุมวิทช่วงทางแยกอโศกมนตรี กรุงเทพมหานคร
 
ถนนสุขุมวิทในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 เริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออกตามถนนราชดำเนินกลาง ถนนมหาไชย ถนนบำรุงเมือง ถนนพระรามที่ 1 ถนนเพลินจิต และได้เริ่มเรียกชื่อถนนสุขุมวิทตั้งแต่แยกด่วนเพลินจิต บริเวณขอบฝั่งตะวันออกของทางรถไฟสายแม่น้ำ (สายแยกจากทางรถไฟสายตะวันออก) ใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร มีแนวเส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตวัฒนากับเขตคลองเตย ระหว่างทางตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศกมนตรีที่แยกอโศกมนตรี ตัดกับถนนทองหล่อที่แยกทองหล่อ ตัดกับถนนเอกมัยที่แยกเอกมัยใต้ ตัดกับถนนพระรามที่ 4 และถนนสุขุมวิท 71 ที่แยกพระโขนง ลอดใต้ทางพิเศษฉลองรัช และตัดกับถนนอ่อนนุชที่แยกอ่อนนุช ก่อนจะตัดกับซอยสุขุมวิท 52 เข้าสู่พื้นที่เขตพระโขนง เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงพระโขนงใต้กับแขวงบางจากตลอดทั้งเขต ตัดกับถนนวชิรธรรมสาธิตเข้าสู่พื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา ตัดกับถนนอุดมสุขที่แยกอุดมสุข และตัดกับถนนสรรพาวุธและถนนเทพรัตนที่แยกบางนา เข้าสู่พื้นที่แขวงบางนาใต้ ตัดกับซอยสุขุมวิท 70 และซอยลิขิต 45 เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ

ถนนสุขุมวิทช่วงต้น ๆ สายที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตธุรกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตามซอยต่าง ๆ ตลอดแนวถนนสุขุมวิทในช่วงนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงใหญ่ของเมืองอีกด้วย

เมื่อเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ แนวเส้นทางจะผ่านอำเภอเมืองสมุทรปราการ ตัดกับทางพิเศษกาญจนาภิเษกที่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นเส้นทางจะเลี่ยงเมืองไปทางทิศตะวันออก เลียบคลองชลประทาน แล้วข้ามคลองด่านน้อยเข้าสู่อำเภอบางบ่อ

ถนนสุขุมวิทในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการมีแนวระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องอยู่ 1 สาย คือรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท โดยวิ่งบนเกาะกลางของถนนสุขุมวิท โดยตั้งแต่สถานีนานาถึงสถานีแบริ่ง อยู่ในการดูแลของกรุงเทพมหานคร และตั้งแต่สถานีสำโรงจนถึงสถานีเคหะฯ ควบคุมการก่อสร้างโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แต่หลังสร้างเสร็จแล้วก็ได้โอนให้กับกรุงเทพมหานครตามคำสั่งมาตรา 44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ถนนสุขุมวิทในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ทางแยกคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ (กิโลเมตรที่ 47+450) จนถึงกิโลเมตรที่ 62+000 (แนวเส้นแบ่งเขตกับจังหวัดฉะเชิงเทรา) อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างขยายช่องจราจร จากเดิม 2-4 ช่องจราจร เป็น 6 ช่องจราจรตลอดสาย (ยกเว้นช่วงสะพานข้ามคลองด่าน) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรจากกรุงเทพมหานคร สู่ภาคตะวันออก ที่มีปริมาณการจราจรสูงขึ้นในอนาคต

จังหวัดฉะเชิงเทราถึงจังหวัดตราด

แก้
 
ถนนสุขุมวิทในจังหวัดจันทบุรี

เมื่อเข้าสู่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ขนาดเส้นทางของถนนสุขุมวิทจะมี 6 ช่องจราจรจนถึงแยกคลองอ้อม ตัดกับถนนเทพรัตน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 แล้วนับกิโลเมตรไปตามถนนเทพรัตน เข้าสู่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยถนนสุขุมวิทสายเดิมจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ตัวเมืองบางปะกงและข้ามแม่น้ำบางปะกงที่สะพานเทพหัสดินตัวเก่า (อยู่ท้ายน้ำของสะพานปัจจุบัน และปัจจุบันสะพานตัวเดิมได้พังทลายแล้ว) จากนั้นเข้าสู่เทศบาลตำบลท่าข้าม และกลับมาทับซ้อนกับแนวถนนเทพรัตนในปัจจุบัน จนถึงทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง (เหลือร่องรอยบางส่วนจากการแก้ไขแนวเส้นทาง) เมื่อผ่านทางแยกต่างระดับหนองไม้แดงไปแล้ว ถนนสุขุมวิทจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่ตัวเมืองชลบุรี แล้วผ่านอำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง ผ่านเมืองพัทยา และอำเภอสัตหีบ เข้าสู่จังหวัดระยอง ผ่านท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง อำเภอเมืองระยอง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ที่แยกปลวกเกตุ แล้วผ่านอำเภอแกลง เข้าสู่จังหวัดจันทบุรี ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง เข้าสู่จังหวัดตราด ผ่านอำเภอเขาสมิง อำเภอเมืองตราด เมื่อถึงตัวเมืองตราดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 จะเลี้ยวซ้ายเพื่อมุ่งหน้าอำเภอคลองใหญ่ ในขณะที่ถนนสุขุมวิทจะตรงเข้าเมืองตราดและกลายเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3148 จากนั้น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 จะมุ่งหน้าไปยังอำเภอคลองใหญ่ และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 48 ในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา

ถนนสุขุมวิท ช่วงกิโลเมตรที่ 137+640 ถึงกิโลเมตรที่ 153+200 เดิมอยู่ในความควบคุมของกรมทางหลวง แต่ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของของเมืองพัทยา และช่วงตั้งแต่แยกปลวกเกตุไปจนถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 123

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน ถนนสุขุมวิท ทิศทาง: กรุงเทพมหานคร–หาดเล็ก ซ้าย: ทิศเหนือ, ขวา: ทิศใต้[4]
จังหวัด อำเภอ/เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนสุขุมวิท แยกใต้ทางด่วนเพลินจิต–แยกบางนา
กรุงเทพมหานคร ปทุมวัน แยกเพลินจิต เชื่อมต่อจาก:   ถนนเพลินจิต ไปราชประสงค์, ปทุมวัน
  ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปดาวคะนอง, บางนา   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปดินแดง, แจ้งวัฒนะ
ทางข้ามทางรถไฟสายแม่น้ำ
คลองเตย แยกนานา ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ซอยสุขุมวิท 4 (นานาใต้)
แยกอโศกมนตรี   ถนนอโศกมนตรี ไปเพชรบุรี   ถนนรัชดาภิเษก ไปพระรามที่ 4
แยกสายน้ำผึ้ง ไม่มี ซอยสุขุมวิท 22 (สายน้ำผึ้ง) ไปพระรามที่ 4
แยกสวัสดี ซอยสุขุมวิท 31 (สวัสดี) ไปเพชรบุรี ไม่มี
แยกสุขุมวิท 24 ไม่มี ซอยสุขุมวิท 24 (เกษม) ไปพระรามที่ 4
แยกอารี ไม่มี ซอยสุขุมวิท 26 (อารี) ไปพระรามที่ 4
แยกทองหล่อ ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) ไปเพชรบุรี ไม่มี
แยกเอกมัยใต้ ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ไปเพชรบุรี, ประดิษฐ์มนูธรรม ไม่มี
แยกพระโขนง ไม่มี   ถนนพระรามที่ 4 ไปคลองเตย
แยกสุขุมวิท 71 ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ไปคลองตัน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, บางกะปิ, มีนบุรี ไม่มี
สะพาน ข้ามคลองพระโขนง
ทางแยกต่างระดับคลองพระโขนง   ทางพิเศษฉลองรัช ไปบางนา   ทางพิเศษฉลองรัช ไปรามอินทรา, ถนนพระราม 9
แยกอ่อนนุช   ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) ไปศรีนครินทร์, ลาดกระบัง, ฉะเชิงเทรา ไม่มี
แยกเกษมสุวรรณ ไม่มี ซอยสุขุมวิท 50 ไปทางเชื่อมขึ้นทางพิเศษฉลองรัช ทางเข้าโลตัส สาขาสุขุมวิท 50
พระโขนง แยกสุขุมวิท 62 ไม่มี ซอยสุขุมวิท 62 (สามภพนฤมิตร) ไปทางเชื่อมขึ้นทางพิเศษเฉลิมมหานคร
แยกปุณณวิถี ซอยสุขุมวิท 101 (ปุณณวิถี) ไม่มี
บางนา แยกทุ่งสาธิต ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) ไปอ่อนนุช ไม่มี
แยกอุดมสุข ถนนอุดมสุข (สุขุมวิท 103) ไปศรีนครินทร์ ไม่มี
  บางนา–สมุทรปราการ
กรุงเทพมหานคร บางนา 16+389 เชื่อมต่อจาก:   ถนนสุขุมวิท จากกรุงเทพมหานคร
16+714 แยกบางนา   ทางพิเศษบูรพาวิถี ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปดาวคะนอง
  ถนนเทพรัตน (บางนา-ตราด) ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี, บรรจบ   ถนนสุขุมวิท   ถนนสรรพาวุธ ไปท่าน้ำวัดบางนานอก
18+000 แยกลาซาล ถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) ไปศรีนครินทร์ ไม่มี
18+400 แยกแบริ่ง   ซอยสุขุมวิท 107 / ถนนแบริ่ง[5] ไปบรรจบ   ถนนศรีนครินทร์ ไม่มี
สมุทรปราการ เมืองสมุทรปราการ 19+727 สะพาน ข้ามคลองสำโรง
20+018 แยกเทพารักษ์   ถนนเทพารักษ์ ไป บางพลี ไม่มี
20+325 แยกปู่เจ้าสมิงพราย ไม่มี   ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ไป พระประแดง, สะพานภูมิพล
21+875 ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท    ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ไปบางนา    ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ไป ถนนพระรามที่ 2
22+234 แยกโค้งเกริก ไม่มี ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ ไปถนนสรรพาวุธ
25+333 แยกปากน้ำ   ถนนสุขุมวิท ไปชลบุรี ไม่มี
ตรงไป: สป.ถ 2-xxxx ถนนประโคนชัย เข้าเมือง สมุทรปราการ
  สมุทรปราการ–บางปะกง
สมุทรปราการ เมืองสมุทรปราการ 26+536 แยกการไฟฟ้า   ถนนศรีนครินทร์ ไปบางกะปิ ไม่มี
27+550 แยกแพรกษา   ถนนแพรกษา ไปบางพลี ไม่มี
28+900 แยกโค้งโพธิ์ ไม่มี สป.ถ 2-xxxx ถนนสายลวด เข้าเมืองสมุทรปราการ
31+000 ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท   ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (ตะวันออก) ไป บางปะอิน, วังน้อย   ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ไป   ถนนพระรามที่ 2
40+550 แยกตำหรุ   ถนนตำหรุ-บางพลี ไปบางพลี, ลาดกระบัง ไม่มี
47+400   ถนนเลียบคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ ไป ถนนเทพารักษ์, ถนนเทพรัตน ไม่มี
49+035 แยกวิทยุบางปลา   ซอยเทศบาลบางปู 119 ไปโครงการลูกพระดาบส, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี วิทยาเขตสมุทรปราการ ,สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ไม่มี
บางบ่อ 52+600   ถนนเคหะบางพลี ไป บางเสาธง ไม่มี
57+774   ถนนปานวิถี ไปบางบ่อ ไม่มี
ฉะเชิงเทรา บางปะกง 75+560 แยกบางปะกง ไม่มี   ถนนสุขุมวิทสายเก่า เข้าเมือง อ.บางปะกง
76+022 แยกคลองอ้อม   ทางพิเศษบูรพาวิถี ไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, บางนา, กรุงเทพ   ทางพิเศษบูรพาวิถี ไปชลบุรี
  ถนนเทพรัตน ไป บางบ่อ, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, บางนา, กรุงเทพ   ถนนเทพรัตน ไปชลบุรี, บรรจบ   ถนนสุขุมวิท
ตรงไป:   ถนนสิริโสธร ไป ฉะเชิงเทรา, หนองจอก, มีนบุรี, กรุงเทพ
  หนองไม้แดง–ชลบุรี
ชลบุรี เมืองชลบุรี 87+450 ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง เชื่อมต่อจาก:   ถนนเทพรัตน จากกรุงเทพ
  ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ไป บางแสน, พัทยา ไม่มี
89+650 แยกขนส่งใหม่ (หัวเสือ)   ถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์ ไปสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี ไม่มี
แยกบางทราย ไม่มี   ถนนพิพิธ ไป บางทราย
92+670 ตรงไป:   ถนนสุขุมวิท เข้าเมืองชลบุรี
  ถนนสุขุมวิท (เขตเทศบาลเมืองชลบุรี)
ชลบุรี เมืองชลบุรี แยกเฉลิมไทย   ถนนศุขประยูร ไปอำเภอพานทอง, อำเภอพนัสนิคม, บรรจบ   ทล.315   ถนนโพธิ์ทอง ไปศาลากลางจังหวัดชลบุรี
แยกบ้านสวน ถนนเศรษฐกิจ ไปอำเภอบ้านบึง, อำเภอแกลง, บรรจบ   ทล.344   ถนนอัคนิวาต ไปศาลากลางจังหวัดชลบุรี
  ชลบุรี–บางแสน
ชลบุรี เมืองชลบุรี 94+929 เชื่อมต่อจาก:   ถนนสุขุมวิท จากเมืองชลบุรี
แยกโบว์ลิ่ง ไม่มี ถนนวชิรปราการ ไปศาลากลางจังหวัดชลบุรี
แยกโรงเรียนชลชาย ถนนบ้านสวน-หนองข้างคอก ไป   ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ซอยบ้านสวน-สุขุมวิท 13 ไปถนนพระยาสัจจา (แยกวิรัชศิล)
97+858 แยกต่างระดับห้วยกะปิ (แยกเซ็นทรัลชลบุรี)   ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ไปอำเภอบ้านบึง, พัทยา, กรุงเทพ ไม่มี
แยกคีรี   ถนนคีรีนคร ไป   ทางบริการทางหลวงพิเศษหมายเลข 7   ถนนพระยาสัจจา-คีรี ไป   ถนนพระยาสัจจา (แยกพลับพลา)
100+240 แยกอ่างศิลา ไม่มี   ถนนอ่างศิลา-บางแสน ไป อ่างศิลา, บางแสน
103+000 แยกวัดบางเป้ง   ถนนข้าวหลาม เชื่อมต่อ   ทางหลวงชนบท ชบ.1073 ไป   ทางเลี่ยงเมืองหนองมน,    ทางบริการทางหลวงพิเศษหมายเลข 7   ถนนข้าวหลาม ไปบางแสน
103+760 ตรงไป: ถนนสุขุมวิท เข้าเมืองแสนสุข (บางแสน)
ถนนสุขุมวิท (เขตเทศบาลเมืองแสนสุข)
ชลบุรี เมืองชลบุรี แยกบางแสน ไม่มี ถนนลงหาดบางแสน ไปบางแสน
ถนนแสนสุข ไป สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, บรรจบ   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3144 ไม่มี
แยกวัดตาลล้อม ซอยสุขุมวิท 9 ไปทางเข้าวัดตาลล้อม ถนนเนตรดี ไปหาดบางแสนล่าง
ไม่มี ถนนบางแสนล่าง ไปหาดบางแสนล่าง
แยกจรรยาหัตถกรรม   ทางเลี่ยงเมืองหนองมน ไป   ถนนข้าวหลาม ไม่มี
  บางแสน–ศรีราชา
ชลบุรี เมืองชลบุรี 109+900 เชื่อมต่อจาก: ถนนสุขุมวิท จากเมืองแสนสุข (บางแสน)
ศรีราชา แยกตลาดบางพระ   ถนนเทศบาล 7 ไป สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ไม่มี
  ถนนเทศบาล 9 ไปอ่างเก็บน้ำบางพระ, บรรจบ   ทางหลวงชนบท ชบ.4099   ถนนเทศบาล 1 ไปหาดบางพระ
แยกดาราสมุทร ไม่มี   ถนนเจิมจอมพล ไปวงเวียนเกาะลอย
116+800 ตรงไป: ถนนสุขุมวิท เข้าเมืองศรีราชา
ถนนสุขุมวิท (เขตเทศบาลเมืองศรีราชา)
ชลบุรี ศรีราชา แยกวัดวังหิน   ซอยสุขุมวิท 11 (วัดวังหิน) ไปทางเข้าวัดวังหิน   ถนนสุรศักดิ์ 2 ไปวงเวียนเกาะลอย
แยกอัสสัมชัญ   ถนนศรีราชา-หนองค้อ ไปบ้านหุบบอน, บรรจบ   ทางหลวงหมายเลข 3241 ไม่มี
แยกเซนต์ปอลคอนแวนต์   ถนนเก้ากิโล ไปเครือสหพัฒน์   ถนนสุรศักดิ์สงวน ไปตลาดสดเทศบาลเมืองศรีราชา
แยกทางลงตลาดศรีราชา ไม่มี   ถนนสุรศักดิ์ 3 ไปตลาดสดเทศบาลเมืองศรีราชา
  ศรีราชา–พัทยา
ชลบุรี ศรีราชา 119+500 เชื่อมต่อจาก: ถนนสุขุมวิท จากเมืองศรีราชา
แยกอ่าวอุดม ถนนทุ่งสุขลา ไปบ้านทุ่งสุขลา   ถนนอ่าวอุดม ไปบ้านอ่าวอุดม
128+650 ต่างระดับท่าเรือแหลมฉบัง ทางเชื่อมต่อ   ทล.พ.7 (หนองขาม-ท่าเรือแหลมฉบัง) ไปพัทยา, บรรจบ     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 ทางเชื่อมต่อ   ทล.พ.7 (หนองขาม-ท่าเรือแหลมฉบัง) ไปทางเข้า ท่าเรือแหลมฉบัง
แยกท่าเรือแหลมฉบัง   ถนนแหลมฉบังกลาง เข้าเมืองแหลมฉบัง ไปทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
บางละมุง 130+750 ชบ.3009 ทางหลวงชนบท ชบ.3009 ไปโรงโป๊ะ, บ.หนองแขวะ ไปทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
135+000 แยกวัดประชุมคงคา ซอยบางละมุง 21 (นากลาง) ไปบ้านร้อยเสา ซอยบางละมุง 6 ไปทางเข้าวัดประชุมคงคา, บางละมุง
แยกตลาดโรงโป๊ะ ซอยบางละมุง 25 ไปบ้านโรงโป๊ะ, บ้านตะเคียนเตี้ย ไม่มี
137+116 แยกกะทิงลาย   ทล.36 ไประยอง ไม่มี
137+640 ตรงไป:   ถนนสุขุมวิท เข้าเมืองพัทยา
  ถนนสุขุมวิท (เขตเมืองพัทยา)
ชลบุรี บางละมุง 141+640   ถนนชัยพรวิถี ไปบ้านเขาไม้แก้ว, บรรจบ   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3240 ไม่มี
143+785 แยกพัทยาเหนือ ไม่มี   ถนนพัทยาเหนือ ไปศาลาว่าการเมืองพัทยา, หาดพัทยา
144+195 แยกมอเตอร์เวย์ ทางเชื่อมต่อ   ทล.พ.7 (มาบประชัน-พัทยา) ไปชลบุรี, กรุงเทพ ไม่มี
145+305 แยกพรประภานิมิต   ถนนพรประภานิมิต ไป สถานีรถไฟพัทยา, หนองปรือ, บรรจบ   ถนนพรประภานิมิต ไม่มี
145+685 แยกพัทยากลาง ไม่มี   ถนนพัทยากลาง ไปหาดพัทยา
147+395 แยกพัทยาใต้ ไม่มี   ถนนพัทยาใต้ ไปหาดพัทยา
148+275 แยกเทพประสิทธิ์ ไม่มี   ถนนเทพประสิทธิ์ ไป หาดจอมเทียน
150+415 แยกบุณย์กัญจนา ไม่มี   ถนนบุณย์กัญจนา ไปหาดจอมเทียน
150+340 แยกชัยพฤกษ์   ถนนชัยพฤกษ์ 2 ไปศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก, บ้านชากนอก   ถนนชัยพฤกษ์ ไปหาดจอมเทียน
152+330 แยกจอมเทียนสาย 2 ไม่มี ถนนจอมเทียนสาย 2 ไปหาดจอมเทียน
  พัทยา–ระยอง
ชลบุรี บางละมุง 153+200 เชื่อมต่อจาก:   ถนนสุขุมวิท จากเมืองพัทยา
154+190 แยกอัยการ ถนนห้วยใหญ่ ไปบ้านห้วยใหญ่, บรรจบ   ถนนเทศบาล 1 ซอยนาจอมเทียน 6
157+320 ทางเชื่อมต่อ   ทล.พ.7 (ห้วยใหญ่-บ้านอำเภอ) ไป อ.บ้านฉาง, ชลบุรี, กรุงเทพ ไม่มี
158+355 แยกบ้านอำเภอ ไม่มี ซอยนาจอมเทียน 28
  ถนนชากแง้ว ไปบ้านชากแง้ว,   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 ไม่มี
160+525   ถนนญาณสังวราราม ไปทางเข้า วัดญาณสังวราราม, บ้านชากแง้ว ซอยนาจอมเทียน 38
151+200   ถนนบานเย็น ไปบ้านเขาชีจรรย์ ไม่มี
สัตหีบ 165+415 แยกบางเสร่ ไม่มี   ซอยเทศบาล 5 ไปหาดบางเสร่
169+169 แยกเจ   ถนนเลี่ยงเมืองสัตหีบ ไป อำเภอบ้านฉาง, ระยอง ทางเข้า กรมสรรพาวุธทหารเรือ
175+415 แยกสัตหีบ ไม่มี ทางหลวงท้องถิ่น เข้าเมืองสัตหีบ
ตรงไป:   ถนนสุขุมวิท ไประยอง
181+400 แยก กม.6   ซอยพลูตาหลวง 2 ไปบ้านพลูตาหลวง ไม่มี
181+623 แยกพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มี   ทล.3573 ไปบ้านพักสารวัตรทหารเรือ กม.6, กองช่างโยธา ฐานทัพเรือสัตหีบ, บรรจบ   ทล.3126
185+583 แยกบ้าน กม.10   ทล.331 ไปฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี   ทล.3126 ไป เรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือหลวงสิมิลัน, ท่าอากาศยานอู่ตะเภา, ท่าเรือจุกเสม็ด
ระยอง บ้านฉาง 189+095 แยกสนามบินอู่ตะเภา   ถนนเลี่ยงเมืองสัตหีบ ไปฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, กรุงเทพ ไม่มี
191+200 ต่างระดับอู่ตะเภา ทางเชื่อมต่อ   ทล.พ.7 ไปชลบุรี, กรุงเทพ ไม่มี
194+600 แยกบ้านฉาง ถนนเทศบาล 31 ไปบ้านสำนักท้อน, อำเภอนิคมพัฒนา, เชื่อมต่อ   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3376 ถนนเทศบาล 42 ไปหาดพยูน, เชื่อมต่อ รย.ถ 15-001 ถนนบ้านฉาง-พยูน
198+010 แยกเนินกระปรอก ถนนเทศบาล 47 ไปบ้านเขาภูดร, บรรจบ   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3376 ถนนเทศบาล 58 ไปหาดน้ำริน, เชื่อมต่อ รย.ถ 15-002 ถนนเนินกระปรอก-น้ำริน
เมืองระยอง 205+300 แยกหนองแฟบ ไม่มี ทางหลวงท้องถิ่น ไป ทางเข้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
205+640 แยก ปตท.   ทล.3191 ไป อำเภอปลวกแดง ไม่มี
208+600 แยกมาบตาพุด ถนนมาบตาพุด ไปบรรจบ   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ถนนมาบตาพุด-หาดทรายทอง ไปหาดทรายทอง
210+523 ทางลอดแยกเนินสำลี   ทล.363 ไปบรรจบ   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36   ทล.363 ไป ทางเข้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
213+471 แยกขนส่ง   ถนนเลี่ยงเมืองระยอง ไป อำเภอแกลง, จันทบุรี ไม่มี
216+990 ตรงไป: ถนนสุขุมวิท เข้าเมืองระยอง
ถนนสุขุมวิท (เขตเทศบาลนครระยอง)
ระยอง เมืองระยอง 217+100 แยกพีเอ็มวาย ถนนท่าบรรทุก ไป อำเภอบ้านค่าย, บรรจบ   ทางหลวงชนบท รย.4006 ถนนท่าบรรทุก ไปหาดแสงจันทร์
แยกโรงพยาบาลระยอง ถนนจันทอุดม ไปอำเภอบ้านค่าย, อำเภอปลวกแดง, บรรจบ   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3574 ไม่มี
แยกตากสิน ไม่มี ถนนตากสินมหาราช ไปบ้านปากน้ำระยอง
ถนนพูนไฉ่หัว ไปบ้านแลง, บรรจบ   ถนนระยอง-บ้านแลง ไม่มี
รย.5037 ทางหลวงชนบท รย.5037 ไปบรรจบถนนท่าบรรทุก ไม่มี
    ระยอง–จันทบุรี–ตราด–หาดเล็ก (รวมช่วงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 เดิม)
ระยอง เมืองระยอง 223+650 เชื่อมต่อจาก: ถนนสุขุมวิท จากเมืองระยอง
~225+400 แยกปลวกเกตุ     ทล.36 ไปพัทยา, ชลบุรี ไม่มี
229+800 - ถนนบ้านแลง—ตะพง ไปบ.แลง รย.1001 ทางหลวงชนบท รย.1001 ไปหาดแม่รำพึง
แกลง 238+196 แยกบ้านเพ ไม่มี   ทล.3140 ไปบ้านเพ
~264+757   ถนนเลี่ยงเมืองแกลง ไปชลบุรี, จันทบุรี ไม่มี
269+086 แยกภิบาลพัฒนา (แยกแกลง)   ทล.344 ไปชลบุรี ถ.ธรรมมงคล เข้าเมืองแกลง
~271+900   ถนนเลี่ยงเมืองแกลง ไประยอง ไม่มี
จันทบุรี ท่าใหม่ 306+154 แยกห้วยสะท้อน   ทล.3322 ไป วัดเขาสุกิม ไม่มี
315+271 แยกท่าจุ๊ย ไม่มี   ทล.3152 ไป อำเภอท่าใหม่
318+403 แยกเนินสูง   ทล.3322 ไป วัดเขาสุกิม   ถนนเทศบาลสาย 1 (ถนนพิศาลธรรมคุณ) ไป อำเภอท่าใหม่
เมืองจันทบุรี 321+782 แยกคลองทราย ไม่มี   ถนนตากสิน ไปบ้านท่าแฉลบ, เข้าเมืองจันทบุรี
324+300 แยกเขาไร่ยา   ทล.3249 ไป อำเภอเขาคิชฌกูฏ, บ้านแพร่งขาหยั่ง   ถนนรักศักดิ์ชมูล เข้าเมืองจันทบุรี
แยกแสลง จบ.1030 ทางหลวงชนบท จบ.1030 ไปบ้านวังแซ้ม   ถนนหัวแหลม-ดอนสำโรง ไปบ้านหัวแหลม, เข้าเมืองจันทบุรี
333+003 แยกปากแซง   ทล.317 ไป อำเภอมะขาม, สระแก้ว     ถนนสุขุมวิท ไป ตราด
แยกเกาะรงค์ ไม่มี   ถนนท่าหลวง เข้าเมืองจันทบุรี
แยกศักดิ์ชัย ไม่มี   ถนนตรีรัตน์ เข้าเมืองจันทบุรี
345+787 แยกหนองขอน ไม่มี   ทล.3348 เข้าเมืองจันทบุรี
แหลมสิงห์ 348+260 แยกกสิกรรม ไม่มี   ทล.3149 ไป แหลมสิงห์, ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต
ขลุง 357+925 แยกขลุง   ทล.3277 ไป อำเภอมะขาม   ถนนเทศบาล 4 เข้าเมืองขลุง
361+622   ถนนสุขุมวิทสายเก่า ไปบ้านวังสรรพรส, อำเภอบ่อไร่ ไม่มี
368+532   ถนนสุขุมวิทสายเก่า ไปบ้านวังสรรพรส, อำเภอบ่อไร่ ไม่มี
ตราด เขาสมิง 378+143 แยกแสนตุ้ง   ทล.3158 ไปอำเภอบ่อไร่ ไม่มี
379+021 ไม่มี   ทล.3156 ไป อำเภอแหลมงอบ
384+321 แยกเขาสมิง   ทล.3159 ไปอำเภอบ่อไร่, บ้านด่านชุมพล ไม่มี
391+319   ทล.3494 ไปบ้านฉางเกลือ ไม่มี
เมืองตราด 399+090 แยกตราด     ถนนสุขุมวิท ไป อำเภอคลองใหญ่ ไม่มี
ตรงไป:   ทล.3148 (ถนนสุขุมวิท) เข้าเมืองตราด, ไปอำเภอแหลมงอบ, บรรจบ   ทล.3156
ถนนหนองบัว-เกาะตะเคียน ไปบ้านหนองบัว ถนนเกาะตะเคียน-ท่าเรือ เข้าเมืองตราด, บรรจบ ตร.ถ 2-0015 ถนนเกาะตะเคียน
401+190 สะพาน ข้ามแม่น้ำตราด
403+264   ทล.3157 ไปบ้านด่านชุมพล, อำเภอบ่อไร่ ตร.ถ 8-0002 ทางหลวงท้องถิ่น ไปบ้านท่าแพ
411+494   ทล.3271 ไปบ้านด่านชุมพล, อำเภอบ่อไร่ ไม่มี
ไม่มี ตร.ถ 42-034 ถนนคลองพลุ-สองห้อง ไปบ้านสองห้อง
~430+520 ไม่มี ตร.1027 ทางหลวงชนบท ตร.1027 ไปบ้านแหลมกลัด
คลองใหญ่ ตร.ถ 5-0001 ถนนเทศบาล 1 (ถนนมุ่งคีรี) ไปบ้านเขาวง ตร.ถ 5-0001 ถนนเทศบาล 1 (ถนนมุ่งคีรี) ไปบ้านคลองใหญ่
488+387 ตรงไป:     ทางหลวงหมายเลข 48 ไปเกาะกง, เขมรภูมินทร์, พนมเปญ
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เขตการควบคุม

แก้

ถนนสุขุมวิทแบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 22 ตอน ได้แก่

หมายเหตุ: ช่วงเขตการควบคุมของแขวงทางหลวงชลบุรีที่ 2 ช่วงที่ 7 และ 8 ตอนชลบุรี–ศรีราชา จะใช้เลขตอนที่ 0401 เป็นเลขเดียวกันทั้ง 2 ช่วง และช่วงเขตการควบคุมของแขวงทางหลวงตราด ช่วงที่ 19 และ 20 ตอนแม่น้ำเวฬุ–เขาสมิง จะใช้เลขตอนที่ 0702 เป็นเลขเดียวกันทั้ง 2 ช่วง เนื่องจากอยู่ช่วงระหว่างเขตเทศบาลเมืองชลบุรีกับเขตเทศบาลเมืองแสนสุข และระยะทางสั้นในช่วงแม่น้ำเวฬุ–เขาสมิง

ถนนสุขุมวิท
ช่วงที่ ตอน ชื่อตอน หลัก กม. ระยะทาง (กม.) หมวดทางหลวง แขวงทางหลวง จังหวัด
ออกเขตกรุงเทพมหาคร
1 0101 บางนา–แบริ่ง 16+389–18+500 2.111 หมวดทางหลวงสมุทรปราการ สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร
2 0102 แบริ่ง–ท้ายบ้าน 18+500–31+600 13.100 สมุทรปราการ
3 0103 ท้ายบ้าน–บางตำหรุ 31+600–40+550 8.950 หมวดทางหลวงบางปู
4 0104 บางตำหรุ–คลองด่าน 40+550–62+000 21.450
5 0200 คลองด่าน–บางปะกง 62+000–76+022 14.022 หมวดทางหลวงบางปะกง ฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา
6 0300 หนองไม้แดง–ชลบุรี 87+450–92+460 5.220 หมวดทางหลวงหนองไม้แดงที่ 1 ชลบุรีที่ 1 ชลบุรี
เข้าเขตเทศบาลเมืองชลบุรี
ออกเขตเทศบาลเมืองชลบุรี
7 0401 ชลบุรี–ศรีราชา 94+929–103+760 8.831 หมวดทางหลวงบางแสน ชลบุรีที่ 2 ชลบุรี
เข้าเขตเทศบาลเมืองแสนสุข
ออกเขตเทศบาลเมืองแสนสุข
8 0401 ชลบุรี–ศรีราชา 109+900–116+800 6.900 หมวดทางหลวงบางแสน ชลบุรีที่ 2 ชลบุรี
เข้าเขตเทศบาลเมืองศรีราชา
ออกเขตเทศบาลเมืองศรีราชา
9 0402 ศรีราชา–พัทยา 119+500–137+640 18.140 หมวดทางหลวงบางละมุง ชลบุรีที่ 2 ชลบุรี
เข้าเขตเมืองพัทยา
ออกเขตเมืองพัทยา
10 0403 พัทยา–พลูตาหลวง 153+200–186+307 33.107 หมวดทางหลวงสัตหีบ ชลบุรีที่ 2 ชลบุรี
11 0501 พลูตาหลวง–มาบตาพุด 186+307–207+000 20.693 หมวดทางหลวงบ้านฉาง ระยอง ระยอง
12 0502 มาบตาพุด–ระยอง 207+000–216+990 9.990 หมวดทางหลวงทับมา
เข้าเขตเทศบาลนครระยอง
ออกเขตเทศบาลนครระยอง
13 0503 ระยอง–กะเฉด 223+650–248+000 24.350 หมวดทางหลวงเชิงเนิน ระยอง ระยอง
14 0504 กะเฉด–นายายอาม 248+000–287+889 39.889 หมวดทางหลวงแกลง
15 0601 นายายอาม–บ้านสิ้ว 287+889–312+000 24.111 หมวดทางหลวงท่าใหม่ จันทบุรี จันทบุรี
16 0602 บ้านสิ้ว–โพธิ์ทอง 312+000–327+000 15.000 หมวดทางหลวงบางกะจะ
17 0603 โพธิ์ทอง–บ้านพลิ้ว 327+000–348+500 21.500 หมวดทางหลวงพลับพลา
18 0701 บ้านพลิ้ว–แม่น้ำเวฬุ 348+500–375+533 27.033 หมวดทางหลวงขลุง ตราด
19 0702 แม่น้ำเวฬุ–เขาสมิง 375+533–376+650 1.117 หมวดทางหลวงช้างทูน ตราด
20 376+970–383+000 6.030
21 0703 เขาสมิง–แม่น้ำตราด 383+000–401+459 18.459 หมวดทางหลวงวังกระแจะ
22 0704 แม่น้ำตราด–หาดเล็ก 401+459–488+387 86.928 หมวดทางหลวงแหลมกลัด
รวม 22 ตอนควบคุม รวมระยะทาง 426.931 กม.

สถานที่สำคัญ

แก้

ทางหลวงที่เกี่ยวข้อง

แก้
  • ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี ระยะทาง 13.851 กิโลเมตร (ปัจจุบันเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361)
    • กม.4.245 สะพานข้ามแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (กม.3.261)
    • กม.8.848 สะพานข้ามแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (กม.1.945)
    • กม.11.611 ทางแยกต่างระดับตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7 สายเดิม (กม.0)
  • ทางเลี่ยงเมืองระยอง (ปัจจุบันรวมสายทางกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 และเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงช่วงหลักกิโลเมตรที่ 0+000–3+909 เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 364)

อ้างอิง

แก้
  1. โรม บุนนาค (10 มิถุนายน 2556). "เรื่องเก่าเล่าสนุก : หลักกิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทย". all Magazine ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือน มิถุนายน 2556. all Magazine. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (67): 6378. 12 ธันวาคม 2493 – โดยทาง ราชกิจจานุเบกษา.
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แก้ชื่อถนนสุขุมวิทย์ เป็น ถนนสุขุมวิท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (37): 1376. 3 พฤษภาคม 2503 – โดยทาง ราชกิจจานุเบกษา.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-08. สืบค้นเมื่อ 2018-05-15.
  5. "แผนที่แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ สำนักทางหลวงชนบทที่ 1 (ปทุมธานี)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ 2019-04-02.
  6. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5_%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2011-08-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้