อำเภอมะขาม

อำเภอในจังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย

มะขาม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี 15 กิโลเมตร อดีตเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดจันทบุรี อาณาเขตกว้างขวางมากการดูแลยากที่จะเข้าถึงทั้งหมด ภายหลังจึงแยกพื้นที่การปกครองออกเป็นอำเภอแก่งหางแมว[1] อำเภอโป่งน้ำร้อน[2][3] อำเภอสอยดาว อำเภอเขาคิชฌกูฏ[4][5] และบางส่วนของอำเภอเมืองจันทบุรี (ตำบลแสลง)[6]

อำเภอมะขาม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Makham
วัดบ้านอ่าง
คำขวัญ: 
พระบาทมะขาม ทิวทัศน์งามหนองตะพอง
มากมีลองกอง มังคุด เงาะ ระกำหวาน
เสียงขับขานน้ำตกชำปาง เที่ยวบ้านอ่างสวนสมุนไพร
ไหว้ท่านพ่อใยศูนย์รวมใจแห่งศรัทธา
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอมะขาม
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอมะขาม
พิกัด: 12°40′25″N 102°11′48″E / 12.67361°N 102.19667°E / 12.67361; 102.19667
ประเทศ ไทย
จังหวัดจันทบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด480.1 ตร.กม. (185.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด32,737 คน
 • ความหนาแน่น68.19 คน/ตร.กม. (176.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 22150
รหัสภูมิศาสตร์2205
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอมะขาม เลขที่ 233/39 หมู่ที่ 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 22150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ตลาดมะขาม

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอมะขาม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

 
ตลาดมะขาม

ประวัติ แก้

อำเภอมะขามเดิมเรียกว่า อำเภอท่าหลวง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2422 โดยมีพระพลสงครามเป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นด่านสำหรับเก็บส่วยอากร ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำจันทบุรี ที่ตั้งตำบลท่าหลวงปัจจุบัน ต่อมาการค้าขายได้เจริญขึ้น มีการติดต่อค้าขายกับประเทศเขมร โดยใช้เส้นทางผ่านอำเภอมะขามไปยังอำเภอโป่งน้ำร้อน และข้ามไปประเทศเขมรกันมากขึ้น ที่ว่าอำเภอที่ว่าอำเภอหลังเดิมอยู่ห่างจากเส้นทางที่นะผ่านไปอำเภอโป่งน้ำร้อนมากและ เพื่อความสะดวกต่อการเก็บส่วยอากร จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ ณ บ้านมาข้าม หรือ มะขาม ในปี พ.ศ. 2460 และ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมะขาม ในอดีตอาณาเขตพื้นที่อำเภอมะขามกว้างขวางมากและยากต่อการดูแลอย่างทั่วถึงมีอาณาเขต ครอบคลุม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอสอยดาว อำเภอเมืองจันทบุรีบางส่วน(ตำบลแสลง) อำเภอแก่งหางแมว(ตำบลแก่งหางแมว) และ อำเภอมะขามในปัจจุบัน

สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "มะขาม" ไม่ได้มีต้นมะขามหรือความเกี่ยวข้องกับต้นมะขามแต่อย่างใด เล่าต่อกันมาว่าในขณะนั้นพื้นที่อำเภอมะขามเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ดุร้าย ไข้ป่าชุกชุม ทำให้ผู้ที่ผ่านไปมาประสบภัยอยู่เป็นเนือง ๆ การเดินทางไม่มีถนนเหมือนในปัจจุบัน การคมนาคมติดต่อกับในจังหวัดที่สะดวกที่สุดได้แก่ การใช้เส้นทางแม่น้ำจันทบุรีโดยทางเรือ ใช้เวลาเดินทางหลายชั่วโมง การเดินทางโดยทางบกต้องใช้ม้าหรือเกวียน เป็นพาหนะเดินทางผ่านเขาลัดเลาะไปตามแนวป่า กินเวลาเดินทางประมาณ 2 วัน จึงจะถึงตัวเมือง ทั้ง ๆ ที่ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรเท่านั้น การเดินทางที่ยากลำบากเพราะยุคนั้นการตัดถนนยังไม่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นป่าเขาจึงมีสัตว์ร้ายนานาชนิดชุกชุม รวมทั้งไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย ทำให้มักมีการเสียชีวิตระหว่างเดินทาง ผู้ที่ไม่เคยมาเมื่อมาถึงแล้วหลังจากกลับก็ไม่กล้ามาอีก เพราะความขยาดต่อความทุรกันดาร และพากันขนานนามว่า "มาข้าม" ต่อมาได้เพี้ยนเป็น "มะขาม"

  • วันที่ - 2445 แยกพื้นที่ตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองตาคง และตำบลทรายขาว จากอำเภอท่าหลวง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าหลวง[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอท่าหลวง
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2457 โอนพื้นที่ตำบลแก่งหางแมว อำเภอท่าหลวง ไปขึ้นกับอำเภอพลอยแหวน (อำเภอท่าใหม่)[1]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอท่าหลวง จังหวัดจันทบุรี มณฑลจันทบุรี เป็น อำเภอมะขาม และเปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดจันทบุรี เป็น กิ่งอำเภอกำพุช[7]
  • วันที่ 5 ตุลาคม 2467 โอนพื้นที่ตำบลแสลง อำเภอมะขาม ไปขึ้นกับอำเภอเมืองจันทบุรี[6]
  • วันที่ 16 มกราคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 4,5 (ในตอนนั้น) จากตำบลท่าหลวง ไปขึ้นกับตำบลมะขาม และรวมพื้นที่ตำบลน้ำรัก เข้ากับตำบลท่าหลวง แล้วจัดตั้งเป็นตำบลใหม่ ขนานนามว่า ตำบลท่าหลวง[8]
  • วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอกำพุช อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็น กิ่งอำเภอโป่งน้ำร้อน[9]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม 2484 ยกฐานะกิ่งอำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม เป็น อำเภอโป่งน้ำร้อน[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลฉมัน แยกออกจากตำบลปัถวี และตำบลมะขาม[10]
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลมะขาม ในท้องที่บางส่วนของตำบลมะขาม[11]
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2525 ตั้งตำบลอ่างคีรี แยกออกจากตำบลมะขาม[12]
  • วันที่ 22 กันยายน 2530 ตั้งตำบลคลองพลู แยกออกจากตำบลตะเคียนทอง[13]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลชากไทย แยกออกจากตำบลพลวง[14]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2536 แยกพื้นที่ตำบลชากไทย ตำบลพลวง ตำบลตะเคียนทอง และตำบลคลองพลู จากอำเภอมะขาม ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ[4] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอมะขาม
  • วันที่ 22 ธันวาคม 2536 ตั้งตำบลจันทเขลม แยกออกจากตำบลคลองพลู[15]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลมะขาม เป็นเทศบาลตำบลมะขาม[16] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม เป็น อำเภอเขาคิชฌกูฏ[5]
  • วันที่ 11 มกราคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างคีรี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลอ่างคีรี[17]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเมืองใหม่[18] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเมืองใหม่ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่[19]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลฉมัน ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลฉมัน[20] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลวังแซ้ม ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลวังแซ้ม[21] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลท่าหลวง[22]
  • วันที่ 30 กันยายน 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปัถวี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลปัถวี[23]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอมะขามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[24]
1. มะขาม Makham
10
7,954
2. ท่าหลวง Tha Luang
8
2,644
3. ปัถวี Patthawi
12
7,752
4. วังแซ้ม Wang Saem
12
4,335
5. ฉมัน Chaman
9
4,434
6. อ่างคีรี Ang Khiri
8
5,492

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอมะขามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลมะขาม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมะขาม
  • เทศบาลตำบลอ่างคีรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างคีรีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขาม (นอกเขตเทศบาลตำบลมะขาม)
  • เทศบาลตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลวังแซ้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังแซ้มทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลฉมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฉมันทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปัถวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปัถวีทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประกาศงดการเก็บอากรสมพักศรในตำบลตะเคียนทอง ตำบลแก่งหางแมว ท้องที่ อำเภอท่าหลวง แขวงเมืองจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ก): 276. July 26, 1914.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศยกเว้นการเกณฑ์ทหารแก่ราษฎรซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองตาคง ตำบลทรายขาว ในท้องที่กิ่งอำเภอท่าหลวง เมืองจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ก): 76–77. September 11, 1910.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 2291. July 25, 1941. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (86 ง): 3. July 1, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  5. 5.0 5.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  6. 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 160–162. October 5, 1924.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3398–3399. January 16, 1938.
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 877–882. September 25, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 17-18. October 15, 1956.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (114 ง): 3349–3351. August 17, 1982.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (190 ง): 6533–6538. September 22, 1987.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 109-114. November 13, 1992.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (217 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. December 22, 1993.
  16. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  17. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล อ่างคีรี เป็น เทศบาลตำบลอ่างคีรี". January 11, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  18. "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลมะขาม ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเมืองใหม่". July 25, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  19. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล มะขามเมืองใหม่ เป็น เทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่". July 25, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  20. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ฉมัน เป็น เทศบาลตำบลฉมัน". October 26, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  21. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล วังแซ้ม เป็น เทศบาลตำบลวังแซ้ม". October 26, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  22. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าหลวง เป็น เทศบาลตำบลท่าหลวง". October 26, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  23. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลปัถวี เป็น เทศบาลตำบลปัถวี". September 30, 2011. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  24. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.