ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 สายบางปู–กิ่งแก้ว แบ่งออกเป็น 2 ช่วง มีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 24 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานทางหลวงที่ 13 (กรุงเทพ) กรมทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256
ถนนกิ่งแก้ว (ช่วงเทพารักษ์–ลาดกระบัง),
ถนนตำหรุ–บางพลี (ช่วงบางปู–เทพารักษ์)
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว24 กิโลเมตร (15 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศเหนือถ.ลาดกระบัง ใน เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
  ถ.เทพรัตน ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

ถ.เทพารักษ์ ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

ถ.แพรกษา ใน อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ
ปลายทางทิศใต้ ถ.สุขุมวิท ใน อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

รายละเอียดของเส้นทาง แก้

ถนนกิ่งแก้ว แก้

ถนนกิ่งแก้ว (อักษรโรมัน: Thanon King Kaeo) เป็นถนนสายหลักที่เชื่อมระหว่างถนนลาดกระบัง ถนนเทพรัตน และถนนเทพารักษ์เข้าด้วยกัน ถนนกิ่งแก้วแยกมาจากถนนลาดกระบังในท้องที่แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จากนั้นมุ่งลงทางทิศใต้เข้าสู่ท้องที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ไปบรรจบกับถนนเทพารักษ์ที่ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตรงข้ามกับถนนตำหรุ–บางพลี ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ถนนกิ่งแก้วนั้นมีสะพานลอยคนข้ามทั้งหมด 11 สะพาน แต่ละสะพานนั้นจะมีการตั้งตัวละครในวรรณคดีมากมายบริเวณเกาะกลางอาทิเช่น ทศกัณฐ์ ไมยราพ แต่เดิมถนนแต่เดิมถนนเส้นนี้มีเพียง 2 ช่องทางจราจรตลอดเส้นทาง ซึ่งปัจจุบันได้ขยายเป็น 6-8 ช่องทางจราจรตลอดทั้งสาย สำหรับสะพานข้ามแยกคลองขุด แต่เดิมก่อสร้างเฉพาะเชิงสะพานในขามุ่งหน้าถนนตำหรุ-บางพลีเท่านั้น กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานส่วนที่เหลือและถนนตำหรุ-บางพลีจนแล้วเสร็จและเปิดให้สัญจรเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 โดยตลอดระยะถนนกิ่งแก้วมีถนนที่สำคัญตัดผ่าน เช่น

ถนนตำหรุ–บางพลี แก้

 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 ช่วงถนนตำหรุ–บางพลีในอดีต

ถนนตำหรุ–บางพลี เป็นถนนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ แยกมาจากถนนสุขุมวิทกิโลเมตรที่ 40 ที่บ้านตำหรุ ตำบลบางปูใหม่ (ในเขตเทศบาลตำบลบางปู) อำเภอเมืองสมุทรปราการ จากนั้นจึงขึ้นไปทางทิศเหนือเข้าสู่พื้นที่ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และไปบรรจบกับถนนเทพารักษ์กิโลเมตรที่ 12 ที่บ้านคลองบางกระบือ ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี ตรงข้ามกับถนนกิ่งแก้ว (หรือที่ชาวบ้านบริเวณนั้นเรียกว่าแยกคลองขุด) ระยะทาง 10.012 กิโลเมตร เดิมเป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องจราจร โดยแนวถนนอยู่ทางด้านตะวันออกของคลอง ต่อมาได้ขยายเป็น 6-8 ช่องทางจราจรพร้อมสะพานข้ามแยกคลองขุดที่เชื่อมต่อกับถนนกิ่งแก้ว โดยสร้างคันทางใหม่ทางด้านตะวันตกของคลอง เพื่อให้เป็นถนนทิศทางมุ่งหน้าถนนกิ่งแก้ว ขนาด 4 ช่องจราจร ส่วนคันทางเดิมส่วนใหญ่ยังขนาดเท่าเดิม โดยมีช่องจราจรจำนวน 2-3 ช่อง ถนนตำหรุ–บางพลีนี้เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) และต่อจากนั้นก็เคยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท (โดยมีหมายเลขทางหลวงชนบทคือ ทางหลวงชนบท สป.1003) แต่ปัจจุบันได้โอนให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงแล้ว ถนนสายนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 เพื่อให้เป็นถนนเศรษฐกิจเชื่อมต่อระหว่างบางปู (แหล่งนิคมอุตสาหกรรม) กับสนามบินสุวรรณภูมิ ตลอดระยะทางมีทางแยกสำคัญเพียงแยกเดียว คือ ถนนแพรกษา ในอนาคตจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล สายบางปู–สุวรรณภูมิ ซึ่งเชื่อมต่อมาจากสถานีรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ของสนามบินสุวรรณภูมิ ตัดผ่านถนนเส้นนี้จนไปบรรจบที่ถนนสุขุมวิทแล้วเลี้ยวขวาเชื่อมต่อไปอีกจนบรรจบกับสถานีรถไฟฟ้าบางปู (อนาคต) และทอดยาวไปบรรจบกับสถานีเคหะฯซึ่งเป็นที่สิ้นสุดรถไฟฟ้า BTS ในปัจจุบัน

ทางแยกที่สำคัญ แก้

รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 ทิศทาง: ตำหรุ–บางพลี–ลาดกระบัง
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนตำหรุ–บางพลี
สมุทรปราการ 0+000 แยกตำหรุ   ถนนสุขุมวิท ไปบางปู, สมุทรปราการ   ถนนสุขมวิท ไปคลองด่าน, อ.บางปะกง
0+126 สะพาน ข้ามคลองชลประทาน
≈5+193 แยกคลองเก้า ถนนแพรกษา ไปแพรกษา, ปากน้ำ ไม่มี
10+012 แยกคลองขุด   ถนนเทพารักษ์ ไปสำโรง   ถนนเทพารักษ์ ไป อ.บางพลี, อ.บางบ่อ
  ถนนกิ่งแก้ว
สมุทรปราการ 10+128 สะพาน ข้ามคลองสำโรง
≈10+400   ถนนวัดหนามแดง ไปวัดหนามแดง, บรรจบถนนศรีนครินทร์ ถนนสุขาภิบาล 4 ไปวัดบางพลีใหญ่กลาง, วัดบางพลีใหญ่ใน
13+359 แยกบางพลี   ทางพิเศษบูรพาวิถี ไป บางนา, ดินแดง, แจ้งวัฒนะ   ทางพิเศษบูรพาวิถี ไป   ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี
  ถนนเทพรัตน ไป บางนา   ถนนเทพรัตน ไป   ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี
กรุงเทพมหานคร ≈23+300 ทางเข้าท่าอากาศยานฯ ด้านถนนกิ่งแก้ว ไม่มี   ถนนร่มเกล้า ไป   ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคารคลังสินค้า), มีนบุรี
23+929 แยกกิ่งแก้ว ถนนลาดกระบัง ไป อ่อนนุช, พระโขนง ถนนลาดกระบัง ไป สจล., บรรจบถนนหลวงแพ่ง, ฉะเชิงเทรา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

แหล่งข้อมูลอื่น แก้