กรมทางหลวง (อังกฤษ: Department of Highways) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ควบคุม บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวง ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน[2] เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเทศ[3]

กรมทางหลวง
Department of Highways
ตรากรมทางหลวง
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2455
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่2/486 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขติราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณต่อปี9,543.2491 ล้านบาท (พ.ศ. 2562)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สราวุธ ทรงศิวิไล, อธิบดี
  • ไพทูรย์ พงษ์ชวลิต, รองอธิบดี
  • เสริมศักดิ์ นัยนันท์, รองอธิบดี
  • ปิยพงษ์ จิววัฒนกุลไพศาล, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.doh.go.th

ประวัติถนนกรุงรัตนโกสินทร์

แก้

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง [4] ทำถนนในพระนครทุกสาย ในสมัยนั้นก็คือ ถนนรอบพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วยก่อนนี้เป็นเพียงถนนดินคนเดินไปมา ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการบุกเบิกคมนาคมทางบกแบบยุโรปขึ้นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะก่อนหน้านี้จะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก และถนนต่อจากท้ายวังก็คือถนนเจริญกรุง นับว่าเป็นถนนสายแรกของประเทศไทย

หน่วยงานสำนัก (ส่วนกลาง)

แก้
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองการเงินและบัญชี
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองการพัสดุ
  • กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
  • กองฝึกอบรม
  • แขวงทางหลวง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักกฎหมาย
  • สำนักก่อสร้างทางที่ 1
  • สำนักก่อสร้างทางที่ 2
  • สำนักก่อสร้างสะพาน
  • สำนักเครื่องกลและสื่อสาร
  • สำนักงานทางหลวงที่ 1
  • สำนักงานทางหลวงที่ 2
  • สำนักงานทางหลวงที่ 3
  • สำนักงานทางหลวงที่ 4
  • สำนักงานทางหลวงที่ 5
  • สำนักงานทางหลวงที่ 6
  • สำนักงานทางหลวงที่ 7
  • สำนักงานทางหลวงที่ 8
  • สำนักงานทางหลวงที่ 9
  • สำนักงานทางหลวงที่ 10
  • สำนักงานทางหลวงที่ 11
  • สำนักงานทางหลวงที่ 12
  • สำนักงานทางหลวงที่ 13
  • สำนักงานทางหลวงที่ 14
  • สำนักงานทางหลวงที่ 15
  • สำนักงานทางหลวงที่ 16
  • สำนักงานทางหลวงที่ 17
  • สำนักงานทางหลวงที่ 18
  • สำนักจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • สำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศ
  • สำนักบริหารบำรุงทาง
  • สำนักแผนงาน
  • สำนักมาตรฐานและประเมินผล
  • สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ
  • สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง
  • สำนักสำรวจและออกแบบ
  • สำนักอำนวยความปลอดภัย[5]
  • สำนักสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน

หน่วยงานส่วนภูมิภาค

แก้

กรมทางหลวงได้แบ่งและจัดตั้งหน่วยงานส่วนภูมิภาคขึ้น เพื่อกระจายอำนาจการก่อสร้าง ดูแลและทำนุบำรุงรักษาถนนในเขตภูมิภาค โดยแบ่งหน่วยงานดังนี้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/071/T1.PDF พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562] เล่ม 135 ตอนที่ 71ก วันที่ 17 กันยายน 2561
  2. "งบประมาณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-15.
  3. "หน้าที่และความรับผิดชอบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-15.
  4. ภาพเก่าในสยาม
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/005/9.PDF

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้