อำเภอบางพลี

อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย

บางพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1]

อำเภอบางพลี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Phli
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คำขวัญ: 
ร่วมบุญบัวหลวง หวานมะม่วงน้ำดอกไม้
ไหว้หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ ยอดปลาสลิดบางพลี
ผ่องปฐพีสุวรรณภูมิ
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอบางพลี
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอบางพลี
พิกัด: 13°36′21″N 100°42′22″E / 13.60583°N 100.70611°E / 13.60583; 100.70611
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
พื้นที่
 • ทั้งหมด260.0 ตร.กม. (100.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด290,776 คน
 • ความหนาแน่น1,118.37 คน/ตร.กม. (2,896.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 10540, 10543 (เฉพาะภายในอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตำบลหนองปรือ)
รหัสภูมิศาสตร์1103
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางพลี
เลขที่ 15 หมู่ที่ 8 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์ แก้

  • วันที่ 21 สิงหาคม 2470 โอนพื้นที่ตำบลบางแก้ว อำเภอพระโขนง มาขึ้นกับอำเภอบางพลี[2]
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางพลีจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร[3]
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอบางพลีกลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการเหมือนเดิม[4]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบางพลีในท้องที่บางส่วนของตำบลบางพลี[5]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเสาธงในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเสาธงและบางส่วนของตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[6]
  • วันที่ 1 เมษายน 2538 แบ่งพื้นที่ตำบลบางเสาธง ตำบลศีรษะจรเข้น้อย และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ ไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางเสาธง ขึ้นกับอำเภอบางพลี พร้อมกับโอนสุขาภิบาลบางเสาธงไปขึ้นกับกิ่งอำเภอบางเสาธง[7]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางพลีเป็นเทศบาลตำบลบางพลี
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบางเสาธงเป็นอำเภอบางเสาธง[8]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองลาดกระบัง และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางเสาธง มีถนนเข้าวัดหัวคู้ คลองหนองงูเห่า คลองบางนา ถนนวัดศรีวารีน้อย คลองเสาระหงษ์ คลองสำโรง คลองโก่งประทุน คลองลาดหวาย และคลองสี่ศอกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อและอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีคลองโก่งประทุนและคลองสามเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ เขตบางนา และเขตประเวศ (กรุงเทพมหานคร) มีคลองบางเหี้ยน้อย คลองบางกระบือ คลองกู้พารา คลองทับนาง คลองสำโรง ถนนศรีนครินทร์ คลองหนองกระทุ่ม คลองบางนา (สาหร่าย) คลองหนองตาดำ คลองปลัดเปรียง คลองต้นตาล แนวคันนาแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองสลุด คลองปากน้ำ คลองสิงห์โต คลองขันแตก และคลองตาพุกเป็นเส้นแบ่งเขต[ต้องการอ้างอิง]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอบางพลีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 6 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 83 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[9]
1. บางพลีใหญ่ Bang Phli Yai
23
103,190
2. บางแก้ว Bang Kaeo
16
62,643
3. บางปลา Bang Pla
15
33,731
4. บางโฉลง Bang Chalong
11
44,261
5. ราชาเทวะ Racha Thewa
15
36,131
6. หนองปรือ Nong Prue
3
3,548

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอบางพลีประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6–11), ตำบลบางปลา (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 11) และตำบลบางโฉลง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 3)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (เฉพาะหมู่ที่ 1–5, 12–23 และบางส่วนของหมู่ที่ 6–11)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลา (เฉพาะหมู่ที่ 1–10, 12–15 และบางส่วนของหมู่ที่ 11)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโฉลง (เฉพาะหมู่ที่ 1–2, 4–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 3)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราชาเทวะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

การคมนาคม แก้

อำเภอบางพลีมีถนนสายหลัก ได้แก่

  • ถนนเทพรัตน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) และทางพิเศษบูรพาวิถีด้านบน​ ตั้งแต่คลองเสาระหงส์ถึงคลองบางนา (สุดเขตจังหวัดสมุทรปราการ)​
  • ถนนเทพารักษ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268) ตั้งแต่คลองทับนางจนถึงคลองสี่ศอก
  • ถนนกิ่งแก้ว (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256) ตั้งแต่แยกคลองขุด​จนถึงสุดเขต​จังหวัด​สมุทรปราการ​
  • ถนนตำหรุ-บางพลี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256) ตั้งแต่แยกคลองขุดจนสุดเขตอำเภอบางพลี
  • ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) ตั้งแต่คลองสำโรงจนถึงคลองต้นตาล (สุดเขตจังหวัดสมุทรปราการ)​
  • ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370)
  • ถนนเลียบคลองระบายน้ำบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ถนนสายรอง ได้แก่

  • ถนนวัดหนามแดง (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.4006)
  • ถนนจตุรโชคชัย (ซอยวัดหลวงพ่อโต)
  • ถนนวัดศรีวารีน้อย (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.2001)
  • ถนนจรรยวรรธ (รามคำแหง 2)
  • ถนนวัดบางปลา
  • ซอยวัดบางโฉลงนอก
  • ซอยบางปลา 2 (ธนสิทธิ์)
  • ถนนบัวนครินทร์
  • ซอยขจรวิทย์
  • ซอยที่ดินไท
  • ซอยบุญธรรมอนุสรณ์

อ้างอิง แก้

  1. "ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ". ประวัติความเป็นมาของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เก็บถาวร 2009-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
  2. [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพฯ กับธัญบุรี ในมณฑลอยุธยา
  3. "พระราชกริสดีกาเปลี่ยนชื่ออำเพอบางแห่ง พุทธสักราช 2486" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (3 ก): 103–105. 12 มกราคม 2486.
  4. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-16.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (พิเศษ 74 ง): 24–25. 17 กันยายน 2498.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางเสาธง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (200 ง): 6449–6451. 31 ธันวาคม 2528.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางเสาธง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 61. 22 มีนาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2010-05-16.
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. 2550" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2010-05-16.
  9. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.