เทศบาลเมืองหนองปรือ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เทศบาลเมืองหนองปรือ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือ เฉพาะพื้นที่นอกเมืองพัทยา มีประชากรในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 85,194 คน[1] ทำให้เป็นเทศบาลเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย หนองปรือได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาลเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2549[2]
เทศบาลเมืองหนองปรือ | |
---|---|
คำขวัญ: หลวงพ่อโตคู่บ้าน หลวงพ่อช้างคู่เมือง ลือเลื่องพระเจ้าตาก หลายหลากวัฒนธรรม งามล้ำบุญกองข้าว เรือยาวมาบประชัน แข่งขันวิ่งควาย | |
พิกัด: 12°55′22″N 100°56′15″E / 12.92278°N 100.93750°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชลบุรี |
อำเภอ | บางละมุง |
จัดตั้ง | เป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. 2549 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | วินัย อินทร์พิทักษ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 45.54 ตร.กม. (17.58 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 85,194 คน |
• ความหนาแน่น | 1,870.75 คน/ตร.กม. (4,845.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04200401 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 111 หมู่ 7 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้ตำบลหนองปรือเป็นตำบลหนึ่งในแปดตำบลของอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่กลางพื้นที่อำเภอบางละมุง ที่ทำการเทศบาลอยู่ห่างที่ว่าการอำเภอบางละมุง 9 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 45.54 ตารางกิโลเมตร มีแนวเขตติดต่อเขตเมืองพัทยาระยะทาง 10 กิโลเมตร เดิมศูนย์กลางของชุมชนชาวหนองปรืออยู่แถวบริเวณหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 ในปัจจุบันมีสภาพเป็นที่ลุ่มมีหนองน้ำที่อุดมไปด้วยต้นปรือ จึงเรียกขานชื่อบ้านว่า "หนองปรือ" ชาวบ้านอาศัยตั้งรกรากอยู่กันมากว่า 200 ปี โดยมีหลักฐานที่สามารถยืนยันนับห้วงเวลาจากสภาพโบสถ์เก่าแก่ในวัดหนองปรือ ที่สร้างโดยหลวงพ่อช้าง ที่ชาวตำบลหนองปรือเคารพนับถือซึ่งยังคงสภาพเดิมอยู่ในปัจจุบัน
พื้นที่ของตำบลหนองปรือมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรม มีลำห้วยมาบประชันเป็นแหล่งน้ำในชุมชน ต่อมาก็มีประชาชนมาอยู่อาศัยในตำบลหนองปรือเพิ่มมากขึ้น กระทั่งขยายความหนาแน่นออกไปด้านทิศตะวันตกจนถึงหาดพัทยา
เมื่อเกิดสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพอยู่ที่อู่ตะเภา ทหารจีไอชาวอเมริกันผ่านพื้นที่หาดพัทยาหลงใหลในความสวยงามของหาดทราย จึงมาตั้งแคมป์พักผ่อนเมื่อว่างจากการสู้รบ ทำให้หาดพัทยามีชื่อเสียงไปทั่วโลกนับตั้งแต่นั้น จนพัฒนามาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2521 ได้รับการจัดรูปการบริหารขึ้นเป็น "เมืองพัทยา" โดยแบ่งเขตการปกครองผนวกเอาพื้นที่ของตำบลหนองปรือไปส่วนหนึ่ง ตามแนวเขตถนนสุขุมวิทห่างออกไปทางทิศตะวันออกระยะ 900 เมตร ตลอดแนว พื้นที่ที่คงอยู่ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็น "เทศบาลเมืองหนองปรือ" เมื่อปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน
ประชากร
แก้เทศบาลเมืองหนองปรือแบ่งออกเป็นชุมชนจำนวน 43 ชุมชน มีจำนวนประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 82,232 คน 48,456 หลังคาเรือน
เศรษฐกิจ
แก้เมืองหนองปรือ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง รองลงมามีอาชีพค้าขายและทำการเกษตรกรรมจำนวนน้อยประมาณร้อยละ 7 มีกลุ่มอาชีพ กลุ่มสตรี กลุ่มเกษตร และกลุ่มมวลชนดูแลประสานงาน ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองหนองปรือมีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทโรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำแข็ง โรงงานคอนกรีต และธุรกิจโครงการบ้านอยู่อาศัยประมาณ 40 โครงการ
ศาสนสถาน
แก้ภายในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ มีวัด 7 แห่ง มัสยิด 8 แห่ง
- รายชื่อวัดในเทศบาลเมืองหนองปรือ
- วัดเขาโพธิ์ทอง
- วัดบุญสัมพันธ์
- วัดสามัคคีประชาราม
- วัดหนองปรือ
- วัดเขาเสาธงทอง
- วัดเขามะกอก
- วัดสุทธาวาส
การศึกษา
แก้- รายชื่อสถานศึกษาในเทศบาลเมืองหนองปรือ
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 6 แห่ง คือ โรงเรียนวัดสุทธาวาส โรงเรียนบ้านทุ่งกลม โรงเรียนวัดบุญสัมพันธ์ โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปรือ โรงเรียนวัดเขาโพธิ์ทอง และโรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน
- โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา และวิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ
- โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองหนองปรือ จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองหนองปรือ
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลหนองปรือ
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสุทธาวาส ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดหนองปรือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขาโพธิ์ทอง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองใหญ่
การท่องเที่ยว
แก้ในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ได้แก่
- หมู่บ้านช้างพัทยา
- สนามฝึกบินเครื่องร่อน
- การแสดงโชว์งู
- สวนป่าพนารักษ์
- งานวันกองข้าวในงานสงกรานต์
- การแข่งขันเรือยาวประเพณี ณ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน ที่จัดเป็นประจำทุกปี
- พิพิธภัณฑ์พุทธศิลปะ หนองปรือ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2562 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองหนองปรือ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นเทศบาลเมืองหนองปรือ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-31.