อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ของตำบลพลับพลา ตำบลคมบาง ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ตำบลมาบไพ ตำบลวังสรรพรส ตำบลตรอกนอง ตำบลซึ้ง ตำบลตะปอน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง และตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 134.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 84,062.50 ไร่[1] ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทำให้มีอากาศจะเย็นสบายตลอดทั้งปี ยอดเขาสลับซับซ้อนสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 20-924 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่ยอดเขามาบหว้ากรอก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 924 เมตร และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย อยู่ห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 14 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสายทำให้สะดวกสบายในการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
น้ำตกพลิ้ว
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย
พิกัด12°31′31″N 102°10′37″E / 12.52528°N 102.17694°E / 12.52528; 102.17694พิกัดภูมิศาสตร์: 12°31′31″N 102°10′37″E / 12.52528°N 102.17694°E / 12.52528; 102.17694
พื้นที่135 ตารางกิโลเมตร (84,000 ไร่)
จัดตั้ง2 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
ผู้เยี่ยมชม671,396 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ทั้งนี้ วันที่ 2 พฤษภาคม 2518 อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 11 ของประเทศไทย[2] โดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป" แต่ต่อมา นายผจญ ธนมิตรามณี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสระบาปได้ทำหนังสือขอเปลี่ยนชื่ออุทยานเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เนื่องจากน้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ มีน้ำตกตลอดปี อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป และเป็นจุดเด่นของอุทยาน ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อเป็น "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว"

ชื่อ "พลิ้ว" มาจากภาษาชอง แปลว่า "ทราย" หรือ "หาดทราย"[3]

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อากาศจะค่อนข้างร้อน
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม จะมีฝนตกชุกปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 3,000 มม./ปี
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อากาศจะเย็นสบายที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 26 องศาเซลเซียส

สถานที่น่าสนใจ แก้

 
น้ำตกพลิ้ว
  • น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงาม มีน้ำตลอดปี ประกอบด้วยสายธาร 2 สาย สายหนึ่งไหลลดหลั่นผ่านซอกหินผา อีกสายหนึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ทิ้งตัวลงมาจากผาสูง 20 เมตร ทั้งสองสายไหลมารวมกันในแอ่งน้ำใสสะอาด มากสามารถมองเห็นพื้นล่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินและทรายในระดับลึกกว่า 2 เมตร ภายในบริเวณน้ำตกและลำคลอง มีปลาใหญ่น้อยหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่ตื่นตาตรึงใจกับฝูงปลาแก่ผู้ที่ไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะ "ปลาพลวงหิน"

  • อลงกรณ์เจดีย์" (จุลศิรจุมพฏเจดีย์)

อลงกรณ์เจดีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีอัครมเหสี ได้โปรดปรานให้สร้างเจดีย์ทำด้วยศิลาแลงขึ้น ที่บริเวณหน้าผาด้านหน้า น้ำตกพลิ้ว เมื่อ พ.ศ. 2419 เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาส น้ำตกพลิ้ว ด้วยกัน และพระราชทานนามว่า "อลงกรณ์เจดีย์" (นักประวัติศาสต์รค้นคว้าหลักฐานภายหลังพบว่าร.๕ ทรงพระราชทานนามว่า "จุลศิรจุมพฏเจดีย์" ซึ่งกรมศิลปากรได้ให้เปลี่ยนชื่อแล้ว)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด น้ำตกพลิ้ว เป็นอย่างยิ่ง และได้เสด็จประพาสหลายคราว โปรดมาก ถึงกับมีพระราชดำรัสว่า "เราได้เห็นน้ำตกอย่างนี้มาสองสามแห่ง คือที่ปีนัง เกาะช้าง และสีพยา เห็นไม่มีที่ไหนจะงามกว่าที่นี่เลย ถ้าจะให้เรานั่งดูอยู่ยังค่ำก็แทบจะได้ด้วยเย็นสบายจริง"

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุบกษา 133 แห่ง". Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022, no 11{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  2. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป ในท้องที่ตำบลพลับพลา ตำบลคลองนารายณ์ ตำบลคมบาง อำเภอเมืองจันทบุรี ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม และตำบลมาบไพ ตำบลวังสรรพรส ตำบลตรอกนอง ตำบลซึ้ง ตำบลตะปอน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (87 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-9. May 2, 1975. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
  3. องค์ บรรจุน. สยามหลากเผ่าหลายพันธุ์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2553, หน้า 128
  4. "Namtok Phlio National Park". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2013. สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้