เขตคลองเตย

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

คลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม

เขตคลองเตย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Khlong Toei
ภาพมุมสูงของย่านธุรกิจอโศกในเขตคลองเตย มองไปทางนานา
ภาพมุมสูงของย่านธุรกิจอโศกในเขตคลองเตย มองไปทางนานา
คำขวัญ: 
ท่าเรือสินค้า ท้องฟ้าจำลอง อุทยาน
น่ามอง ชุมชนหลากหลาย ศูนย์ประชุม
เกริกไกร ตลาดใหญ่คลองเตย
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตคลองเตย
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตคลองเตย
พิกัด: 13°42′29″N 100°35′2″E / 13.70806°N 100.58389°E / 13.70806; 100.58389
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด12.994 ตร.กม. (5.017 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด89,514[1] คน
 • ความหนาแน่น6,888.87 คน/ตร.กม. (17,842.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10110, 10260 (แขวงพระโขนง เฉพาะซอยสุขุมวิท 48/1-50 และถนนทางรถไฟเก่าสายปากน้ำ เลขคี่ 6021-6689, เลขคู่ 1928-2422)
รหัสภูมิศาสตร์1033
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 599 สามแยกกล้วยน้ำไท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/khlongtoei
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประวัติ

แก้
 
ตลาดคลองเตย

ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1)

เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของเมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย ขึ้นกับอำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง

ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่แขวงทั้งสามตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตออกจากแขวงเดิม และให้สำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 ดูแลพื้นที่แขวงใหม่ดังกล่าวซึ่งต่อมาได้แยกออกไปเป็นเขตวัฒนาใน พ.ศ. 2540

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
คลองเตย Khlong Toei
7.249
57,823
7,976.69
 
2.
คลองตัน Khlong Tan
1.895
10,633
5,611.08
3.
พระโขนง Phra Khanong
3.850
21,058
5,469.61
ทั้งหมด
12.994
89,514
6,888.87

ประชากร

แก้

สถานที่สำคัญ

แก้
 
ท่าเรือกรุงเทพ
 
สวนป่าเบญจกิติ
 
การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่

สถานศึกษา

แก้

การคมนาคม

แก้
 
ทางเข้าสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ทางบก

แก้

ทางน้ำ

แก้

ระบบขนส่งมวลชน

แก้
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (ร่วมกับเขตวัฒนา)

เศรษฐกิจชุมชน

แก้

ที่ชุมชนเกาะกลางน้ำ เขตคลองเตย ผู้ที่อาศัยอยู่ยังชุมชนนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการปลูกผักและเพาะเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู[3]

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

เหตุเพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมีในกรุงเทพ พ.ศ. 2534 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่โกดังเก็บสารเคมีของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตทันที 4 ราย บาดเจ็บสาหัส และทุพพลภาพจำนวนมาก ตำรวจดับเพลิงบาดเจ็บสาหัส 16 ราย ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส 27 ราย ไร้ที่อยู่อาศัย 5417 ราย บ้านไฟไหม้ 647 หลัง

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  3. "Ob'Road 06 01 58 เบรก 2". ฟ้าวันใหม่. 6 January 2015. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°42′29″N 100°35′02″E / 13.70815°N 100.58382°E / 13.70815; 100.58382