ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (อังกฤษ: Queen Sirikit National Convention Center - QSNCC) เป็นศูนย์ประชุมหลักของประเทศไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง บริเวณถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ติดกับสวนเบญจกิติ การยาสูบแห่งประเทศไทย และใกล้กับสวนป่าเบญจกิติ บริหารโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด[3] ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกลุ่มทีซีซี[4] เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาย่านพระรามที่ 4 ของกลุ่มทีซีซี
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | |
---|---|
อาคารหลังปัจจุบัน | |
ที่ตั้ง | 60 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ไทย |
พิกัด | 13°43′26″N 100°33′33″E / 13.723992°N 100.559224°E |
เจ้าของ | กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง |
ผู้ดำเนินการ | บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด |
เริ่มสร้าง | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 |
สถาปนิก | นพดล ตันพิวัฒน์[1] |
พิธีเปิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 (อาคารหลังเดิม) 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (อาคารปัจจุบัน) |
ปรับปรุง | 26 เมษายน พ.ศ. 2562 - 11 กันยายน พ.ศ. 2565[2] |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 15,000 ล้านบาท |
ที่นั่งแบบห้องเรียน | 3,564-3,888 ที่นั่ง |
ที่นั่งแบบห้องประชุม | 36-144 ที่นั่ง |
ห้องจัดเลี้ยง/ห้องบอลรูม | 2,640-3,120 ที่นั่ง |
ที่นั่งแบบโรงละคร | 5,214-5,688 ที่นั่ง |
พื้นที่ปิดล้อม | |
พื้นที่ทั้งหมด | 78,500 ตารางเมตร (845,000 ตารางฟุต) |
พื้นที่โถงนิทรรศการ | 5,305–5,863 ตารางเมตร (57,100–63,110 ตารางฟุต) (8 ห้อง) |
ห้องประชุมย่อย | 75–164 ตารางเมตร (810–1,770 ตารางฟุต) (50 ห้อง) |
ห้องบอลรูม | 1,045–1,194 ตารางเมตร (11,250–12,850 ตารางฟุต) (4 ห้อง) |
ที่จอดรถ | 3,000 คัน |
ที่จอดรถจักรยาน | จุดจอดจักรยาน |
ขนส่งมวลชน | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ |
เว็บไซต์ | |
www |
ประวัติ
แก้ภูมิหลัง
แก้ในอดีต การประชุมต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมภายในโรงแรมหรูในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากประเทศไทยไม่มีศูนย์ประชุมอิสระหรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการในระดับเดียวกับโรงแรม แต่หลังจากที่คณะกรรมการบริหารธนาคารโลกได้เลือกให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร รัฐบาลไทยจึงมีมติเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลขึ้นเพื่อรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว[5] โดยกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และใช้เทคนิค "สร้างและออกแบบ" เพื่อให้ศูนย์ประชุมของชาติแห่งแรกสามารถก่อสร้างเสร็จทันตามกำหนดเวลา
อาคารหลังแรก (พ.ศ. 2534–2562)
แก้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ 53 ไร่ 15 ตารางวา[6] ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานยาสูบ โดยเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532[5] สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 หลังจากนั้นมีนักออกแบบจำนวนมากกว่า 100 คน และคนงานก่อสร้างจำนวนมากกว่า 1,000 คน เข้าทำงานก่อสร้างในพื้นที่ เพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จทันตามกำหนดเวลา[3] การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หมายความว่าใช้เวลาเพียง 20 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 40 เดือน และใช้งบประมาณทั้งหมด 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยกว่าที่กำหนด[5] ส่วนการตกแต่งภายในนั้นแล้วเสร็จหลังผ่านไปอีก 1 เดือนเศษ[3]
ในวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[7] และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์ประชุม เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จัดงานใหญ่ครั้งแรก คือ การประชุมสภาผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกครั้งที่ 46 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ในช่วงระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม พ.ศ. 2534 จากนั้นศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จึงถูกใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไมซ์ (MICE ย่อมาจาก Meeting, Incentive travel, Convention และ Exhibition) อย่างต่อเนื่อง
อาคารหลังที่สอง (พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน)
แก้ภายหลังที่ บจก. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ได้รับการต่อสัญญาบริหารและดำเนินกิจการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[8] บริษัทฯ จึงดำเนินการปรับปรุงศูนย์ฯ ครั้งใหญ่ โดยปิดอาคารตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 เพื่อดำเนินการรื้อถอนอาคารหลังเดิม และก่อสร้างอาคารหลังใหม่โดยขยายพื้นที่เพิ่มจำนวน 5 เท่า โดยใช้เวลาก่อสร้างรวมทั้งหมด 3 ปี[9]
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในปัจจุบัน มีเป้าหมายเป็น "ที่สุดของพื้นที่จัดกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน" (The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All) โดยมีการจัดสรรพื้นที่เพื่อครอบคลุมธุรกิจไมซ์ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกเต็มรูปแบบสำหรับกลุ่มผู้รักสุขภาพ รองรับผู้ที่เข้ามาใช้บริการสวนเบญจกิติและสวนป่าที่อยู่ติดกัน[10]
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังใหม่กลับมาเปิดอย่างไม่เป็นทางการอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565[11] และเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังใหม่อย่างเป็นทางการ[12]
การจัดสรรพื้นที่
แก้อาคารปัจจุบันของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย โดยได้แรงบันดาลใจจากพระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว "สืบสาน รักษา ต่อยอด" และลายผ้าไทยซึ่งปรากฏในฉลองพระองค์ของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง[6][13]
ภายในศูนย์ประชุม ประกอบด้วยโถงประชุมและนิทรรศการจำนวน 8 ฮอลล์, ห้องเพลนารีฮอลล์, ห้องบอลรูม, อีเวนต์ฮอลล์, ห้องประชุมย่อย, พื้นที่ค้าปลีก และร้านอาหาร โดยเป็นที่ตั้งของภัตตาคารเรด ล็อบสเตอร์ สาขาแรกในประเทศไทย[14] และร้านคาเฟ่ % อะราบิกา ซึ่งเป็นสาขาแรกในโลกที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ประชุม[15][16][17]
งานที่จัดในศูนย์ประชุม
แก้งานที่จัดหรือเคยจัดเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
แก้- การประกวดนางสาวไทย[18]
- งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ[19][20]
- ไทยแลนด์เกมโชว์[21][22]
- คอมมาร์ท ไทยแลนด์[23]
- บ้านและสวนแฟร์ (พ.ศ. 2543 - 2545)
- พิธีประสาทปริญญาบัตร ของ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- พระราชพิธีประทานปริญญาบัตร ของ มหาวิทยาลัยสยาม
คอนเสิร์ต
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2024) |
พ.ศ. 2554
แก้- 21–27 ธันวาคม – คาราบาว นิว เยียร์ เอกซ์โป[24]
พ.ศ. 2560
แก้- 6 พฤษภาคม – Magic Moment เพลงรักของดี้ ดนตรีของแต๋ง (นิติพงษ์ ห่อนาค, ภูษิต ไล้ทอง)
พ.ศ. 2565
แก้พ.ศ. 2566
แก้- 27 พฤษภาคม – The Legend of Danuphol Kaewkan
พ.ศ. 2567
แก้- 25–26 พฤษภาคม – สาว สาว สาว ประตูใจ คอนเสิร์ต
- 23 พฤศจิกายน – อิแมจินดรากอนส์ ลูมเวิลด์ทัวร์[25]
งานอื่น ๆ
แก้- การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2569
- การประชุมเอเปค ปี 2003[26] และ 2022[27]
- การประกวดนางงามจักรวาล 1992[28]
- 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 – งานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15
- 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 – การประชุมใหญ่สามัญของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่าคองเกรส) ครั้งที่ 74[29][30] และการลงคะแนนคัดเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลกหญิง 2027
- ทักก้า สแปลช
การเดินทาง
แก้- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เชื่อมต่อกับอาคารศูนย์ประชุมที่ชั้น LG
- รถโดยสารประจำทาง ขสมก. สาย 136 185 501 (เสริม), ไทยสมายล์บัส สาย 71 3-54
ระเบียงภาพ
แก้-
โถงเชื่อมต่อจากด้านหน้าเข้าสู่ภายในศูนย์ประชุม (อาคารหลังเดิม)
-
ทางเดินเชื่อมระหว่างห้องเพลนารีฮอลล์กับห้องบอลรูม (อาคารหลังเดิม)
-
โถงนิทรรศการในชั้น LG ในตอนที่จัดการประชุมเอเปค 2022
-
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2566
อ้างอิง
แก้- ↑ Aunjai, Nara (14 กันยายน 2022). "'ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์' เมื่อผ้าไทยถูกตีความใหม่ สู่อาคารระดับสากลโลก". Dsign Something. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ กรุงเทพธุรกิจ: ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ จ่อดีเดย์ ก.ย.นี้ พร้อมรับ APEC 2022 ปักธงสร้างอีเวนท์แพลตฟอร์มใหม่แห่งเอเชีย
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "QSNCC HISTORY". dev1.colorpack.net/QSNCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-20. สืบค้นเมื่อ 2022-08-19.
- ↑ isranews (2017-01-24). "พลิกปูม บ.เอ็น.ซี.ซี.ฯ'เสี่ยเจริญ' รับอานิสงส์ แก้สัญญาเช่าศูนย์ฯสิริกิติ์ 50 ปี?". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Pongcharoenkiat, Nongluk (1992-05-18). "กรณีศึกษา : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์". สถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ): 3–4. สืบค้นเมื่อ 2022-08-19 – โดยทาง งานวิชาการ.
- ↑ 6.0 6.1 ""ในหลวง-พระราชินี" ทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ปรับปรุงใหม่". Thai PBS.
- ↑ "ในหลวงทรงเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์". ยูทูบ. 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-19.
- ↑ "แกะคำพูด 'วิษณุ' บุพเพสันนิวาสแก้สัญญาเช่าศูนย์สิริกิติ์ฯ ถ้าเอื้อปย.เริ่มตั้งแต่ รบ.ไหน?". สำนักข่าวอิศรา. 25 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ไบเทคเร่งขยายมิกซ์ยูส ปรับใหญ่เปิด Food Destination". หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ. 16 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2024.
ฟากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งบริษัทเอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือทีซีซีกรุ๊ป ประกาศปิดปรับปรุงตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2562
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เอ็น.ซี.ซี.ฯ เปิดตัว “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” โฉมใหม่ มากกว่าศูนย์การประชุม , ประชาชาติธุรกิจ
- ↑ จุลพันธ์, พรไพลิน (12 กันยายน 2022). ""ศูนย์สิริกิติ์" เปิดแล้ววันนี้ 12 ก.ย. ตอบโจทย์ ที่สุดของอีเวนต์แพลตฟอร์ม!". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร". หน่วยราชการในพระองค์. 16 ตุลาคม 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2022.
- ↑ "คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย ความร่วมสมัย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก". Urban Creature (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-08-09.
- ↑ Admin (2022-09-07). "Red Lobster ร้านอาหารทะเลชื่อดังอเมริกา เปิดบริการแล้วที่ ศูนย์ประชุมฯ สิริกิติ์ 12 ก.ย.นี้". carlifeway.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Pattarat (2022-08-18). "พาชมจัดเต็มทุกมุม! "ศูนย์ฯ สิริกิติ์" โฉมใหม่ อลังการกลิ่นอายสถาปัตยกรรมไทย พร้อมเปิดกันยายน'65". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ เผยโฉมใหม่ ศูนย์ฯสิริกิติ์ 15,000 ล้าน ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดตัว 12 ก.ย.นี้ ค่าเช่าขยับขึ้น 5-15% ผู้ใช้บริการ 13 ล้านคนต่อปี
- ↑ "% Arabica เปิดสาขาใหม่ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | แกลเลอรีที่โพสต์โดย Rattomarty". Lemon8.
- ↑ การเปลี่ยนแปลงบทบาทของนางสาวไทยระหว่าง พ.ศ. 2477-2542 ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ↑ "ชวนไปงาน "สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 47" ภายใต้แนวคิด "รักคนอ่าน"". workpointTODAY.
- ↑ "งานหนังสือ 2565 จัดที่ไหน เช็กเวลาเปิด-ปิด วิธีการเดินทางไปได้ที่นี่". tnnthailand. 2022-10-13.
- ↑ "สองพันธมิตรประกาศความพร้อมจัดมหกรรมเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของไทย Thailand Game Show 2007 วันเด็ก". ryt9.com.
- ↑ "เจาะทุกไฮไลท์ Thailand Game Show 2022 คัมแบ็คยิ่งใหญ่สมการรอคอย!". mgronline.com. 2022-10-08.
- ↑ "เออาร์ไอพีแถลงจัดใหญ่ ก่อนส่งท้ายศูนย์ ฯ สิริกิติ์ – www.aripplc.com".
- ↑ "“แอ๊ด คาราบาว” ชวนมันส์ส่งท้ายปี "CARABAO NEW YEAR EXPO" 7 วัน 7". ryt9.com.
- ↑ sorrawit (2024-08-05). "มันส่งท้ายปี Imagine Dragons เตรียมเปิดคอนเสิร์ตที่ไทย 23 พ.ย. นี้". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ "APEC THAILAND 2003: Programme for Saturday, 18 October". ryt9.com.
- ↑ ไทยพร้อมดูแล “ผู้เข้าร่วมการประชุม APEC 2022” มุ่งรักษาความปลอดภัย ใส่ใจอาหารไทยคุณภาพ
- ↑ "Michelle Mclean: One of the most successful beauty queens from Namibia | Angelopedia". www.angelopedia.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "FIFA Council appoints United States as host of new and expanded FIFA Club World Cup". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ไทยได้เป็นเจ้าภาพ FIFA Congress 2024 ศูนย์สิริกิติ์-โรงแรมเฮ รับผู้ร่วมงานหลายพันคน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ภาพถ่ายทางอากาศของ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์