มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (อังกฤษ: Assumption University) หรือที่เรียกกันติดปากว่า เอแบค (ABAC) จัดอยู่ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มี 2 วิทยาเขตหลัก วิทยาเขตหัวหมาก ตั้งอยู่ที่ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ และยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย[2]
Assumption University of Thailand | |
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มอช. / AU |
---|---|
คติพจน์ | Labor Omnia Vincit (วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึงความสำเร็จ) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน |
สถาปนา | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 |
นายกสภาฯ | ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | ภราดา ดร.ศิริชัย ฟอนซีกา |
ผู้ศึกษา | 8,326 คน (2566)[1] |
ที่ตั้ง | 592/3 ซอยรามคำแหง 24 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 88 หมู่ 8 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10570 |
วิทยาเขต | วิทยาเขต 2
|
ต้นไม้ | อโศกเซนต์คาเบรียล |
สี | ██ สีน้ำเงิน ██ สีขาว ██ สีแดง |
ฉายา | AU / ABAC (เอแบค) |
มาสคอต | ม้า |
เว็บไซต์ | www.au.edu |
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย โดยมีอนุสนธิจากการที่เจษฎาจารย์คณะเซนต์คาเบรียลที่ได้เข้ามาเผยแพร่ธรรมในประเทศไทยเมื่อกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องศึกษาภาษาต่างประเทศเพราะเล็งเห็นว่าต่อไปสังคมโลกจะมีความใกล้ชิดติดต่อกันมากขึ้นเพราะกระแสโลกาภิวัตณ์และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี[3] และได้เริ่มโครงการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2512 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ (ACC) ซึ่งต่อมาได้รับวิทยฐานะเป็นวิทยาลัยเอกชนเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 และสถาปนาอย่างเป็นทางการโดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ” (Assumption Business Administration College) เอแบค (ABAC) ซึ่งชื่อ "อัสสัมชัญ" เป็นชื่อเดียวกันกับที่หลวงพ่อเอมีล โอกุสต์ กอลงแบ (บาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส และ อดีตเจ้าอาวาสอาสนวิหารอัสสัมชัญ แห่ง มิสซังสยาม ปี ค.ศ. 1871) เคยได้ประทานไว้ให้แก่โรงเรียนอัสสัมชัญ[4]. วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจมีโยบายที่จะสนองความต้องการของชาติในการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ และโดยเฉพาะสาขาวิชาทางธุรกิจวิทยาการจัดการ การวิจัย และการศึกษาเชิงสหวิทยาการ. นอกจากนี้ ยังเน้นถึงความเป็นนานาชาติ โดยจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทุกหลักสูตร จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษานานาชาติแห่งแรกในประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมให้ตระหนักถึงความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรม ความคิดและการอยู่ร่วมกันในสังคมโลก[5]
มหาวิทยาลัยได้ขยายหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยได้เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในคณะวิชาต่าง ๆ อย่างหลากหลาย จนได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัย ใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ” เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า มอช. และภาษาอังกฤษว่า "AU" ซึ่งทำให้อักษรชื่อย่อของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีความสัมพันธ์ กับสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Au (ทองคำ)
หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยได้บุกเบิกพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยเฉพาะด้านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นสถาบันเดียวในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันอินเทอร์เน็ตของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2536 และเพื่อให้พัฒนาการของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรองรับการขยายตัวในอนาคต ในปี พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการ วิทยาเขตแห่งที่ 2 บนพื้นที่กว่า 374 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 26 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญวิทยาเขตสุวรรณภูมิ” เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 โดยมีแนวคิดให้เป็น “มหาวิทยาลัยในวนอุทยาน” ภายใต้การวางรากฐานของเจษฎาจารย์ ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด อาคารเรียนที่ทันสมัย ห้องปฏิบัติการ หอสมุดขนาดใหญ่ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โบสถ์ หอพักนักศึกษากว่า 1,250 ห้อง และศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ เพื่อหล่อหลอมให้นักศึกษาเป็นคนที่สมบูรณ์แบบในทุกๆ ด้าน เพื่อออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติต่อไป วิทยาเขตแห่งนี้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ส่วนที่เดิมใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ” วิทยาเขตหัวหมาก มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ที่เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนในคณะวิชาต่างๆ จำนวน 61 หลักสูตร มีนักศึกษา 9,358 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาต่างชาติ 2,369 คน จาก 57 ประเทศ และได้สามารถผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม ประเทศชาติแล้ว เป็นจำนวน 104,871 คน
ผู้บริหารมหาวิทยาลัย
แก้อธิการบดีมหาวิทยาลัย (อดีต – ปัจจุบัน)
แก้ลำดับ. | รายนามอธิการบดี. | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง. | หมายเหตุ. |
---|---|---|---|
1 | ภราดา สมพงษ์ ชีรานนท์ | พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516 | |
2 | อาจารย์วันเพ็ญ นพเกตุ | พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2518 | |
3 | ศาสตราจารย์ ดร.ชุบ กาญจนประกร | พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521 | |
4 | ภราดา ดร. ประทีป ม. โกมลมาศ | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2545 | |
5 | ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ (สมัยที่ 1) | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2559 | |
– | ดร.มัทนา สานติวัตร | พ.ศ. 2559
(25 มกราคม - 8 กุมภาพันธ์) |
ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี |
– | ดร.ธนู กุลชล | พ.ศ. 2559
(12 กุมภาพันธ์ - 14 สิงหาคม) |
ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี |
6 | ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ (สมัยที่ 2) | พ.ศ. 2559 - 2567 | |
7 | ภราดา ดร.ศิริชัย ฟอนซีกา | พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
กรรมการสภามหาวิทยาลัย (สิงหาคม 2563 – 31 สิงหาคม 2567)
แก้ลำดับ. | รายนามกรรมการ. | ตำแหน่ง. |
---|---|---|
1. | ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ | นายกสภา |
2. | ภราดา ดร.ศิริชัย ฟอนซีกา | อุปนายกสภา |
3. | ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
4. | ภราดา ดร.อาจิณ เต่งตระกูล | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
5. | ภราดา ดร.อำนวย ยุ่นประยงค์ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
6. | ภราดา ดร.วีรยุทธ บุญพราหมณ์ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
7. | ภราดา ดร.ทินรัตน์ คมกฤส | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
8. | ภราดา ดร.ชำนาญ เหล่ารักผล | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
9. | ภราดา ดร.พิสูตร วาปิโส | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
10. | ภราดา ดร.มณฑล ประทุมราช | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
11. | ภราดา ดร.ศักดา สกนธวัฒน์ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
12. | ภราดา ดร.สุรกิจ ศรีสราญกุลวงศ์ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
13. | ดร. ธนู กุลชล | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
14. | ศ.ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
15. | นางนวลพรรณ ล่ำซำ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
16. | นายสมชาย วงศ์ทรัพย์สิน | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
17. | นายวีรศักดิ์ อนุสนธิวงษ์ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
- | นายสมพล ณ สงขลา | เลขานุการ |
ผู้บริหารระดับสูง
แก้ลำดับ. | ตำแหน่ง. | รายนามผู้บริหาร. |
---|---|---|
1. | อธิการบดีกิตติคุณ | ภราดา ดร. ประทีป ม. โกมลมาศ |
2. | อธิการบดี – อัคราธิการบดี | ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ |
3. | รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาพัฒนาจริยธรรม และจิตตาธิการมหาวิทยาลัย | ภราดา ดร. อำนวย ยุ่นประยงค์ |
4. | รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (รักษาการ) | ภราดา ดร. อาจิณ เต่งตระกูล |
5. | รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร | ภราดา ดร. อาจิณ เต่งตระกูล |
6. | รองอธิการบดีฝ่ายการเงิน | ภราดา ดร. วีรยุทธ บุญพราหมณ์ |
7. | รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ | ดร. วินธัย โกกระกูล |
8. | รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและสิทธิประโยชน์ | นายสมพล ณ สงขลา |
9. | รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร | รศ.ดร. ประทิต สันติประภพ |
10. | นายทะเบียนมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ | ดร. สุนทร พิบูลย์เจริญสิทธ์ |
11. | ผู้ช่วยอธิการบดี | ผศ.ดร. กฤษณะ กิจเจริญ |
12. | คณบดีบัณฑิตศึกษา | ผศ.ดร. กิตติ โพธิกิตติ |
ผู้บริหารด้านวิชาการ
แก้ลำดับ. | ตำแหน่ง. | รายนามผู้บริหาร. |
---|---|---|
1. | คณบดีบัณฑิตศึกษา | ผศ.ดร. กิตติ โพธิกิตติ |
2. | คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการจัดการเทคโนโลยีขั้นสูง | ผศ.ดร. กิตติ โพธิกิตติ |
3. | คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมนุษยศึกษา | รศ.ดร. สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ |
4. | คณบดีคณะบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ | ผศ.ดร. อุรีย์ เจี่ยสกุล |
5. | คณบดีคณะศิลปศาสตร์ | รศ.ดร. สุรีย์พงศ์ โพธิ์ทองสุนันท์ |
6. | คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ | ดร. พิมสิริ ภู่ศิริ |
7. | คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ดร. ทรงศักดิ์ จันทร์นฤกุล |
8. | คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ | ผศ.ดร. ณรงค์ อภิรัตน์สกุล |
9. | คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ | ดร. มาริสา จันทมาศ |
10. | คณบดีคณะนิติศาสตร์ | ผศ.ดร. เสถียรภาพ นาหลวง |
11. | คณบดีคณะเทคโนโลยีชีวภาพ | ผศ.ดร. พัชนีย์ ยะสุรินทร์ |
12. | คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ | ผศ. ศุภรัฐ วลัยเสถียร |
13. | คณบดีคณะดนตรี | ผศ.ดร. ปัณณวิช สนิทนราทร |
การจัดอันดับ
แก้Webometrics
แก้การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่างๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อยู่ในอันดับที่ 899 ของโลก อันดับที่ 97 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย [6][7]
การจัดอันดับโดย 4 International Colleges & Universities
แก้การจัดอันดับของ 4 International Colleges & Universities หรือ 4ICU เป็นการจัดอันดับความนิยมของเว็บไซต์มหาวิทยาลัย ในปี 2016 ได้รับการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศไทย
คณะ
แก้หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (Martin de Tours School of Management and Economics) | ||
---|---|---|
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะศิลปศาสตร์ (Theodore Maria School of Arts) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
|
||
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะพยาบาลศาสตร์ (Bernadette de Lourdes School of Nursing Science) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
|
||
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Vincent Mary School of Science and Technology) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Vincent Mary School of Engineering) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
||
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะนิเทศศาสตร์ (Albert Laurence School of Communication Arts) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
|
||
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะนิติศาสตร์ (Thomas Aquinas School of Law) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
|
|
|
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะเทคโนโลยีชีวภาพ (Theophane Venard School of Biotechnology) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (Montfort del Rosario School of Architecture and Design) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
|
||
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะดนตรี (Louis Nobiron School of Music) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
|
||
หลักสูตรที่เปิดสอนในบัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการจัดการเทคโนโลยีขั้นสูง (Graduate School of Business and Advanced Technology Management) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
| |
หลักสูตรที่เปิดสอนในบัณฑิตวิทยาลัยคณะมนุษยศึกษา (Graduate School of Human Sciences) | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
แก้- ศูนย์ฝึกการบินนานาชาติแพนแอมประเทศไทย
วันที่ 24 ก.ย. 57 เวลา 16.00 น. ANA Holdings หรือ สายการบินออลนิปปอน แอร์เวย์ หนึ่งในสายการบินชั้นนำของโลกสัญชาติญี่ปุ่น และสายการบินนกแอร์ สายการบินโลว์คอสชั้นนำสัญชาติไทย ได้จับมือร่วมลงทุนกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดศูนย์ฝึกการบินนานาชาติแพนแอมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ โดยความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการพลิกโฉมวงการธุรกิจการบินไทย ที่จะสร้างศูนย์ฝึกการบินที่ได้มาตราฐานสากล และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมให้บริการฝึกอบรมนักบินให้แก่สายการบินต่างๆ เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ปัจจุบันมี เครื่องฝึกบินจำลอง Full Flight Simulator (FFS) แบบแอร์บัส A320 จำนวน 1 เครื่อง เพื่อใช้ฝึกนักบิน และในอนาคตมีแผนจะเพิ่มอีก 3 เครื่อง แบ่งเป็นเครื่อง FFS แบบแอร์บัส A320 อีกจำนวน 1 เครื่อง และแบบโบอิ้ง B-737NG จำนวน 2 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 4 เครื่อง ขณะนี้ศูนย์การบินฯ แพนแอมไทย สามารถเปิดให้บริการทั้งในส่วนของการฝึกการบินให้แก่นักบินและบุคลากรการบินในส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Cabin Crew Training) , Dry Simulator Rental, Type rating training, Ab Initio Pilot w/ Airline Transition, Maintenance Training, Aircraft Dispatcher Training และ Aviation English Training เป็นต้น
- สถาบันวิจัยชิงหัว - เอแบค เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Tsinghua - ABAC AEC Research Institute)
ภารดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ กับ Mr. Zheng Yan Kang (Tsinghua University) และ Mr. Bai He Lin (China Railways) จัดตั้ง สถาบันวิจัยชิงหัว - เอแบค เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Tsinghua - ABAC AEC Research Institute) ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ วัตถุประสงค์หลักของสถาบันวิจัยชิงหัว - เอแบค เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1. เพื่อการแสวงหาความรู้ ความจริง เพื่อได้มาซึ่งปัญญาทางการตลาด การท่องเที่ยวและบริการ การพัฒนาองค์กร และด้านสังคมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2. เพื่อการสร้างความรู้โดยใช้กระบวนการ วิจัย วินิจฉัย เพื่อเป็นฐานรากแห่งปัญญา 3. เพื่อการนำความรู้ที่ได้ผ่านกระบวนการ กลั่นกรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อสร้างให้เป็นความรู้เชิงลึกและเชิงปฏิบัติการ 4. เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดซึ่งปัญญาทางการตลาดที่เลือกเฟ้นสู่ผู้ประกอบการโดยมุ่งเป้าไปที่วิสาหกิจการขนาดกลางและย่อม และธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาตนเองสู่ความยั่งยืน
- Institute for Research and Academic Services (IRAS)
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (RIAS) เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตั้งอยู่ที่ ชั้น 9 อาคาร เฉลิมรัชมงคล ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์วิจัยธุรกิจ" หรือที่รู้จักกันในนาม CRIB ภายใต้การดูแลของ Dr. Federic L. Ayer รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยในขณะนั้น ซึ่งท่านเป็นรองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยคนแรกของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยให้บริการศึกษาวิจัยทางด้านธุรกิจแก่วงการธุรกิจ ทั้งภายในและนอกประเทศ และจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยธุรกิจได้ประสบความสำเร็จในการให้บริการอย่างสูง ประกอบกับมีผู้สนใจงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ กับทั้งมีการประยุกต์งานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ต่าง ๆ ไปใช้ในวงการธุรกิจ มากขึ้น ทางศูนย์วิจัยฯ จึงเริ่มมีการให้บริการค้นคว้า วิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ด้วย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ภายใต้ชื่อ "ศูนย์วิจัย ธุรกิจและสังคมศาสตร์" (CRIB&SSc.) ต่อมา ในปี พ.ศ. 2541 วงการวิจัยได้พัฒนามากยิ่งขึ้น มีการศึกษา ค้นคว้า และการทำวิจัยตาม สาขาวิชาต่าง ๆ ในลักษณะเจาะจงมากขึ้น เพื่อเป็นการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของประชาคม การวิจัยของประเทศ และของโลก ศูนย์วิจัยธุรกิจและสังคมศาสตร์ ภายใต้การควบคุม ดูแลของ ผศ.ดร. จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์ รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัย จึงได้เสนอ ที่ประชุมผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เพื่อทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของศูนย์วิจัยฯ ใหม่ โดยใช้ชื่อว่า "สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในการให้บริการทางด้านการวิจัยแก่ประชาคม วิจัย ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย
- สถาบันขงจื่อ (Confucius Institute)
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้รับทราบจากห้องเรียนขงจื่อโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ว่ารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยคณะผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ฮั่นปั้น (The Office of Chinese Language Council International : Hanban)มีนโยบายก่อตั้งสถาบันขงจื่อเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น มีการทำความตกลงร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศจีน มีนักศึกษาจากประเทศจีนสนใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังจัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาจีนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี และภาษาจีนเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันมากในประชาคมอาเซียน จึงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดตั้งสถาบันขงจื่อขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยในเบื้องแรกได้ลงนามทำความตกลงร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ฮั่นปั้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557 เพื่อจัดตั้งสถาบันขงจื่อที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Confucius Institute) และต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทียนจิน ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถาบันขงจื่อร่วมกัน ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญโดยภราดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ ศาสตราจารย์ Wang Shuo อธิการบดี มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทียนจิน เป็นผู้ลงนาม
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทียนจินนั้น เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำขนาดใหญ่ เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 จัดการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จำนวนกว่า 168 หลักสูตร ในจำนวนนี้มีหลักสูตรการสอนภาษาจีนสำหรับชาวช่างชาติ (Teaching Chinese as Foreign Language) ปัจจุบันมีนักศึกษามากกว่า 23,000 คน มีคณาจารย์ 2,189 คน
- ABAC Consumer Index
โครงการสำรวจข้อมูลดัชนีผู้บริโภค เก็บรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างคลังข้อมูลดัชนีผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนในปี 2011 โดยอิงอยู่กับการให้บริการสังคมของมหาวิทยาลัย 2 ระดับ คือ ระดับอาจารย์ โดยนำความรู้ไปเผยแพร่สู่สาธารณชน และส่วนของสถาบันคือการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคมให้บริการสังคม
- ศูนย์ ABAC SIMBA (ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis)
เป็นศูนย์วิจัยที่ให้ความรู้และข้อมูลงานวิจัยทางด้านการเมืองสังคมและธุรกิจ
- ศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ หรือ ICE CENTER, Innovation, Creativity and Enterprise
เป็นศูนย์ให้ความรู้ด้านการทำธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป
- ศูนย์พัฒนาองค์กร หรือ ODI (Organization Development Institute)
ให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรขององค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
- สถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษา
- ภาควิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ
- เอแบคโพลล์
- บัณฑิตวิทยาลัย
- ACC School of Commerce
การรับรองมาตรฐานการศึกษา และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ
แก้พัฒนาการของมหาวิทยาลัยที่ผ่านมา ได้สร้างชื่อเสียง และการยอมรับให้เกิดขึ้นในสังคมภายในประเทศและต่างประเทศเป็นลำดับมา โดยพิจารณาได้จากการที่หน่วยงาน องค์การ หรือสถาบันต่างๆ ของไทย และของต่างประเทศได้ให้การรับรองมาตรฐานการศึกษา หรือได้มีความตกลงร่วมมือกันทางวิชาการดังนี้
การรับรองมาตรฐานการศึกษา
แก้- กระทรวงศึกษาธิการรับรอง พ.ศ. 2515
- ทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง พ.ศ. 2518
- คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง พ.ศ. 2518
- สภาการศึกษาแห่งชาติรับรอง พ.ศ. 2518
- The U.S. Veterans Administration, Washington D.C., รับรอง พ.ศ. 2523
การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ
แก้- The Association of Christian Universities and Colleges in Asia (ACUCA)
- The Association of Southeast Asian Institution of Higher Learning (ASAIHL)
- The International Federation of Catholic Universities (IFCU)
- The United Nations Academic Impact (UNAI)
- The Association of Southeast and East Asian Catholic Colleges and Universities (ASEACCU)
- International Associations of University Presidents (IAUP)
- The ASEAN Universities Network (AUN)
- University Mobility in the Asia Pacific (UMAP
- The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand under The Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (APHEIT)
- The Catholic Education Council of Thailand (CECT)
อาสนแห่งปัญญา
แก้เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานหลายศตวรรษของชาวคริสเตียนที่จะเคารพ เซเดส ซาปิเอนซีเอ ในฐานะ "พระที่นั่งแห่งปัญญา". ตามความเชื่อของคริสเตียน พระคริสต์ทรงประทับบนพระเพลาของพระมารดาบนบัลลังก์ ในแง่หนึ่งหมายความว่าพระมารดาของพระคริสต์ทรงเป็นที่ประทับของปัญญาอันสูงสุดแห่งวิทยาศาสตร์ทั้งปวง แต่ในเชิงเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยถือเป็นศูนย์รวมแห่งความรู้และวิทยาการเช่นเดียวกัน และ คำว่า"อัสสัมชัญ" ซึ่งนอกจากความหมายทางศาสนาในการถวายเกียรติแด่พระมารดาของพระคริสต์แล้ว ยังมีความหมายในภาษาไทยอีกประการหนึ่งคือ "ที่พำนักแห่งความรู้"[8].
เซเดส ซาปิเอนซีเอ ได้รับพรจาก พระคาร์ดินัล ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ในโอกาสเดียวกันนี้ พระคาร์ดินัลยังได้อวยพรอาคารมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้วย รวมทั้งช่างทองได้รับมอบหมายให้ประดิษฐ์มงกุฎทองคำบริสุทธิ์สำหรับรูปปั้นพระแม่มารี วันที่ 15 สิงหาคม 2544 มงกุฎทองคำนี้ได้รับพรจากพระสังฆราชลอว์เรนซ์ เทียนชัย สมานจิตต์ ตามปฏิทินคริสตจักรคาทอลิก วันที่ 15 สิงหาคม ซึ่ง เป็นวันฉลองอัสสัมชัญของพระแม่มารี และมหาวิทยาลัยจึงมีการเฉลิมฉลองด้วยความจงรักภักดีอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีในวันแม่พระรับยกขึ้นสวรรค์[ลิงก์เสีย]หรือวันอัสสัมชัญในเดือนสิงหาคม. เพื่อเป็นเกียรติแก่โอกาสนี้ ในปี 2544 อธิการบดีของมหาวิทยาลัยได้จัดพิธีพิเศษขึ้นเพื่อสวมมงกุฎรูปเคารพในวันฉลองอัสสัมชัญและเพื่อเป็นเกียรติแก่พระแม่มารีในฐานะมารดาและราชินีแห่งมหาวิทยาลัย[9].
ทุนการศึกษา (Scholarships)
แก้ชื่อทุน | ระดับการศึกษา |
---|---|
1. ทุน 5 ทศวรรษมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ | ปริญญาตรี |
2. ทุนสำรวจโลก (e-Listening Scholarship) | ปริญญาตรี |
3. ทุน AU the Creator of Tomorrow ประเภทความสามารถพิเศษ ผลงานวิชาการหรือกิจกรรม | ปริญญาตรี |
4. ทุน AU the Creator of Tomorrow ประเภทสอบแข่งขัน | ปริญญาตรี |
5. ทุนนักกีฬามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AU Athletes Scholarship) | ปริญญาตรี |
6. ทุนเฉลิมฉลอง 72 พรรษา นวมินทรมหาราช | ปริญญาตรี |
7. ทุนอื่นๆ | |
• กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) | ปริญญาตรี |
• กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) | ปริญญาตรี |
บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
แก้- ด้านพระบรมวงศานุวงศ์
- สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[10]
- ด้านวงการบันเทิง
- ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร นักดนตรี, นักร้อง, ยูทูบเบอร์
- แคทรียา อิงลิช นักร้อง, นักแสดง, พิธีกร
- คัทลียา แมคอินทอช นักแสดง, พิธีกร
- เกริกพล มัสยวาณิช นักแสดง, พิธีกร, นักธุรกิจ
- สุนิสา เจทท์ นักแสดง
- พิชญ์นาฏ สาขากร นักแสดง, นักธุรกิจ
- ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ นักแสดง
- วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ นักแสดง
- ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ นักแสดง, พิธีกร, ยูทูบเบอร์
- อลิชา หิรัญพฤกษ์ นักแสดง, ยูทูบเบอร์
- ไดอาน่า จงจินตนาการ นักแสดง
- ธันย์ชนก ฤทธินาคา นักร้อง นักแสดง พิธีกร
- พิชญุตม์ สิทธิพันธุ์ ยูทูบเบอร์, นักแคสต์เกม
- พีชญา วัฒนามนตรี อดีตนักแสดง
- ยศสินี ณ นคร ผู้จัดละคร, ยูทูบเบอร์
- เจมส์ มาร์ นักแสดง
- ซาร่า เล็กจ์ นักแสดง, พิธีกร
- พอลล่า เทเลอร์ นักแสดง, พิธีกร
- บัณฑิต อึ้งรังษี วาทยกร
- ราศรี บาเล็นซิเอก้า จิราธิวัฒน์ นักแสดง, ยูทูบเบอร์
- เสฎฐวุฒิ อนุสิทธิ์ นักแสดง
- ธนิน มนูญศิลป์ นักแสดง
- จณิสตา ตันศิริ นักร้อง, สมาชิกวง BNK48 รุ่น2
- ชุติญา เจียรกุล นักแสดง
- ด้านกีฬา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ด้านการเมือง
- ตรีนุช เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
- นิติวัฒน์ จันทร์สว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทยพัฒนา
- ศราวุธ เพชรพนมพร อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปัจจุบันคือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม), อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย
- วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ
- ธีรภัทร มงคลนาวิน อุปทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโด ฮา, กระทรวงต่างประเทศ
- ปฏิมา จีระแพทย์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน, วุฒิสภาและที่ปรึกษาด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ประจำผู้แทนการค้าไทย
- วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทยและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย
- ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- สุกุมล คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคพลังชล
- ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง
- จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด
- ด้านบุคลากรทางการศึกษา
- ดร.วัฒนจักร พุ่มวิเศษ อดีตนักวิจัย ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด, องค์การนาซา
- ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์อาทิตย์ ปิ่นปัก อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
- ด้านวงการทหาร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ด้านวงการตำรวจ
- พันตำรวจโท สงกรานต์ เตชะณรงค์ สารวัตรสำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร, อดีตโฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการปราบปราม
- ด้านวงการแพทย์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ด้านวงการราชการพลเรือน
- อิสระ วงศ์รุ่ง ประธานบริหาร บริษัท เรเว่ ลีสซิ่ง จำกัด, อดีตรองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
- รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวเดอะสแตนดาร์ด, อดีตบรรณาธิการฝ่ายข่าวต่างประเทศสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- ดร.ชัยพร วิเทศสนธิ รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- เอธัส มนต์เสรีนุสรณ์ อดีตผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รับผิดชอบสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย และสำนักพัฒนาชุมชน)
- ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย นักธุรกิจ, ผู้บริหารบริษัทเอกชนหลายแห่ง, ผู้สร้างแบรนด์ เดอะพิซซ่า คอมพานี, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ, อนุกรรมการจัดทำร่างและอนุกรรมการปฏิบัติการ ด้านการประชาสัมพันธ์ นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ห้า, ประธานมูลนิธิธรรมดี
- ด้านวงการผู้ประกาศข่าว
- ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ อดีตนักแสดง, พิธีกร, ผู้ประกาศข่าว, ทนายความ, อาจารย์ภาควิชากฎหมายธุรกิจ ของ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- บัญชา ชุมชัยเวทย์ พิธีกรรายการและผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจสังกัด ช่อง 3 เอชดี
- ด้านวงการธุรกิจ
- กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ กรรมอิสระ บริษัท ไทวา จำกัด, ที่ปรึกษา บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน), กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมรากี้ จำกัด, ที่ปรึกษา บริษัท New Zealand trader & Enterprize, อดีต Non-Executive Chairman บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย จำกัด, อดีต Deputy Group CEO บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน), อดีต CEO บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
- วิบูลย์ กรมดิษฐ์ อดีตกรรมการบริหาร บริษัท อมตะ คอร์เปอเรชั่น จำกัด
- สุวภา เจริญยิ่ง ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการและบรรษัทภิบาล บริษัท ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน), กรรมการ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน), กรรมการอิสระ บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), กรรมการอิสระ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน), อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน), อดีตกรรมการอิสระ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
- กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ นักแสดง พิธีกร ผู้บริหาร บริษัท แฟล็กชิพ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด, ผู้จัดละคร
- ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
- ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยยูเนี่ยน
- วราวุธ เลาหพงศ์ชนะ อดีตนักการทูต, ผู้จัดการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสาร บริษัท คริสเตียน ดิออร์ ประเทศไทย (จำกัด)
- เกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดิ เอ็มโพเรียม กรุ๊ป และกรรมการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด
- อธิคม เติบศิริ ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด, กลุ่ม ปตท
- ขวัญเมษา กลางชะนีย์ ประธานกรรมการผู้บริหารบริษัท อะชีพ เทรนนิ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (สถาบัน ATDI Plus)
- ประชุม มาลีนนท์ อดีตรองประธานกรรมการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)
- สุหฤท สยามวาลา นักร้อง, DJ และ ผู้บริหาร บริษัท D.H.A. Siamwalla จำกัด
- ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ CEO ไทยแอร์เอเชีย
- เจริญ อุษณาจิตต์ ประธานกรรมการ บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- ด้านวงการอื่นๆ
- เต ชอว์ยุน (Teay Shawyun), รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัย King Saud ประเทศซาอุดิอาราเบีย
- เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ (Jennifer Harhigh), รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐฯ ประจำหน่วยงานสหประชาชาติ ณ กรุงโรม
- ทาริค นาเซอร์ (Tareque Nasser), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา
อ้างอิง
แก้- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ "จำนวนผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-23.
- ↑ "ประวัติมหาวิทยาลัย - Admissions Center Assumption University". 2019-11-26.
- ↑ "ประวัติมหาวิทยาลัย - Admissions Center Assumption University". 2019-11-26.
- ↑ "ประวัติมหาวิทยาลัย - Admissions Center Assumption University". 2019-11-26.
- ↑ Ranking Web of World Universities เก็บถาวร 2009-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop South East Asia
- ↑ [1]
- ↑ "AU - Assumption University of Thailand". www.au.edu.
- ↑ "AU - Assumption University of Thailand". www.au.edu.
- ↑ 50 ปี “ABAC” สู่การเป็น “World Class University”
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เก็บถาวร 2020-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน