คณะภราดาเซนต์คาเบรียล
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
คณะภราดาเซนต์คาเบรียล (ฝรั่งเศส: Frères de Saint-Gabriel, อังกฤษ: The Montfort Brothers of St. Gabriel) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกคณะหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อพระสันตะปาปา นักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ตเป็นผู้ก่อตั้งคณะ และบาทหลวงกาเบรียล เดแอ เป็นผู้ฟื้นฟูคณะ
ชื่อย่อ | B.S.G. |
---|---|
คําขวัญ | Labor Omnia Vincit |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1711 |
ผู้ก่อตั้ง | หลุยส์ เดอ มงฟอร์ |
ประเภท | คณะนักบวชคาทอลิก |
สํานักงานใหญ่ | โรม, อิตาลี |
ภราดา จอห์น คัลลาแรคกัล | |
เว็บไซต์ | The Website of The Montfort Brothers of St. Gabriel |
นักบวชในคณะปฏิญาณตนต่อพระเจ้าเพื่อถือ ความยากจน ความบริสุทธิ์ และความนบนอบ ทำงานรับใช้พระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ด้วยการอุทิศตน เสียสละ รับใช้ผู้อื่นดังพี่น้อง โดยมุ่งที่จะให้บริการศึกษาอบรมที่เป็นความรู้ทางโลกและทางธรรมแก่สังคม
คณะภราดาเซนต์คาเบรียลมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี สมาชิกประกอบด้วยภราดาที่ทำงานรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านทางการให้การศึกษาแก่เยาวชน และเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อคนยากจน ตามจิตตารมณ์ของนักบุญมงฟอร์ต ปัจจุบัน ภราดา John Kallarackal เป็นอัคราธิการ และภราดา เดชาชัย ศรีพิจารณ์ เป็นอธิการเจ้าคณะแขวงประเทศไทย
ประวัติ
แก้มงฟอร์ตมีภราดาร่วมงานของท่านในขณะออกเทศน์สอนตามชนบทและโบสถ์คริสต์ต่าง ๆ ติดตามท่านไปทุกแห่งหน เช่น ภราดามาธูริน ในระยะแรกรวมเป็นคณะนักบวชชายกับ คณะบาทหลวงธรรมทูตมงฟอร์ต ประมาณหนึ่งร้อยปีเศษต่อมาบาทหลวงคาเบรียล เดแอร์ อัคราธิการคณะมงฟอร์ต (ประกอบด้วยบาทหลวง ภราดา ภคินี) ในขณะนั้นมอบหมายงานสอนเรียนให้ภราดากลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ และต่อมามีภราดาอธิการปกครองเป็นคณะต่างหากโดยเอกเทศเรียกว่า คณะภราดาเซนต์คาเบรียลจนถึงปัจจุบัน สมาชิกประมาณ 1,300 คนกระจายอยู่ใน 31 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเข้าเริ่มทำงานที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 ดำเนินงานโดยจิตตารมณ์นักบุญมงฟอร์ต ในการแสวงหาองค์ปรีชาญาณ ความรักต่อพระนางมารีย์พรหมจารี และการบริการคนยากจนในสภาพต่าง ๆ ถือเสมือนเป็น พี่น้อง ของทุกคน
ในประเทศไทย
แก้คําขวัญ | Labor Omnia Vincit |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1879 |
ประเภท | คณะนักบวชคาทอลิก |
สํานักงานใหญ่ | 2 ซอยทองหล่อ 25 ถนนสุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร |
เจ้าคณะแขวง | ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ |
เว็บไซต์ | St. Gabriel Foundation |
ในปี ค.ศ. 1877 บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ บาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสได้รับตำแหน่งเป็นอธิการโบสถ์อัสสัมชัญด้วยอุดมการณ์อันมั่นคงของท่านที่อยากจะให้วิชาความรู้แก่เด็กชาวสยาม เพื่อเป็นวิทยาทานและด้วยความเมตตาธรรม ท่านได้รับเด็กกำพร้าเข้าไว้ในความดูแลของท่านสิบกว่าคน เพื่อให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนวิชา ไว้เป็นกำลังของครอบครัวและประเทศชาติต่อไป จนกระทั่งวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 ท่านได้เปิดสอนเป็นทางการใช้ชื่อว่า “โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ” หรือ โรงเรียนอัสสัมชัญ ในปัจจุบัน
เนื่องด้วยคุณพ่อต้องดูแลทั้งโบสถ์และโรงเรียนที่กำลังขยายกิจการใหญ่โตขึ้น จึงเป็นภาระหนัก ด้วยเหตุนี้ท่านจึงคิดว่าคณะนักบวชที่สอนเรียน (Teaching Congregation) มาช่วยรับภาระโรงเรียนแทนท่าน ใน ค.ศ. 1900 ท่านต้องกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อรักษาตัว ท่านได้พบกับอัคราธิการเจ้าคณะเซนต์คาเบรียลในสมัยนั้น จึงตกลงว่าจะส่งภราดาชุดแรก 5 ท่าน มารับช่วงงาน
วันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1901 ภราดาชุดแรกมี ภราดามาร์ติน เดอ ตูร์ ภราดาอาแบล ภราดาออกุส ภราดาคาเบรียล ฟาเร็ตตี และภราดาฟ. ฮีแลร์ ได้มาถึงกรุงเทพฯ โดยทางเรือ แต่ละท่านต้องฝึกฝนภาษาไทยให้ชำนาญ โดยเฉพาะภราดาฮีแลร์ ท่านได้มุมานะจนเรียนได้อย่างแตกฉานและเขียนหนังสือให้เด็กไทยได้เรียนภาษาไทยด้วย คือ หนังสือดรุณศึกษา
จากฃื่อเดิม “โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ” ภายหลัง ภราดาฮีแลร์ ได้ขอเปลี่ยนเป็น “โรงเรียนอัสสัมชัญ” ซึ่งมีความหมายว่า “ตำแหน่งที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้ (ที่อยู่ของความรู้) “ ในเวลาเดียวกันก็ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “ASSUMPTION” ซึ่งหมายถึง “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ” ซึ่งเป็นศาสนนามของโรงเรียน
สถานศึกษา
แก้ชื่อ | จังหวัด | พ.ศ. | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
อัสสัมชัญ | กรุงเทพ | 2428 | หากใช้ปฏิทินสากลจะตรงกับค.ศ. 1886 |
เซนต์คาเบรียล | กรุงเทพ | 2463 | หากใช้ปฏิทินสากลจะตรงกับค.ศ. 1921 |
มงฟอร์ตวิทยาลัย | เชียงใหม่ | 2475 | หากใช้ปฏิทินสากลจะตรงกับค.ศ. 1933 |
อัสสัมชัญพาณิชยการ | กรุงเทพ | 2482 | |
อัสสัมชัญศรีราชา | ชลบุรี | 2487 | |
เซนต์หลุยส์ | ฉะเชิงเทรา | 2491 | |
เซนต์แมรี่ | ชลบุรี | 2491 | |
อัสสัมชัญลำปาง | ลำปาง | 2501 | |
อัสสัมชัญธนบุรี | กรุงเทพ | 2504 | |
อัสสัมชัญระยอง | ระยอง | 2506 | |
อัสสัมชัญอุบลราชธานี | อุบลราชธานี | 2508 | |
อัสสัมชัญ ประถม | กรุงเทพ | 2508 | |
อัสสัมชัญนครราชสีมา | นครราชสีมา | 2510 | |
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ | กรุงเทพ | 2515 | |
อัสสัมชัญสมุทรปราการ | สมุทรปราการ | 2522 | |
นักศึกษา | นครปฐม | 2526 | |
นวกสถาน | เชียงใหม่ | 2528 | |
อัสสัมชัญนครพนม | นครพนม | 2541 | |
อัสสัมชัญ พระราม 2 | สมุทรสาคร | 2555 |
แรกเริ่มโรงเรียนของบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ได้ใช้ชื่อเป็น ภาษาฝรั่งเศส "Le Collège De L'Assomption" (เลอ โกแลช เดอ ลัซซงซิอง) ซึ่งคุณพ่อได้ใช้ชื่อในภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" แต่คนทั่ว ๆ ไปมักเรียก และเขียนผิด ๆ กันไปตามถนัด ดังนั้นในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้มี จดหมายไปยังกระทรวงธรรมการ กรมคึกษา ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "อาศรมชัญ" เพื่อให้เป็นภาษาไทย ตามนโยบายของทางกรมฯ วันที่ 26 กันยายน 2453 พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาก็ได้ตอบกลับมา ว่า ควรเปลี่ยนเป็น"อัสสัมชัญ"เพราะได้เสียงใกล้เคียง ของเดิม และความ หมายก็คงไว้ตาม "อาศรมชัญ" ดังนั้นชื่อ "อัสสัมชัญ" จึงได้เริ่มใช้กัน ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา ซึ่งคำๆนี้ให้เสียงเป็นคำไทย และ คล้ายกับภาษาอังกฤษว่า "Assumption" ซึ่งทั้งคำแปลก็เหมาะ สมที่จะเป็นชื่อ ของโรงเรียน โรงสวดกุฏิที่ถือศีลเป็นอันมากเพราะคำว่า "อัสสัมชัญ" ก็ได้แก่ ศัพท์ในภาษาบาลีว่า "อัสสโม" แผลงเป็นไทยว่า "อาศรม" ซึ่งหมายความถึง "กุฏิที่ถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ธาตุศัพท์ว่า"ช" ซึ่งแปลว่า เกิด และ "ญ" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า "ชัญ" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ ครั้นรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า "อัสสัมชัญ" คือ "ตำแหน่งที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้" นั่นเอง และความหมาย คำว่า อัสสัมชัญ ภาษาอังกฤษ แปลว่า แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายละวิญญาณ ซึ่งตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันหยุดของโรงเรียนอัสสัมชัญทุกปี
บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์
แก้ในปีแรกๆ คุณพ่อกอลมเบต์สอนภาษาไทยควบคู่ไปกับภาษาฝรั่งเศสและต่อมาได้เพิ่มภาษาอังกฤษขึ้นอีกภาษาหนึ่ง นักเรียนของท่านมีน้อย ท่านต้องออกเดินไปตามบ้านเพื่อขอร้องให้บรรดาผู้ปกครองส่งเด็กมาเรียนกับท่าน ท่านทำการสอนเด็กนักเรียนจำนวนน้อยเหล่านั้นด้วยศรัทธาอันมั่นคง และด้วยความอุตสาหะอย่างยิ่งของท่าน ในที่สุดท่านก็ได้ เปิดเป็นโรงเรียนขึ้นเพื่อรับนักเรียนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นชาติหรือศาสนาใด โดยท่านได้ใช้เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 3 งาน ตรงบริเวณบ้านคุณพ่อกังตอง (Père Ganton "แปค์ กงตง) ซึ่งเป็นเรือนไม้เล็กๆเก่าๆ ที่สร้างขึ้นโดยมุขนายกฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว (Bishop pallegoix) เมื่อ พ.ศ. 2392 ใช้เป็นบริเวณที่พักของคุณพ่อกังตอง ซึ่งเป็นหัวแรงใหญ่ในการดูแลงานโรงเรียน มีเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งกั้นเป็นห้องเรียนได้อีก 1 ห้อง เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน และมีลานเล่นหลังคาจากเล็กๆ พอให้เด็กๆ ได้มีที่คุ้มแดดคุ้มฝน ยามวิ่งเล่นอีกหลังหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ คุณพ่อกอลมเบต์ยังได้จ้างมิสเตอร์คอนอแว็น ชาวอังกฤษให้มาเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนอีกด้วย โรงเรียนของท่านได้เริ่มเปิดเรียนวันแรก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" (Le Collège de L' Assomption) ซึ่งมีนักเรียนอยู่เพียง 33 คน ด้วยจำนวนนักเรียนเพียง 33 คน ทำให้ครูใหญ่รู้สึกท้อถอย และคิดจะลาออกกลับไปยังประเทศของตน แต่คุณพ่อกอลมเบต์ก็ได้ปลุกปลอบและให้กำลังใจเรื่อยมา จนในที่สุดมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 80 คนเมื่อสิ้นปีการศึกษา และเปดการศึกษาใหม่เป็น ปีที่ 2
ในวันที่ 26 มกราคม 2429 มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 130 คน เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สถานที่เรียนจึงคับแคบลง คุณพ่อปรารถนาที่จะสร้างอาคารใหม่เพื่อต้อนรับลูกศิษย์ของท่านได้เต็มที่ แต่สมณเพศผู้สละแล้วซึ่งทรัพย์สมบัติทั้งปวง ไม่มีทุนทรัพย์ที่จะมาทำการก่อสร้างตามที่คิดไว้ได้ ท่านจึงได้ออกเรี่ยไรเงินไปตามบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่าง ๆและได้ทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถซึ่งทั้งสองพระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับคุณพ่อเพื่อใช้ในการดำเนินงานการก่อสร้างอาคารเรียน ครั้งนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน 50 ชั่ง (4,000 บาท) และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระราชทาน 25 ชั่ง (2,000 บาท) พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และเจ้าขุนมูลนายต่าง ๆก็ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ อย่างหาที่สุดมิได้ แก่บรรดาชาวอัสสัมชัญทั้งหลายมาจนบัดนี้ทีเดียว
23 เมษายน พ.ศ. 2430 คุณพ่อกอลมเบต์ได้ตกลงเซ็นสัญญาก่อสร้างตึกเรียนหลังแรกกับมิสเตอร์ กราชี (Mr.Grassi) สถาปนิกชาวอิตาเลียนด้วยจำนวนเงิน 50,000 บาทและได้เริ่มวางรากฐานการก่อลร้างตึกหลังแรกของโรงเรียนซื่งมีชื่อว่า "Collège de L'Assumption" ต่อมาได้รับการขนานนามว่า "ตึกเก่า" ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 และใน วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2430 อันเป็นวันสมโภชอัสสัมชัญ คือวันฉลองแม่พระได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นฤกษ์ดี คุณพ่อจึงเลือกการวางศิลารากโรงเรียนในวันนั้น โดยเชิญคุณพ่อดองต์ (d' Hondt) ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ มาทำการเสกศิลา และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟซึ่งอาเลกซันดรา กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ พระยาภาสกรวงษ์ ผู้แทนเสนาบดีว่าการต่างประทศ ได้นำคุณพ่อดองต์และ คุณพ่อกอลมเบต์ได้รับเสด็จที่ท่า ผ่านกระบวนนักเรียน ตามทางประดับด้วยผ้าแดง ธงต่าง ๆ ต้นกล้วย ใบไม้ เสื่อลวด ดังปรากฏหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 4 แผ่น ที่ 18 หมายเลข 138 วา "ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ เวลาบ่าย 4 โมงเศษ ...ทรงจับฆ้อนเคาะแผ่นศิลานั้น แล้ว ดำรัสว่า "ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป" ด้วยอุดมการณ์อันมั่นคงของคุณพ่อกอลมเบต์ที่จะให้วิชาความรู้แก่เด็กชายชาวสยามเพื่อเป็นวิทยาทาน และด้วยเมตตาธรรม
ในปี พ.ศ. 2431 คุณพ่อจึงได้รับเดกกำพร้าเข้ามาไว้ในอุปการะหลายคนเพื่อให้เดกเหล่านั้นได้มีโอกาสเล่าเรียนวิชาไว้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว และชาติบ้านเมืองสืบต่อไป ปี พ.ศ. 2439 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง 300 คน และเพิ่มเป็น 400 คนในปีต่อมา ทำให้ภาระของคุณพ่อกอลมเบต์หนักขึ้น และหากท่านมุงห่วงใยในการศึกษาของศิษย์ทั้งใหญ่น้อยทั้งชาวไทย ชาวจีน แขก ฝรั่ง ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์) ศาสนาอิสลาม ลัทธิขงจื๊อ ฯลฯ เช่นนี้ จะทำให้ท่านมีเวลาเพื่อศาสนกิจ อันเป็นงานหลักของท่านน้อยเกินไป ดังนั้นเมื่อตึกเรียน ได้เริ่มใช้งานมา 10 ปีแล้ว คือเริ่มใช้งานในปี 2433 การดำเนินงานของโรงเรียนก็เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้นเมื่อทานป่วยและ ต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส เพื่อรักษาตัวในปี พ.ศ. 2443 ท่านจึงได้มอบหมายภาระทางด้านโรงเรียนนี้ให้กับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เพื่อมาดำเนินงานต่อจากท่านไป โดยที่เมื่อท่านได้กลับมาประเทศไทยหลังจากที่ได้รักษาตัวอยู่ที่ฝรั่งเศสเกือบ 3 ปี ท่านก็ได้คอยมาดูแล พวกภราดา และโรงเรียนด้วยความห่วงใยอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ที่ท่านจะต้องร่วมขบวนทัศนาจรไปด้วยทุกครั้ง
อธิการ
ชื่อ | ค.ศ. |
ฮิวเบิร์ต | 1948-1954 |
ยอห์น แม่รี่ | 1955-1965 |
อำนวย ปิ่นรัตน์ | 1965-1974 |
ประทีป โกมลมาศ | 1974-1976 |
วิริยะ ฉันทวโรดม | 1977-1986 |
สุรสิทธิ์ สุขชัย | 1986-1995 |
ศิริชัย ฟอนซีกา | 1995-2000 |
ศักดา กิจเจริญ | 2001-2007 |
ศิริชัย ฟอนซีกา | 2008-2013 |
สุรสิทธิ์ สุขชัย | 2013-2018 |
เดชาชัย ศรีพิจารณ์ | 2018-ปัจจุบัน |