โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง

โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง (อังกฤษ: Assumption College Rayong; อักษรย่อ: อสช., ACR) เป็นสถานศึกษาลำดับที่ 9 ของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ก่อตั้งด้วยปณิธานของนาย ส่ง เหล่าสุนทร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง

โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
(อสช.)
Assumption College Rayong ;ACR
ข้อมูล
ชื่ออื่นอสช. (ACR)
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญLabor Omnia Vincit
ความวิริยะอุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ
สถาปนา18 เมษายน พ.ศ. 2506 (60 ปี 345 วัน)
สีขาว แดง
เพลงสดุดีอัสสัมชัญ
ต้นไม้ต้นอโศกอินเดีย
เว็บไซต์http://www.acr.ac.th/

ประวัติการก่อตั้งโรงเรียน แก้

โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง เป็นสถานศึกษาลำดับที่ 9 ของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย จากคำบอกเล่า และบทความเดิมทำให้ทราบความเป็นมาของโรงเรียนอัสสัมชัญระยองโดยประมาณว่า เมื่อปี พ.ศ. 2506 จังหวัดระยอง มีเพียง 3 อำเภอ 2 กิ่ง คืออำเภอเมืองระยอง อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลง กิ่งอำเภอบ้านฉาง และกิ่งอำเภอวังจันทร์ จากสภาพเขตการปกครองจังหวัดระยองเป็นจังหวัดเล็กอันดับสองของ จังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีประชากรตอนนั้นประมาณ 300,000 คน ก่อนที่โรงเรียนอัสสัมชัญระยองเปิด 3 ปี ช่วงนั้นเศรษฐกิจ และการศึกษาของจังหวัดระยองยังขาดความเจริญซบเซา ไม่ได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมกับหลาย ๆ จังหวัดที่อยู่ในภาคเดียวกัน ในปีการศึกษา 2506 ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนอัสสัมชัญระยองก่อตั้งขึ้นในจังหวัดนี้ โดยในสมัยนั้น นาย ส่ง เหล่าสุนทร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, พันตำรวจเอกสม อุบลศรี ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรจังหวัดระยอง และ พันตำรวจโทฑีฆายุ บุญทียกุล รองผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ทั้งสองท่านได้เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ ส่ง ซึ่งบุคคลทั้งสามมีส่วนสำคัญต่อการให้กำเนิดโรงเรียนอัสสัมชัญะยองเป็นอย่างยิ่ง โดยท่านมีความมุ่งหวังที่จะสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ขึ้น เพราะท่านมองเห็นการศึกษาปัจจุบันของจังหวัดระยองยังล้าหลังอยู่มาก เพื่อให้จังหวัดระยองมีความเจริญเท่าเทียมกับจังหวัดอื่น ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะเห็นเยาวชนในจังหวัดระยองมีความตื่นตัวในการศึกษา มีโรงเรียนที่เป็นผู้นำในการศึกษา เพื่อที่จะได้พัฒนาท้องถิ่นของตนให้เจริญก้าวหน้าและด้วย จากนั้นผู้ว่าฯ จึงได้ตัดสินใจสร้างโรงเรียน จึงได้ปรึกษากับข้าราชการหลายท่าน รวมถึงอีกสองท่านที่กล่าวมาข้างต้น ท่านได้บอกความมุ่งหมายและจุดประสงค์ให้ทุกคนทราบ แต่ยังกำลังหาใครที่จะมาบริหารโรงเรียนที่จะสร้างใหม่นี้ได้ดีตามที่ท่านมีความมุ่งหวังไว้ พันตำรวจโทฑีฆายุ ผู้ซึ่งเป็นเป็นอัสสัมชัญชนิก ได้เสนอให้คณะบราเดอร์เซนต์คาเบรียลมาดำเนินกิจการของโรงเรียน จึงเป็นที่พอใจและเห็นชอบกับผู้ว่าฯ เพราะท่านได้ยินถึงกิตติศัพท์ความมีชื่อเสียงของโรงเรียนในคณะนี้มาก่อนแล้ว ท่านจึงได้เริ่มดำเนินการที่จะติดต่อกับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เพื่อที่จะให้มีโรงเรียนอัสสัมชัญในจังหวัดระยองให้ได้ การติดต่อกับคณะเซนต์คาเบรียลนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากมาก เพราะจังหวัดระยองไม่ได้อยู่ในโครงการที่จะก่อตั้งโรงเรียนของคณะ และเป็นจังหวัดที่อยู่ไม่ห่างไกลจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรีเท่าไร และเหตุผลที่สำคัญคือ คณะภราดาไม่มีทุนในการก่อสร้างอาคารเรียน ดังนั้นการติดต่อจึงใช้เวลาเกือบ 4 ปี ท่านผู้ว่าฯ เดินทางติดต่อไป ๆ มา ๆ เพื่อติดต่ออยู่หลายครั้ง ก็ประสบความสำเร็จ เมื่อภราดายอห์น เมรี่ อธิการเจ้าคณะแขวงเซนต์คาเบรียลตกลงใจรับเป็นผู้บริหารกิจการของโรงเรียนแห่งใหม่นี้

ที่ดินสร้างโรงเรียน ผู้ว่าฯ ส่ง นัดประชุมที่ปรึกษา ร่วมด้วยนายเขียว โสภณ ศึกษาธิการจังหวัดระยอง ผู้กำกับสม อุบลศรี และพันตำรวจโทฑีฆายุ คณะที่ประชุมเห็นชอบยกป่าสงวนแห่งชาติเพียงส่วนหนึ่งให้เพื่อสร้างโรงเรียน เพราะหาแห่งอื่นไม่ได้ ถึงจะมีที่อื่นที่คิดว่าเหมาะสมกว่าแต่ก็เรียกค่าตอบแทนสูง หรือไม่ก็เรียกร้องสิทธิต่าง ๆ มากมาย สถานที่ที่จะก่อตั้งโรงเรียน ต้องไม่ห่างไกลจากชุมชนจนเกินไป การคมนาคมสะดวกพอสมควร และที่ป่าสงวนเหมาะที่สุด เพราะอยู่ ห่างจากระยองเพียง 6 กิโลเมตร ติดกับถนนสุขุมวิท อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 216 และที่ 215 เนื้อที่ ทั้งหมดที่ให้ 120 ไร่ แต่ได้แบ่งให้กับโรงเรียนเซนต์โยเซฟ เป็นโรงเรียนหญิงคณะซิสเตอร์เซนต์ปอล เสียส่วนหนึ่ง ภายหลังต่อมาโรงเรียนอัสสัมชัญระยองได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก

ในวันมอบโฉนดที่ดินโรงเรียนให้กับตัวแทนมูลนิธิเซนต์คาเบรียลประธานคือผู้ว่าฯ ส่ง วันนั้น มีแขกผู้มีเกียรติหลายท่านประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คณะภราดาจากคณะเซนต์คาเบรียล พ่อค้า และประชาชน จากคำบอกเล่าว่าวันนั้นท่านมีความภาคภูมิใจมากที่มีวันนี้ ท่านได้กล่าวว่ารู้สึกภูมิใจมากในสิ่งที่ท่านได้ฝันไว้ ขณะนี้ผลสำเร็จได้เกิดขึ้นแล้ว ท่านยังให้ความหวังกับชาวจังหวัดระยองต่อไปอีกว่า นักเรียนสำเร็จจากสถาบัน นี้เป็นคนดี มีคุณธรรม จะนำความก้าวหน้าความเจริญมาสู่จังหวัดระยองต่อไปในอนาคต ช่วงแรก ๆ ครูส่วนมากจะพักอยู่ภายในโรงเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นห้องนอน เนื่องจากการสัญจรไปมายากลำบากมาก ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ปี 2506 ทางโรงเรียนได้สร้างบ้านพักครูขึ้นหลังหนึ่งปัจจุบันนี้บริเวณบ้านพักนั้นคือหอประชุมหรือโรงพละ และสร้างสนามบาสเกตบอลอยู่หลังอาคารอัสสัมชัญ ปีการศึกษา 2508 มีนักเรียน 920 คน เปิดเรียน ตั้งแต่ชั้น ป.1 - ม.ศ.2 จึงทำให้อาคารเรียนหลังแรกไม่พอสำหรับนักเรียน แต่ช่วงปี 2507 ทางโรงเรียน ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นหลังหนึ่ง เพื่อใช้เป็นชั้นเรียนให้กับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 (ใน ปัจจุบันคือสวนหย่อมสำหรับเด็กอนุบาล) ต่อมาได้สร้าง อาคารเพิ่มขึ้นอีก 1 หลังตัวอาคารเป็น 3 ชั้น ขณะที่กำลังก่อสร้างอยู่ เป็นช่วงที่อธิการซีเมออนย้ายไปรับตำแหน่งอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา

อาคารสถานที่ภายในโรงเรียนที่สำคัญ แก้

  • อาคารส่ง เหล่าสุนทร: ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ว่าฯ ส่ง เหล่าสุนทร เป็นอาคารสูง 4 ชั้น ประกอบด้วยสำนักงานฝ่ายวิชาการ สำนักงานฝ่ายธุรการ สำนักผู้อำนวยการ สำนักงานแนะแนว ห้องประชาสัมพันธ์ และสำนักงานฝ่ายวารสารโรงเรียนฯ ของเรียนของ SMART PROGRAM
  • อาคารปิติมหาการุญ (Great Jubilee Building) :ห้องเก็บอุปกรณ์กีฬา 1 ห้อง เป็นอาคารเอนกประสงค์ ใช้ในการจัดการประชุม การจัดการแข่งขันทางวิชาการ การจัดการแข่งขันกีฬา และใช้เป็นสนามกีฬาเอนกประสงค์อีกด้วย
  • อาคารหอประชุม 40 ปี (40th Anniversary Hall) : เป็นอาคารที่ปรับปรุงจากอาคารโรงพละเดิม ในโอกาสที่โรงเรียนฯ ได้ก่อตั้งมาครบ 40 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2546 ประกอบด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่ ห้องเรียนเขียนแบบ ห้องเรียนศิลปะ 1 ห้อง และห้องเรียนภาษาจีน ปัจจุบันเป็นอาคารหอประชุม
  • อาคารอัสสัมชัญ: เป็นอาคารเรียนที่สร้างเป็นอาคารแรกของโรงเรียน สูง 3 ชั้น เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (มัธยมศึกษาปีที่1-3)
  • อาคารเซราฟิน: เป็นอาคารสูง 3 ชั้น เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ประถมศึกษาปีที่ 1 - 3)
  • อาคารยอห์น แมรี่ (John Mary Building) : เป็นอาคารสูง 4 ชั้น ประกอบด้วยห้องพักครู ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องSTEM ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นอาคารเรียนของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-6
  • อาคารซีเมออน (Simeon Building) : เป็นอาคารสูง 5 ชั้น (ชั้น 5 เป็นดาดฟ้า) ประกอบไปด้วยห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ห้องพักครูช่วงชั้นที่ 4 ห้องคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมทั้งตอนต้น และปลาย ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ห้องอภิบาล ห้องประชุม และ ห้องฝ่ายปกครองระดับมัธยมปลาย
  • อาคารหลุยส์ มารี (Louis Mary Building) : เป็นอาคารสูง 2 ชั้น เป็นอาคารหอสมุดของโรงเรียนฯ อีกทั้ง ห้องอาหารของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - 3 และยังมีห้องปฐมพยาบาลอีกด้วย
  • อาคารเดอ มงฟอร์ต (De Montfort Building) : เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - 3 ประกอบไปด้วยห้องพักครูอนุบาล ห้องเรียน ห้องคอมพิวเตอร์ห้องภาพยนตร์ ห้องดนตรี ห้องศิลปะ สนามเด็กเล่น และลานกิจกรรม
  • อาคารพระจิตเจ้า : เป็นอาคารสูง 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องอาหารสำหรับนักเรียน ชั้นบนประกอบไปด้วย ห้องอิเลคโทน ห้องดนตรีสากล และห้องอาหารของครู และนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น ปัจจุบันเป็นตึกเรียนวิชาสุนทรียศาสตร์
  • Hunsa cafe ร้านกาแฟหน้าโรงเรียนเริ่มทำการเมื่อปีพ.ศ. 2563

สถานที่อื่นๆภายในโรงเรียน แก้

  • สระว่ายน้ำซีเมออน : เป็นสระว่ายน้ำขนาด 25x12.5 เมตร มี 6 ลู่ มีสระว่ายน้ำขนาดเล็กด้านข้าง
  • สนามเทนนิส : มี 2 สนาม อยู่บริเวณข้างหอพัก
  • แปลงเกษตร : อยู่บริเวณหลังหอพัก ประกอบไปด้วยแปลงปลูกผัก และบ่อเลี้ยงปลา
  • หอพัก : เป็นหอพักนักเรียนชาย สูง 4 ชั้น ประกอบไปด้วยห้องพัก ห้องเรียน ห้องตากผ้า ห้องซักผ้า ด้านหลังมีห้องน้ำรวม

ลำดับอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง แก้

อันดับ รายนาม วาระดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1. ภราดาซีเมออน เปอร์ติโต (อนุพัทธ์ เพชรายุทธชัย) (พ.ศ. 2506 - 2508)
2. ภราดาวีระ วัชระศิริ (พ.ศ. 2509 - 2511)
3. ภราดาพจน์ เลาหเกียรติ (พ.ศ. 2512 - 2514)
4. ภราดาพยุง ประจงกิจ (พ.ศ. 2515)
5. ภราดาอรุณ เมธเศรษฐ์ (พ.ศ. 2516 - 2518)
6. ภราดาฟิลิป เนรี (พ.ศ. 2519 - 2524)
7. ภราดาชูชาติ ลิปิสุวรรณโชติ (พ.ศ. 2525 - 2527)
8. ภราดาประสิทธิ์ ไชยเผือก (พ.ศ. 2528 - 2532)
9. ภราดาอาจิณ เต่งตระกูล (พ.ศ. 2533 - 2538)
10. ภราดา ดร.อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ (พ.ศ. 2539 - 2544)
11. ภราดา ดร.พิสูตร วาปีโส (พ.ศ. 2545 - 2549)
12. ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ (พ.ศ. 2550 - 2555)
13. ภราดา ดร.สุรกิจ ศรีสราญกุลวงศ์ (พ.ศ. 2556 - 2561)
14. ภราดา ดร.ประวัติ สุทธินนท์ (พ.ศ.2562 - 2564)
15. ภราดา ดร.วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์ (พ.ศ.2565 - ปัจจุบัน)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้