สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น

สถาปนิก
อาชีพ
ประเภทอาชีพ
วิชาชีพ
กลุ่มงาน
สถาปัตยกรรม

วิศวกรรมศาสตร์โยธา การก่อสร้าง การวางผังเมือง การออกแบบภายใน

ทัศนศิลป์
รายละเอียด
ความสามารถการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถทางศิลปะ
สถานที่
ปฏิบัติงาน
สตูดิโอออกแบบ หน่วยงานที่ว่าจ้าง
อาชีพที่เกี่ยวข้อง
มัณฑกร
ภาพร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ

สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง

รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"

สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

แก้

สถาปนิกในประเทศไทย

แก้

สถาปนิกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

สถาปนิกที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ

สถาปนิกที่เป็นกรรมการสภาสถาปนิก


รายชื่อสถาปนิกที่คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในบทความ "Reinvent" จำนวน 23 ท่าน[1]

อื่นๆ

สถาปนิกจากต่างประเทศ

แก้




ร่วมสมัย (คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21)

แก้

สถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย

แก้

สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตสถาปนิกของประเทศไทยแห่งแรก คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอาจารย์นารถ โพธิประสาท ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2498 ได้มีการเปิดสอนคณะสถาปัตยกรรมไทย ปัจจุบัน คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากนั้น ได้มีการสถาปนา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขึ้น ซึ่งมี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคณะแรกของสถาบัน และนับเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตสถาปนิกเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปี พศ 2531 จากนั้น ก็ได้มีสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเปิดสอนเป็นจำนวนมากดังปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้