นิธิ สถาปิตานนท์

นิธิ สถาปิตานนท์ (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 -) (ชื่อเล่น เต้ย) เป็นสถาปนิก นักเขียน และศิลปินชาวไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสถาปนิก 49 จำกัด (A49) ที่ถือเป็นหนึ่งในสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดในไทย และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทในเครือ 49GROUP ในสาขาวิชาชีพให้บริการออกแบบและก่อสร้างอย่างครบวงจรมากกว่า 15บริษัท นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งหนังสือลายเส้น (Li-Zenn) ที่รวบรวมผลงานออกแบบของสถาปนิกไทย ซึ่งเขามีความตั้งใจที่จะยกระดับงานสถาปัตยกรรมไทยสู่สากล นอกจากงานในวิชาชีพสถาปนิกเขายังเป็นวิทยากรพิเศษให้กับโรงเรียนสถาปัตยกรรมในหลายมหาวิทยาลัย ภายหลังที่เขาเกษียณงานในวิชาชีพลงแล้ว เขาได้เปลี่ยนบทบาทใหม่เป็นสถาปนิกอาสาเพื่อสังคม มีผลงานที่สำคัญคือวัดวาอารามตามต่างจังหวัดหลายแห่ง เขาได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) ประจำปี พ.ศ. 2544[2]

นิธิ สถาปิตานนท์

เกิด7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
อาชีพสถาปนิก, นักเขียน ศิลปิน
อาชีพสถาปนิก
รางวัล
การทำงานบริษัท สถาปนิก 49 จำกัด (A49)
ผลงานสำคัญ

ภายหลังจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาต่อยังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ได้เริ่มต้นฝึกงานและทำงานกับชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว ที่ดีไซน์ 103 (Design 103) เป็นเวลา 12 ปี ก่อนที่จะมาเปิดบริษัทของตัวเองในชื่อ สถาปนิก 49 ใน ปี พ.ศ. 2526 โดยที่มาของตัวเลข 49 นั้นอิงมาจากที่ตั้งสำนักงานในเวลานั้นคือ ซอยสุขุมวิท 49[3] ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการผู้จัดการในเครือ 49 Group อีก 6 บริษัท

นิธิ เป็นสถาปนิกร่วมสมัย (Contemporary) ยุคบุกเบิกคนสำคัญของไทย เช่นเดียวกับ เมธา บุนนาค องอาจ สาตรพันธุ์ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา และกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มีผลงานที่หลากหลายร่วมกับบริษัท A49 เช่น อาคารที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศ อาคารสำนักงานเมืองไทยภัทร คอมเพล็กซ์ หอประชุมนวมภูมินทร์ วชิราวุธวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้นิธิ ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของลายเส้นในการวาดภาพทัศนียภาพ (Perspective) ซึ่งได้รับการจัดแสดงงานหลายครั้ง

ประวัติ

แก้

นิธิ สถาปิตานนท์ เกิดเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 มีคุณปู่คือพระยาอุภัยภาติเขตต์ (เอี่ยม สถาปิตานนท์) นายอำเภออยู่ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับพระราชทานนามสกุล สถาปิตานนท์ หลังจากทำพลับพลาที่ประทับให้รัชกาลที่ 6 ระหว่างเสด็จอำเภอสองพี่น้อง[4]

นิธิ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาปัตยกรรมศาตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอิลลินอย ประเทศสหรัฐอเมริกา

นิธิได้รับพระราชทานรางวัลผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น (เหรียญทอง) 4 ครั้ง จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและรางวัลชนะเลิศการประกวดแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และได้รับเกียรติเป็นนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์,เลขาธิการสภาสถาปนิก, เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ The Japan Institute of Architects ฯลฯ[5]

ผลงาน

แก้

ด้านงานเขียน นิธิเขียนหนังสือบทความทางวิทยาการเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมเผยแพร่ในโอกาสต่างๆ ตลอดจนเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น

รางวัลและเกียรติคุณ

แก้
  • 2527: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2528: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2532: ผลงานดีเด่นรางวัลเหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2532: ผลงานดีเด่นรางวัลเหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2536: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2536: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2537: ผลงานดีเด่นรางวัลเหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2537: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2537: สมาชิกกิตติมศักดิ์ The Japan Instiute of Architects (JIA)
  • 2538: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2538: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2539: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2540: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2541: รองชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2542: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2542: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2545: ผลงานดีเด่นรางวัลเหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2545: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2545: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2545: รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ชีวิตส่วนตัว

แก้

ด้านชีวิตส่วนตัวสมรสกับ ศาสตราจารย์ เลอสม สถาปิตานนท์ อดีตคณบดีและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตร 1 คน คือ นิธิศ สถาปิตานนท์ โดยทั้งภรรยาและบุตรชายล้วนเป็นสถาปนิกทั้งหมด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นายนิธิ สถาปิตานนท์, สำนักศิลปะวัฒนธรรม. วันที่ 13 มิถุนายน 2012
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-02.
  3. สถาปิตานนท์, นิธิ (เมษายน 2551). เส้ยสายสู่ปลายฝัน. ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำกัด. p. 37. ISBN 978-974-06-2202-4. สืบค้นเมื่อ 1 May 2023.
  4. นิธิ สถาปิตานนท์
  5. คำประกาศเกียรติคุณศิลปินแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑, ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้