สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา (เกิด มีนาคม 2481) เป็นสถาปนิก จิตรกร ศิลปินชาวไทย และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย) ประจำปี 2541 สุเมธเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสถาปนิกที่นำเสนองานออกแบบสมัยใหม่ ที่มีความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็น "ตึกหุ่นยนต์" (ธนาคารยูโอบี ที่ถนนสาทรใต้) อาคารและผังแม่บทมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต อาคารเนชั่น อาคารอาคารศรีสวรินทิรา โรงพยาบาลศิริราช ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โรงแรมเอส 31 สุขุมวิท เป็นต้น
สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา | |
---|---|
![]() | |
เกิด | เดือนมีนาคม พ.ศ. 2481 (85 ปี)![]() |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
รางวัล | นักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ประจำปี 2541 |
ผลงานสำคัญ |
|
สุเมธเกิดและเติบโตในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นพี่ชายแท้ๆของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา สุเมธได้เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมาเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนกรุงปารีส แล้วจึงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเวลลิ่งบาเร่อร์ ที่ประเทศอังกฤษ ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ตั้งแต่ปริญญาตรีจนจบปริญญาเอก[1] รวมอยู่ในยุโรปกว่า 17 ปี แล้วจึงเข้ารับราชการที่กรมโยธาธิการและสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งลาออกมาก่อตั้งบริษัทสถาปนิกเป็นของตนเอง
ประวัติแก้ไข
สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา หรือ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา มีชื่อเล่นว่า "แอ๊ะ" เป็นบุตรของหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย กับเฉลิมขวัญ ชุมสาย ณ อยุธยา (ธิดา พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย) [2] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา
- นายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
- นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
- นางสุชาดา (ชุมสาย ณ อยุธยา) สถิตพิทยายุทธ์ (ถึงแก่กรรม)
- นางสาวปาริชาติ ชุมสาย ณ อยุธยา [2]
ผลงานแก้ไข
งานด้านอนุรักษ์แก้ไข
- ริเริ่มแนวความคิดอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
- ริเริ่มโครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
- ริเริ่มโครงการอนุรักษ์จวนเจ้าเมืองเก่าสงขลา
- รณรงค์อนุรักษ์สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
- ร่วมริเริ่มโครงการอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ อันได้แก่การย้ายตลาดนัดออกไปจากสนามหลวง รื้อฟื้นหอระฆัง หอกลองประจำเมือง สะพานโซ่ และรถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์ อนุรักษ์ป้อมพระสุเมรุ ติดตามด้วยการวางผังลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 3 ซึ่งผลจากโครงการนี้ ทำให้มีการรื้อโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ซึ่งเคยบดบังความงามของโลหะปราสาทวัดราชนัดดาฯ อันเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมไทยชิ้นงามมาเป็นเวลายาวนานหลายสิบปีออก เปิดเผยให้เห็นเป็นศรีสง่าขึ้นมาโดยทันทีดังที่ปรากฏอยู่เช่นทุกวันนี้
- ริเริ่มโครงการอนุรักษ์นิวาสสถานเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
- รณรงค์การอนุรักษ์โบราณสถานและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกหลายแห่งทั่วประเทศตลอดจนสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
งานสถาปัตยกรรมแก้ไข
ผลงานออกแบบของท่านมีมากมายกว่า 200 โครงการ อาทิ
- อาคารโรงเรียนนานาชาติ ถนนแจ้งวัฒนะ
- อาคารสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
- อาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารเอเชีย (ตึกหุ่นยนต์)
- อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ภายในบริเวณท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพ
- อาคารเนชั่น
- โรงงานเซรามิคคัมพาน่า ที่สระบุรี
- อาคารโรงแรมเดลต้าแกรนด์ แปซิฟิก
- อาคารพลังงาน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
- อาคารและผังแม่บทมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
- อาคารกงสุลไทย
- อาคารทำเนียบองคมนตรี
- อาคารหอสมุดใหม่ของธรรมศาสตร์
- อาคารในกลุ่มอาคาร ที่เพลสเดสเนชั่น ขององค์การสหประชาชาติ ที่สวิตเซอร์แลนด์
- จีโอเดสิคโดมพฤกศาสตร์พืชทะเลทราย สวนหลวง ร.9
- ฯลฯ
|
ตำแหน่งแก้ไข
- 2532: Bye Fellow, Robinson College, Cambridge
- 2533: นักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น (ASA)
- 2534: Faculty Member of the Dept. of Architecture, Cambridge
- 2536: เกียรติบัตรบุคคลตัวอย่างด้านส่งเสริมงานอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม
- 2541: รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- 2542: Crystal Award, World Economic Forum
- 2544: AIA Honorary Fellow (USA)
- 2545: Professorial Fellow of the University of Melbourne
- 2545: Member of the French Académie d'Architecture
- 2546: Fellow Commoner, St.John's College, Cambridge
- 2551: Chevalier de l'Ordre des Arts et des Lettres (France)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม .สืบค้นเมื่อ 12/07/2559
- ↑ 2.0 2.1 สานุพันธ์ ตันติศิริวัฒน์. อัจฉริยะบนทางสีขาว ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฟรีมายด์, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548. หน้า หน้าที่. ISBN 974-93482-8-1
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา |
- ศิลปินแห่งชาติ เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน