ตึกหุ่นยนต์

อาคารสำนักงานรูปร่างคล้ายหุ่นยนต์ในเขตสาทร

ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร หรือ ตึกหุ่นยนต์ (อังกฤษ: Robot Building) เป็นอาคารสำนักงานของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มีความสูง 20 ชั้น ตั้งอยู่บนถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เดิมอาคารแห่งนี้เป็นของธนาคารเอเซีย แต่เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อจึงถูกขายให้กับธนาคารยูโอบีในปี พ.ศ. 2548 และได้ใช้เป็นสำนักงานหลักจนถึงปี พ.ศ. 2565 เพื่อปรับปรุงอาคารใหม่

ตึกหุ่นยนต์
Robot Building
ตึกหุ่นยนต์ในปี พ.ศ. 2565
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังปรับปรุง
ประเภทสำนักงาน
ที่ตั้ง191 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′14″N 100°31′38″E / 13.720448°N 100.527311°E / 13.720448; 100.527311
แล้วเสร็จพ.ศ. 2529[1][2]
ค่าก่อสร้าง300 ล้านบาท[1][2]
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น20 ชั้น[1]
พื้นที่แต่ละชั้น23,506 m² (253,016 ft²)[1]
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา[1]

ตึกหุ่นยนต์ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 ได้รับการออกแบบโดย สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งเขาใช้แนวคิดทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สะท้อนความทันสมัยของธนาคาร โดยใช้ภาพลักษณ์ของหุ่นยนต์เป็นตัวแทนแนวคิดดังกล่าว ตึกหุ่นยนต์ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างอาคารสมัยใหม่ที่ใช้แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบโพสต์โมเดิร์น ยุคแรก ๆ ของไทย จุดเด่นของแนวคิดนี้ดังกล่าวคือการเพิ่มองค์ประกอบที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ให้กับอาคารสมัยใหม่เพื่อให้จดจำได้ง่าย และสะท้อนแนวคิดที่สอดคล้องไปกับอัตลักษณ์ของเจ้าของอาคาร เนื่องจากอาคารสมัยใหม่โดยทั่วไปในสมัยนั้นมักนิยมแต่เพียงการใช้สอย (function) ภายในอาคารเป็นหลัก

ตึกหุ่นยนต์ ได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของอาคารยุคโมเดิร์นที่มีชื่อเสียงที่สุดเคียงคู่กับตึกช้าง ที่ได้รับการออกแบบโดยองอาจ สาตรพันธุ์ ตึกหุ่นยนต์ยังได้รับเลือกจากพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย นครลอสแอนเจลิส ให้เป็นหนึ่งใน 50 อาคารที่สมบูรณ์แห่งศตวรรษ[3]

การออกแบบ

แก้

แรกเริ่ม ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ออกแบบอาคารนี้เพื่อเป็นสำนักงานให้กับธนาคารเอเซีย จนกระทั่งเปลี่ยนมือเจ้าของเป็นธนาคารยูโอบีในปี พ.ศ. 2548[1][4] ความเป็นมาของอาคารนี้เริ่มขึ้นจาก ผู้บริหารธนาคารเอเซียในขณะนั้นต้องการอาคารที่สื่อออกถึงยุคสมัยใหม่และโลกแห่งคอมพิวเตอร์ของธนาคาร[1][5] ซึ่งสุเมธ ได้แรงบันดาลใจมาจากของเล่นของบุตรชาย[6]

ดร.สุเมธ ออกแบบอาคารที่แสดงถึงการต่อต้านงานโพสต์โมเดิร์น ที่ถือเป็นช่วงนิยมในขณะนั้น รวมไปถึงแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูแนวคลาสสิกและไฮเทค ที่แฝงในงานออกแบบที่ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู[7]กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ถึงอย่างไรก็ดีในช่วงแรกๆ ดร.สุเมธ ก็เคยยกย่องงานโพสต์โมเดิร์น ที่ต่อต้านความแข็งกระด้าง เคร่งครัด และเรียบๆ ในงานสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น เขาได้กล่าวว่ามันเป็น "การต่อต้านที่แสวงหาการแทนที่เดิม แต่ปราศจากซึ่งความต้องการ การแทนที่"[8] ดร.สุเมธ ได้ละทิ้งงานแบบฟื้นฟูคลาสสิกไปในช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่เขาวิจารณ์ว่ามันคือ "หมวดหมู่แห่งการไร้ซึ่งความหมายในลวดลายสถาปัตยกรรม" ต่อมาเขาก็ทิ้งงานแนวไฮเทค ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ปราศจากอนาคต[9]

อาคารก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 ใช้เงินก่อสร้างทั้งหมด 300 ล้านบาท[1][2] และช่วงกลางทศวรรษที่ 80 สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หรือ แบบโมเดิร์น ได้ค่อยๆหายไปในกรุงเทพมหานคร อาคารนี้จึงถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างสุดท้ายของรูปแบบโมเดิร์นในกรุงเทพมหานคร[10]

การปรับปรุง

แก้
 
อาคารหุ่นยนต์ระหว่างการปรับปรุง ภาพถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2566

ในปี 2023 มีการค้นพบว่าอาคารกำลังอยู่ภายใต้การปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยมีการก่อสร้างที่รวมถึงการปรับสภาพลักษณะภายนอกของอาคาร เนื่องด้วยภาพการออกแบบสุดท้ายสำหรับแผนการปรับปรุงไม่เคยถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ ทำให้การปรับปรุงสร้างความกังวลว่าอาจทำลายลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของอาคารไป[11] มีการยื่นข้อเสนอบนเว็บไซต์ Change.org เพื่อให้เจ้าของอาคาร ซึ่งคือธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ทำการทบทวนแผนการปรับปรุงอาคาร และให้คงสภาพอันเป็นเอกลักษณ์ของอาคารไว้ดังเดิม[12] สถาปนิกของอาคาร สุมเมธ ชุมสาย ยังได้ติดต่อเป็นการส่วนตัวไปยังยูโอบีเพื่อให้ทบทวนแผนและแสดงความกังวลเช่นกัน[13] สุเมธกังวลอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงอาคารในครั้งนี้ และในบทสัมภาษณ์กับ บางกอกโพสต์ เขาระบุว่าผลงานการออกเป็นอันเป็นเอกลักษณ์นี้เป็นไปได้ว่าจะกลายสภาพมาเป็น "ก็แค่ตึกสำนักงานอีกตึกหนึ่ง"[12] ในอีเมลกับ CNN เขาบรรยายว่าการปรับปรุงนี้เป็น "การทำลายรูปหน้า" (defacement) ที่แสดงให้เห็นถึง "ความไม่รู้และความดื้อรั้นของบริษัทยักษ์ใหญ่"[13] ยูโอบีออกคำแถลงการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการปรับปรุงนี้ไว้ว่าจะเป็นการพาอาคาร "เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันก็ยังคงแสดงความเคารพต่อรากเหง้าของอาคาร"[13] และได้ผ่าน "การวางแผนมาอย่างระมัดระวังให้สมดุลระหว่างการแปรสภาพให้ใหม่ขึ้น และการเคารพซึ่งลักษณะโครงสร้างเดิมของอาคาร"[11] การปรับปรุงคาดว่าจะเสร็จสมบูณณ์ในปี 2568[11]

ลักษณะอาคาร

แก้
 
ตึกหุ่นยนต์และสถานีเซนต์หลุยส์

อาคารสูง 20 ชั้น และมีพื้นที่ทั้งหมด 23,506 m² (253,016 ft²).[1][4] ด้วยชั้นที่สูงขึ้นลดระดับลงเรื่อยๆ (Setback) ในชั้นที่ 4 8 12 16 และ 18 ซึ่งนับว่าเป็นการออกแบบอาคารอย่างแนบเนียนกับข้อกฎหมายผังเมืองในตัวเมืองที่ต้องมีถอยร่นจากถนน ซึ่งสุเมธใช้การทำ เซตแบ็ก ตามมุม 18 องศาถอยร่นจากแนวเส้นขอบพอดี[14] ในอาคาร ชั้นแรกมีความสูงเท่ากับตึกสองชั้น ซึ่งเป็นส่วนของโถงต้อนรับ[15] ด้านการตกแต่งภายใน ในส่วนของโถง เกิดจากความร่วมมือของบริษัทต่างๆ รวมแล้ว 7 บริษัท โดยยังคงสื่อถึงความเป็นหุ่นยนต์ตามที่สุเมธได้วางแนวคิดไว้ และยังมีรูปปั้นของ ซึ่งแกะสลักจำนวน 4 รูปโดยทวีชัย นิติประภา ศิลปินชาวไทย[16] ในส่วนชั้นลอย ตั้งอยู่ในด้านข้างของโถง ซึ่งประกอบด้วยร้านกาแฟ และห้องประชุม[15] ในชั้นที่สอง ประกอบด้วยโถงอเนกประสงค์ สำนักงาน และห้องฝึกอบรม ส่วนชั้นถัดไป เป็นส่วนของพื้นที่สำนักทั้งหมด[15] ในส่วนของอาคารจอดรถ เป็นอาคารแปดชั้นตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหลัก[1]

ภายนอกอาคารมีรูปลักษณ์แบบหุ่นยนต์ แม้ว่าจุดประสงค์หลักคือเพื่อตอบสนองการใช้งานก็ตาม[17] ซึ่งได้แก่เสาอากาศ 2 ต้นใหญ่ บนดาดฟ้าของอาคาร ซึ่งใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารและเป็นสายล่อฟ้าควบคู่กัน[15] ในส่วนเปลือกอาคาร (Facade) ข้างบน เป็นส่วนของห้องประชุมหลักและห้องรับประทานอาหารของผู้บริหาร ประกอบด้วยดวงตาสองดวงขนาด 6 m (19.7 ft) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน้าต่าง.[16] กระจกในดวงตานั้น ใช้วัสดุเป็นกระจกสะท้อนแสง โดยมีฝาครอบกระจกทำเป็นบานเกล็ดโลหะ ลูกน็อตที่ประดับตกแต่งข้างอาคาร ทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กแก้ว โดยลูกน็อตที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 3.8 m (12.5 ft) จำนวนสองข้าง ซึ่งทำให้กลายเป็นลูกน็อตที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น[16] ในส่วนผนังด้านตะวันออกและตก (ด้านข้างหุ่นยนต์) ซึ่งเจาะช่องเปิดน้อยมาก ซึ่งเป็นการป้องกันแดดกลางวันได้อย่างดี รวมถึงเป็นการลดใช้พลังงานในอาคารลงอีกด้วย และส่วนด้านทิศเหนือและใต้ (ด้านหน้าและหลังอาคาร) ใช้กระจกพ่นสีน้ำเงินสว่าง ซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารเอเซีย[1]

การจดจำ

แก้

ตึกหุ่นยนต์ได้รับเลือกจากพิพิทธภัณฑ์ร่วมสมัย นครลอสแอนเจลิส ให้เป็นหนึ่งใน 50 อาคารที่สมบูรณ์แห่งศตวรรษ[3] อาคารยังส่งผลให้ ดร.สุเมธ ได้รับรางวัลจากบัณฑิตยสภาสถาปัตยกรรมและการออกแบบแห่งชิคาโก (Athenaeum Museum of Architecture and Design) ซึ่งเป็นรางวัลที่คนไทยรับเป็นคนแรก[18] อ้างอิงจากหนังสือ Encyclopedia of 20th Century Architecture ของนายสตีเฟน เซนนอตต์ ได้ระบุอาคารนี้ว่า "เป็นการยกระดับงานสถาปัตยกรรมไทยให้ได้รับความจดจำไปทั่วโลก" [19]

อ้างอิง

แก้

โน้ต

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Sumet, p. 74.
  2. 2.0 2.1 2.2 Kusno, p. 197.
  3. 3.0 3.1 "Sumet Jumsai." เก็บถาวร 2008-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ArchNet digital library at archnet.com. Accessed November 13, 2007.
  4. 4.0 4.1 Williams, Nick B. "Third World Review: High rise battle of Bangkok - The 20-storey robot that is the focus of architectural acrimony." The Guardian (May 22, 1987).
  5. "Buildings that put a sparkle in Thai skyline." The Straits Times (April 4, 1997).
  6. Algie, Jim. "Building A Name in Paris: The French capital plays host to an exhibition by Thailand's Renaissance Man." เก็บถาวร 2001-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Asia Week (December 17, 1999).
  7. Sumet, p. 79–80.
  8. Sumet, p. 79
  9. Sumet, p. 80.
  10. Williams & Cummings, p. 28.
  11. 11.0 11.1 11.2 Koaysomboon, Top (2023-05-16). "Bangkok's famous Robot Building is gone—and we didn't even get the chance to say goodbye". Time Out Bangkok. สืบค้นเมื่อ 2023-12-09.
  12. 12.0 12.1 "Crumbling Pride". Bangkok Post. 2023-08-05.
  13. 13.0 13.1 13.2 Holland, Oscar (2023-11-05). "'Lost its soul': Campaigners decry renovation of Thailand's iconic 'Robot Building'". CNN.
  14. Sumet, pp. 74, 76.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Sumet, p. 76.
  16. 16.0 16.1 16.2 Sumet, p. 77.
  17. Sumet, p. 74, 76–77.
  18. "Corporate Focus: Propaganda coup in decor market; Inventions: Original designs intended to make people ask 'What is this?'" Bangkok Post (August 6, 2001).
  19. Sennott, p. 106.

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้