กรมโยธาธิการและผังเมือง

(เปลี่ยนทางจาก กรมโยธาธิการ)
ระวังสับสนกับ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง หน่วยงานราชการสังกัดของกรุงเทพมหานคร

กรมโยธาธิการและผังเมือง (อังกฤษ: Department of Public Works and Town & Country Planning) เป็นหน่วยงานราชการสังกัดในกระทรวงมหาดไทย ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 จากการรวมกรมโยธาธิการ และกรมการผังเมือง

กรมโยธาธิการและผังเมือง
Department of Public Works and Town & Country Planning
ตรากรมโยธาธิการและผังเมือง
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545; 22 ปีก่อน (2545-10-03)
กรมก่อนหน้า
  • กระทรวงโยธาธิการ
  • กรมโยธาเทศบาล
  • กรมโยธาธิการ
  • กรมการผังเมือง
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่
บุคลากร3,571 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี42,018,290,100 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • พงษ์นรา เย็นยิ่ง, อธิบดี
  • ว่าที่ร้อยเอก ธีรพงศ์ ครุธดิลกานันท์, รองอธิบดี
  • พรรณรบ เตชะมงคลาภิวัฒน์, รองอธิบดี
  • สมพร กาญจน์นิรันดร์, รองอธิบดี
  • เกิดศักดิ์ ยะโสธร, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

กรมโยธาธิการและผังเมือง มีภารกิจเกี่ยวกับงานด้านการผังเมือง การโยธาธิการ การออกแบบ การก่อสร้างและการควบคุมการก่อสร้างอาคารดำเนินการและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการพัฒนาเมือง พื้นที่ และชนบท โดยการกำหนดและกำกับดูแลนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบการตั้งถิ่นฐานและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการกำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมือง เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เกิดมาตรฐานความปลอดภัยแห่งสาธารณชน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองและสิ่งปลูกสร้างตามระบบการผังเมืองที่ดี อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประวัติ

แก้

กรมโยธาธิการ

แก้

กรมโยธาธิการ เริ่มมีการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2432 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [3]กระทั่งในปี พ.ศ. 2435 ได้รับการยกฐานะเป็น "กระทรวงโยธาธิการ"[4] ในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการโอนกรมโยธาธิการ จากกระทรวงโยธาธิการไปรวมอยู่ในกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล และเปลี่ยนชื่อกรมสุขาภิบาล เป็นกรมนคราทร ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2465 และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมโยธาเทศบาล ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กระทั่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2485 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กรมโยธาธิการ อีกครั้งหนึ่ง

กรมการผังเมือง

แก้

สำนักผังเมือง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505[5] และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมการผังเมือง เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538

กรมโยธาธิการและผังเมือง

แก้

จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบราชการ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545[6] จึงได้รวมภารกิจของกรมโยธาธิการ และกรมการผังเมืองเข้าด้วยกัน เป็น "กรมโยธาธิการและผังเมือง" สังกัดกระทรวงมหาดไทย

ตราสัญลักษณ์

แก้
 
ตราสัญลักษณ์บนหลักกิโลเมตร ของกรมโยธาธิการ ชื่อเดิม

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม ประกอบด้วยเทพในศาสนาพราหมณ์ 4 องค์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ และพระพิฆเนศวร ด้านล่างมีชื่อ กรมโยธาธิการและผังเมือง ในกรอบวงกลมประกอบด้วยลวดลายไทย

การแบ่งส่วนราชการ

แก้

กรมโยธาธิการและผังเมือง แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ราชการส่วนกลาง

แก้
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองคลัง
  • กองแผนงาน
  • กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
  • กองนิติการ
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สถาบันพัฒนาบุคลกรด้านการพัฒนาเมือง
  • สำนักควบคุมการก่อสร้าง
  • สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร
  • สำนักผังประเทศและผังภาค
  • สำนักผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
  • สำนักพัฒนามาตรฐาน
  • สำนักวิศวกรรมการผังเมือง
  • สำนักวิศวกรรมโครงสร้างและงานระบบ
  • สำนักสถาปัตยกรรม
  • สำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง
  • กองออกแบบก่อสร้างพลับพลาพิธีและโครงการพิเศษ
  • กองวิเคราะห์วิจัยและทดสอบวัสดุ
  • สำนักงานจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
  • สำนักงานกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่

ราชการส่วนภูมิภาค

แก้
  • สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด มีโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด (อำนวยการ ระดับสูง) เป็นหัวหน้าหน่วยงาน โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่
    • ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
    • กลุ่มงานวิชาการโยธาธิการ
    • กลุ่มงานวิชาการผังเมือง
    • กลุ่มงานสนับสนุนการพัฒนาเมือง
    • ฝ่ายปฏิบัติการ

อำนาจและหน้าที่

แก้

ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง มีภารกิจเกี่ยวกับงานด้านการผังเมืองระดับต่างๆ การโยธาธิการ การออกแบบการก่อสร้างและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ดำเนินการและสนับสนุนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในด้านการพัฒนาเมือง พื้นที่ และชนบท โดยการกำหนดและกำกับดูแลนโยบายการใช้ ประโยชน์ที่ดิน ระบบการตั้งถิ่นฐานและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการกำหนดคุณภาพและมาตรฐาน การก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมือง เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เกิดมาตรฐาน ความปลอดภัยแห่งสาธารณชน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองและสิ่งปลูกสร้างตามระบบ การผังเมืองที่ดี อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมาย ว่าด้วยการขุดดินและถมดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. วางและจัดทำผังเมืองประเภทอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย หรือตามที่ส่วนราชการอื่นร้องขอ และดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองนั้น ๆ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางผัง วิจัย ติดตาม ประเมินผล และพัฒนามาตรฐานด้านการผังเมืองและโยธาธิการ รวมทั้งการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานและคู่มือ ด้านการผังเมืองและโยธาธิการ
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับการวางผัง ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง บูรณะเมืองหรืออาคาร และสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐ
  5. ให้บริการและคำปรึกษาเกี่ยวกับงานออกแบบ งานก่อสร้าง และงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ของกรมแก่หน่วยงานต่าง ๆ
  6. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้างและควบคุมอาคาร ก่อสร้างอาคาร และโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการบูรณะและบำรุงรักษา
  7. ดำเนินการประสาน กำกับดูแล สนับสนุน และพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามผังเมือง รวมทั้งกำกับตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  8. ดำเนินการพัฒนาระบบและบริหารข้อมูลการผังเมืองและโยธาธิการ
  9. ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรของกรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในด้านการผังเมืองและโยธาธิการ
  10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย [7]

อ้างอิง

แก้
  1. กรมโยธาธิการและผังเมือง, รายงานประจำปี 2566 กรมโยธาธิการและผังเมือง, สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. ประกาศตั้งกรมโยธาธิการและสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนนริศรานุวัติวงษ์ พ.ศ. 2432
  4. ประกาศตั้งกระทรวงโยธาธิการและสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ์ พ.ศ. 2435
  5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๐๕
  6. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 2012-01-30.
  7. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง พ.ศ. 2557[1]