ป้อมพระสุเมรุ

ป้อมปราการเก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร

ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
ประเภทป้อมปราการ
ที่ตั้งแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พิกัด13°45′50″N 100°29′46″E / 13.763771°N 100.496085°E / 13.763771; 100.496085
ความสูง31.5 เมตร
ความยาว45 เมตร
สร้างเมื่อพ.ศ. 2326
สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
การใช้งานดั้งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของระบบกำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร
บูรณะพ.ศ. 2525
สถานะปิดใช้งาน, ยังมีอยู่
สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์
ผู้ดูแลกรมศิลปากร
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนป้อมพระสุเมรุ
ขึ้นเมื่อ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000065

ป้อมพระสุเมรุซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะตามรูปแบบเดิมจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 จนแลดูสง่างามเหมือนเดิม และยังปรับปรุงบริเวณโดยรอบให้เป็นสวนสาธารณะอีกด้วย โดยให้ชื่อว่า "สวนสันติชัยปราการ" มีพลับพลา ชื่อว่า "พระที่นั่งสันติชัยปราการ"

ชุมชนโดยรอบป้อมพระสุเมรุ คือชุมชนถนนพระอาทิตย์ มีความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วมสูงเช่นเดียวกับชุมชนป้อมมหากาฬ แต่มีความหลากหลายสูงกว่า

ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2326 มีชาวเขมร 10,000 คน มาขุดคลองเชื่อมระหว่างคลองบางลำภูกับคลองโอ่งอ่าง จนจรดต่อกันเกิดเป็นคลองรอบกรุง[1]

อ้างอิง

แก้
  1. "เที่ยวสวน ชมป้อม ที่ "สวนสันติชัยปราการ"". ผู้จัดการออนไลน์. 8 November 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-01. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′50″N 100°29′46″E / 13.763771°N 100.496085°E / 13.763771; 100.496085