สมภพ ภิรมย์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ (26 กรกฎาคม 2459 -3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550) สถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทย ปูชนียบุคคลผู้อนุรักษ์มรดกด้านสถาปัตยกรรมไทย ปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปี 2529 และราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทสถาปัตยศิลป์ อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีปทุม อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม เป็นผู้มีผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม และผลงานวิชาการงานเขียนมากมาย ผลงานชิ้นสำคัญ ได้แก่ “กุฎาคาร” “พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยรัตนโกสินทร์” และ “บ้านไทยภาคกลาง” โดยมักจะใช้คำนำหน้าหนังสือหรือบทความว่า “ปกิณกคดีหมายเลข 13”
สมภพ ภิรมย์ | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 |
เสียชีวิต | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (91 ปี) |
อาชีพ | สถาปนิก |
รางวัลสำคัญ |
พ.ศ. 2529 - ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) |
คู่สมรส | นางจุนเจือ ภิรมย์ (มุสิกะภุมมะ) |
ประวัติแก้ไข
ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 เป็นบุตรชาย นาวาโทหลวงบรรเจิดเรขกรรม (ชม ภิรมย์) และนางใหญ่ ภิรมย์ สำเร็จการศึกษา สถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทุนกองทัพเรือ ผ่านการรับราชการที่ กองทัพเรือ และกองบัญชาการทหารสูงสุด ก่อนเข้าเป็น ข้าราชการพลเรือนในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการ กระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง อธิบดีกรมศิลปากร หลังเกษียณอายุราชการแล้วหลายปี ศ.พล.ร.ต.สมภพ ในวัย 77 ปียังรับตำแหน่งเป็น คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อยู่ถึง 4 ปีอีกด้วย
ตลอดชีวิตการทำงาน ศ.พล.ร.ต.สมภพ ได้สร้างสรรค์ผลงานไว้มากมาย , ทั้งในวิชาชีพสถาปัตยกรรมศาสตร์และผลงานด้านวรรณกรรรม , ประวัติศาสตร์ , ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม จนได้รับตำแหน่งและรางวัลเกียรติยศต่างๆ เช่น ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และราชบัณฑิต
ศ.พล.ร.ต.สมภพ ภิรมย์ สมรสกับ นางจุนเจือ ภิรมย์ (สกุลเดิม "มุสิกะภุมมะ") มีบุตรชายคือ นายกษิต ภิรมย์ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ศ.พล.ร.ต.สมภพ ภิรมย์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สิริอายุได้ 91 ปี ภายหลังจากนางจุนเจือ ภิรมย์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 สิริอายุได้ 92 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ และนางจุนเจือ ภิรมย์ ณ เมรุ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
การศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์แก้ไข
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- 2484: สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 2504: ประกาศนียบัตร โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
- 2507: ประกาศนียบัตรหลักสูตรการจัดการชั้นสูง โรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบก
- 2510: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ปริญญา สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร
การทำงานแก้ไข
- 2485-2502: สถาปนิกประจำกองเทคนิค กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ
- 2503-2507: นายทหารเสนาธิการประจำกองนโยบายและแผน กองบัญชาการทหารสูงสุด
- 2507-2515: หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมไทย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- 2510: นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
- 2515-2518: อธิบดีกรมศิลปากร
- 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[1]
- 2536-2540: คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ผลงานแก้ไข
- ด้านสถาปัตยกรรม
- อาคารกองบัญชาการกองทัพเรือ
- วังรื่นฤดี ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
- โรงเรียนเตรียมทหาร
- โรงแรมเอราวัณ (เดิม)
- เจดีย์วัดอนาลโย จังหวัดพะเยา
- พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ฯลฯ
- ด้านผลงานวิจัยและหนังสือ
- อาชีวะสัมพันธ์
- กุฎาคาร
- พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยรัตนโกสินทร์
- บ้านไทยภาคกลาง
- ประตูมุกไทย
- เรือพระราชพิธีพยุหยาตราชลมารค
- สถาปัตยกรรมกลาโหม
- นารายณ์สิบปาง
- ฯลฯ
- สามก๊กฉบับเสนาธิการ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2495 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[6]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[7]
เกียรติคุณที่ได้รับแก้ไข
- 2523: สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- 2529: ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมศาสตร์)
- 2530: กิตติบัตรสถาปนิกผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการส่งเสริมงานศิลป สถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
- 2537: สถาปนิกดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
- 2538: ปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทย กรมศิลปากร
- 2543: สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๑๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๔, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖