ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี (อังกฤษ: Francesco Borromini) หรือ ฟรันเชสโก กัสเตลลี (Francesco Castelli) เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1599 ที่หมู่บ้านบิสโซเน (Bissone) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1667 เป็นประติมากรและสถาปนิกบาโรกที่มีชื่อเสียงในกรุงโรม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17
ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี | |
---|---|
เกิด | 25 กันยายน ค.ศ. 1599 บิสโซเน |
เสียชีวิต | 3 ธันวาคม ค.ศ. 1667 โรม |
อาชีพ | ประติมากรและสถาปนิก |
ชีวิตเบื้องต้น
แก้บอร์โรมีนีเป็นบุตรของช่างสลักหินชื่อโจวันนี โดเมนีโก กัสเตลลี (Giovanni Domenico Castelli) และอานัสตาเซีย การ์โรโว (Anastasia Garovo) บอร์โรมีนีเริ่มอาชีพเป็นช่างสลักหินตามพ่อ แต่ต่อมาก็ย้ายไปมิลานเพี่อไปเรียนและฝึกงานเพิ่ม บอร์โรมีนีบางทีก็รู้จักกันในชื่อ "บิสโซเน" ซึ่งเรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิดใกล้เมืองลูกาโน (Lugano) ที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ส่วนที่พูดภาษาอิตาลี เมื่อบอร์โรมีนีย้ายไปทำงานที่โรมเมื่อ ค.ศ. 1619 ก็เปลี่ยนชื่อจากสกุลเดิม "กัสเตลลี" เป็น "บอร์โรมีนี" และเริ่มทำงานกับการ์โล มาแดร์โน (Carlo Maderno) ผู้เป็นญาติห่าง ๆ ที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ เมื่อมาแดร์โนสิ้นชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1629 บอร์โรมีนีก็เข้าทำงานภายใต้จัน โลเรนโซ แบร์นีนี ขยายและตกแต่งด้านหน้าวังบาร์เบรีนี (Palazzo Barberini) ที่มาแดร์โนเริ่มไว้จนเสร็จ
วัดซานการ์ลีโน
แก้งานสำคัญชิ้นแรกที่บอร์โรมีนีได้รับจ้างคือการบูรณะภายในวัดซานการ์ลีโน และวัดซานการ์โลอัลเลกวัตโตรฟอนตาเน เมื่อ ค.ศ. 1634 ถึง ค.ศ. 1637 ด้านหน้าวัดก็ตกแต่งโดยบอร์โรมีนีแต่มาทำเมื่อบั้นปลายของชีวิต อาจจะเป็นได้ว่าสาเหตุที่บอร์โรมีนีเปลียนชื่อคงเป็นเพราะวัดนี้อุทิศให้นักบุญการ์โล บอร์โรเมโอ (San Carlo Borromeo)
บอร์โรมีนีเลี่ยงการใช้เส้นเรียบและรูปวงกลมง่าย ๆ แบบศิลปะคลาสสิกแต่จะใช้รูปไข่ที่โค้งบิดภายใต้โดมรูปไข่ ในรูปแบบกากบาทและรูปแปดเหลี่ยมภายใต้หลังคาสลักเสลา (coffered) ซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างมีลักษณะคล้ายตะเกียงที่เป็นแหล่งที่แสงส่องเข้ามาได้ในบริเวณภายในที่มืด[1] วัดที่ทำเป็นวัดที่เล็กเมื่อเทียบกับมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์[2]
งานของบอร์โรมีนีชิ้นนี้เต็มไปด้วยวงโค้งเว้าและวงโค้งนูนที่เล่นกับทรงรูปไข่และทางเดินสู่แท่นบูชา[3][4] บอร์โรมีนี "ออกแบบกำแพงสานกันไปมาราวกับว่ากำแพงมิได้ทำด้วยหินแต่วัสดุที่ยืดหยุ่นเลื้อยไปตามที่ว่าง พร้อมกับเครื่องตกแต่งของคันของผนัง" (Trachtenberg & Hyman) การตกแต่งจะเป็นทรงเรขาคณิตมากกว่าจะประดิดประดอยอ่อนช้อยด้วยรูปปั้นตกแต่ง[5]กว่างานของแบร์นีนีที่วัดซานตันเดรอาอัลกวีรีนาเล (Sant'Andrea al Quirinale) ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก วัดซานตันเดรอาอัลกวีรีนาเลจะมีประติมากรรมแบบนาฏกรรมผสมผสานกับสถาปัตยกรรมในแบบที่เรียกกันว่า "bel composto" นาฏกรรมของวัดซานการ์ลีโนจะเป็นทรงเรขาคณิต ส่วนที่อ่อนช้อยจะอยู่ที่ด้านหน้าของวัดที่มาทำทีหลัง เมื่อ ค.ศ. 1662 ค.ศ. 1667[6]
ซานตัญเญเซอินอาโกเน
แก้เมื่อบอร์โรมีนีทำวัดซานตัญเญเซอินอาโกเน (Sant'Agnese in Agone) ก็กลับผังที่การ์โล ไรนัลดี (Carlo Rainaldi) วางไว้แต่แรก เดิมทางเข้าจะอยู่ทางถนนซานตามารีอาเดลลานีมา (Santa Maria dell'Anima) ด้านหน้าวัดขยายเลยไปถึงส่วนหนึ่งของวังแพมฟิลจ (Palazzo Pamphilj) ทำให้สามารถสร้างหอระฆังเพิ่มได้อีกสองหอแต่ละหอก็มีนาฬิกา หอหนึ่งเป็นเวลาโรมัน อีกหอหนึ่งเป็นเวลายุโรป (tempo ultramontano)
แต่ในที่สุดบอร์โรมีนีก็ไม่ได้รับสัญญาต่อก่อนที่จะสร้างเสร็จเพราะสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 มาสิ้นพระชนม์เสียก่อนเมื่อปี ค.ศ. 1655 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ซึ่งเป็นพระสันตะปาปาองค์ใหม่ต่อสัญญาให้กับคาร์โล ไรนัลดีแทนที่ แต่ลักษณะงานของวัดนี้ก็ยังถือกันว่าเป็นแนวคิดของบอร์โรมีนี
วัดซานตีโวอัลลาซาปีเอนซา
แก้ระหว่าง ค.ศ. 1640 ค.ศ. 1650 บอร์โรมีนีออกแบบวัดซานตีโวอัลลาซาปีเอนซา (Sant'Ivo alla Sapienza) และลาน (courtyard) ใกล้กับวังมหาวิทยาลัยโรม ที่ตั้งของวัดก็เหมือนสิ่งก่อสร้างอื่นในกรุงโรมคือตั้งอยู่ในที่แคบซึ่งทำให้เป็นปัญหาต่อการออกแบบ บอร์โรมีนีจึงต้องจัดให้หน้าวัดหันเข้าสู่ลานลึกด้านหน้าของตัววัง หอคอยและยอดดูแปลกตาตามลักษณะที่ทำให้บอร์โรมีนีแตกต่างจากสถาปนิกคนอื่น ภายในทางเดินสู่แท่นบูชาอยู่กลางวัดล้อมรอบไปด้วยคูหาโค้งเข้าออกที่มองขึ้นไปสู่โดมที่ตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปดาวและลวดลายตกแต่งเรขาคณิตเป็นรูปดาวหกแฉก จากตรงกลางขอบเพดานเมื่อมองขึ้นไปจะเหมือนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสองอันซ้อนกันเป็นรูปหกเหลี่ยม แต่สามมุมเป็นแบบหยัก อีกสามมุมเป็นโค้งเว้าปาด
ห้องสวดมนต์ของวัดเซนต์ฟิลลิปเนรี
แก้วัดเซนต์ฟิลลิปเนรี (Saint Phillip Neri) เองมีวัดบาโรกที่ตกแต่งอย่างสวยงามอยู่แล้ว แต่ด้วยความศรัทธาจึงขยายเพิ่มเติมโดยการสร้างห้องสวดมนต์ฟิลลิปปีนี (Oratorio dei Fillipini) และที่อยู่อาศัยติดกับวัดซานตามารีอาอินวัลลีเชลลา (Santa Maria in Vallicella) แบบผังของบอร์โรมีนีชนะการแข่งขันและได้รับสัญญาก่อสร้าง 13 ปี ห้องสวดมนต์ใช้งานได้เมื่อ ค.ศ. 1640 ห้องสมุดมาเสร็จเอาเมื่อ ค.ศ. 1643 ภายในเป็นการเล่นการตกแต่งด้วยเสาและเสาติดผนังอย่างซับซ้อนตามลักษณะสิ่งก่อสร้างของบอร์โรมีนี
งานอื่น ๆ
แก้- ภายในมหาวิหารเซนต์จอห์น แลเทอรัน (Basilica of St. John Lateran),
- ชาเปลสปาดา (Cappella Spada) ที่วัดซานจีโรลาโมเดลลาการีตา (San Girolamo della Carità) (ไม่ทราบผู้สร้างแน่นอน)
- วังสปาดา (Palazzo Spada) - perspective ลวงตา
- วังบาร์เบรีนี (Palazzo Barberini) - หน้าต่างชั้นบนและบันไดรูปไข่
- ชาเปลสปาดา (Cappella Spada) ที่วัดซานตีอาปอสโตลี (Santi Apostoli) เมืองเนเปิลส์ - แท่นบูชาฟีลามารีโน (Filamarino Altar)
- วัดซานตันเดรอาเดลลาฟรัตเต (Sant'Andrea delle Fratte)
- ห้องสวดมนต์ฟิลลิปปีนี (Oratorio dei Fillipini)
- Collegio de Propaganda Fide [7]
- วัดซานตามารีอาเดย์เซตเตโดโลรี (Santa Maria dei Sette Dolori)
- วัดซานจิโอวานนีอินโอเลโอ (San Giovanni in Oleo) - ซ่อม
- วังจุสตีเนียนี (Palazzo Giustiniani) (ร่วมกับการ์โล ฟอนตานา)
- ด้านหน้าวังฟัลโกนีเอรี (Palazzo Falconieri)
- วัดซานตาลูซีอาอินเซลชี (Santa Lucia in Selci)
- มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ - ประตูสู่ชาเปล Blessed Sacrament
บั้นปลาย
แก้เมื่อฤดูร้อนปี ค.ศ. 1667 บอร์โรมีนีเป็นโรคทางเส้นประสาทและโรคดีเปรสชัน ในที่สุดบอร์โรมีนีก็ฆ่าตัวตายที่โรมหลังจากเสร็จงานที่ชาเปลฟาลโคเนียริที่วัดซานจิโอวานนีเดอิฟิโอเรนทินิ (San Giovanni dei Fiorentini) ซึ่งเป็นที่ฝังร่างของบอร์โรมีนีเอง
The primary inscription on Borromini's tomb, in San Giovanni dei Fiorentini, reads:
เกร็ด
แก้- รูปของบอร์โรมีนีพิมพ์บนเงิน 100 ฟรังก์สวิสเมื่อราวค.ศ. 1980 [8]
อ้างอิง
แก้- ↑ Electric lighting has blurred this intended effect.
- ↑ Its whole façade would fit into one of the piers of Saint Peter's, Siegfried Giedion pointed out in Space, Time and Architecture (1941 etc.).
- ↑ "Plan of San Carlo alle Quattro Fontane (USC)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
- ↑ S. Carlo alle Quattro Fontane
- ↑ Borromini was working within the slender means of his patrons, the Spanish order of Discalced Trinitarians (Giedion).
- ↑ "San Carlo alle Quattro Fontane". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
- ↑ http://www.romeartlover.it/Vasi164a.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-08-25. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- จดหมายลาตายของบอร์โรมีนี เก็บถาวร 2019-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ฟรันเชสโก บอร์โรมีนีที่ storiadellarte.com (อิตาลี)
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารเซ็นต์จอห์น แลเทอรัน วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซานตัญเญเซอินอาโกเน