พิชัย วาศนาส่ง (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 – 8 เมษายน พ.ศ. 2555) เป็นอดีตสถาปนิก นักเขียน นักวิเคราะห์สถานการณ์ข่าวต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีคลาสสิก รวมถึงเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา[1] และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549

พิชัย วาสนาส่ง
เกิดพิชัย วาศนาส่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2472
ประเทศไทย
เสียชีวิต8 เมษายน พ.ศ. 2555 (82 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สัญชาติไทย
อาชีพนักข่าว, สถาปนิก, ข้าราชการ
มีชื่อเสียงจากนักวิเคราะห์สถานการณ์ข่าวต่างประเทศ
อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
คู่สมรสรมดีเตรุ วาศนาส่ง
บุตรลลนา พานิช

ประวัติ แก้

จบการศึกษาจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เคยทำงานที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม

เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลปกรรม

เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ในยุคบุกเบิก

เคยเป็นนักจัดรายการดนตรีคลาสสิกออกอากาศทางสถานีวิทยุ 1 ปณ.

มีผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่อง ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) กำกับโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)[2]

สมรสกับรมดีเตรุ วาศนาส่ง (สกุลเดิม: บุนนาค) ธิดาพระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) กับคุณหญิงรื่น[3] มีบุตรสาวคนเดียวคือ ลลนา พานิช (สมรสกับสมพงษ์ พานิช มีบุตรธิดา 4 คน)[4]

การทำงาน แก้

พ.ศ. 2512 เป็นผู้บรรยายเสียงภาษาไทยทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ในวันที่มีการถ่ายทอดสด นีล อาร์มสตรองเดินทางไปลงดวงจันทร์ กับยานอะพอลโล 11 ในโครงการอะพอลโล เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512

ปี พ.ศ. 2515 เป็นหนึ่งในคณะผู้ร่วมเดินทางไปกับคณะทูตปิงปอง ที่เดินทางเข้าไปเล่นปิงปองในประเทศจีน ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 7 กันยายน พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับจีน[5]

ปี พ.ศ. 2520 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อการกบฏ 26 มีนาคม 2520 ถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวางเป็นเวลา 8 เดือนเมื่อปี 2520 ในระหว่างจองจำได้แปลตำราพิชัยสงครามของซุนวู ในชื่อหนังสือว่า "ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้และเง่าคี้" ตีพิมพ์ระหว่างถูกคุมขัง

การเสียชีวิต แก้

พิชัย วาศนาส่ง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สิริอายุได้ 83 ปี[6] การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจา พร้อมพระราชทานพวงมาลาพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพวงมาลาประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์พระราชทานน้ำหลวงอาบศพแก่ พิชัย วาศนาส่ง ที่วัดธาตุทอง ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ณ วัดธาตุทอง

เกียรติประวัติ แก้

มีชื่อเสียงจากการจัดรายการโทรทัศน์ วิเคราะห์ข่าวต่างประเทศ ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ในระยะหลังจัดร่วมกับ รศ.ประทุมพร วัชรเสถียร, จักรภพ เพ็ญแข และลลนา วาศนาส่ง บุตรสาว ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลเกียรติยศคนทีวี ในการประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2548[7] และ รางวัลบุคลากรผู้ทรงคุณค่าในวงการกีฬา ในงานวันนักกีฬายอดเยี่ยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2547[8] ได้รับ รางวัลพระเกี้ยวทองคำ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2536 ในฐานะที่เป็นผู้ที่ส่งเสริมทำนุบำรุงภาษาไทยและใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง และ พ.ศ. 2545 ได้เข้ารับพระราชทานปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัล แก้

  • รางวัลเกียรติยศคนทีวี ในการประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2548
  • รางวัลบุคลากรผู้ทรงคุณค่าในวงการกีฬา ในงานวันนักกีฬายอดเยี่ยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2547
  • รางวัลพระเกี้ยวทองคำ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2536 ในฐานะที่เป็นผู้ที่ส่งเสริมทำนุบำรุงภาษาไทยและใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง และเมื่อ พ.ศ. 2545
  • ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานอื่น แก้

พิชัย เคยมีผลงานประจำเขียนบทความให้กับนิตยสารต่วย'ตูน พลอยแกมเพชร และคอลัมน์ "ข้างครัว" ในนิตยสารสารคดี บอกเล่าเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของอาหารนานาชาติ และให้สัมภาษณ์หรือวิเคราะห์สถานการณ์โลก ออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา.
  2. "พ.ศ. ๒๔๙๖ ทะเลรัก (Thalae Rak)". ๙ ภาพยนตร์ไทยโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์). หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2022.
  3. ชีวิตสมรส เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. bunnag.in.th.
  4. ชีวิตของบุตร เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. bunnag.in.th.
  5. "บนเส้นทาง 'ธารสัมพันธ์ไทยจีน' (3)". ผู้จัดการออนไลน์. 20 มิถุนายน 2005. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2022.
  6. "'พิชัย วาศนาส่ง' เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 83 ปี ที่ร.พ.พระมงกุฎฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2012.
  7. "ผลการประกาศรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี 2548". เดลินิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2006.
  8. "นายพิชัย วาสนาส่ง". หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยรังสิต.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๓ ง หน้า ๒๘๒๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้