คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็น 1 ใน 7 คณะของสถาบัน มีทั้งสิ้น 3 กลุ่มวิชา ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามหอสมุดกลาง ติดกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีเนื้อที่ 80 ไร่เศษ [2] แต่เดิมเป็นโรงเรียนช่างบริการส่งเสริมอาชีวศึกษาก่อนที่ยกฐานะเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถือเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ใหญ่และมีพื้นที่การเรียนการสอนมากที่สุดในประเทศไทย

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
School of Architecture Art and Design
King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
สถาปนา5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
คณบดีผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี
ที่อยู่
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
วารสารวารสารวิชาการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.[1]
สี███ สีซีเปีย
มาสคอต
รวงผึ้ง
เว็บไซต์[1]

ประวัติ แก้

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีความเป็นมาเริ่มต้นจาก "โรงเรียนช่างบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา (บ.ส.อ.)" ในการอำนวยการของบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ[2]ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2497 ต่อมาได้มีการยุบเลิกบริการส่งเสริมอาชีวศึกษาขึ้นทำให้โรงเรียนถูกยุบไปด้วย ต่อมากรมโยธาธิการได้รับคำสั่งให้ดำเนินการเปิดทำการสอนจึงตั้ง "โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง " เมื่อวันที่ เมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2499[2] มีแผนกช่างก่อสร้างเพียงแผนกเดียว เป็นหลักสูตร 2 ปี ต่อมากรมโยธาธิการได้ถูกยุบไปรวมกับกรมโยธาเทศบาล ทำให้โรงเรียนย้ายกลับไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2506 โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้างได้มีการปรับปรุงหลักสูตรยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นเทียบเท่าวิทยาลัยเทคนิค จึงได้ยกขึ้นเป็น "วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง " เมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2506[2] ใช้อาคารสถานที่ ณ ตำบลบางพลัด จังหวัดธนบุรี เปิดการสอนสาขาวิชาสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาวิศวสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน, สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์, สาขาวิชาวิศวกรรมการทาง และสาขาวิชาวิศวกรรมการสำรวจ โดยเริ่มแรกมีอาจารย์เพียง 3 ท่าน

ประมาณปี พ.ศ. 2511 กรมอาชีวศึกษามีนโยบายให้ย้ายสถานศึกษามาอยู่ที่ลาดกระบัง เพราะสถานที่เดิมคับแคบ ก่อสร้างแล้วเสร็จและย้ายมาอยู่ที่ลาดกระบังเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2514[2] ในปีเดียวกันนี้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 14 (7) แห่งพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ได้พิจารณามาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรการสอนแล้วเห็นว่าสามารถจัดการศึกษาถึงระดับปริญญาได้ จึงมีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ให้รับวิทยาลัยวิชาการก่อสร้างเข้าสมทบในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2516 เป็นต้นไป[3][4]

หน่วยงานและหลักสูตร แก้


หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
กลุ่มวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
กลุ่มวิชาศิลปกรรม

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย
  • สาขาวิชาการถ่ายภาพ
  • สาขาวิชาประติมากรรม
  • สาขาวิชาภาพพิมพ์
  • สาขาวิชาจิตรกรรม

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

-

กลุ่มวิชาการออกแบบ

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

-

-

สัญลักษณ์ประจำคณะ แก้

 
ดอกพิกุลเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 ความเป็นมาของคณะฯ เก็บถาวร 2009-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
  3. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องให้วิทยาลัยวิชาการก่อสร้างรวมเข้ากับสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2515 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกระบัง จึงถือเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เปิดในระดับอุดมศึกษาเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศไทย
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 89 ตอนที่ 94 หน้า 1621 20 มิถุนายน 2515, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้วิทยาลัยวิชาการก่อสร้างรวมเข้ากับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ratchakitcha.soc.go.th)
  5. สีและดอกไม้ประจำคณะ เก็บถาวร 2009-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง