ประเวศ ลิมปรังษี

ประเวศ ลิมปรังษี (17 กันยายน พ.ศ. 2473 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) เป็นสถาปนิกชาวไทย เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รับราชการจนดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (สถาปนิก 9) ด้านบูรณปฏิสังขรณ์ กรมศิลปากร มีผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมยาวนานกว่า 30 ปี ทั้งการออกแบบผูกลายไทย มีผลงานทั้งในและต่างประเทศ เช่น การออกแบบพระอุโบสถวัดพุทธประทีป ณ มหานครลอนดอน พลับพลาพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบรมมหากษัตริยาธิราช ณ ท้องสนามหลวง พระเมรุมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และบูรณะพระธาตุพนม เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2532 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)[1]

ประเวศ ลิมปรังษี

เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2473
จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศสยาม
เสียชีวิต7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (87 ปี)
อาชีพนักเขียน สถาปนิก
สัญชาติไทย ไทย
ช่วงปีที่ทำงานพ.ศ. 2508 - 2561

ประวัติ แก้

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2473 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบการศึกษาระดับชั้น ป.4 จาก โรงเรียนประถมเทศบาล 7 วัดท่าโพธิ์ ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระดับมัธยมจากโรงเรียนวัดจันทรารามจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และมาเรียนต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 ขณะนั้นกรมศิลปากรได้เปิดรับสมัครนักเรียนเตรียมช่างสิบหมู่ จึงได้สมัครเรียนวิชาช่างไทย หลักสูตร 2 ปี จนสำเร็จ ท่านเป็นศิษย์ของศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ซึ่งศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร นี้เป็นศิษย์เอกของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ระหว่างที่ศึกษาด้านสถาปัตยกรรมไทย ได้ทำงานควบคู่ไปด้วย จนสำเร็จการศึกษาได้รับอนุปริญญาด้านสถาปัตยกรรมไทยเมื่อปี 2501 และได้รับราชการตำแหน่งครูตรีที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยทำหน้าที่สอนวิชาสถาปัตยกรรมไทย ต่อมาในปี 2508 ได้ย้ายไปรับราชการที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากรในตำแหน่งช่างศิลป์ตรี จนได้รับตำแหน่งเป็นอำนวยการกองหัตถศิลป์ เมื่อปี 2521 และได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองสถาปัตยกรรม ในปี 2530 ต่อมาเลื่อนเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษกรมศิลปากร (สถาปนิก 9) ด้านบูรณปฏิสังขรณ์ จนเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2533

ภายหลังเกษียณอายุราชการ ท่านยังคงได้รับเชิญให้เป็น อาจารย์พิเศษ สอนวิชาสถาปัตยกรรมไทย ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิจิตรศิลป์ จากมหาวิทยาลัยเคลย์ตัน ในปี 2529 จนในปี พ.ศ. 2532 ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)[2]

ประเวศ ลิมปรังษี ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อเวลา 8.20 น.ของวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 สิริอายุ 88 ปี[3]

ผลงาน แก้

การออกแบบ แก้

  • พระอุโบสถวัดพุทธประทีป ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
  • พระอุโบสถวัดพระธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
  • พระอุโบสถวัดมาบชลูด อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  • พระอุโบสถวัดอรัญวาสี อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
  • พระอุโบสถวัดเพชรสมุทร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
  • พระอุโบสถ และพระเจดีย์วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
  • พระอุโบสถวัดเลียบราษฎร์บำรุง เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • วิหารพระพุทธไสยาสน์ ณ เขาศูนย์ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดค่ายบางระจัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
  • มณฑปอนุสรณ์วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
  • กุฏิวัดพระโค เขาทัพสิงห์ อำเภอสะทิงพระ จังหวัดสงขลา
  • พระธาตุพังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
  • ฐานพระประธานพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
  • ฐานชุกชีพระประธาน พระอุโบสถวัดชัยพฤกษ์มาลา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอหนองบัวลำพู จังหวัดอุดรธานี
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สนามกีฬาจังหวัดระยอง
  • ศาลหลักเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ศาลหลักเมือง จังหวัดยะลา
  • ศาลหลักเมือง จังหวัดมุกดาหาร
  • พลับพลาพระราชพิธีบวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ณ ท้องสนามหลวง
  • พระเมรุมาศพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7
  • ศาลาไทยกลางน้ำที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศาลาไทยที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • ศาลาไทยที่นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
  • พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร ฯลฯ

ผลงานควบคุมงานบูรณปฏิสังขรณ์ แก้

  • บูรณะสถูปเจดีย์พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ที่พังทลายลงขึ้นมาใหม่
  • บูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
  • บูรณะวิหารหลวง วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ฯลฯ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นาย ประเวศ ลิมปรังษี เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ
  2. นิติกร กรัยวิเชียร, นายประเวศ ลิมปรังษี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) พุทธศักราช ๒๕๓๒[ลิงก์เสีย] สกุลไทย ฉบับที่ 2411 ปีที่ 47 ประจำวัน อังคาร ที่ 2 มกราคม 2544
  3. ประเวศ ลิมปรังษี ศิลปินแห่งชาติปี 2532 สาขาทัศนศิลป์ ถึงแก่กรรมแล้ว
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๖๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๖๑, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๗, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๑๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  9. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๗ จากเว็บไซต์ thaiscouts
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๘๗ ง หน้า ๒๐๑๖, ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒