ดวงฤทธิ์ บุนนาค
ดวงฤทธิ์ บุนนาค (เกิดวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509) (ชื่อเล่น: ด้วง) เป็นสถาปนิกและนักออกแบบชาวไทย คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด (DBALP) เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักออกแบบในสไตล์โมเดิร์นเรียบง่าย โดยเฉพาะการออกแบบอาคารทรงสี่เหลี่ยมและการเล่นกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ[2] มีผลงานตัวอย่างเช่น โรงแรมคอสต้าลันตา, โรงแรมเดอะนาคา, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และเดอะแจมแฟคทอรี่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานออกแบบของเขา
ดวงฤทธิ์ บุนนาค | |
---|---|
ดวงฤทธิ์ ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
เกิด | 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 ไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
รางวัล |
|
การทำงาน | ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด (DBALP) |
ผลงานสำคัญ |
|
โครงการสำคัญ |
|
เว็บไซต์ | frankgehryarchitecture |
ประวัติ
แก้ดวงฤทธิ์จบการศึกษาในระดับพื้นฐานจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2)[3] และได้ศึกษาต่อสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ที่สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม (AA) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ในปี 2538 ได้ทำงานเป็นสถาปนิกบริษัท สถาปนิก 49 (A49) จำกัด และในปี 2541 ได้เปิดบริษัทของตัวเองในชื่อ บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด ในด้านวิชาชีพดวงฤทธิ์ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาสถาปนิก 2 สมัย ในชุดที่ 3 (2550-2553) และชุดที่ 4 (2553-2556)
นอกจากนี้เขายังมีประสบการณ์ด้านการสอนและการบรรยายในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศิลปากร[3] โดยเขายังเป็นเจ้าของร้าน Anyroom ชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ ที่เป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์ของดวงฤทธิ์เอง และยังเป็นร้านอาหาร ร้านขายหนังสือ และร้านกาแฟ[4]
ในปี พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งเขาเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[5]
ผลงาน
แก้- โรงแรมโซ โซฟิเทล หัวหิน
- สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)[3]
- โครงการบูติกมอลล์ H1 ทองหล่อ
- งานตกแต่งภายใน บริษัท ลีโอ เบอร์เนทท์ จำกัด
- คอสตา ลันตา โรงแรมบูติก (boutique hotel) ที่กระบี่
- อาคารสำนักงานโรงกลั่นน้ำมันและอาคารรักษาความปลอดภัย เอสโซ่ ศรีราชา
- เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์[6]
- ทรู เออร์เบิน พาร์ค[7] และทรู แบรนดิง ช้อป[8] สยามพารากอน
- ไอคอนคราฟต์ ไอคอนสยาม[9]
รางวัลที่ได้รับ
แก้- 2558 - รางวัลอะเคเซีย - The Naka Phuket[10]
- 2557 - รางวัลสถาปัตยกรรมที่สมควรเผยแพร่ (สมาคมสถาปนิกสยาม) - สถานปฏิบัติธรรมเขาใหญ่[11]
- 2535 - รางวัลรองชนะเลิศการ ประกวดความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “กรุงเทพในทศวรรษหน้า” โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์[3]
- รางวัลอะเคเซีย ระดับเหรียญทอง - โรงแรมคอสต้า ลันตา บนเกาะลันตา
ชีวิตส่วนตัว
แก้ดวงฤทธิ์เคยสมรสกับอัชฌานาท บุนนาค มีบุตร 2 คน 1 ในนั้นคือนีร บุนนาค (นีน BNK48 รุ่นที่ 5) ภายหลังหย่ากับอัชฌานาท เขาได้คบหากับดารานักแสดง รวมถึง อุ้ม สิริยากร พุกกะเวส[12] และเข็ม กฤตธีรา อินพรวิจิตร[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ 'ดวงฤทธิ์ บุนนาค' ชนะรางวัล Best Building of the Year จาก สวัสดีครับ ผมเด็ก RECU18 ชื่อเดียครับ เวทีARCASIA, วอยส์ทีวี .วันที่ 18 พ.ย. 2558
- ↑ ดวงฤทธิ์ บุนนาค “ผมไม่ใช่ Minimalist”, positioningmag.com .วันที่ 24 พฤษภาคม 2016
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 ดวงฤทธิ์ บุนนาค, ประวัติผลงาน
- ↑ The Wall Street Journal, Thai Architect Duangrit Bunnag on Life in Bangkok
- ↑ "เชฟชุมพล – นิค จีนี่ – ดวงฤทธิ์ นั่งกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ดึง 'หมอเลี้ยบ' เป็นกรรมการและเลขานุการ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-09-13.
- ↑ "ISA Behind the Scene 2023 ครั้งที่ 3 : "The Emsphere"". สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.
- ↑ "สวนกลางกรุงของ TRUE". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2006-03-05.
- ↑ "กลุ่มทรูเนรมิตTrue Branding Shop ชั้น3 สยามพารากอน". bangkokbiznews. 2017-03-22.
- ↑ "'ไอคอนสยาม'เนรมิต'ไอคอนคราฟต์' พื้นที่นำเสนอคุณค่าความเป็นไทย ผ่านงานนวัตศิลป์". naewna.com. 2018-11-09.
- ↑ "'ดวงฤทธิ์ บุนนาค' ชนะรางวัล Best Building of the Year จากเวทีสถาปนิกเอเชีย ARCASIA 2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-17.
- ↑ สมาคมสถาปนิกสยาม, ผลการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2557 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ยินดีกับ "อุ้ม สิริยากร" ว่าที่สะใภ้ "บุนนาค"[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เลิก "อุ้ม" ซบ "เข็ม ตีสิบ" สเปก "ด้วง" 'ติสท์ & ต๊อง'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-11-13.