ไอคอนสยาม
ไอคอนสยาม (ชื่อเดิม: บางกอก เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอ-ซิตี้[2]) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบนพื้นที่ 50 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณซอยเจริญนคร 5 ถนนเจริญนคร และ 5 ไร่บริเวณฝั่งตรงข้ามใกล้ปากซอยเจริญนคร 4 ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เกิดจากการร่วมทุนกันระหว่าง สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น มีพิธีเปิดโครงการในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ไอคอนสยามและอาคารชุดที่พักอาศัยแมกโนเลียส์ ริเวอร์ไซด์ | |
ที่ตั้ง | 168, 259, 289, 299 ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร |
---|---|
พิกัด | 13°43′36″N 100°30′38″E / 13.726690°N 100.510498°E |
เปิดให้บริการ | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 11 มกราคม พ.ศ. 2566 (ไอซีเอส)[1] | (ไอคอนสยาม)
ผู้บริหารงาน | บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และ บริษัท ไอซีเอส จำกัด โดย |
สถาปนิก | เออร์เบิ้น อาร์คิเต็คส์ |
จำนวนชั้น | 10 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น) |
ที่จอดรถ | 5,000 คัน |
ขนส่งมวลชน | สถานีเจริญนคร รถโดยสารประจำทาง 3(2-37), 6(4-1), 84(4-46), 89(4-47), 105(4-18), 111(4-20), 120(4-21), 149(4-53), 4-35,รถสี่ล้อเล็ก ซิตี้ไลน์ ท่าเรือไอคอนสยาม 2 ธงแดง ธงส้ม ประจำทาง ท่าเรือไอคอนสยาม 1 |
เว็บไซต์ | www |
โครงการไอคอนสยามประกอบด้วย
- อาคารศูนย์การค้าขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 2 อาคารเชื่อมต่อกัน ซึ่งมีพื้นที่รวมมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย รองจากเซ็นทรัลเวิลด์ และมีพื้นที่ขายรวมกันมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย รองจากเซ็นทรัล เวสต์เกต
- อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย 2 อาคาร ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย
- อาคารศูนย์การค้าขนาดกลางที่เชื่อมต่อกับอาคารโรงแรม
โดยพื้นที่ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยถนนภายในโครงการและสถานีเจริญนคร ของรถไฟฟ้าสายสีทอง
ประวัติ
แก้ที่มาโครงการ
แก้ไอคอนสยามเกิดจากการร่วมทุนกันของสยามพิวรรธน์, เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC ในกลุ่มกิจการ DTGO) มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 51:24.5:24.5 ตามลำดับ[3]
ไอคอนสยามตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมของโรงสีสิบเก้า และตลาดศิรินทร์[4] ซึ่งต่อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท สยามอรุณ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือศรีกรุงวัฒนา[5] โดยพื้นที่โครงการตั้งอยู่ระหว่างโรงแรมเพนนินซูล่า กับโรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ นอกจากนี้ยังอยู่ตรงข้ามกับโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน กรุงเทพ, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ และอาคารโทรคมนาคมแห่งชาติ สาขาบางรัก
ไอคอนสยามเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557[6] มีมูลค่าการลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ 35,000 ล้านบาท ต่อมาเพิ่มเป็น 50,000 ล้านบาท[7] และ 54,000 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูงที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น[8] โดยครึ่งหนึ่งเป็นเงินลงทุนของบริษัทพันธมิตรทั้ง 3 บริษัท ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นสินเชื่อที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารธนชาต ร่วมเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งผู้ร่วมทุนทั้ง 3 บริษัทได้วางแผนในการเชื่อมโยงโครงการเข้ากับโรงแรม ศูนย์การค้า และสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา[7][9]
พิธีเปิด
แก้ไอคอนสยามจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ในชื่อ "มหาปรากฏการณ์งานเปิดเมืองไอคอนสยาม" โดยในช่วงเช้า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการด้วยพระองค์เอง[1][10][11][12] และในช่วงค่ำได้มีการจัดการแสดงในชุด "โรจนนิรันดร" ที่เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทยแขนงต่าง ๆ และกายกรรมผาดโผน รวมถึงมีการเปิดตัว "เรือสำเภาศรีมหาสมุทร" ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำแห่งแรกของประเทศไทย[13] ตลอดจนมีการแสดงแปรขบวนของโดรนจากอินเทล จำนวน 1,400 ลำ และการแสดงคอนเสิร์ตของ อลิเชีย คีส์ รวมถึงการแสดงแสง สี เสียง ไปยังอาคารชุดเพื่อการพักอาศัยทั้ง 2 อาคารในโครงการด้วย[14]
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน มีผู้เข้าร่วมพิธีเปิดจำนวนประมาณ 150,000 คน และในวันที่ 10 พฤศจิกายน ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการเป็นวันแรก มีจำนวนประชาชนเข้าใช้บริการประมาณ 200,000 คน[15] นอกจากนี้ในวันเดียวกัน ยังมีมินิคอนเสิร์ตของศิลปินจากซีรีส์ รักใสใส หัวใจสี่ดวง ฉบับประเทศจีน[16]
ช่วงปีแรก
แก้ในช่วงครึ่งปีแรกหลังการเปิดไอคอนสยาม ได้มีการเปิดร้านค้าอีก 20-25 แบรนด์ อาทิ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร รวมถึงบริการต่าง ๆ อย่าง ไอคอน บาย ฟิตเนสเฟิร์ส สถานที่ออกกำลังกายสาขาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และ ทรู ไอคอน ฮอลล์ ศูนย์ประชุมมาตรฐานระดับโลกซึ่งร่วมทุนกับทรู คอร์ปอเรชั่น
จากสถิติหลังการเปิด 1 ปี (ข้อมูลปี พ.ศ. 2562) ไอคอนสยามมีผู้เข้ามาใช้บริการในวันปกติเฉลี่ย 80,000-120,000 คนต่อวัน ส่วนในวันเทศกาล เช่น วันสิ้นปี วันขึ้นปีใหม่ วันลอยกระทง วันสงกรานต์ มีจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ย 200,000-350,000 คนต่อวัน และมีสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ 35% โดยมีกลุ่มหลัก ๆ คือชาวจีน เกาหลี ไต้หวัน อินเดีย และกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ทำให้มียอดใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวประมาณ 10,000-15,000 บาท ซึ่งสูงกว่าศูนย์การค้าทั่วไปในประเทศไทย[17]
การจัดสรรพื้นที่
แก้โครงการไอคอนสยามมีการออกแบบโดยใช้แนวคิด "เมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์" (The Icon of Eternal Prosperity) มีพื้นที่โครงการรวมทั้งหมด 750,000 ตารางเมตร นับเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย รองจากเซ็นทรัลเวิลด์ ตัวอาคารหลักออกแบบโดยบริษัท เออร์เบิ้น อาร์คิเต็คส์ จำกัด และมีบริษัทสถาปนิก ฟอสเตอร์ + พาร์ตเนอร์ส จากประเทศอังกฤษ เป็นที่ปรึกษาโครงการ[18] ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมไทย กระทง บายศรี และสไบ ในโครงการประกอบด้วยพื้นที่สำคัญ ดังนี้
ศูนย์การค้าไอคอนสยาม
แก้ศูนย์การค้าไอคอนสยาม เป็นศูนย์การค้าในอาคารหลัก บริหารงานโดย บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ซึ่งกลุ่มสยามพิวรรธน์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ภายในพื้นที่ศูนย์การค้า ประกอบด้วยร้านค้าแฟชัน ร้านสินค้าเทคโนโลยี ร้านสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ร้านอาหาร มีจุดเด่นบริเวณโถงกลางชั้น M จนถึงชั้น 2 ออกแบบโครงสร้างอาคารให้เป็นแบบ 2 อาคารขนานกันภายใต้อาคารหลักหลังเดียว โดยอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของร้านต่าง ๆ อาทิ เอชแอนด์เอ็ม และคาเฟ่ % อะราบิกา สาขาแรกในประเทศไทย รวมถึงมี ฟิตเนส เฟิร์สท์ คลับไอคอน สถานออกกำลังกายฟิตเนส เฟิร์สท์ สาขาใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย[19][20] นอกจากนี้อาคารฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ยังมีจุดเด่นเป็นร้านแอปเปิลสโตร์สาขาแรกในประเทศไทย และเป็นสาขาที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อจากประเทศสิงคโปร์[21]
ในส่วนโถงกลางบริเวณชั้น 3 ถึง 5 บริหารงานโดย บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ประกอบด้วย
- ไอคอนคราฟต์ แหล่งรวมงานหัตถศิลป์และนวัตศิลป์ฝีมือคนไทย โดยความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)[22]
- ไอคอนแอคทีฟ แหล่งรวมร้านเครื่องกีฬา
- ไอคอนเทค แหล่งรวมร้านไอที ซึ่งความพิเศษอยู่ที่ตัวร้านบางส่วนจะตั้งลอยบนใบบัวแยกขาดจากกัน โดยมีเส้นสายบัวค้ำฐานร้านที่ชั้น 3
- ไอคอนวิลล์ แหล่งรวมสินค้าประเภทเครื่องประดับ, งานหัตถกรรม, สินค้าสุขภาพและความงาม รวมถึงร้านอาหารและคาเฟ่สำหรับครอบครัว
ศูนย์การค้าไอคอนลักซ์
แก้ศูนย์การค้าไอคอนลักซ์ เป็นอาคารศูนย์การค้าขนาดเล็กในอาคารหลักบริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในพื้นที่ศูนย์การค้า ประกอบด้วยร้านค้าสินค้าระดับหรูหรา ร้านค้าแฟชัน ร้านสินค้าเทคโนโลยี และห้องแสดงรถยนต์ โดยชั้นหลังคาของไอคอนลักซ์ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าแอปเปิลสโตร์ เป็นที่ตั้งของไอคอนสยามพาร์ค ซึ่งเป็นสวนหย่อมและสวนประติมากรรมกลางแจ้ง โดยโครงการได้ออกแบบภูมิสถาปัตย์ในบริเวณนี้ร่วมกับแอปเปิล เพื่อเปิดหน้าร้านแอปเปิลสโตร์ให้มีความโดดเด่นกลางแม่น้ำเจ้าพระยา[23] นอกจากนี้ไอคอนลักซ์ยังเป็นที่ตั้งของ "บลู บาย อลัง ดูคาส" ภัตตาคารอาหารฝรั่งเศสที่ได้รับดาวมิชลินหนึ่งดวง จากการจัดอันดับของมิชลินไกด์ ในปี พ.ศ. 2564 และ 2565 และเป็นหนึ่งในภัตตาคารดีที่สุดในเอเชีย[24]
ห้างสรรพสินค้า
แก้ไอคอนสยามเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มทาคาชิมาย่าสาขาแรกในประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งกลุ่มทาคาชิมาย่าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีพื้นที่ 36,000 ตารางเมตร[25][26] โดยเป็นสาขานอกประเทศญี่ปุ่นที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด ภายในนอกจากจะมีการแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ เช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้าโดยทั่วไปแล้ว ยังมีศูนย์อาหารโรส ฟู้ด อเวนิว, ตลาดทากะ มาร์เช, นิโตริ และโซนรวมร้านอาหารเอเชีย โรส ไดน์นิ่ง อีกด้วย[27]
ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหาร
แก้ไอคอนสยามเป็นที่ตั้งของ เดียร์ ทัมมี ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดมาร์เก็ตที่นำเสนอสินค้าและร้านอาหารระดับพรีเมียมบนพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร เป็นการร่วมลงทุนระหว่างสยามพิวรรธน์และกูร์เม่ต์ เอเชีย ประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต และตลาดอาหาร
นอกจากนี้ไอคอนสยามยังมีโซนร้านอาหารอีกห้าส่วนหลัก ๆ ได้แก่
- เดอะ วีรันดา เป็นพื้นที่ร้านอาหารระดับกลางถึงบน และบางร้านมีสาขาเดียวในประเทศไทย
- สุขสยาม เป็นพื้นที่สำหรับนำเสนอผลิตภัณฑ์ ร้านอาหารไทยพื้นบ้านและวัฒนธรรมไทย ภายใต้การนำเสนอแบบสี่ภูมิภาคท้องถิ่น[28] รวมถึงมีร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น ร้านสะดวกซื้อรูปแบบพรีเมียมแห่งแรก[29]
- ไอคอนอีตส์ เป็นพื้นที่ร้านอาหารระดับกลาง
- ไอคอน ไดนิ่ง รูม เป็นร้านอาหารระดับภัตตาคารจำนวน 5 ร้าน ซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่นอกอาคาร สามารถรับลมและชมทิวทัศน์รอบแม่น้ำเจ้าพระยาได้
- อลังการ เป็นพื้นที่ร้านอาหารและภัตตาคารระดับพรีเมียม ตกแต่งในแบบไทย ภายใต้กรอบเรื่องท้องนาและรวงข้าว
ในโซนอลังการนั้น ด้านบนเพดานฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ยังมีประติมากรรม น้ำตกฝนทิพย์ ความสูง 15 เมตร จุดเด่นอยู่ที่การสลักฐานน้ำเป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยส่วนบนสุดของประติมากรรมสลักเสมือนเป็นเลข ๙ ออกแบบโดย Ghesa Water & Art[30] ที่ชั้นเดียวกันนั้นยังเป็นที่ตั้งของ ทัศนานคร เทอเรส พื้นที่ร้านอาหารมุมสูงริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งประกอบไปด้วยภัตตาคารระดับไฟน์-ไดนิ่งและบาร์กึ่งเอาท์ดอร์สองร้านคือ ฮอบส์ และ ฟาลาเบลลาร์ ริเวอร์ฟร้อนท์ และ ภัตตาคารเกรท ฮาร์เบอร์ อินเตอร์เนชันแนล บุฟเฟต์ ภัตตาคารนานาชาติจากประเทศไต้หวัน บริหารงานโดย บริษัท ซีพี ไห่หลาย ฮาร์เบอร์ จำกัด ซึ่งเจริญโภคภัณฑ์อาหารหรือซีพีเอฟ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ร่วมกับกลุ่มทุนไห่หลายกรุ๊ป ของโหว ซี ฟง มหาเศรษฐีของไต้หวัน[31] นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียง ยังเป็นที่ตั้งของ สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ซึ่งเป็นร้านสตาร์บัคส์สาขาใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[32][33] และเป็นร้านกาแฟเพื่อชุมชนแห่งที่สองของไทยต่อจากสาขาถนนหลังสวนด้วย[34]
โรงภาพยนตร์
แก้ไอคอนสยาม มีโรงภาพยนตร์ประกอบกิจการหนึ่งแห่ง คือ ไอคอน ซีเนคอนิค เป็นโรงภาพยนตร์ที่บริหารงานโดยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป ออกแบบภายใต้แนวคิด "สัญลักษณ์ใหม่ของโรงภาพยนตร์ระดับโลก" (The New World-class Cinematic Icon) เน้นความหรูหรา ผสานกับเทคโนโลยีการฉายอันล้ำสมัย และบริการระดับเดียวกับโรงแรมหกดาว ภายในประกอบไปด้วยโรงภาพยนตร์จำนวน 14 โรง[27] มีจุดเด่นที่ทุกโรงภาพยนตร์ใช้เครื่องฉายระบบเลเซอร์เป็นแห่งแรกในประเทศไทย มีโรงภาพยนตร์ที่ตกแต่งเสมือนห้องนั่งเล่นในชื่อ Cineconic Living Room ซึ่งให้บริการฉายภาพยนตร์และเป็นพื้นที่กิจกรรมแบบเช่าเหมาโรง และยังมีโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ โฟร์ดีเอ็กซ์ สกรีนเอ็กซ์ และดอลบี แอทมอส ระบบละ 1 โรง[35]
ศูนย์การเรียนรู้
แก้ไอคอนสยามยังเป็นที่ตั้งของ ไอคอนเอ็ดดูเคชั่น ศูนย์การเรียนรู้ ร้านหนังสือ สนามเด็กเล่นขนาดเล็ก และ เมกา ฮาร์เบอร์แลนด์ สวนสนุกและศูนย์การเรียนรู้ขนาดใหญ่สำหรับเด็ก พื้นที่ 5,000 ตารางเมตร[36]
พื้นที่จัดกิจกรรม
แก้ไอคอนสยามยังแบ่งพื้นที่จัดกิจกรรมออกเป็นหลายส่วน ได้แก่
- ริเวอร์พาร์ค ทางเดินริมแม่น้ำและลานกิจกรรมที่มีความยาวเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา 500 เมตร นับเป็นทางเดินริมแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังมี
- ไอคอนสยามพาร์ค (ICONSIAM Park) สวนลอยฟ้าและจุดชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาภายในศูนย์การค้า ตั้งอยู่หน้าแอปเปิลสโตร์
- ลานเมืองสุขสยาม ลานกิจกรรมภายในอาคารชั้น G เน้นการแสดงวัฒนธรรมและศิลปะไทย
- เจริญนครฮอลล์ และธาราฮอลล์ ลานกิจกรรมภายในอาคารชั้น M
- แอทแทรกชันฮอลล์ โถงกิจกรรมขนาดกลางบริเวณชั้น 6[37]
- ส่วนบริเวณชั้น 7-8 เป็นที่ตั้งของ
- นภาลัยเทอร์เรส และ พิมานเทอร์เรส จุดชมทัศนียภาพแม่น้ำเจ้าพระยา
- สุราลัยฮอลล์ ลานกิจกรรมภายในอาคาร
- ทรู ไอคอน ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและโรงมหรสพอเนกประสงค์ บริหารงานโดยสยามพิวรรธน์ โดยร่วมลงทุนกับทรู คอร์ปอเรชั่น ประกอบด้วยโถงประชุมหลัก พื้นที่ 2,775 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 2,700 ที่นั่ง และห้องประชุมย่อยอีก 14 ห้อง[38]
- เดอะ พินนาเคิล และ ไอคอน อาตส์ แอนด์ คัลเจอร์ สเปซ โถงอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรม[39] ซึ่งพื้นที่บางส่วนเคยใช้เป็นจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร สภาหอการค้าไทย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล[40][41]
อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย
แก้ไอคอนสยาม ประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัย 2 อาคาร ได้แก่
- แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส แอท ไอคอนสยาม (Magnolias Waterfront Residences at ICONSIAM) เป็นอาคารที่พักอาศัยโดยแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น มีความสูง 317.95 เมตร ทำลายสถิติอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยของตึกคิง เพาเวอร์ มหานคร ที่ 314.2 เมตร ลงเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561[42]
- เดอะ เรสซิเดนเซส แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล แบงค็อก อิน ไอคอนสยาม (The Residences at Mandarin Oriental Bangkok in ICONSIAM) ความสูง 272.20 เมตร เป็นอาคารที่พักอาศัยที่บริหารจัดการโดยกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทแมนดาริน โอเรียนเต็ล แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอาคารที่มีความสูงเป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย[43]
ไอซีเอส
แก้นอกจากนี้ ไอคอนสยามได้ก่อสร้างอาคารในระยะที่ 2 บนพื้นที่ 5 ไร่ ฝั่งตรงข้ามของถนนเจริญนคร บริเวณปากซอยเจริญนคร 4 ในชื่อ ไอซีเอส (ICS) โดยใช้แนวคิดเมืองผสมผสานที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิตได้ทุกวัน ประกอบด้วยร้านค้าและร้านอาหารเพิ่มเติมจากอาคารหลัก ไฮเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียม โลตัส พรีเว่, สปอร์ตส์เวิลด์, อาคารสำนักงานไอซีเอส ทาวเวอร์, ศูนย์สุขภาพ ศิริราช เอช โซลูชันส์[44][45] และโรงแรมฮิลตัน การ์เดน อินน์ แบงค็อก ริเวอร์ไซด์ จำนวน 241 ห้อง[20][46] โดยเปิดอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566[47][48]
พื้นที่จัดสรรในอดีต
แก้- สวนสนุกซุปเปอร์พาร์ค
ไอคอนสยามเคยเป็นที่ตั้งของสวนสนุกซุปเปอร์พาร์ค สวนสนุกจากประเทศฟินแลนด์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถือเป็นสาขาที่สามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย[49] และเป็นสาขาที่มีขนาดใหญ่อันดับสาม รองจากสาขาในประเทศฟินแลนด์และฮ่องกง[50] แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563 ทางสวนสนุกประกาศปิดปรับปรุงชั่วคราวเพื่อซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค ระบบระบายน้ำ และระบบไฟฟ้าภายในโครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องจากการพัดถล่มของพายุโซนร้อนโนอึลเมื่อวันที่ 18-20 กันยายน พ.ศ. 2563 จนระบบสาธารณูปโภคของไอคอนสยามไม่สามารถระบายน้ำที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องได้ทัน ทำให้พื้นที่บางส่วนรวมถึงเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ควบคุมเครื่องได้รับความเสียหายทั้งหมด ทั้งนี้ การปิดปรับปรุงเป็นไปอย่างล่าช้าเนื่องจากความเสียหายกินพื้นที่เกินกว่าที่คาดการณ์ และต้องเดินสายไฟภายในโครงการใหม่ทั้งหมด รวมถึงนโยบายของศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่เปิดให้ผู้เช่าซ่อมบำรุงพื้นที่ได้เฉพาะในเวลาปิดทำการเท่านั้น ทำให้ทางสวนสนุกประกาศปิดปรับปรุงอย่างไม่มีกำหนดตั้งแต่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563 คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณสองสัปดาห์[51] จนในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ศูนย์การค้าไอคอนสยามได้ตั้งป้ายประชาสัมพันธ์หน้าสวนสนุกว่า "SUPER PARK ได้ปิดให้บริการอย่างถาวรและปัจจุบันไม่ได้เป็นผู้เช่าหลักของไอคอนสยามแต่อย่างใด" ทำให้สร้างความสงสัยและเกิดการเรียกร้องขอเงินคืนอย่างหนักจากฝั่งลูกค้า[52][53] ปัจจุบันพื้นที่ของสวนสนุกซุปเปอร์พาร์คได้ถูกพัฒนาต่อเป็น เมกา ฮาร์เบอร์แลนด์ โดยผู้พัฒนาสวนสนุกและศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กจากจังหวัดชลบุรี
รางวัลที่ได้รับ
แก้- World Retail Awards 2019 สาขาการออกแบบพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ยอดเยี่ยม (พื้นที่มากกว่า 1,200 ตารางเมตร)[54]
- Prix Versailles 2019 สาขาศูนย์การค้ายอดเยี่ยม ภูมิภาคเอเชียใต้และแปซิฟิก[55]
- ICSC Asia-Pacific Shopping Center Gold Awards 2019 สาขาศูนย์การค้าใหม่ยอดเยี่ยม การทำตลาดแบบ B2B ยอดเยี่ยม (สุขสยาม) การจัดงานเปิดตัวยอดเยี่ยม และการประชาสัมพันธ์ยอดเยี่ยม[56]
- MAPIC Awards 2019 สาขาศูนย์การค้ายอดเยี่ยม[57]
- เข้ารอบสุดท้าย MIPIM Awards 2021 สาขาศูนย์การค้ายอดเยี่ยม[58]
การเดินทาง
แก้- ทางเรือ จอดที่ท่าเทียบเรือจำนวน 3 ท่า (สาทร, สี่พระยา และไปรษณีย์กลางบางรัก) สำหรับให้บริการเรือรับ-ส่ง จากท่าเรือโดยสารและท่าเรือโรงแรมริมแม่น้ำเจ้าพระยา[60] โดยในอดีตเคยมีเรือให้บริการจากท่าราชวงศ์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกการให้บริการจากท่าเรือดังกล่าว
- รถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นการร่วมทุนกับกรุงเทพมหานครในลักษณะการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าโดยรอบจำนวน 3 สายเข้ากับโครงการ[61][62][63] โดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เชื่อมต่อกับอาคารที่สถานีเจริญนคร และยังทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมอาคารทั้งสองฝั่งคืออาคารหลักและอาคารไอซีเอสเข้าด้วยกัน ต้นทางจะเชื่อมต่อกับสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
- รถโดยสารประจำทาง สาย 3(2-37), 6(4-1), 84(4-46), 89(4-47), 105(4-18), 111(4-20), 120(4-21), 149(4-53), 4-35[64]
- รถสี่ล้อเล็ก เส้นทาง BTS กรุงธนบุรี (ทางออก 3)-วัดโพธิ์เรียง
- รถยนต์ส่วนตัว
- จากสี่แยกอรุณอัมรินทร์มุ่งหน้าโรงเรียนศึกษานารี ให้ขับตรงไปตามทางถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านตลาดท่าดินแดง แยกคลองสาน เข้าสู่ถนนเจริญนคร ไอคอนสยามอยู่ขวามือ
- จากแยกเพชรเกษมมุ่งหน้าแยกท่าพระเลี้ยวไปทางวงเวียนใหญ่ ให้ขับมาทางถนนลาดหญ้าออกสู่แยกคลองสาน จะเห็นไอคอนสยามขวามือ
ท่าเรือใกล้เคียง
แก้ท่าก่อนหน้า | เส้นทางเดินเรือ | ท่าต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
ท่าสี่พระยา มุ่งหน้า ท่าน้ำนนทบุรี |
เรือด่วนเจ้าพระยา | ท่าวัดม่วงแค มุ่งหน้า ท่าวัดราชสิงขร | ||
ท่าราชวงศ์ มุ่งหน้า ท่าพรานนก |
เรือด่วนพิเศษธงทอง | ท่าสาทร มุ่งหน้า ปลายทาง | ||
ท่าล้ง 1919 มุ่งหน้า ท่าพระอาทิตย์ |
เรือท่องเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยา | ท่าสาทร มุ่งหน้า ท่าวัดราชสิงขร |
กรณีอื้อฉาว
แก้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 เกิดเหตุเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของไอคอนสยามทำร้ายร่างกายเบนจา อะปัญ นักกิจกรรมนักศึกษา แกนนำกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม และแนวร่วมกลุ่มราษฎร ที่แสดงออกทางการเมืองในพื้นที่ศูนย์การค้า[65] โดยชูป้ายที่มีข้อความทำนองว่า การผูกขาดวัคซีนโควิด-19 เป็นการสร้างความชอบให้สถาบันพระมหากษัตริย์[66] ด้านไอคอนสยามออกมาชี้แจงว่าจะสอบสวนผู้ก่อเหตุ และขอความร่วมมืองดการแสดงออกทางการเมืองในพื้นที่[67] ในช่วงเย็น มีการจัดการประท้วงอย่างฉับพลันในห้าง และเกิดแฮชแท็ก #แบนไอคอนสยาม ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศ ก่อนจะยุติการชุมนุมไปเมื่อผู้บริหารออกมารับปากว่าจะลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้ก่อเหตุ และเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวยอมกล่าวขอโทษ[68] ต่อมา เพจเฟซบุ๊กของไอคอนสยามเองได้โพสต์ข้อความว่า จากการสอบสวนกรณีดังกล่าว เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ทำร้ายร่างกายนักกิจกรรมนั้น ไม่ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ และไม่เป็นไปตามกฎระเบียบของบริษัท จนก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคนดังกล่าวเข้าใจและรับรู้ พร้อมทั้งแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก โดยมีผลทันที[69]
คลังภาพ
แก้-
ร้านแอปเปิลสโตร์แห่งแรกในประเทศไทย
-
โชว์น้ำพุด้านหน้าไอคอนสยาม ตอนกลางคืน
-
ด้านในไอคอนสยาม
-
ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ตอนกลางคืน
-
วันเปิดตัวโครงการ
-
คอนโดมิเนียมและห้างสรรพสินค้า
-
การแสดงระบำสายน้ำ
-
ภายใน ไอคอน ลักซ์
-
โสภาอาภรณ์พรรณ สร้างสรรค์ร่วมสมัย ที่ไอคอนสยาม พ.ศ. 2561
-
การจัดงานวันลอยกระทง ครั้งแรก ที่ไอคอนสยาม พ.ศ. 2561
-
หุ่นจำลองผีตาโขน
-
ประติมากรรมช้าง
-
ประตูทางออก
-
ราวบันไดเลื่อนรูปพญานาค
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รวมพลังหัวใจไทย สร้างปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่บนแม่น้ำเจ้าพระยา การแสดงครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะสะกดทุกสายตาโลก 'มหาปรากฏการณ์งานเปิดเมืองไอคอนสยาม' 9-11 พ.ย.นี้
- ↑ เปิดโปรเจ็กต์3.5หมื่นล.ซีพี-สยาม ดึงซูเปอร์แบรนด์ร่วม/ผุดมิกซ์ยูส95ชั้นริมเจ้าพระยา
- ↑ ขุมข่ายธุรกิจ 'ไอคอนสยาม' แสนล.! หลังฉากการลงทุน 2 ยักษ์ใหญ่ 'สยามพิวรรธน์-ซีพี.'
- ↑ เปิดภาพเก่าย่าน “คลองสาน” ก่อนจะเป็นหอชมเมือง-ไอคอนสยาม อดีตเคยเป็นที่ตั้งโรงสีข้าว
- ↑ ศรีกรุงวัฒนา กับการกลับมาแบบแหยงๆ ของ "สยามอรุณ" [ลิงก์เสีย]
- ↑ ""ไอคอนสยาม" เติมเสน่ห์ "5 หมื่นล้าน" ร่ายมนตร์...สะกดโลก". สนุก.คอม. 7 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 กำเนิดสัญลักษณ์ใหม่แห่งสยาม สง่างามยิ่งใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมสะกดคนทั้งโลก เริ่มก่อสร้างเดินหน้าโครงการ เพิ่มมูลค่าลงทุนรวมเป็น 50,000 ล้านบาท
- ↑ ‘ไอคอนสยาม’ อภิมหาโครงการเมืองแห่งการใช้ชีวิตสู่โลกอนาคต เปิดความวิจิตรของ 2 อาณาจักรศูนย์การค้าและความบันเทิงแห่งยุค
- ↑ เครือ CP จับมือสยามพิวรรธน์ทุ่มกว่า 5 หมื่นลบ.เปิดไอคอนสยามริมเจ้าพระยา
- ↑ คลองสานร่วมตรวจพื้นที่รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ↑ คุณแหน : 5 พฤศจิกายน 2561
- ↑ 9 พ.ย.2561 พิธีเปิดศูนย์การค้าไอคอนสยาม ถนนเจริญนคร ฝั่งธนบุรี ปิดการจราจรถนนเจริญนครช่วงเช้าถึงเที่ยง
- ↑ ไอคอนสยาม เปิดพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ เรือศรีมหาสมุทร ครั้งแรกในประเทศไทย
- ↑ พิธีเปิดไอคอนสยาม ยิ่งใหญ่ตระการตา เซเลบดาราเพียบ
- ↑ เปิดทราฟฟิก 2 วัน ไอคอนสยาม
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-13. สืบค้นเมื่อ 2018-11-12.
- ↑ "10 ปรากฏการณ์ "ไอคอนสยาม" ครบ 1 ปี Game Changer เปลี่ยนภาพ "มหานครธนบุรี"". แบรนด์บุฟเฟต์. 31 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ICONSIAM - The Makers - พลังแห่งหัวใจไทย ที่ยิ่งใหญ่สะกดโลก
- ↑ Fitness First ปรับใหญ่ เสริมคอนเซ็ปต์ Zone และ Club Class ขยายฐานลูกค้า
- ↑ 20.0 20.1 ไอคอนสยาม ปักหมุดเฟส2 ดัก‘นักช็อป’
- ↑ ขึ้นป้ายแล้ว! ร้าน Apple Store กรุงเทพฯ สาขาแรกที่ ICONSIAM เปิด 10 พ.ย. นี้
- ↑ "ไอคอนสยามเนรมิต #ไอคอนคราฟต์ พื้นที่นำเสนอคุณค่าความเป็นไทยผ่านงานนวัตศิลป์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-02. สืบค้นเมื่อ 2018-11-02.
- ↑ ชมการออกแบบที่น่าสนใจของ Apple Store Thailand ณ ICONSIAM
- ↑ ""บลู บาย อลัง ดูคาส" ติดอันดับที่ 25 ของ "50 ร้านอาหารที่ดีที่สุดในเอเชีย"". bangkokbiznews. 2022-04-11.
- ↑ "'ทาคาชิมายะ' ห้างญี่ปุ่นแท้ๆ แบบ full-scale แห่งแรกในประเทศไทย ที่ไอคอนสยาม เดือน พ.ย. นี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2018-09-05.
- ↑ "'ทาคาชิมาย่า' ห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมี่ยมจากญี่ปุ่น ผนึกกำลังไอคอนสยาม ตั้งสาขาแลนด์มาร์คระดับโลกแห่งใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-16. สืบค้นเมื่อ 2014-10-21.
- ↑ 27.0 27.1 แค่ 2 เดือนใช้กว่าพันล้าน เทคออฟ ‘ไอคอนสยาม’ สู่ ‘The Next Global Destination’
- ↑ “สุขสยาม” เมืองมหัศจรรย์แห่ง”ไอคอนสยาม” ทุ่ม 700 ล. ชูค้าปลีกใหม่ “Co-Creation” สานวิถีท้องถิ่น
- ↑ ICONSIAM กับเซเว่นลับๆ ที่อยู่ในห้าง![ลิงก์เสีย]
- ↑ ICONSIAM Attraction "โซนอลังการ"
- ↑ ซีพี เปิด “Harbour” บุฟเฟ่ต์หรูจากไต้หวัน ที่ “ธนินท์” ต้องเข้าคิวรอ
- ↑ สตาร์บัคส์ เปิดร้านสาขาแห่งใหม่ใหญ่สุดในไทย ที่ไอคอนสยาม
- ↑ 10 เรื่องน่ารู้ “สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอคอนสยาม” สาขาแรกในไทยที่ขายแอลกอฮอล์ และใหญ่สุด
- ↑ "ไทยเบฟเคลื่อน 'สตาร์บัคส์' โต ยึดทำเลท่องเที่ยวผุดสาขาเท่าตัว". bangkokbiznews. 2023-07-07.
- ↑ ส่วนผสมใหม่ “เมเจอร์” ดึงคนดูติดจอ…เปิดโรงไม่หยุด
- ↑ ไอคอนสยาม จับมือ ฮาร์เบอร์แลนด์ เปิดตัวสนามเด็กเล่นในร่มใหญ่ระดับโลก
- ↑ "ชมครบทุกโซนใน "BLACKPINK IN YOUR AREA POP-UP STORE & EXHIBITION"". tnnthailand.com. 2023-01-20.
- ↑ ไอคอนสยามเตรียมเปิดตัว 9 พ.ย.นี้ ชูเป็น Destination ความภูมิใจของความเป็นไทย ดึงดูดต่างชาติเข้าใช้บริการ
- ↑ "Louis Vuitton เตรียมจัดแฟชั่นโชว์ Spin-off ระดับโลกที่กรุงเทพฯ 1 มิ.ย. นี้ สำหรับคอลเล็กชันสุดท้ายของ Virgil Abloh". THE STANDARD. 2022-05-23.
- ↑ ไอคอนสยาม จัดอาร์ต สเปซ ชั้น 8 เป็นหน่วยบริการฉีดวัคซีน
- ↑ ไอคอนสยาม ผนึงกำลังกับ โรงพยาบาลศิริราช สนับสนุนภารกิจแห่งชาติ เปิดพื้นที่บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล ประเดิมฉีดวันแรก 7 มิ.ย. ศกนี้ ท่ามกลางทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=czP2w-P-dsw
- ↑ http://skyscraperpage.com/diagrams/?countryID=129
- ↑ Sudprasert, Prudtinan (2022-10-17). "ไอคอนสยาม ดึงศิริราช เข้าห้าง ICS เปิดศูนย์บริการสุขภาพปีหน้า". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "ICS ผนึก "แพทยศาสตร์ศิริราชฯ" ผุดศูนย์สุขภาพฯเชิงรุกเติมเต็มมิกซ์ยูส". mgronline.com. 2022-10-17.
- ↑ "ไอคอนสยามเปิด ICS มิกซ์ยูสปลายปี". mgronline.com. 2022-07-21.
- ↑ "รวม 5 โครงการพาณิชย์ ห้าง-โรงแรม-ออฟฟิศ สร้างเสร็จปี 2566 ว่าที่ "แลนด์มาร์ก" ใหม่". Positioning Magazine. 2022-12-28. สืบค้นเมื่อ 2023-01-05.
- ↑ "เตรียมเปิด "โครงการ ICS" มิกซ์ยูสใหม่ย่านฝั่งธนฯ 11 ม.ค. '66 พร้อมเผยโฉม "Lotus's PRIVÉ" ซูเปอร์มาร์เก็ตพรีเมียมโมเดลใหม่จากโลตัส". Marketing Oops! (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-01-08.
- ↑ SUPERPARK "ซุปเปอร์พาร์ค" สวนสนุกในร่มสุดฮิตจากฟินแลนด์ เตรียมเปิดตัวที่ไอคอนสยาม พ.ย. นี้
- ↑ Finnish SuperPark debuts in Iconsiam
- ↑ แจ้งปิดปรับปรุง Super Park Thailand
- ↑ SuperPark Thailand สวนสนุกในร่ม ปิดถาวร ‘ไอคอนสยาม’ แจ้งลูกค้า ติดต่อผู้ประกอบการโดยตรง
- ↑ 'SuperPark Thailand'ปิดตัวถาวร ลูกค้าแห่ทวงเงินคืน
- ↑ "World Retail Awards 2019 Winners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ Prix Versailles | 2019 Continental Awards South Asia and the Pacific
- ↑ Asia Pacific Shopping Center Awards 2019
- ↑ MAPIC Awards 2019 winners
- ↑ MIPIM Awards 2021 Finalists
- ↑ เปิด‘เรือสำเภาศรีมหาสมุทร’ พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำแห่งแรกเจ้าพระยา น้อมรำลึกพระเจ้าตาก ที่ไอคอนสยาม, เว็บไซต์:https://www.thaipost.net/ .วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
- ↑ ชฎาทิพ จูตระกูล นับถอยหลัง “ไอคอนสยาม” ไม่มีวันกลับไปทำศูนย์แบบเดิมอีกแล้ว
- ↑ "ไอคอนสยาม"ริมฝั่งเจ้าพระยา มูลค่าการลงทุนรวม 5หมื่นลบ.เสร็จปี 2560
- ↑ ผุดรถไฟฟ้าสายสีทอง 2 พันล้าน ไอคอนสยามทุ่มเชื่อมบีทีเอส
- ↑ ""ไอคอนสยาม" อภิมหาโครงการเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา "Next Global Destination" ด้วย 7 สิงมหัศจรรย์นำเอกลักษณ์ไทยสู่เวทีโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
- ↑ รวมสายรถเมล์ไป"ไอคอนสยาม"
- ↑ "อึ้ง! ยามห้างดัง ง้างมือตบหน้า นศ.สาว ถือป้ายแสดงออก ทางการเมือง". ข่าวสด. 19 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
- ↑ "Iconsiam guard accused of slapping student protester but guess which was taken to police? | Coconuts Bangkok". Coconuts. 19 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
- ↑ "'ไอคอนสยาม' แจง สั่งสอบ จนท.รักษาความปลอดภัย ผิดจริงสั่งลงโทษ". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
- ↑ "ยุติชุมนุมหน้า "ไอคอนสยาม" หลังผู้บริหาร - รปภ.ขอโทษ". Thai PBS. 19 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
- ↑ ""ไอคอนสยาม" แจง รปภ.ระงับเหตุ "สาวชูป้าย" ทำผิดกฎระเบียบ ลาออกแล้ว". ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | ไอคอนสยาม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คิง เพาเวอร์ มหานคร | อาคารที่สูงที่สุดในไทย (แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส) (พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน) |
- |