ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ (อังกฤษ: EmQuartier) เป็นศูนย์การค้าแห่งที่สองในกลุ่มดิ เอ็มดิสทริค ซึ่งประกอบไปด้วยศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ และอาคารสำนักงาน บริหารงานโดย บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด ในกลุ่มเดอะมอลล์ และ บริษัท ภิรัชบุรี จำกัด ในลักษณะของการร่วมทุน ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ฝั่งตรงข้ามกับอาคารศูนย์การค้าเอ็มโพเรียมเดิมในพื้นที่ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เน้นความสำคัญกับตลาดลูกค้าชาวต่างชาติ และลูกค้าระดับกลางถึงสูง เช่นเดียวกับสยามพารากอน

เอ็มควอเทียร์
เอ็มควอเทียร์ logo
แผนที่
ที่ตั้ง689 693 และ 695 ถนนสุขุมวิท (ภิรัชทาวเวอร์, ฮีลิกส์ควอเทียร์ และกลาสควอเทียร์)
8 ซอยสุขุมวิท 35 (เจริญนิเวศน์) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร (วอเตอร์ฟอลควอเทียร์)
พิกัด13°43′51″N 100°34′09″E / 13.730820°N 100.569110°E / 13.730820; 100.569110
เปิดให้บริการ27 มีนาคม พ.ศ. 2558 (บางส่วน)
29 เมษายน พ.ศ. 2558 (เดอะ ฮีลิกส์)
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (ภิรัชทาวเวอร์)
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (ทั้งโครงการ)
ผู้บริหารงานกลุ่มเดอะมอลล์ โดย บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท เอ็มควอเทียร์ ช็อปปิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท ภิรัชบุรี จำกัด
พื้นที่ชั้นขายปลีก250,000 ตร.ม.
จำนวนชั้น11 ชั้น (ฮีลิกส์ควอเทียร์)
45 ชั้น (กลาสควอเทียร์และภิรัชทาวเวอร์)
7 ชั้น (วอเตอร์ฟอลควอเทียร์)
ที่จอดรถ2,500 คัน
ขนส่งมวลชน สถานีพร้อมพงษ์
รถโดยสารประจำทาง สาย 511,501,25,508,2,2 เสริม,38 / 3-8,48 / 3-11,40,98,25 เอกชน,71 / 1-39 (TSB),2 / 3-1 (TSB)
เว็บไซต์www.emquartier.co.th

การออกแบบ

แก้
 
อาคารเฮลิกส์ควอเทียร์ อาคารกลาสควอเทียร์ และลานควอเทียร์ปาร์ค
 
 
ร้านคาเฟ่ % อะราบิกา สาขาเอ็มควอเทียร์

พื้นที่โครงการเอ็มควอเทียร์จะประกอบไปด้วยอาคารศูนย์การค้าทั้งหมดสามอาคาร ดังนี้

  • อาคารฮีลิกส์ควอเทียร์ (The Helix Quartier) หรืออาคาร A (ด้านหน้าฝั่งซอยสุขุมวิท 35) เป็นอาคารที่ตั้งของร้านตราสินค้าหรูหรา ร้านค้าสินค้าไอที ร้านค้าบริการ ร้านอาหาร คาเฟ่ และสถาบันความงามตั้งแต่ชั้น G-4 ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงคาเฟ่ % อะราบิกา สาขาที่สามในประเทศไทย และเป็นสาขาที่มีโรงคั่วกาแฟขนาดเล็กเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนชั้น 5 จะเป็นที่ตั้งของสวนลอยฟ้า ฮีลิกส์ วอเตอร์ การ์เดน ซึ่งเป็นจุดเด่นของอาคาร และตั้งแต่ชั้นนี้เป็นต้นไป จะเป็นส่วนของ "ฮีลิกส์ สกาย ไดนิ่ง" แหล่งรวมร้านอาหาร โดยลักษณะทางเดินของอาคารจะเป็นแบบเกลียว ซึ่งที่ผู้มาใช้บริการสามารถเดินขึ้นจากชั้นสวนลอยฟ้าไปจนถึงชั้นบนสุดได้โดยการเดินวนรอบไปตามทางลาด นอกจากนี้ ชั้นใต้ดินของอาคาร A ยังเป็นที่ตั้งของลานจอดรถอัตโนมัติพร้อมห้องรับรอง โดยเอ็มควอเทียร์เป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในประเทศไทยที่นำระบบจอดรถอัตโนมัติมาใช้งาน การตกแต่งภายในใช้สีขาวทองแบบเดียวกับเอ็มโพเรียม
  • อาคารกลาสควอเทียร์ (The Glass Quartier) หรืออาคาร B (ด้านหน้าฝั่งธนาคารออมสินสาขาพร้อมพงษ์) เป็นที่ตั้งของร้านค้าระดับกลาง-บน, ร้านค้าแฟชั่น, ควอเทียร์ กูร์เม่ต์อีทส์, มูจิ[1], ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะ ซึ่งย้ายมาจากฝั่งเอ็มโพเรียม, ศูนย์ออกกำลังกายเวอร์จินแอคทีฟ ฟิตเนส ความสูง 3 ชั้น, ศูนย์ออกกำลังกายบ๊าวซ์อิงค์ แทมโพรีนอารีนา, เอสเคป แบงค็อก และอาคารสำนักงานภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ (อาคารสมัชชาวานิช 3) ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานความสูง 45 ชั้น บริหารงานโดยกลุ่มภิรัชบุรี มีห้องรับรองกลางที่ชั้น M โดยเริ่มนับชั้นอาคารสำนักงานที่ชั้น 15 และมีลิฟต์โดยสารความเร็วสูง เช่นเดียวกับอาคารระฟ้าทั่วไป นอกจากนี้ยังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์รวมถึงจุดชมทัศนียภาพ หรือ สกายคลิฟฟ์ที่ชั้นดาดฟ้า และห้องรับรองส่วนตัวที่ชั้น 45 จุดเด่นคือตกแต่งอาคารด้วยกระจกทั้งหมดตั้งแต่ด้านหน้าอาคารยาวไปจนถึงอาคารวอเตอร์ฟอลควอเทียร์ อีกทั้งยังสามารถมองเห็นกิจกรรมภายในอาคารได้จากฝั่งซอยสุขุมวิท 37 ทั้งหมด ภายในตกแต่งด้วยสีสันฉูดฉาด ตัดกับสีขาวทองอันเป็นสัญลักษณ์กลางของศูนย์ฯ
  • อาคารวอเตอร์ฟอลควอเทียร์ (The Waterfall Quartier) หรืออาคาร C (ด้านหลัง) เป็นที่ตั้งของลานจอดรถตั้งแต่ชั้น B ถึงชั้น 3 นอกจากนี้ยังมี กูร์เมต์ มาร์เก็ต, คิว สเตเดียม, สวนสนุกฮาร์เบอร์แลนด์[2], ศูนย์รวมการเรียนรู้สำหรับเด็กเอ็มจอย โดย ลาซาด้า, สถาบันการเงิน และโรงภาพยนตร์ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จุดเด่นคืออาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของควอเทียร์ฟอล น้ำตกประดิษฐ์ที่สูงที่สุดในเอเชีย ที่จะเริ่มต้นน้ำจากชั้น 4 ของอาคาร C และไหลมาจนถึงทางเดินชั้น G ระหว่างอาคาร A และอาคาร B ภายในตกแต่งแนวฮิปชิค เน้นการตัดสีระหว่างสีขาว-ดำ นอกจากนี้ยังมีจอ LED เกลียว ความสูง 3 ชั้นตั้งอยู่ด้วย

ซึ่งอาคารศูนย์การค้าทั้งสามจะมีสะพานเชื่อมถึงกัน และชั้นเอ็มยังมีทางเชื่อมไปยังเอ็มดิสทริค สเตชัน อาคารเอ็มโพเรียม และอาคารเอ็มสเฟียร์ นอกจากนี้ทางเดินระหว่างอาคารที่ชั้น G จะตกแต่งให้เป็นแนวธรรมชาติตลอดทางคั่นกลางด้วยทางไหลของน้ำจากควอเทียร์ฟอล เสมือนว่าเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างศูนย์การค้ากับอาคารสำนักงาน

รางวัลที่ได้รับ

แก้

เอ็มควอเทียร์

แก้
  • Thailand Property Award 2014 สาขาการออกแบบสถาปัตย์อาคารพาณิชย์ดีเด่น
  • Thailand Property Award 2014 สาขาอาคารพาณิชย์ยอดเยี่ยม
  • Asia Pacific Property Award 2015 สาขาอาคารพาณิชย์ยอดเยี่ยม 2015-2016

ภิรัชทาวเวอร์

แก้
  • Thailand Property Award 2014 Highly Recommended สาขาการออกแบบสถาปัตย์อาคารพาณิชย์ดีเด่น
  • Asia Pacific Property Award 2015 สาขาอาคารสำนักงานยอดเยี่ยม 2015-2016
  • Asia Pacific Property Award 2015 Highly Commended สาขาอาคารสูงเชิงพาณิชย์ 2015-2016

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ""มูจิ" ขยายวัยรุ่น-เฟิร์สทจ็อบเบอร์ จ่อลุยเครื่องใช้ไฟฟ้า-เรสเตอรองต์ส". mgronline.com. 2022-09-29.
  2. ฐานเศรษฐกิจ (2023-10-29). ""ดิ เอ็มควอเทียร์" เปิดตัวพันธมิตร "ฮาร์เบอร์แลนด์" เสริมทัพ EMJOY". thansettakij.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้