บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: The Mall Group Company Limited) หรือ กลุ่มเดอะมอลล์ เป็นกลุ่มบริษัทธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย ผู้ดำเนินกิจการห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, ย่านการค้าดิ เอ็ม ดิสทริค, ศูนย์การค้าสยามพารากอน

บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด
อุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีก
ก่อตั้ง25 มิถุนายน พ.ศ. 2524
ผู้ก่อตั้งศุภชัย อัมพุช
นงลักษณ์ อัมพุช
สำนักงานใหญ่49 ถนนรามคำแหง
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บุคลากรหลักศุภลักษณ์ อัมพุช
ประธานกรรมการบริหาร
นริศ เชยกลิ่น
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์เดอะมอลล์
ดิ เอ็มดิสทริค
สยามพารากอน
บลู คอลเลคชัน
สกายพอร์ต
แบงค็อก มอลล์
เว็บไซต์www.themallgroup.com

ประวัติ

แก้

บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้เริ่มดำเนินการศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าจากเดิมที่ครอบครัวทำธุรกิจอาบอบนวด โดยเปิดสาขาแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2524 คือ เดอะมอลล์ สาขาราชดำริ แต่ก็ต้องปิดตัวไปในปี พ.ศ. 2531 เนื่องจากขาดทุน ไม่มีค่าเช่าห้าง ศุภลักษณ์ อัมพุช วิเคราะห์ปัญหาว่า ปัญหาของเดอะมอลล์ ราชดำริ เกิดจาก มีที่จอดรถไม่ดีและสถานที่ห้างเล็กไป บันไดเลื่อนวางไม่ดี ทางเข้าแคบไป แม้ทางเข้าจะมีคนเข้าออกมากมาย มีโฆษณาที่ดี คอนเซปต์ที่ดี ออกแบบร้านที่ดูดี มีสินค้าดี แต่ก็ขาดทุน ประกอบกับเกิดเหตุไฟไหม้อาคาร ภายหลังได้ให้ บริษัท นารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยน จำกัด เช่าพื้นที่เป็นศูนย์ศิลปหัตถกรรมไทย กรกระทั่งหมดสัญญา ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าว คือเกสรทาวเวอร์ จากนั้นอีกสองปีต่อมา บริษัทฯ ได้เปิดบริการสาขารามคำแหง 2 และในอีกสองปีหลังจากนั้นได้เปิดบริการเดอะมอลล์ 3 และเดอะมอลล์ 4 ปัจจุบันเดอะมอลล์ 4 ได้ปิดตัวลง

ต่อมาใน พ.ศ. 2532 เดอะมอลล์ได้เปิดสาขาท่าพระ ซึ่งมีสวนน้ำภายในศูนย์การค้าเป็นแห่งแรกของไทย โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารกรุงเทพ[1] แต่ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2550 เพราะเจอเสาร้าวและทรุดตัว 5 ต้น และยกเลิกสวนน้ำ มาเป็นโรงหนังและฟิตเนสแทน และใน พ.ศ. 2534 ก็ได้เปิดสาขางามวงศ์วาน และได้เปิดสาขาบางแค และบางกะปิพร้อมกันในวันเดียวกันเป็นครั้งแรกของประเทศใน พ.ศ. 2537 ซึ่งทั้งสองสาขาเป็นสาขาขนาดใหญ่ มีสวนน้ำแฟนตาเซียลากูน และเดอะมอลล์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ตั้งอยู่ภายในด้วย

จากนั้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 กลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวโครงการ ดิ เอ็มโพเรียม ศูนย์การค้าระดับสูงแห่งแรกของบริษัท บริเวณถนนสุขุมวิท[2] ท่ามกลางวิกฤตต้มยำกุ้งในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2543 เดอะมอลล์ได้เปิดตัวสาขานครราชสีมา ซึ่งก็ได้รับผลจากพิษเศรษฐกิจเช่นกัน ทำให้นับตั้งแต่นั้น เดอะมอลล์ต้องหยุดขยายโครงการไปนานถึง 6 ปี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลพื้นที่ และอาคารศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (เซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน) ซึ่งปรากฏว่ากลุ่มเดอะมอลล์และกลุ่มเซ็นทรัลต่างเข้าร่วมประมูล โดยกลุ่มเซ็นทรัลได้เสนอผลตอบแทนที่สูงกว่า จึงทำให้บริษัทหันไปร่วมลงทุนกับสยามพิวรรธน์ในการก่อสร้าง สยามพารากอน ศูนย์การค้าระดับบนขนาดใหญ่ ซึ่งเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นกลุ่มเดอะมอลล์ก็ได้หยุดการขยายโครงการเป็นระยะเวลานาน

ในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มเดอะมอลล์ได้จัดงาน "The Overture to the New Era of The Mall Group" เพื่อแถลงข่าวประกาศโครงการสำคัญ ได้แก่ การปรับปรุงใหญ่ของศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม รวมถึงโครงการส่วนต่อขยายศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม ได้แก่ ดิ เอ็มควอเทียร์ และดิ เอ็มสเฟียร์ ภายใต้ชื่อ ดิ เอ็มดิสทริค บนถนนสุขุมวิทตอนกลาง การเปิดตัวศูนย์การค้าบลูพอร์ต ศูนย์การค้าจังหวัดภูมิภาคแห่งที่สองของกลุ่ม รวมถึงศูนย์การค้า แบงค็อก มอลล์ บนพื้นที่ 100 ไร่ติดแยกบางนา กับถนนบางนา-ตราด และศูนย์การค้าบลูเพิร์ล บนพื้นที่ 150 ไร่ในจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2557 กลุ่มเดอะมอลล์ได้ดำเนินการปรับปรุงเอ็มโพเรียมครั้งใหญ่ เพื่อรับการเปิดให้บริการของเอ็มควอเทียร์ ต่อมาในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 กลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวโครงการ ดิ เอ็มควอเทียร์

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 กลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวโครงการ บลูพอร์ต

ในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการปรับปรุงเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์ ต่อมาสาขาท่าพระ ก็ได้มีการปรับปรุงเช่นกันในปีถัดไป

ในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มเดอะมอลล์ได้ดำเนินการปรับปรุงเอ็มโพเรียมครั้งใหญ่พร้อมกับเอ็มควอเทียร์ เพื่อรับการเปิดให้บริการของเอ็มสเฟียร์ ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวโครงการ ดิ เอ็มสเฟียร์

ในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการปรับปรุงเดอะมอลล์ บางกะปิ เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์ ต่อมาสาขาบางแค ก็ได้มีการปรับปรุงเช่นกันในปีถัดไป ทั้งนี้ กลุ่มเดอะมอลล์มีกำหนดปรับปรุงสาขาโคราชและก่อสร้างใหม่ที่สาขารามคำแหง 2 พร้อมกันในลำดับถัดไป

กลุ่มธุรกิจของบริษัท

แก้

ธุรกิจศูนย์การค้า

แก้

ศูนย์การค้าในปัจจุบัน

แก้
สาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ รูปแบบการพัฒนาโครงการ เขต/อำเภอ จังหวัดที่ตั้ง พื้นที่รวม (ตร.ม.) ร้านค้าหลัก รายละเอียดโครงการ
เดอะมอลล์
รามคำแหง 2 หรือ รามคำแหง ซอย 12 22 ธันวาคม พ.ศ. 2526 โครงการก่อสร้าง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ (บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์), โรงภาพยนตร์ ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ซอย 12 ปัจจุบันอาคารนี้ถูกรื้อถอน และกำลังอยู่ระหว่างทำแบบพัฒนาโครงการ เพื่อทำการก่อสร้างใหม่ เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์
รามคำแหง 3 หรือ รามคำแหง ซอย 15,17 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 โครงการก่อสร้าง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ไม่มีข้อมูล ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ (แผนกเสื้อผ้า, ,แผนกเครื่องสำอาง, แผนกสินค้าโทรคมนาคม, เพาเวอร์ มอลล์, โฮม เฟรช มาร์ท) ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ระหว่างซอยรามคำแหง 15 กับซอยรามคำแหง 17 อาคารนี้ยังเป็นอาคารที่ทำการหลักของ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัทในเครือ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับปรุงอาคารเพื่อให้เป็นอาคารสำนักงาน โดยเหลือพื้นที่ศูนย์การค้าเพียง 2 ชั้น จากเดิมที่มี 5 ชั้น
โคราช 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โครงการก่อสร้าง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 350,000 ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ (บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, เดอะมอลล์ ฟู้ดฮอลล์), โคราช ซีนีเพล็กซ์, เอสบี ดีไซน์ สแควร์, ดีแทคลอน, ฟิตเนส เฟิร์สท์, เดอะริงก์ ไอซ์ สเก็ต, สนามสกีในร่ม, สวนน้ำแฟนตาเซียลากูน, สวนสนุกวันเดอร์แพลเน็ต, อาคารสำนักงานเดอะมอลล์ นครราชสีมา ความสูง 10 ชั้น, อาคารที่พักอาศัยเดอะมอลล์ นครราชสีมา ความสูง 16 ชั้น, เดอะมอลล์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ นครราชสีมา ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ ในพื้นที่ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ใกล้กับโรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างทำแบบพัฒนาโครงการ เพื่อทำการปรับปรุงใหม่ เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์
เอ็ม ไลฟ์สโตร์
ท่าพระ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2532 โครงการก่อสร้าง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 150,000 บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, ยูนิโคล่ , เอชแอนด์เอ็ม , เอสเอฟ ซีเนม่า , ฟิตเนส เฟิร์สท์, ฮาร์เบอร์แลนด์ ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษกช่วงท่าพระ ใกล้ทางแยกรัชดา-ตลาดพลู และสถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู กับ สถานีบีอาร์ทีราชพฤกษ์ ในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
งามวงศ์วาน 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534 โครงการก่อสร้าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 302,232 บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, ยูนิโคล่ , เอชแอนด์เอ็ม , เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า, ฟิตเนส เฟิร์สท์, ฮาร์เบอร์แลนด์, สวนน้ำแฟนตาเซียลากูน, เดอะมอลล์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่บนถนนงามวงศ์วาน ติดกับโรงพยาบาลนนทเวช
บางแค 5 สิงหาคม พ.ศ. 2537 โครงการก่อสร้าง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 350,000 บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, เอ็มไลฟ์ มาร์เก็ต , ซิตี้ วอล์ค , ยูนิโคล่ , เอชแอนด์เอ็ม , มูจิ , เอสเอฟ ซีเนม่า , ฟิตเนส เฟิร์สท์ , เมกา ฮาร์เบอร์แลนด์, สวนน้ำฮาร์เบอร์ ไอส์แลนด์, เอสบี ดีไซน์แควร์ , เดอะมอลล์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ฝั่งขาเข้า บริเวณทางแยกต่างระดับถนนเพชรเกษมตัดถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันตก) ทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าหลักสอง
บางกะปิ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2537 โครงการก่อสร้าง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 350,000 บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, ยูนิโคล่ , เอชแอนด์เอ็ม , มูจิ, ดอง ดอง ดองกิ, นิโตริ, บางกะปิ ซีนีเพล็กซ์ , ฟิตเนส เฟิร์สท์, เมกา ฮาร์เบอร์แลนด์, สวนน้ำฮาร์เบอร์ ไอส์แลนด์, เดอะมอลล์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว ใกล้กับตะวันนา บางกะปิ, แม็คโคร บางกะปิ และเยื้องห้างโลตัส บางกะปิ
ดิ เอ็มดิสทริค
เอ็มโพเรียม 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โครงการก่อสร้าง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 240,000 บิวตี้ ฮอลล์, สปอตส์มอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, เอ็มโพเรียม กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, เอ็ม เพลย์กราวนด์, เอ็มพรีเว่ ซีเนคลับ , อาคารสำนักงานเอ็มโพเรียม, โรงแรมเอ็มโพเรียมสวีท บาย ชาเทรียม ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ติดกับอุทยานเบญจสิริ เป็นศูนย์การค้าหลักในกลุ่มดิ เอ็มดิสทริค โดยมีแนวคิดโครงการว่า "ที่สุดแห่งความมีระดับ" (The Ultimate Shopping Complex) เน้นความสำคัญกับตลาดลูกค้าชาวต่างชาติและลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง โดยตัวศูนย์การค้าออกแบบโดย บริษัท J+H Boiffils
เอ็มควอเทียร์ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558 โครงการก่อสร้าง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 250,000 ควอเทียร์ กูร์เมต์ มาร์เก็ต, ควอเทียร์ ฟู้ดฮอลล์, ฮาร์เบอร์แลนด์, เอ็มจอย, ยูนิโคล่, ซาร่า, เอชแอนด์เอ็ม, ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต, เวอร์จิ้น แอคทีฟ ฟิตเนส, บ๊าวซ์อิงค์ แทมโพลีน อารีนา, อาคารสำนักงานภิรัชทาวเวอร์ ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ฝั่งตรงข้ามกับศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เป็นศูนย์การค้าแห่งที่สองในกลุ่มดิ เอ็มดิสทริค โดยมีแนวคิดโครงการว่า "มิติใหม่ของรูปแบบชีวิตที่ไม่ธรรมดา" (The Extraordinary Life) เน้นความสำคัญกับตลาดลูกค้าชาวต่างชาติและลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง บริหารงานโดย บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด ในกลุ่มเดอะมอลล์ และ บริษัท ภิรัชบุรี จำกัด ในลักษณะของการร่วมทุน
เอ็มสเฟียร์ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566[3][4] โครงการก่อสร้าง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 200,000 ศูนย์การค้า, ร้านอาหาร, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, สถาบันเสริมความงาม, ศูนย์สุขภาพ, สถานบันเทิง, ไทรบ์ บีชคลับ, ซัปเปอร์คลับ, เอ็ม วันเดอร์, สเฟียร์ฮอลล์, ยูโอบีไลฟ์[4][5], อิเกีย[6] ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 22 และ ซอยสุขุมวิท 24 สร้างบนพื้นที่เดิมของวอชิงตันสแควร์ เป็นศูนย์การค้าแห่งที่สามในกลุ่มดิ เอ็มดิสทริค โดยวางรูปแบบและแนวคิดโครงการว่า "ความเร้าใจใหม่ของกรุงเทพฯ ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน" (The Vibe of Bangkok has never experienced before) เริ่มก่อสร้างโครงการในเดือนพฤศจิกายน 2561 และเสร็จสิ้นพร้อมเปิดให้บริการในปี 2566
สยามพารากอน
สยามพารากอน 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โครงการก่อสร้าง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 500,000 ห้างสรรพสินค้าพารากอน (บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์ โกลบอล, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์ อัลดรา, พารากอน กูร์เม่ต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, เอ็กโซติค ไทย), พารากอนซีนีเพล็กซ์, บลูโอ, ซี ไลฟ์ บางกอก, ฟิตเนส เฟิร์สท์, พารากอน ฮอลล์, คิดส์ซาเนีย กรุงเทพ, โรงแรมสยาม เคมปินสกี กรุงเทพ ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1 ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ทางเชื่อมต่อกับสถานีบีทีเอสสยาม มีแนวคิดโครงการว่า "The Pride of Bangkok" เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างกลุ่มเดอะมอลล์ และ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เน้นความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มลูกค้าต่างชาติ และกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนในศูนย์การค้าเดียว
  • สกายพอร์ต - เปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ภายในอาคารผู้โดยสาร 2 (ในประเทศ) ท่าอากาศยานดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร พื้นที่ทั้งหมด 2,700 ตร.ม. โดยได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ประกอบการโครงการบริหารกิจกรรมเชิงพาณิชย์ประเภทสินค้า บริการ และประเภทอาหาร เครื่องดื่ม จากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อายุสัญญา 17 ปี

ศูนย์การค้าที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

แก้
สาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ รูปแบบการพัฒนาโครงการ เขต/อำเภอ จังหวัดที่ตั้ง พื้นที่รวม (ตร.ม.) ร้านค้าหลัก รายละเอียดโครงการ
บลู คอลเลคชัน
บลูเพิร์ล รอข้อมูลให้ชัดเจน โครงการก่อสร้าง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 650,000 ศูนย์การค้า, ห้างสรรพสินค้าบลูเพิร์ล, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, ศูนย์ประชุม ความจุ 8,000 ที่นั่ง, โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์จำนวน 8 โรง พร้อมโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ 1 โรง, โรงละครทิฟฟานี ภูเก็ต, สวนน้ำอันดา มันดา ภูเก็ต, โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ อันดา มันดา ภูเก็ต ตั้งอยู่ใจกลางจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 160 ไร่ มูลค่าการลงทุนรวมอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท เป็นโครงการศูนย์การค้าพหุภูมิภาคแห่งที่สองของกลุ่มเดอะมอลล์ต่อจากแบงค็อก มอลล์ มีสถานะเทียบโครงการเทียบเท่ากับสยามพารากอน โดยวางรูปแบบและแนวคิดโครงการว่า "The Pride of Phuket" และ "The Grand Majestic Palace" โดยเป็นศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์แห่งที่สามในจังหวัดภูมิภาค และเป็นศูนย์การค้าแห่งที่สองในกลุ่มเดอะ บลู คอลเลคชัน ซึ่งเป็นศูนย์การค้าในรูปแบบรีสอร์ท เน้นทำเลที่ตั้งติดทะเล ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับพื้นที่เพื่อเตรียมก่อสร้าง
แบงค็อก มอลล์
แบงค็อก มอลล์ รอข้อมูลให้ชัดเจน โครงการก่อสร้าง เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 873,082

ศูนย์การค้า, ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต, โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ 15 โรง พร้อมโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ 1 โรง, แบงค็อก อารีนา, อาคารสำนักงาน ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย และโรงแรม (ชาเทรียม ซิตี้), สถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออก

ตั้งอยู่บนถนนบางนา-ตราด ช่วงกิโลเมตรที่ 0-1 ตรงข้ามศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เป็นโครงการศูนย์การค้าพหุภูมิภาคขนาดใหญ่แห่งแรกของกลุ่มเดอะมอลล์ มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 100 ไร่ มูลค่าการลงทุนรวมอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่มเดอะมอลล์ โดยวางรูปแบบและแนวคิดโครงการว่า "The Grand Metropolis of The Mall Group" และ "City within the City" (เมืองในเมืองที่สมบูรณ์แบบ) ออกแบบอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรม The Ultra Modern & Spectacular Architecture เมื่อเปิดให้บริการแล้วจะเป็นโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงยังเป็นหนึ่งในศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ธุรกิจห้างสรรพสินค้า

แก้
สาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ เขต/อำเภอ จังหวัดที่ตั้ง เปิดร่วมกับ
เดอะมอลล์
รามคำแหง ซอย 12 22 ธันวาคม พ.ศ. 2526 เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เดอะมอลล์ รามคำแหง ซอย 12
รามคำแหง ซอย 15,17 22 ธันวาคม พ.ศ. 2529 เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เดอะมอลล์ รามคำแหง ซอย 15,17
ท่าพระ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เอ็ม ไลฟ์สโตร์ ท่าพระ
งามวงศ์วาน 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เอ็ม ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน
บางแค 5 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เขตบางแค กรุงเทพมหานคร เอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค
บางกะปิ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ
นครราชสีมา 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เดอะมอลล์ โคราช
ดอนเมือง 26 มีนาคม พ.ศ. 2548 เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร สกายพอร์ต
เอ็มโพเรียม
เอ็มโพเรียม 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ดิ เอ็มดิสทริค
พารากอน
พารากอน 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สยามพารากอน
บลูพอร์ต
บลูพอร์ต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บลูพอร์ต

ธุรกิจร้านสินค้าจำเพาะ

แก้

ธุรกิจนำเข้าสินค้าแฟชัน

แก้

ดำเนินการในนามหน่วยธุรกิจ เอ็ม คิวเรเต็ด

  • สไตล์นันดา
  • บีมส์
  • อนาเธอร์ สตอรี
  • อนาเธอร์ แมน สตอรี

อ้างอิง

แก้
  1. "เปิดความสัมพันธ์ 40 ปี เดอะมอลล์ กับ ธนาคารกรุงเทพ | Brand Inside" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-10-26.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-03. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
  3. ""ดิ เอ็มดิสทริค" ดันกรุงเทพ เทียบชั้นมหานครโลก". mgronline.com. 2022-10-06.
  4. 4.0 4.1 “ยูโอบี” คว้าสิทธิใช้ซื้อ “UOB LIVE” ศูนย์จัดอีเวนต์ จุ 6 พันคน ใน ‘ดิ เอ็มสเฟียร์’ ลุ้นเปิดตัว Q 1/67
  5. "เดอะมอลล์ กรุ๊ป จับมือ AEG สร้างปรากฏการณ์ความบันเทิงระดับโลกครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.
  6. อิเกีย บุกกรุง เปิดสโตร์ใหม่ แห่งที่ 4 Emsphere บนถนนสุขุมวิท

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้