เอ็มสเฟียร์

ศูนย์การค้าในประเทศไทย

เอ็มสเฟียร์ (อังกฤษ: Emsphere, เขียนในรูปแบบ EMSPHERE) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมแห่งที่ 3 ในกลุ่มโครงการ ดิ เอ็มดิสทริค บริหารงานโดยกลุ่มเดอะมอลล์ โดยเน้นกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง โดยเริ่มเปิดให้บริการบางส่วนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 และในส่วนของยูโอบีไลฟ์ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[2]

เอ็มสเฟียร์
เอ็มสเฟียร์ logo
แผนที่
ที่ตั้ง628, 630 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร[1]
เปิดให้บริการ1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (บางส่วน)[2]
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (ยูโอบีไลฟ์)[2][3]
28 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (เอ็ม วันเดอร์)[4]
ผู้บริหารงานกลุ่มเดอะมอลล์ โดย บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด
สถาปนิกดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล[5]
บจก. สถาปนิก ดวงฤทธิ์ บุนนาค[5]
พื้นที่ชั้นขายปลีก200,000 ตร.ม.
จำนวนชั้น12 ชั้น รวม 2 ชั้นใต้ดิน (เอ็มสเฟียร์ ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์)
24 ชั้น รวม 2 ชั้นใต้ดิน (เอ็ม ทาวเวอร์)
ที่จอดรถ2,500 คัน[6]
ขนส่งมวลชน สถานีพร้อมพงษ์
เว็บไซต์https://emsphere.co.th/

ประวัติ

แก้

เอ็มสเฟียร์ เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมแบบผสมแห่งที่ 3 ในกลุ่มโครงการ ดิ เอ็มดิสทริค ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด ในกลุ่มเดอะมอลล์ สร้างบนที่ดินขนาดประมาณ 50 ไร่[7] ซึ่งเดิมเป็นโรงภาพยนตร์วอชิงตัน และวอชิงตันสแควร์[8] รวมไปถึงเคยเป็นโรงงานของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร[9] ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ติดกับแยกตัดซอยสุขุมวิท 31 (สวัสดี) ในพื้นที่แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

กลุ่มเดอะมอลล์เริ่มมีการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเดิมในปี พ.ศ. 2556[8] ปีต่อมาได้มีการเปิดตัวโครงการครั้งแรกที่งาน "ดิ โอเวนเชอร์ ทู เดอะ นิว เอรา ออฟ เดอะมอลล์ กรุ๊ป" เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ ไบเทค บางนา[10][11] โดยหลังจากงานเปิดตัวดังกล่าว กลุ่มเดอะมอลล์ได้นำพื้นที่ให้เช่าเป็นตลาด "อาร์ตบ็อกซ์ แอท ดิ เอ็มดิสทริค"[12][13], สวนสนุก "ไดโนซอร์ แพลนเน็ต"[14][15][16][17] และภัตตาคารลอยฟ้า "ดินเนอร์ อิน เดอะ สกาย ไทยแลนด์"[18] ตามลำดับ

เมื่อสวนสนุกหมดสัญญาเช่า กลุ่มเดอะมอลล์จึงเริ่มการก่อสร้างเอ็มสเฟียร์ ต่อมาได้มีงานเปิดตัวครั้งที่สองในงาน "ดิ เอ็มดิสทริค, เดอะ พัลส์ ออฟ แบงค็อก" ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องเพลนนารีฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[19] และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566[7]

การจัดสรรพื้นที่

แก้

เอ็มสเฟียร์ มีพื้นที่รวม 200,000 ตารางเมตร ใช้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท[20] ออกแบบโดยใช้แนวคิด "ธุรกิจค้าปลีกแห่งอนาคต"[7] โดยมีเป้าหมายเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงเช่นเดียวกับเอ็มโพเรียมและเอ็มควอเทียร์ แต่จะให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่มากกว่าสองศูนย์การค้าข้างต้น[21]

ภายในโครงการเอ็มสเฟียร์ ประกอบด้วยอาคารจำนวนสองหลังเชื่อมต่อกัน ประกอบด้วย อาคารคอมเพล็กซ์ ความสูง 12 ชั้น (รวม 2 ชั้นใต้ดิน) และเอ็มทาวเวอร์ ความสูง 24 ชั้น (รวม 2 ชั้นใต้ดิน) โดยมีพื้นที่สำคัญ อาทิ

  • เอ็ม มาร์เก็ต เป็นที่ตั้งของ กูร์เมต์ มาร์เก็ต[22][23] รวมถึงร้านอาหาร และแหล่งแฮงก์เอาท์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นร้านที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง
  • เอ็ม ลิฟวิ่ง วิธ อิเกีย เป็นอิเกียในรูปแบบซิตีสโตร์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[24] พื้นที่ 12,000 ตารางเมตร พร้อมร้านอาหารสวีเดนที่เปิดรับทิวทัศน์ของอุทยานเบญจสิริ[25]
  • เอ็ม วันเดอร์ เป็นพื้นที่กึ่งเปิดโล่ง ประกอบด้วย ไทรบ์ สกาย บีช คลับ[26] ร้านอาหารประเภทผับ บาร์ สถานบันเทิง[27] และสเฟียร์ฮอลล์[28]
  • เอ็ม ทาวเวอร์ เป็นอาคารสำนักงานความสูง 12 ชั้น ซึ่งจะเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ที่ย้ายออกจากอาคารเดอะมอลล์ รามคำแหง 3 เดิมที่จะปิดปรับปรุงทั้งอาคาร, บริษัทในกลุ่มซิตี้มอลล์กรุ๊ป ที่จะย้ายออกจากอาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ และอาคารภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์, ศูนย์ทรัพยากรมนุษย์ ที่จะย้ายออกจากพื้นที่จอดรถของเอ็มโพเรียม รวมถึงสำนักงานบริหารโครงการบลูพอร์ต และแบงค็อกมอลล์ ที่จะย้ายออกจากอาคารคูหาภายในซอยสุขุมวิท 24 มารวมที่อาคารหลังนี้ทั้งหมด
  • เอ็ม กลาส พื้นที่จัดกิจกรรมภายในอาคารเอ็ม ทาวเวอร์ ที่เปิดรับทิวทัศน์ของอุทยานเบญจสิริ โดยพื้นที่ดังกล่าวได้ใช้จัดพิธีเปิดโครงการและเฉลิมฉลองดิ เอ็มดิสทริค เป็นงานแรก[30]

โดยโครงการมีทางเชื่อมไปยัง เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์ และ สถานีพร้อมพงษ์[20][7] อีกทั้งยังมีบริการรถรับ-ส่ง ไปยังย่านทองหล่ออีกด้วย[23]

พื้นที่ในอนาคต

แก้

ในอนาคต เอ็มสเฟียร์ ยังมีพื้นที่ส่วนขยายอีก 2 จุด ดังต่อไปนี้

  • โรงแรมคอนราด กรุงเทพ สุขุมวิท ควีนส์ปาร์ค โรงแรมในกลุ่มความร่วมมือกับกลุ่มเบญจสิริอัลไลแอนซ์
  • อาคารโรงแรม โรงแรมที่กลุ่มเดอะมอลล์บริหารเอง ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 24 ด้านหลังอาคารวันฟีนิกซ์สแควร์ (โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพ สุขุมวิท 24)

การเดินทาง

แก้

รางวัลที่ได้รับ

แก้
  • พร็อพเพอร์ตี้กูรู ไทยแลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ อวอดส์ 2023 สาขาการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกยอดเยี่ยม[31]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เชค แช็ค กรุงเทพฯ สาขาสองมาแน่ที่ ดิ เอ็มสเฟียร์ พร้อมเปิดตัวด้วยนิทรรศการศิลปะจัดวาง ผลงานของศิลปินไทย P7 #beartai". #beartai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-11-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-11-08.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ""ยูโอบี" คว้าสิทธิใช้ซื้อ "UOB LIVE" ศูนย์จัดอีเวนต์ จุ 6 พันคน ใน 'ดิ เอ็มสเฟียร์' ลุ้นเปิดตัว Q 1/67". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-17. สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
  3. "AEG Global Partnerships signs first major naming rights deal since expanding into APAC live entertainment market – European Sponsorship Association". sponsorship.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-17. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  4. ชูเชิด, เอกพล (2024-06-30). "หลังจากเปิด EmSphere 7 เดือน โซนใหม่ Em Wonder เน้นความสนุกยามค่ำคืนก็เปิดแล้ว ! | BT". BT beartai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. 5.0 5.1 "ISA Behind the Scene 2023 ครั้งที่ 3 : "The Emsphere"". สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-20. สืบค้นเมื่อ 2023-11-21.
  6. "เจาะรายละเอียด EMSPHERE ความแตกต่างที่เติมเต็ม EM DISTRICT มีอะไรต่างจาก 2 ห้างเดิมบ้าง? #beartai". #beartai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-11-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-23. สืบค้นเมื่อ 2023-11-23.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 ""ดิ เอ็มดิสทริค" ดันกรุงเทพ เทียบชั้นมหานครโลก". mgronline.com. 2022-10-06.
  8. 8.0 8.1 Cole, Carleton (8 December 2013). "Bygone era of bars gone by". www.bangkokpost.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-07. สืบค้นเมื่อ 20 April 2020.
  9. "ใครทันเห็น พื้นที่สวนเบญจสิริ และแถว Emporium ตอนเป็นกรมอุตก่อนย้ายไปบางนาไหมครับ". Pantip. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-03. สืบค้นเมื่อ 2024-01-05.
  10. "สุดยิ่งใหญ่!! เปิด 6 เมกะโปรเจกต์ใหม่ "เดอะมอลล์ กรุ๊ป"". www.thairath.co.th. 2014-05-12.
  11. ""เดอะมอลล์ กรุ๊ป" ทุ่ม 5 หมื่นล้านผุด 6 โครงการรับเดสติเนชันมอลล์". mgronline.com. 2014-05-06.
  12. "Art Box at The Em District จัดกันกี่ครั้งคนก็แน่นเอี๊ยด!!". Toptotravel.com Lifestyle (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-06-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-24. สืบค้นเมื่อ 2023-04-24.
  13. "งานดีต้องไปโดน 12 ของกินในงาน The Glass by Artbox". kapook.com. 2016-03-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-24. สืบค้นเมื่อ 2023-04-24.
  14. ""ไดโนซอร์แพลนเน็ต" ตะลุยบุกสวนสนุกไดโนเสาร์ ที่เที่ยวใหม่ใจกลางกรุง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-05.
  15. "Is EmSphere Being Put On Hold For A Dinosaur Park?". WOS. 2 March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 20 April 2020.
  16. "ปิด "ไดโนซอร์ แพลนเน็ต" สวนสนุกใจกลางสุขุมวิท 20 เม.ย.นี้". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-05.
  17. "Fire at closed Dinosaur Planet theme park". www.bangkokpost.com. 4 May 2018. สืบค้นเมื่อ 20 April 2020.
  18. "ท้องฟ้าก็หยุดฉันไม่ได้! ไปกิน Dinner in the Sky มื้อค่ำกลางน่านฟ้ากรุงเทพฯ ที่สูงทะลุตึกสิบชั้น". soimilk.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-27. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
  19. "แหล่งช็อปสินค้าลักชัวรีโลก เปิดตัว "ดิ เอ็มสเฟียร์" แม่เหล็กใหม่ กทม". www.thairath.co.th. 2022-10-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-06. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.
  20. 20.0 20.1 "เปิด 10 ไฮไลต์ 'ดิ เอ็มสเฟียร์' ศูนย์การค้าใหม่ย่านสุขุมวิท มูลค่า 2 หมื่นล้าน". bangkokbiznews. 2023-11-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-16. สืบค้นเมื่อ 2023-11-16.
  21. "ไม่หวั่นชิงลูกค้ากันเอง! The Mall เทเงิน 1.5 หมื่นล้าน สร้าง 'ดิ เอ็มสเฟียร์' เปิดปลายปี 2566". THE STANDARD. 2022-10-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-06. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.
  22. Limited, Bangkok Post Public Company. "Gourmet Market expansion back on track". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-13.
  23. 23.0 23.1 ""EMSPHERE" แหล่งรวมชาวไนต์ไลฟ์ โซนของกิน "เปิด 7 โมง – ปิดตี 3" จัดรถรับส่ง "ทองหล่อ" ชวนมาสร่างที่ห้างฯ". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-11-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-21. สืบค้นเมื่อ 2023-11-21.
  24. "ผ่า "อิเกีย ซิตี้ เซ็นเตอร์ สโตร์" อาณาจักรเฟอร์นิเจอร์ ดักลูกค้าใจกลางกรุง". bangkokbiznews. 2022-06-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.
  25. "ชมก่อนใคร! 'IKEA สุขุมวิท' City Store แห่งแรกของอาเซียน และสาขาแรกที่อยู่ในกรุงเทพฯ (จริงๆ) จัดเต็มด้วยร้านอาหารที่เห็นวิวน้ำพุจากอุทยานเบญจสิริในทุกเย็น". THE STANDARD. 2023-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-28. สืบค้นเมื่อ 2024-01-05.
  26. "ศิลปิน วงดนตรี ป็อป อินดี้ แจ๊ส ร่วมส่งความสุข เคาท์ดาวน์ ที่ เอ็ม ดิสทริค". เดลินิวส์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-27. สืบค้นเมื่อ 2024-01-05.
  27. "ไม่หวั่นชิงลูกค้ากันเอง! The Mall เทเงิน 1.5 หมื่นล้าน สร้าง 'ดิ เอ็มสเฟียร์' เปิดปลายปี 2566". THE STANDARD. 2022-10-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-06. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.
  28. "เก็บตกความฟิน BamBam Fansign จัดเต็มความน่ารักในบรรยากาศสุด Exclusive". www.thairath.co.th. 2023-12-04.
  29. "เดอะมอลล์ กรุ๊ป จับมือ AEG สร้างปรากฏการณ์ความบันเทิงระดับโลกครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.
  30. "เปิดแล้ว เอ็มสเฟียร์ (EMSPHERE) แลนด์มาร์กใหม่ กลางสุขุมวิท พื้นที่ 2 แสน ตร.ม. เขย่าค้าปลีกไทย". THAIRATH Money. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-01. สืบค้นเมื่อ 2024-01-05.
  31. "PropertyGuru Thailand Property Award ครั้งที่ 18 ประกาศผลรางวัลสุดยอดโครงการอสังหาฯไทย ปี 2566". clubhoon (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-19. สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้