อิเกีย (สวีเดน: IKEA, ออกเสียง: [ɪˈkêːa]) คือตราสินค้าเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งบ้านจากประเทศสวีเดน[6] ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2486 โดย อิงวาร์ คัมปรัด เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2496[7] มี 231 สาขา ใน 33 ประเทศ โดยสาขาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป และบางส่วนในทวีปอเมริกา เอเชีย และออสเตรเลีย อิเกียมีชื่อเสียงในด้านเครื่องเรือนราคาย่อมเยา และเป็นตราสินค้าเครื่องเรือนตราแรกที่ขายเครื่องเรือนแบบถอดประกอบได้ โดยผู้ซื้อจะเดินเลือกสินค้าจากที่จัดแสดงไว้ และจดเลขรหัสของสินค้าที่ต้องการ จากนั้นจึงเดินไปเอากล่องบรรจุชิ้นส่วนจากห้องเก็บของ เพื่อเอาไปประกอบเองที่บ้าน[8]

อิเกีย
Inter IKEA Systems B.V.
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรมการค้าปลีก
ก่อตั้ง28 กรกฎาคม 1943; 81 ปีก่อน (1943-07-28)[1] ในประเทศสวีเดน
ผู้ก่อตั้งอิงวาร์ คัมปรัด
สำนักงานใหญ่เดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์
52°10′02″N 4°28′55″E / 52.1673°N 4.4819°E / 52.1673; 4.4819
จำนวนที่ตั้ง445 (2021)[2]
พื้นที่ให้บริการยุโรป
ตะวันออกกลาง
แอฟริกาเหนือ
เอเชียตะวันออก
อินเดีย
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โอเชียเนีย
อเมริกาเหนือ
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนพร้อมประกอบ, เครื่องใช้ในบ้าน, ผลิตภัณฑ์อาหาร
รายได้เพิ่มขึ้น 41.3 พันล้านยูโร (FY 2019)[5]
เว็บไซต์about.ikea.com
www.ingka.com
หน้าค้าปลีก www.ikea.com
อิเกียในสต็อกโฮล์ม

IKEA ในภาษาสวีเดนออกเสียงว่า "อิเคียยา" แต่ในภาษาอังกฤษจะออกเสียงว่า "ไอคีอา" [aɪˈkiːə]

แผนที่ประเทศที่มีร้านอิเกีย
สัญลักษณ์:
  ประเทศที่มีร้านอิเกีย
  ประเทศที่อิเกียมีแผนขยายสาขา
  ประเทศที่เคยมีร้านอิเกีย
  ประเทศที่อิเกียยังไม่มีแผนขยายสาขา

เปิดสาขาแรกในแต่ละพื้นที่

แก้
  • 1958, สวีเดน
  • 1963, นอร์เวย์
  • 1969, เดนมาร์ก
  • 1973, สวิตเซอร์แลนด์
  • 1974, ญี่ปุ่น
  • 1974, เยอรมนี
  • 1975, ออสเตรเลีย
  • 1975, แคนาดา
  • 1975, ฮ่องกง1
  • 1977, ออสเตรีย
  • 1978, สิงคโปร์
  • 1978, เนเธอร์แลนด์
  • 1980, สเปน
  • 1981, ไอซ์แลนด์
  • 1981, ฝรั่งเศส
  • 1983, ซาอุดีอาระเบีย
  • 1984, เบลเยียม
  • 1984, คูเวต
  • 1985, สหรัฐ
  • 1987, สหราชอาณาจักร
  • 1989, อิตาลี
  • 1990, ฮังการี
  • 1990, โปแลนด์
  • 1991, สาธารณรัฐเช็ก2
  • 1991, เซอร์เบีย3
  • 1991, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • 1992, สโลวะเกีย2
  • 1994, ไต้หวัน
  • 1996, ฟินแลนด์
  • 1996, มาเลเซีย
  • 1998, จีน
  • 2000, รัสเซีย (หยุดดำเนินการในปี 2022)
  • 2001, อิสราเอล
  • 2001, กรีซ
  • 2004, โปรตุเกส
  • 2005, ตุรกี
  • 2007, โรมาเนีย
  • 2007, ไซปรัส
  • 2008, ไอร์แลนด์
  • 2010, สาธารณรัฐโดมินิกัน
  • 2011, บัลแกเรีย
  • 2011, ไทย
  • 2012, มาเก๊า
  • 2013, ลิทัวเนีย
  • 2013, เปอร์โตริโก
  • 2013, อียิปต์
  • 2013, กาตาร์
  • 2014, จอร์แดน
  • 2014, โครเอเชีย
  • 2014, อินโดนีเซีย
  • 2014, เกาหลีใต้
  • 2016, โมร็อกโก
  • 2018, อินเดีย
  • 2018, ลัตเวีย
  • 2018, บาห์เรน
  • 2019, เอสโตเนีย
  • 2020, ยูเครน
  • 2021, เม็กซิโก
  • 2021, สโลวีเนีย
  • 2021, ฟิลิปปินส์
  • 2022, โอมาน
  • 2022, ชิลี

1 ฮ่องกงของบริเตนในขณะนั้น, 2 เป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกีย, 3 เป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย

อิเกียในประเทศไทย

แก้
อิเกีย บางนา

ในประเทศไทย บริษัท อิคาโน่ ตัวแทนของอิเกีย ได้ลงนามร่วมกับสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ของไทยในการสร้างศูนย์การค้าเมกาบางนาโดยอาคารสีน้ำเงิน จะเป็นศูนย์การค้าเครื่องเรือนและของตกแต่งบ้านของอิเกีย ส่วนอาคารสีเทาจะเป็นศูนย์การค้าครบวงจรของ สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ในส่วนของอิเกียนั้นเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ก่อนที่ส่วนศูนย์การค้าหลักจะเปิดให้บริการในปีต่อมา

หลังจากนั้นได้มีการเปิดศูนย์บริการสั่งซื้อและรับสินค้าอิเกีย ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และเปิดสาขาที่ 2 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561[9] โดยเป็นสาขาใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ขนาดพื้นที่ 50,278 ตรม.)[10] ก่อนจะถูกทำลายสถิติด้วยสาขาปาไซซิตี้ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ในโครงการเอสเอ็ม มอลล์ออฟเอเชีย และในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการปรับปรุงศูนย์บริการสั่งซื้อและรับสินค้าอิเกีย ภูเก็ต ให้กลายเป็นสาขารูปแบบคอมแพกต์สโตร์ขนาดเล็ก เพื่อรองรับต่อความต้องการที่เปลี่ยนไป โดยมีสินค้าเครื่องเรือนขนาดใหญ่วางขายในสาขา พร้อมกับใช้เป็นสาขาพักสินค้าของลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากระบบออนไลน์ ทำให้อิเกีย ภูเก็ต กลายเป็นสาขาที่สามของประเทศไทยไปโดยปริยาย

ต่อมาอิเกียวางแผนเปิดสาขาที่ 4 ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แต่จากการชักชวนของศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกลุ่มเดอะมอลล์ที่ให้เลือกมาเปิดบริเวณย่านพร้อมพงษ์ ทำให้อิเกียเลือกเปิดสาขาใหม่ที่ศูนย์การค้า เอ็มสเฟียร์ ถนนสุขุมวิท เป็นสาขาที่สี่และนับเป็นสาขาแรกในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้พื้นที่ชั้น 3 ทั้งชั้น พื้นที่รวม 12,000 ตารางเมตร ถือเป็นสาขารูปแบบซิตีสโตร์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียรองจากสาขาในฮ่องกง[11] โดยมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เช่นเดียวกับสาขาบางใหญ่และบางนา ยกเว้นการจัดส่งสินค้าจากคลัง ที่จะให้สาขาบางใหญ่ขนส่งสินค้าขนาดเล็กมาเติมสต็อกในมาร์เก็ตฮอลล์ ส่วนสาขาบางนาเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งสินค้าขนาดใหญ่ถึงลูกค้า[12] นอกจากนี้ยังมีบริการส่งสินค้าโดยใช้รถพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย[13]

จากนั้นอิเกียได้ประกาศความร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการร่วมกันพัฒนาโครงการ ฟิวเจอร์ คอนวีเนียนซ์ สโตร์ โครงการพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกรูปแบบใหม่โดย บริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ห้างสรรพสินค้าแม็คโคร สาขาหางดง จังหวัดเชียงใหม่[14] ซึ่งภายหลังประกาศความร่วมมือ อิเกีย ได้ขึ้นประกาศเปิดตัวสาขาเชียงใหม่เป็นสาขาที่ 5 ทันที โดยสาขานี้จะแตกต่างจาก 4 สาขาแรกคือนำรูปแบบของศูนย์บริการสั่งซื้อและรับสินค้าที่เคยเปิดให้บริการที่ภูเก็ตกลับมาใช้งานอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มส่วนของอิเกียแพลนนิ่งสตูดิโอเข้าไปด้วย และเรียกรวมกันว่า จุดออกแบบ และสั่งซื้อสินค้า อิเกีย เชียงใหม่[15]

นอกจากนี้ยังมีแผนเปิดสาขาใหม่บริเวณย่านรังสิต และเล็งขยายพื้นที่สาขาภูเก็ตให้ใหญ่ขึ้น[16]

สาขาอิเกียประเทศไทย
ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดดำเนินการ เขต/อำเภอที่ตั้ง จังหวัดที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน
บางนา 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 อำเภอบางพลี สมุทรปราการ เซ็นทรัล เมกาบางนา (เมกาซิตี้ บางนา)
ภูเก็ต 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 อำเภอเมืองภูเก็ต ภูเก็ต บายพาส บิชทาวน์ ภูเก็ต
บางใหญ่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 อำเภอบางใหญ่ นนทบุรี เซ็นทรัล เวสต์เกต
สุขุมวิท 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566[17] เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร เอ็มสเฟียร์
เชียงใหม่ มีนาคม พ.ศ. 2568 อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ ฟิวเจอร์ คอนวีเนียนซ์ สโตร์ แอท แม็คโคร หางดง

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Hitti, Natasha (2 August 2018). "IKEA celebrates 75th anniversary with vintage furniture collections". Dezeen. สืบค้นเมื่อ 25 August 2021.
  2. "IKEA's number of stores worldwide from 2013 to 2020". statista.com. สืบค้นเมื่อ 8 December 2020.
  3. "IKEA Has a New CEO". Fortune. 24 May 2017. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
  4. "IKEA finalizing its biggest overhaul in decades". Reuters. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
  5. Engel, Clint (25 September 2019). "IKEA's worldwide sales hit 45.4 billion". furnituretoday.com. สืบค้นเมื่อ 22 December 2020.
  6. "Ingvar Kamprad and IKEA". Harvard Business School Publishing, Boston, MA, 02163. 1996
  7. Collins, Lauren (October 3, 2011). "House Perfect". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  8. เปิดบ้านหลังแรก "อิเกีย บางนา" เมกะสโตร์เฟอร์นิเจอร์ 4.3 หมื่น ตร.ม.
  9. "อิเกีย"ควงเซ็นทรัลเปิดสาขา2ปักธง"บางใหญ่"
  10. เวปไซท์ข่าวสดภาคภาษาอังกฤษ
  11. "ผ่า "อิเกีย ซิตี้ เซ็นเตอร์ สโตร์" อาณาจักรเฟอร์นิเจอร์ ดักลูกค้าใจกลางกรุง". bangkokbiznews. 2022-06-22.
  12. ""อิเกีย สุขุมวิท" เหมาชั้น 3 ของ Emsphere ของครบเหมือนสาขาใหญ่ เตรียมเปิดปลายปี 66". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-06-21.
  13. ""อิเกีย สุขุมวิท" มาแล้ว! คาดทราฟฟิกเท่าฝั่ง "บางนา" สาขา "รังสิต" ยังอยู่ในแผน-ประเมินขยายพื้นที่ "ภูเก็ต"". Positioning Magazine. 2023-11-29.
  14. "CPFC ร่วมกับ CP AXTRA, CP All และ TRUE จับมือ IKEA และ Decathlon พลิกโฉมอนาคตร้านสะดวกซื้อ นำร่องบนทำเลแม็คโคร หางดง จ.เชียงใหม่ เริ่มมีนาคม '68 - Brand Buffet" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-11-06.
  15. "จุดออกแบบ และสั่งซื้อสินค้า อิเกีย เชียงใหม่". www.ikea.com.
  16. "IKEA ประกาศลดราคาสินค้า 25% หลังบริหารต้นทุน - เจรจาซัพพลายเออร์ได้ ปีหน้าเล็งลุย 'เชียงใหม่' ส่วนที่ดินผืนรังสิตกำลังวางแผน - Brand Buffet" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-03-31.
  17. ""ดิ เอ็มดิสทริค" ดันกรุงเทพ เทียบชั้นมหานครโลก". mgronline.com. 2022-10-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้