แบงค็อก มอลล์ (อังกฤษ: Bangkok Mall) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมและสถานีขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนเทพรัตน ช่วงกิโลเมตรที่ 0-1 ตรงข้ามศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บริหารงานโดยกลุ่มเดอะมอลล์ กำหนดการก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 กำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการบางส่วนภายในปี พ.ศ. 2568[3] โดยเมื่อเปิดทำการโครงการดังกล่าว ศูนย์การค้าและฮอลล์แสดงคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิง (แบงค็อกอารีน่า) จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ศูนย์การค้าจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงยังเป็นหนึ่งในศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

แบงค็อก มอลล์
ที่ตั้งถนนเทพรัตน แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
เปิดให้บริการพ.ศ. 2568 (ศูนย์การค้า) โดยคาดการณ์ [1]
พ.ศ. 2569 (BANGKOK ARENA)
พ.ศ. 2571 (ทั้งโครงการ)
ผู้บริหารงานบริษัท บางนา ชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ จำกัด[2] โดย
พื้นที่ชั้นขายปลีก873,082 ตารางเมตร
จำนวนชั้น7 ชั้น (ศูนย์การค้า)
51 ชั้น (อาคารสำนักงาน โรงแรม และคอนโดมิเนียม)
ที่จอดรถ8,000 คัน

รายละเอียดโครงการ แก้

ศูนย์การค้าแบงค็อก มอลล์ เป็นโครงการศูนย์การค้าแบบรีจีนัลมอลล์ขนาดใหญ่ มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 100 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นที่ดินของ ดร.ประสาน ภิรัช บุรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ภิรัชบุรี และชนะ รุ่งแสง[4] โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งเดอะมอลล์กรุ๊ป ภายในโครงการจะประกอบไปด้วยอาคารศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม อาคารที่อยู่อาศัยให้เช่าหรือเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ อาคารสำนักงานให้เช่า อีกทั้งยังได้วางรูปแบบโครงการในเบื้องต้นว่าเป็นโครงการแบบ City within the City หรือเมืองในเมืองที่สมบูรณ์แบบ ออกแบบอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรม The Ultra Modern & Spectacular Architecture มีพื้นที่รวมทั้งโครงการ 873,082 ตารางเมตร หากโครงการเสร็จสมบูรณ์จะเป็นศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และทำลายสถิติเดิมของ ไอโอไอ ซิตี้ มอลล์ ขึ้นเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก[5]

การจัดสรรพื้นที่ แก้

  • ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต พื้นที่รวม 80,000 ตารางเมตร
  • โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ 15 โรง ประกอบไปด้วยโรงภาพยนตร์มาตรฐาน 14 โรง และโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ 1 โรง
  • แบงค็อก อารีนา ฮอลล์แสดงคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิง ความจุ 16,000 ที่นั่ง โดยความร่วมมือกับ Anschutz Entertainment Group[6]
  • สวนสนุก พื้นที่ 30,000 ตารางเมตร
  • สวนน้ำ พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร
  • อาคารจอดรถ พื้นที่ 250,000 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 8,000 คัน
  • อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย สำนักงาน และโรงแรม
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออก พื้นที่ 7.5 ไร่ ประกอบไปด้วย
    • ชานชาลาเทียบรถขนาดใหญ่และชานชาลาเทียบรถตู้ร่วมให้บริการ โดยมีแผนย้ายท่ารถตู้ร่วมให้บริการที่ตั้งอยู่ด้านหน้าโครงการ เข้ามารวมกับตัวสถานีขนส่งภายในโครงการ
    • พื้นที่พักคอยผู้โดยสาร บริเวณชั้น G ของศูนย์การค้า โดยออกแบบและจัดทำในลักษณะเดียวกับโถงผู้โดยสารของสนามบิน

การคมนาคม แก้

อ้างอิง แก้

  1. บางนาคึกคัก “แบงค็อก มอลล์” ตอกเข็ม พ.ย. นี้ เสร็จปลายปี 63 ชู “แบงค็อก อารีน่า” ฮอลล์ระดับโลก
  2. "บางนาคึกคัก "แบงค็อก มอลล์" ตอกเข็ม พ.ย. นี้ เสร็จปลายปี 63 ชู "แบงค็อก อารีน่า" ฮอลล์ระดับโลก". mgronline.com. 2018-09-30.
  3. “เดอะมอลล์กรุ๊ป”เทงบแสนล.เดินหน้าแผนโรดแมพ5-6ปี
  4. "เปิดใจ "ศุภลักษณ์ อัมพุช" จากคำดูถูก "ห้างชั้นสอง" สู่อาณาจักร Em District กลางสุขุมวิท". THAIRATH Money.
  5. "เดอะมอลล์ ยักษ์ตื่น สร้างห้างใหม่สุขุมวิท-บางนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-08. สืบค้นเมื่อ 2014-05-06.
  6. "เดอะมอลล์ กรุ๊ป จับมือ AEG สร้างปรากฏการณ์ความบันเทิงระดับโลกครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-20.
  7. เดอะมอลล์ยกที่ดินย้ายสถานีเอกมัย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้