สถานีตลาดพลู
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สถานีตลาดพลู (อังกฤษ: Talat Phlu station; รหัส: S10) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลมส่วนต่อขยายแยกตากสิน–บางหว้า โดยสถานียกระดับเหนือถนนราชพฤกษ์บริเวณทางแยกรัชดา-ราชพฤกษ์ฝั่งมุ่งหน้าถนนเพชรเกษม ในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สถานีแห่งนี้สามารถเชื่อมต่อกับสถานีราชพฤกษ์ของรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) สายสาทร–ราชพฤกษ์ได้ และตั้งอยู่ไม่ไกลจากย่านตลาดพลูที่อยู่ถัดออกไปบริเวณใต้สะพานรัชดาภิเษกข้ามคลองบางกอกใหญ่และทางรถไฟสายแม่กลองซึ่งเป็นย่านการค้าและชุมชนเก่าแก่ของฝั่งธนบุรี
ตลาดพลู S10 Talat Phlu | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มุมมองสถานีจากถนนกรุงธนบุรี | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนราชพฤกษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°42′47″N 100°28′32″E / 13.71306°N 100.47556°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง ราชพฤกษ์ ตลาดพลู | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | S10 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[1] | ||||||||||
ชื่อเดิม | รัชดา–ราชพฤกษ์ | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 1,043,787 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
การเชื่อมต่ออื่น | |||||||||||
| |||||||||||
|
ที่ตั้ง
แก้สถานีตลาดพลูตั้งอยู่เหนือถนนราชพฤกษ์ ด้านทิศตะวันตกของทางแยกรัชดา–ราชพฤกษ์ ข้างซ้ายของสะพานข้ามแยกฝั่งมุ่งหน้าถนนเพชรเกษม บริเวณจุดตัดซอยเทอดไท 33 (วัดบางสะแก) ก่อนถึงสะพานข้ามคลองบางสะแก ในพื้นที่แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ในขณะที่เส้นทางนี้ยังเป็นเพียงโครงการ สถานีแห่งนี้มีชื่อว่า "สถานีรัชดาภิเษกฝั่งใต้" เพื่ออ้างอิงถึงถนนรัชดาภิเษกฝั่งใต้ และ "สถานีรัชดา–ราชพฤกษ์" ตามชื่อทางแยกรัชดา–ราชพฤกษ์ตามลำดับ แต่ภายหลังก็มีประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีตลาดพลู" เพื่อสื่อถึงย่านตลาดพลูในปัจจุบัน
สถานีแห่งนี้เปิดทำการอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 โดยเปิดให้บริการเพียงแค่ใช้ชานชาลา 3 ในการรับ–ส่งผู้โดยสารชั่วคราวจากวงเวียนใหญ่–โพธิ์นิมิตร–ตลาดพลู และเป็นสถานีปลายทางชั่วคราวในขณะที่สถานีวุฒากาศและสถานีบางหว้ายังสร้างไม่เสร็จ แต่หลังจากเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สถานีนี้ก็ไม่ได้เป็นสถานีปลายทางอีกต่อไป เพราะส่วนต่อขยายตากสิน–บางหว้าสร้างเสร็จทั้งโครงการแล้ว[2]
แผนผังของสถานี
แก้U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 3 | สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (วุฒากาศ) | |
ชานชาลา 4 | สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (โพธิ์นิมิตร) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง |
รูปแบบของสถานี
แก้เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด โดยชานชาลา 4 มีความกว้างน้อยกว่าปกติ เนื่องจากติดทางยกระดับถนนราชพฤกษ์ จึงทำให้ต้องออกแบบทางเข้า–ออกไปชั้นจำหน่ายตั๋วต้องสร้างแบบเลยพื้นที่สถานี
ทางเข้า-ออก
แก้- 1 ซอยเทอดไท 33
- 2 ซอยเทอดไท 33 (บันไดเลื่อน)
- 3 ถนนรัชดาภิเษก (บันไดเลื่อน)
- 4 สถานีรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 บริเวณคาซ่า คอนโด รัชดา–ราชพฤกษ์ และทางออก 2
เวลาให้บริการ
แก้ปลายทาง | ขบวนรถ | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสีลม[3] | ||||||
ชานชาลาที่ 3 | ||||||
S12 | บางหว้า | เต็มระยะ | 05.52 | 00.35 | ||
ชานชาลาที่ 4 | ||||||
W1 | สนามกีฬาแห่งชาติ | เต็มระยะ | 05.34 | 23.54 | ||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท | – | 23.39 | ||||
S7 | กรุงธนบุรี | รถเสริมบางหว้า–กรุงธนบุรี | – | 00.04 |
สถานีรถไฟทางไกล สถานีตลาดพลู
แก้สถานีรถไฟตลาดพลู เป็นสถานีรถไฟระดับ 4 ของทางรถไฟสายแม่กลอง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ 1.78 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ถนนริมทางรถไฟและถนนเทอดไทในพื้นที่แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร[4] สถานีรถไฟตลาดพลูเป็นสถานีรถไฟที่ไม่มีทางหลีก
สถานีก่อนหน้า | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
วุฒากาศ มุ่งหน้า มหาชัย
|
สายแม่กลอง สายวงเวียนใหญ่–มหาชัย
|
วงเวียนใหญ่ สถานีปลายทาง
|
รถโดยสารประจำทาง
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สีส้มแดง : เขตการเดินรถที่ 4
สีชมพู : เขตการเดินรถที่ 5
สีเหลือง : เขตการเดินรถที่ 6
รถเอกชน
สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)
ถนนรัชดาภิเษก
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
15 (2) | BRT ราชพฤกษ์ | บางลำภู | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
ขสมก. | |
68 (3) | อู่แสมดำ | บางลำภู | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
สมุทรสาคร | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||||
BRT ราชพฤกษ์ | คลองพิทยาลงกรณ์ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |||
101 (2) | อู่บรมราชชนนี | วัดยายร่ม | |||
195 (2) | อู่กัลปพฤกษ์ | อู่คลองเตย | |||
205 (3-51) (1) | อู่คลองเตย | เดอะมอลล์ท่าพระ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
ตลาดคลองเตย |
ถนนเทอดไท
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
4 (1) | ท่าเรือคลองเตย | ท่านํ้าภาษีเจริญ | ขสมก. | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-นํ้าเงิน |
|
111 (2) | วงกลม: เจริญนคร | ตลาดพลู | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง |
ถนนรัชดาภิเษก
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | เส้นทาง | เวลาเดินรถเที่ยวแรก (ต้นทาง) | เวลาเดินรถเที่ยวแรก (BRT ราชพฤกษ์) | เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (ต้นทาง) | เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (BRT ราชพฤกษ์) | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
15 (2) | BRT ราชพฤกษ์ | บางลำภู | 15 |
04:00 น. | 04:50 น. | 22:00 น. | 22:50 น. | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
ขสมก. | |
68 (3) | คลองพิทยาลงกรณ์/ม.จ.ธ | 68 |
04:00 น. | 05:00 น. | 18:40 น. | 19:40 น. | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง |
ถนนรัชดาภิเษก | ||||
---|---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | ||||
68 | BRT ราชพฤกษ์ | มจธ.บางขุนเทียน |
- ถนนราชพฤกษ์ (บริเวณสถานีบีอาร์ทีราชพฤกษ์) รถขสมก. สาย 68 101 2-28
- ถนนรัชดาภิเษก รถขสมก. สาย 15 68 101 195 205 209 รถเอกชน 57 108 147 547
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
แก้- รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษสายสาทร–ราชพฤกษ์ของกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อกับสถานีราชพฤกษ์ สถานีต้นทางบนถนนราชพฤกษ์ บริเวณใต้สะพานข้ามทางแยกรัชดา–ราชพฤกษ์ด้านทิศตะวันออก หรือบริเวณถนนรัชดาภิเษกตรงข้ามกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีลม
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "12ม.ค.56 BTS ถึงตลาดพลู ต้องเปลี่ยนรถที่วงเวียนใหญ่ก่อน-คนกรุงเฮทดลองใช้ฟรี". 30 November 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2014.
- ↑ "เปิดใช้สถานีรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 2 สถานี". 5 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 21 June 2014.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ "รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายแม่กลอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-28. สืบค้นเมื่อ 2009-08-28.