ชานชาลาด้านข้าง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานีที่มีรางคู่และชานชาลาสองข้าง
|
ชานชาลาด้านข้าง เป็นรูปแบบชานชาลาสถานีรถไฟซึ่งมี 2 ชานชาลา ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน โดยมีรางรถไฟเป็นตัวแบ่ง ส่วนใหญ่มักใช้แบ่งเป็นชานชาลารถเที่ยวขึ้น-ล่อง การก่อสร้างชานชาลาลักษณะนี้ไม่ยุ่งยาก แต่มีประสิทธิภาพน้อย เพราะไม่สะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถ หรือเปลี่ยนเส้นทาง
รูปแบบ
แก้เนื่องจากข้ามชานชาลาด้านข้างจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่ง ต้องผ่านทางรถไฟ ซึ่งบางครั้งการเดินข้ามรางอาจทำให้เกิดการอันตรายได้ จึงต้องมีวิธีการเดินผ่านที่แตกต่างกันดังนี้ ดังนี้
- เดินผ่านโดยใช้สะพานลอยข้ามรางรถไฟ ซึ่งพบเห็นได้ตามสถานีรถไฟบางแห่ง เช่น สถานีรถไฟสามเสน สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เป็นต้น รวมถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ก็ใช้วิธีข้ามชานชาลาในลักษณะเดียวกัน
- เดินผ่านโดยใช้ทางเดินลอดใต้รางรถไฟ ลักษณะนี้ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก การรถไฟฯ ได้นำทางเดินลอดใต้รางรถไฟมาใช้กับสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ได้แก่สถานีบางบำหรุ
- เดินผ่านโดยใช้ชั้นจำหน่ายตั๋วซึ่งอยู่ชั้นล่าง ลักษณะพบเห็นได้มากในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งสถานีเกือบทั้งหมด จะใช้ลักษณะนี้ เช่น สถานีหมอชิต สถานีอ่อนนุช เป็นต้น
- เดินผ่านโดยใช้ชั้นจำหน่ายตั๋วซึ่งอยู่ชั้นบน ลักษณะพบเห็นได้ในสถานีโครงสร้างใต้ดินของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งพบเห็นได้ 3 สถานี คือ สถานีคลองเตย สถานีสีลม และสถานีบางซื่อ
การใช้ในประเทศไทย
แก้- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และสายสีลม ทุกสถานี ยกเว้นสถานีสำโรง สยาม ห้าแยกลาดพร้าว และวัดพระศรีมหาธาตุ
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง สถานีเจริญนคร และคลองสาน
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีคลองเตย บางซื่อ เตาปูน ชั้นชานชาลาล่างของสถานีท่าพระ และสถานียกระดับอื่น ๆ ทุกสถานี ตั้งแต่สถานีบางไผ่ - สถานีหลักสอง และตั้งแต่สถานีจรัญฯ 13 - สถานีบางโพ
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม สถานีหอสมุดแห่งชาติ ดาวคะนอง บางปะแก้ว บางปะกอก แยกประชาอุทิศ ราษฎร์บูรณะ พระประแดง และครุใน[1]
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย คลองบ้านม้า สัมมากร น้อมเกล้า ราษฎร์พัฒนา มีนพัฒนา เคหะรามคำแหง มีนบุรี และแยกร่มเกล้า[2]
- สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ทุกสถานี ยกเว้นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ดอนเมือง และรังสิต (สำหรับสถานีบางบำหรุเป็นการผสมผสานกับชานชาลาเกาะกลาง)
- สถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทุกสถานี ยกเว้นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา และท่าอากาศยานอู่ตะเภา
- สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทุกสถานี
- สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ทุกสถานี[3]
- สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทุกสถานี ยกเว้นสถานีศรีรัช และอิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับสถานีเมืองทองธานีเป็นการผสมผสานกับชานชาลาเกาะกลาง เพื่อรองรับสายแยกอิมแพคลิงก์
- สถานีรถไฟฟ้าสายสีเทาส่วนเหนือ ทุกสถานี ยกเว้นสถานีวัชรพล และทองหล่อ
- สถานีรถไฟทางไกล เช่น สถานีรถไฟสามเสน สถานีรถไฟบางเขน สถานีรถไฟหลักสี่ สถานีรถไฟดอนเมือง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)" (PDF). 19 กุมภาพันธ์ 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-ลำสาลี-มีนบุรี" (PDF). 23 ธันวาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ รายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วง แคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)[ลิงก์เสีย] โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร