สถานีสำโรง

สถานีเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีเหลือง

สถานีสำโรง เป็นสถานีรถไฟฟ้าในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีสำโรงแก้ไข

สำโรง
Samrong
 
 
สถานีสำโรง ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาย สายสุขุมวิท 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีสำโรง
ถนนสุขุมวิท
เขต/อำเภออำเภอเมืองสมุทรปราการ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาแบบเกาะกลาง
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี 
ทางออก6
บันไดเลื่อน9
ลิฟต์4
เวลาให้บริการ05.00 - 24.00น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ3 เมษายน พ.ศ. 2560
ที่ตั้ง
 
แผนที่จากเว็บไซต์รถไฟฟ้าบีทีเอส
หมายเหตุ

สถานีสำโรง (อังกฤษ: Samrong Station, รหัส E15) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสุขุมวิท ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร โดยยกระดับเหนือถนนสุขุมวิท บริเวณสะพานข้ามคลองสำโรง เป็นสถานีต้นทางของในเส้นทางช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และเป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีแรกที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร (โดยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ)

ที่ตั้งแก้ไข

ถนนสุขุมวิท ระหว่างสะพานข้ามคลองสำโรงกับทางแยกเทพารักษ์ ในพื้นที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

บริเวณสถานีสำโรงนี้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญจุดหนึ่งของสมุทรปราการ เนื่องจากเป็นย่านการค้าแหล่งใหญ่ มีชุมชนอย่างหนาแน่น มีแยกเทพารักษ์ที่เชื่อมต่อไปยังถนนศรีนครินทร์ และอำเภอบางพลี ใกล้กันยังมีทางแยกปู่เจ้าสมิงพรายที่สามารถเชื่อมไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา, ท่าน้ำปู่เจ้าสมิงพราย, อำเภอพระประแดง, ฝั่งธนบุรี รวมถึงถนนพระรามที่ 3 ซึ่งเชื่อมต่อมายังจังหวัดสมุทรปราการได้ด้วยสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ในอนาคตสถานีสำโรงยังอาจใช้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองบริเวณแยกเทพารักษ์ และปู่เจ้าสมิงพราย

แผนผังของสถานีแก้ไข

U3
ชานชาลา
ชานชาลา 1  สายสุขุมวิท  มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2  สายสุขุมวิท  มุ่งหน้า สถานีคูคต
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1 - 6, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,
พื้นที่เชื่อมต่อ  สายสีเหลือง  สถานีสำโรง (กำลังก่อสร้าง), ทางเดินเชื่อมศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนสุขุมวิท, แยกเทพารักษ์

เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีสำโรง และสถานีเคหะฯ เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนของวันจันทร์-ศุกร์ รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีสำโรง จะใช้ชานชาลาที่ 1 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีเคหะฯ จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาเดิม โดยจะมีเสียงประกาศแจ้งบนสถานีเป็นระยะ

ทั้งนี้หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาเร่งด่วน รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดการให้บริการที่สถานีสำโรง บางขบวนจะกลับเข้าให้บริการขบวนรถเต็มระยะตั้งแต่สถานีสำโรง-สถานีคูคต หรือให้บริการระยะสั้นจากสถานีสำโรง-สถานีหมอชิต เพื่อกลับเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต โดยผู้โดยสารสามารถตรวจสอบได้จากเสียงประกาศภายในขบวนรถไฟฟ้า หรือกรณีเป็นขบวนรถรุ่นใหม่สามารถตรวจสอบสถานีปลายทางได้ที่หน้าจอแสดงผลการเดินรถ

รูปแบบสถานีแก้ไข

กว้าง 22.6 เมตร ยาว 150 เมตร มีช่วงพื้นที่รองรับรางรถไฟยาว 135 เมตร ประกอบด้วยชั้นจำหน่ายตั๋ว และชั้นชานชาลา โดยชานชาลาจะเป็นแบบชานชาลาเกาะกลาง (Island Platform) เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถ กรณีที่ผู้ให้บริการเป็นอีกราย มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Platform Screen Doors

สิ่งอำนวยความสะดวกแก้ไข

  • ลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
  • ทางเดินเชื่อมจากสถานีไปยังตลาดสำโรง ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ และบิ๊กซี สำโรง

สัญลักษณ์ของสถานีแก้ไข

เดิมกำหนดให้ใช้เป็นรูปประตูป้อมปราการ สื่อถึงประตูเมืองเข้าจังหวัดสมุทรปราการ[1] แต่ปัจจุบันเน้นใช้สีเขียวอ่อน ตกแต่งรั้วและเสา บริเวณสถานี ชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายบอกทางและทางเข้าออกสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีด้านตะวันออก

ทางเข้าออกสถานีแก้ไข

  • 1 ทางเดินข้ามคลองสำโรง (ด้านเหนือของสถานี)
    • ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง (สะพานเชื่อม) , ตลาดสำโรง , โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ (บันไดเลื่อน)
    • ตลาดเอี่ยมเจริญ , ซอยสุขุมวิท 113
  • 2 โรงน้ำแข็งสำโรง , ไปรษณีย์สำโรง , ซอยสุขุมวิท 80
  • 3 สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ,  สายสีเหลือง  สถานีสำโรง, ป้ายรถประจำทางไปถนนเทพารักษ์ อำเภอบางพลี (บันไดธรรมดาและลิฟต์)
  • 4 ทางเดินข้ามทางแยกสำโรง (ด้านใต้ของสถานี)
    • ปากทางแยกเทพารักษ์ ทิศใต้ ป้ายรถประจำทางไปปากน้ำ บางปู (บันไดเลื่อนขึ้นและบันไดธรรมดา ใช้ร่วมกับ  สายสีเหลือง )
    • ถนนสุขุมวิทขาเข้า, แยกปู่เจ้าสมิงพราย (บันไดเลื่อน)
  • 5 ปากทางแยกเทพารักษ์ ทิศเหนือ ป้ายรถประจำทางไปบางนา (ลิฟต์)
  • 6 ซอยนครทอง 1, ซอยนครทอง 2 (ลิฟต์)

จุดรวมพล อยู่ที่ ทางออก 2 บริเวณหน้าไปรษณีย์สำโรง และ ทางออก 3 บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ

เวลาให้บริการแก้ไข

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท
ชานชาลาที่ 1
  เคหะฯ เต็มระยะ 05.15 00.36
ชานชาลาที่ 2
  คูคต เต็มระยะ 05.15 23.39
ปลายทางห้าแยกลาดพร้าว - 00.01

การแก้ปัญหาจราจรบริเวณแยกเทพารักษ์ และแยกปู่เจ้าสมิงพรายแก้ไข

สนข. และกรมทางหลวงได้พิจารณาหารือร่วมกัน เพื่อปรับปรุงกายภาพของถนน ได้แก่การเพิ่มช่องจราจรถนนสุขุมวิทบริเวณแยกจาก 6 เป็น 8 ช่องจราจร และขยายสะพานข้ามคลองสำโรงจาก 4 เป็น 6 ช่องจราจร โดยไม่สร้างสะพานลอยข้ามแยก ทำให้สถานีสำโรงยังคงมีตำแหน่งที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อของผู้ใช้บริการขนส่งมวลชน และไม่ต้องยกสถานีสูงเกินไป[2] แต่มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อถอนตึกด้านข้างเพื่อทำการขยายถนน ซึ่งได้มีการต่อต้านจากประชาชนในย่านสำโรง โดยขึ้นป้ายประท้วงและบอกให้สร้างได้โดยไม่ต้องขยายถนน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วถ้าไม่ทำการขยายถนนเสียก่อนจะทำให้การจราจรติดขัดมากขึ้นไปอีก

สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีสำโรงแก้ไข

สำโรง
Samrong
 
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ในฐานะทรัพย์สินของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
สาย สายสีเหลือง 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีสำโรง
ถนนเทพารักษ์
เขต/อำเภออำเภอเมืองสมุทรปราการ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาแบบข้าง
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี YL23 
ทางออก4 (ใช้ร่วมกับสายสุขุมวิท 2 ทางออก)
บันไดเลื่อน6
ลิฟต์4
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00 น.
ประวัติ
เปิดให้บริการพ.ศ. 2566
ที่ตั้ง
 

สถานีสำโรง (อังกฤษ: Samrong Station, รหัส YL23) เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองโดยจะยกระดับใกล้สามแยกถนนเทพารักษ์

ที่ตั้งแก้ไข

ถนนเทพารักษ์ บริเวณปากซอยเทพารักษ์ 2 ใกล้สามแยกตัดถนนสุขุมวิท ในพื้นที่ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

แผนผังของสถานีแก้ไข

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1  สายสีเหลือง  สถานีปลายทาง
ชานชาลา 2  สายสีเหลือง  มุ่งหน้า สถานีลาดพร้าว
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร,  สายสุขุมวิท  สถานีสำโรง
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนเทพารักษ์

ทางเข้าออกสถานีแก้ไข

  • 1 สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ (ลิฟต์และบันไดธรรมดาซึ่งใช้ร่วมกับ  สายสุขุมวิท )
  • 2 ตลาดเทพารักษ์
  • 3 ซอยเทพารักษ์ 4
  • 4 ปากทางแยกเทพารักษ์ ทิศใต้, ป้ายรถประจำทางไปปากน้ำ บางปู (บันไดเลื่อนขึ้นและบันไดธรรมดา ใช้ร่วมกับ  สายสุขุมวิท )

รถโดยสารประจำทางแก้ไข

ถนนสุขุมวิท รถขสมก. สาย 2 23 25 45 102 129 142 508 511 536  รถชานเมือง สาย 365 1141

สถานที่สำคัญใกล้เคียงแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. สัญลักษณ์ประจำสถานี ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ , สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562
  2. เอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชน ครั้งที่ 2 งานออกแบบรายละเอียดโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมแกรนด์ อินคำ จ.สมุทรปราการ

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°38′49″N 100°35′45″E / 13.646938°N 100.595829°E / 13.646938; 100.595829

สถานีใกล้เคียงแก้ไข

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีแบริ่ง
มุ่งหน้า สถานีคูคต
   สายสุขุมวิท    สถานีปู่เจ้า
มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
สถานีทิพวัล
มุ่งหน้า สถานีลาดพร้าว
   สายสีเหลือง    สถานีปลายทาง