สถานีดอนเมือง (อังกฤษ: Don Mueang Station; รหัสสถานี: RN08) เป็นสถานีรถไฟและสถานีรถไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ด้านหน้าและเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง ในพื้นที่แขวงดอนเมืองและแขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา และยังเป็นสถานีของรถไฟทางไกลในเส้นทางทางรถไฟสายเหนือ และทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ยกระดับเหนือถนนกำแพงเพชร 6 เปิดให้บริการเฉพาะส่วนสถานีรถไฟฟ้าเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยในส่วนของสถานีรถไฟทางไกลเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นเส้นทางโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์, รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ดอนเมือง
RN08

Don Mueang
ชานชาลายกระดับรถไฟทางไกล
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งแขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°55′11″N 100°36′04″E / 13.919727°N 100.601072°E / 13.919727; 100.601072พิกัดภูมิศาสตร์: 13°55′11″N 100°36′04″E / 13.919727°N 100.601072°E / 13.919727; 100.601072
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รถไฟทางไกล)
รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. (SRTET) (สายสีแดงเข้ม)
สาย
ชานชาลา8
ราง8
การเชื่อมต่อท่าอากาศยาน ดอนเมือง
รถโดยสารประจำทาง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ระดับชานชาลา4
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1017 (ดม.), RN08
ประเภทชั้น 1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ26 มีนาคม พ.ศ. 2439; 127 ปีก่อน (2439-03-26) (ระดับพื้นดิน)
2 สิงหาคม พ.ศ. 2564; 2 ปีก่อน (2564-08-02) (ยกระดับ)
ปิดให้บริการ19 มกราคม 2566 (2566-01-19) (ระดับพื้นดิน)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
กรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีปลายทาง
สายเหนือ
รถไฟทางไกล
รังสิต
มุ่งหน้า เชียงใหม่
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
รถไฟทางไกล
รังสิต
มุ่งหน้า อุบลราชธานี หรือ หนองคาย
ชุมทางบางซื่อ สายเหนือ
รถไฟชานเมือง
รังสิต
มุ่งหน้า เชียงใหม่
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
รถไฟชานเมือง
รังสิต
มุ่งหน้า อุบลราชธานี หรือ หนองคาย
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้า สายสีแดง สถานีต่อไป
การเคหะ สายสีแดงเข้ม หลักหก
มุ่งหน้า รังสิต
ที่ตั้ง
Map
หมายเหตุ
ชานชาลาสถานีรถไฟเดิม

ที่ตั้ง แก้ไข

ถนนกำแพงเพชร 6 บริเวณด้านหน้าท่าอากาศยานดอนเมือง ในพื้นที่แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

สถานีดอนเมืองเดิมสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 โดยตั้งอยู่ฝั่งเดียวกับท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนวิภาวดีรังสิตและการก่อสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ เมื่อ พ.ศ. 2508 จึงต้องสร้างสถานีขึ้นใหม่ฝั่งเดียวกับวัดดอนเมืองแทน และในคราวก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จึงมีการปรับตำแหน่งสถานีจากเดิมที่อยู่ด้านหน้าโรงแรมอมารีดอนเมือง มายังบริเวณด้านหน้าตลาดใหม่ดอนเมืองแทน ทั้งนี้สถานีดอนเมืองเดิมยกเลิกการรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางรถไฟสายเหนือ และทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากที่มีการย้ายรถไฟทางไกลขึ้นทางยกระดับร่วมกับทางรถไฟฟ้าสายสีแดงตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[1]

แผนผังสถานี แก้ไข

U4
ชั้นชานชาลาบน
(รถไฟฟ้าชานเมือง)
ชานชาลา 1 สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า รังสิต
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 2 สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า รังสิต
ชานชาลา 3 สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า กรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 4 สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า กรุงเทพอภิวัฒน์
U3
ชั้นชานชาลาล่าง
(รถไฟทางไกล)
ชานชาลา 5 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า ชุมทางบ้านภาชี
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 6 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า ชุมทางบ้านภาชี
ชานชาลา 7 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า กรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 8 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า กรุงเทพอภิวัฒน์
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเดินเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง
G
ระดับถนน
- ถนนกำแพงเพชร 6, ท่าอากาศยานดอนเมือง (อาคารผู้โดยสารในประเทศ), ตลาดใหม่ดอนเมือง

รูปแบบของสถานี แก้ไข

เป็นแบบชานชาลาเกาะกลางแบบแยก (island platform station) ขนาดมาตรฐานยาว 230 เมตร ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18-20 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา ชั้นชานชาลารถไฟทางไกลออกแบบให้มีการติดตั้งพัดลมดูดควัน สำหรับใช้ระบายควันจากรถจักรดีเซลออกสู่ปลายสถานีทั้งสองฝั่งอย่างรวดเร็ว

ทางเข้า-ออก แก้ไข

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่

  • 1, 3 ถนนเชิดวุฒากาศ, ตลาดใหม่ดอนเมือง
  • 2, 4 ถนนกำแพงเพชร 6, ถนนเชิดวุฒากาศ, ตลาดใหม่ดอนเมือง, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเชิดวุฒากาศ
  • 5 ถนนวิภาวดี-รังสิต ขาออก (มุ่งหน้าถนนพหลโยธิน)
  • 6 ถนนวิภาวดี-รังสิต ขาออก (มุ่งหน้าถนนพหลโยธิน),
  • 7 ท่าอากาศยานดอนเมือง อาคารผู้โดยสารในประเทศ (สะพานเชื่อม)

เวลาให้บริการ แก้ไข

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายธานีรัถยา
ชานชาลาที่ 1 และ 2
RN10 รังสิต จันทร์ - อาทิตย์ 05:46 00:16
ชานชาลาที่ 3 และ 4
RN01 กรุงเทพอภิวัฒน์ จันทร์ - อาทิตย์ 05:37 00:07

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. "ดีเดย์ 'ศักดิ์สยาม' นำทีมเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์สถานีกลางฯ-มธ.รังสิต". ไทยโพสต์. 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)