สถานีรถไฟหนองคาย
สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟปลายทางของขบวนรถไฟโดยสารภายในประเทศในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และเป็นสถานีสุดท้ายก่อนออกจากเขตประเทศไทย
สถานีรถไฟหนองคาย | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() บริเวณชานชาลาสถานีรถไฟหนองคาย | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000 | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 | ||||||||||||||||
ราง | 6 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ที่จอดรถ | ด้านหลังสถานีรถไฟ | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 2208 (นค.) | ||||||||||||||||
ประเภท | 1 | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 | ||||||||||||||||
ชื่อเดิม | หนองคายใหม่ | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||||||||
![]() |
เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดหนองคาย ซึ่งใช้แทนสถานี (ที่หยุดรถไฟ) ตลาดหนองคาย ที่เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดเดิม
สถานีรถไฟหนองคายเป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวในจังหวัดหนองคายที่ระดับสถานีรถไฟ เป็นระดับ 1 มีจำนวนย่านทางรถไฟ 4 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 3 ทาง ในทางหลีกมีทางตัน 2 ทาง ทางติดชานชาลา 2 ทาง ทางเหนือของสถานี มีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่1 ที่เป็นชายแดนประเทศไทยกับประเทศลาว มีความยาว 1,170 เมตร ระหว่างกิโลเมตรที่ 623.00 ถึง 756.00 อยู่ระหว่างสถานีรถไฟหนองคาย กับสถานีรถไฟท่านาแล้ง
สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้ง(เวียงจันทน์) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ
สถานีรถไฟหนองคายเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ(สถานีกลางบางซื่อ) - หนองคาย ช่วงสถานีรถไฟนครราชสีมา - หนองคาย ใช้ชื่อสถานี"หนองคาย" รหัสสถานี HNE11 เปิดใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2573[1]
ประวัติ
ครั้งที่ | วันเดินรถในนามสถานีรถไฟหนองคาย | ตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบัน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | 13 กันยายน พ.ศ. 2498 - 1 มกราคม พ.ศ. 2501[2] | เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟนาทา ในปัจจุบัน | |
2 | 1 มกราคม พ.ศ. 2501 - ช่วงปี พ.ศ. 2545-2549 | เป็นที่ตั้งที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ในปัจจุบัน | |
3 | ช่วงปี พ.ศ. 2545-2549 - ปัจจุบัน | สถานีรถไฟหนองคาย ในปัจจุบัน[3] |
สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟปลายทางในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้วยังเป็นเส้นทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้ง(เวียงจันทน์) จึงสร้างรางรถไฟไว้บริเวณกลางสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 จากนั้นได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยก่อสร้างทางรถไฟจากกลางสะพานมิตรภาพเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่(ปัจจุบัน)
การก่อสถานีรถไฟหนองคาย (ปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการรถไฟ ได้ดำเนินการก่อทางรถไฟสายหนองคาย(ใหม่)–ท่านาแล้ง ให้มีการเปิดการเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนให้มาหยุดปลายทางที่สถานีนี้ ช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2549 และในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 หลังจากย้ายเส้นทางรถไฟเบนไปทางสะพานมิตรภาพ และปิดเส้นทาง/การเดินรถไปยังที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ซึ่งได้มีการทดลองเดินรถครั้งแรกจากสถานีรถไฟหนองคาย ไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้ง แล้วได้มีพิธีเปิดเดินรถปฐมฤกษ์และเปิดสถานีรถไฟหนองคาย(ใหม่)อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 การนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟอุดรธานีถึงหนองคาย เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีดังกล่าว จากนั้นพระองค์ประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้งในประเทศลาว ตามคำกราบทูลบังคมทูลของบุนยัง วอละจิด รองประธานาธิบดีลาว แล้วจึงเสด็จกลับพระนคร[4]
ผลการสร้างสถานีรถไฟแห่งใหม่
ซึ่งผลของการเดินรถเส้นทางใหม่ที่เบนเส้นทางไปหาสะพานมิตรภาพนี้ เป็นเหตุทำให้ต้องสร้างสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่(ปัจจุบัน) ใช้แทนสถานีรถไฟหนองคาย(เดิม) โดยใช้ชื่อสถานีรถไฟหนองคาย แล้วลดระดับและเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟตลาดหนองคาย(เดิม)เพื่อป้องกันความสับสนกับสถานีรถไฟหนองคาย(ปัจจุบัน) เป็นที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย แล้วมีการเปิดเดินรถไฟระหว่าง หนองคาย-ตลาดหนองคาย ช่วงปี พ.ศ. 2545-2551 จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2551 ก็ยกเลิกการเดินรถไฟมาที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนำที่ดินของที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายจำนวน 30 ไร่ไปทำประโยชน์อื่นเพื่อสร้างรายได้[5]
การเชื่อมต่อสถานีท่านาแล้ง
มีการเดินรถในเส้นทางหนองคาย–ท่านาแล้งตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะประเทศลาวยังไม่มีกิจการรถไฟเป็นของตนเอง มีรถไฟสองขบวนไป-กลับระหว่างสถานีรถไฟหนองคายกับท่านาแล้งทุกวัน ระยะเวลาเดินทางราว 15 นาที ก่อนเดินทางต้องทำหนังสือผ่านแดนก่อนเดินทางทุกครั้ง[6] และยังมีขบวนรถไฟอีสเทิร์นแอนด์โอเรียนทัลเอ็กซ์เพรสให้บริการในบางโอกาส
ตารางเวลาการเดินรถ
- ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564
เที่ยวไป
ขบวนรถ | ต้นทาง | หนองคาย | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ท415 | นครราชสีมา | 06.20 | ปลายทาง | หนองคาย | 12.05 | |
ด75 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 08.45 | ปลายทาง | หนองคาย | 17.30 | |
ด77 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 18.35 | ปลายทาง | หนองคาย | 03.45 | งดเดินรถ |
ดพ25 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.25 | ปลายทาง | หนองคาย | 06.25 | |
ร133 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 21.25 | ปลายทาง | หนองคาย | 07.55 | |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
เที่ยวกลับ
ขบวนรถ | ต้นทาง | หนองคาย | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ด76 | หนองคาย | 07.45 | ต้นทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.35 | |
ท418 | หนองคาย | 12.55 | ต้นทาง | นครราชสีมา | 18.35 | |
ด78 | หนองคาย | 18.30 | ต้นทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 04.35 | งดเดินรถ |
ร134 | หนองคาย | 18.50 | ต้นทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.30 | |
ดพ26 | หนองคาย | 19.40 | ต้นทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.50 | |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
อ้างอิง
- ↑ "รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย", วิกิพีเดีย, 2021-07-17, สืบค้นเมื่อ 2021-07-17
- ↑ คำสั่งทั่วไป ที่ ก.๑๑๒/๗๕๙๙ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ตั้งชื่อสถานีที่ต่อจากสถานีหนองคายไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงว่าสถานี "หนองคาย" และเปลี่ยนชื่อสถานีหนองคายเดิม เป็นสถานี "นาทา" สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562.
- ↑ หนองคาย สถานีรถไฟขนาดใหญ่ปลายทางในเขตไทยของสายอีสานตอนบน สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562.
- ↑ “สมเด็จพระเทพฯ” เสด็จเปิดรถไฟไทย-ลาวปฐมฤกษ์ - ชาวลาวภูมิใจรถไฟสายประวัติศาสตร์เส้นทางแรก[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
- ↑ สั่งรถไฟเร่งแผนที่ดิน หลายแปลงมีลุ้นประมูล-ต่อสัญญารอบใหม่[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
- ↑ “สมเด็จพระเทพฯ” เสด็จเปิดรถไฟไทย-ลาวปฐมฤกษ์ - ชาวลาวภูมิใจรถไฟสายประวัติศาสตร์เส้นทางแรก[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561