ทางยกระดับอุตราภิมุข
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทลล์เวย์ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โทลล์เวย์ เป็นทางด่วนสายหนึ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง และบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) โดยมีการแบ่งการบริหารจัดการทางยกระดับเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ทางยกระดับดินแดง–ดอนเมือง เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 และเป็นทางหลวงสัมปทาน และส่วนทางยกระดับอนุสรณ์สถาน−รังสิต เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 มีแนวสายทางเริ่มจากบริเวณเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 28.224 กิโลเมตร[1] โดยเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2537
ดอนเมืองโทลล์เวย์ | |
ทางยกระดับอุตราภิมุขซ้อนอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 28.224 กิโลเมตร (17.538 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2537–ปัจจุบัน |
ประวัติ | แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2541 |
ทางหลวงที่เป็น ส่วนประกอบ |
|
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศใต้ | ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ในเขตพญาไท กรุงเทพฯ |
ปลายทางทิศเหนือ | ทล.พ.5 (โครงการในอนาคต) ใน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
ประวัติ
แก้วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างทางยกระดับอุตราภิมุข คือ การแก้ปัญหาการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตและถนนพหลโยธิน โดยในระยะแรก กรมทางหลวงมีโครงการที่จะขยายช่องจราจรของถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเป็นการรองรับการสัญจรของรถยนต์ที่จะไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตมีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกวัน จนติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วน แต่อุปสรรคของการขยายช่องจราจรคือ มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมเส้นทางเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถขยายช่องจราจรได้ กรมทางหลวงจึงมีแนวคิดที่จะสร้างเป็นทางยกระดับซ้อนทับบนถนน โดยใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเพื่อรองรับโครงสร้าง แต่เนื่องจากในขณะนั้นงบประมาณของกรมทางหลวงมีไม่เพียงพอ จึงได้เสนอให้เอกชนได้เข้าร่วมประมูลโครงการเพื่อบริหารจัดการ โดยบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ได้ชนะประมูล และบริหารเส้นทางมาจนถึงปัจจุบัน
ตำนานยักษ์แบกเสา
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่เริ่มมีการก่อสร้างทางยกระดับอุตราภิมุขขึ้น ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างก็เกิดอุปสรรคขึ้นมากมาย ไม่ราบรื่นและติดขัด จนกระทั่งช่วงที่จะทำการยกเสาต้นนี้ขึ้น ก็เกิดอุปสรรคขึ้นอีก ทำอย่างไรก็ยกเสาไม่ขึ้น พอสร้างมาถึงห้าแยกลาดพร้าว ต้องสร้างทางยกระดับเหินข้ามแยกลาดพร้าว แต่สร้างเสาและคานได้ไม่กี่วันก็พังลงมาทับคนเสียชีวิต ซึ่งเกิดเหตุการณ์แบบนี้อยู่หลายครั้ง ทั้งที่ทำถูกต้องตามหลักวิศวกรรมทุกประการ ทำให้สร้างต่อไม่ได้ และมีคนงานเสียชีวิตจำนวนมาก เสายกขึ้นไม่ได้ โดยที่แยกอื่น ๆ ไม่มีปัญหาแบบแยกลาดพร้าว จนกระทั่งมีผู้แนะนำให้ปั้นรูปยักษ์แบกถนนไว้ที่เสาเพื่อแก้เคล็ด ทางโครงการจึงได้ขอให้กรมศิลปากรช่วยปั้นยักษ์สองตนขึ้นมา โดยการแกะสลักยักษ์ทำท่าแบกเสา ปรากฏว่าเกิดเรื่องเหลือเชื่อขึ้นอย่างมาก เพราะเมื่อแกะสลักรูปยักษ์เสร็จ เสาต้นนั้นก็ยกขึ้นได้อย่างง่ายดาย และสถานะการเงินของโครงการดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ผู้คนต่างใช้งานทางด่วนแห่งนี้มากขึ้น และไม่ค่อยมีอุบัติเหตุอย่างเมื่อก่อน และในปัจจุบันยักษ์แบกเสาก็ยังคงอยู่ที่เดิม โดยมี 2 จุด ได้แก่ ทางลงสะพานข้ามแยกสุทธิสารฝั่งขาออก 1 ตน และ ทางลงสะพานข้ามห้าแยกลาดพร้าวฝั่งขาเข้า 1 ตน[2]
รายละเอียดของเส้นทาง
แก้ทางยกระดับดินแดง−อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
แก้ทางยกระดับดินแดง−อนุสรณ์สถานแห่งชาติ หรือ ทางยกระดับดินแดง–ดอนเมือง เป็นทางหลวงสัมปทานประเภททางยกระดับ อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง แต่ได้ถูกกำหนดเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ถนนวิภาวดีรังสิต) มีระยะทาง 20.897 กิโลเมตร โดยสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2577[3] มีแนวสายทางเริ่มจากปลายทางพิเศษเฉลิมมหานครในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร มุ่งไปทางทิศเหนือ โดยใช้พื้นที่เกาะกลางถนนวิภาวดีรังสิต ตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 5+700 ถึงกิโลเมตรที่ 26+597 ผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง แล้วสิ้นสุดช่วงนี้ที่ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ โดยเปิดให้บริการในช่วงดินแดง−หลักสี่ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และเปิดให้บริการช่วงหลักสี่−อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2541 พร้อมกันกับช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ−รังสิต
ทางยกระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ−รังสิต
แก้ทางยกระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ−รังสิต เป็นทางยกระดับที่เป็นส่วนต่อขยายจากทางยกระดับอุตราภิมุข มีระยะทาง 7.327 กิโลเมตร (4.553 ไมล์) กำหนดเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 38 อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง เริ่มต้นบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ซ้อนอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิตตั้งแต่ช่วงกิโลเมตรที่ 26+597 ถึงกิโลเมตรที่ 28+500 และถนนพหลโยธินช่วงกิโลเมตรที่ 28+500 ถึงกิโลเมตรที่ 33+924 และสิ้นสุดบนถนนพหลโยธินบริเวณหน้าโรงกษาปณ์ ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ทางยกระดับช่วงนี้ไม่มีการเก็บค่าผ่านทาง โดยได้มีการยกเลิกการเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[4] จึงกำหนดสถานะให้เป็นทางหลวงแผ่นดิน
ทางขึ้น-ทางลง
แก้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดินแดง-รังสิต)
จังหวัด | อำเภอ | กม. ที่ | ทางออก | ชื่อ | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | ดินแดง | 0+000 | ดินแดง-อนุสรณ์สถาน (ส่วนของ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง) | ||||
0+000 | 1 | ทางขึ้น-ลงดินแดง | ทางยกระดับอุตราภิมุข – ดอนเมือง - บางปะอิน | ||||
0+000 | 1 | ถนนวิภาวดีรังสิต - ดินแดง | |||||
0+000 | 1 | ทางพิเศษเฉลิมมหานคร – ท่าเรือ - บางนา - ดาวคะนอง ทางพิเศษศรีรัช – ถ.พระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ | |||||
จตุจักร | - | ทางขึ้นสุทธิสาร | ทางยกระดับอุตราภิมุข – บางเขน - หลักสี่ ดอนเมือง - รังสิต | ||||
- | 9 | ทางลงสุทธิสาร | ถนนวิภาวดีรังสิต – สุทธิสาร | ||||
- | ทางขึ้นลาดพร้าว | ทางยกระดับอุตราภิมุข – บางเขน - หลักสี่ - ดอนเมือง - รังสิต | |||||
- | ทางลงลาดพร้าว | ถนนวิภาวดีรังสิต – รัชดาภิเษก - สะพานพระราม ๗ | |||||
- | ทางขึ้นรัชดาภิเษก 1 | ทางยกระดับอุตราภิมุข – ดอนเมือง | |||||
- | ทางขึ้นรัชดาภิเษก 2 | ทางยกระดับอุตราภิมุข – ดอนเมือง | |||||
- | ทางลงรัชดาภิเษก | , ถนนวิภาวดีรังสิต รัชดาภิเษก | |||||
บางเขน | - | ทางเชื่อมงามวงศ์วาน | ถนนงามวงศ์วาน – งามวงศ์วาน | ||||
- | ทางขึ้นบางเขน | ทางยกระดับอุตราภิมุข – ดอนเมือง | |||||
- | 15 | ทางลงบางเขน | ถนนงามวงศ์วาน – บางเขน | ||||
หลักสี่ | - | ทางลงแจ้งวัฒนะ | ถนนแจ้งวัฒนะ, หลักสี่ – แจ้งวัฒนะ | ||||
- | ทางเชื่อมแจ้งวัฒนะ | ถนนแจ้งวัฒนะ – ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด - แจ้งวัฒนะ | |||||
- | ทางขึ้นแจ้งวัฒนะ 1 | ทางยกระดับอุตราภิมุข, รังสิต - บางปะอิน | |||||
- | ทางขึ้นแจ้งวัฒนะ 2 | ทางยกระดับอุตราภิมุข – ดอนเมือง - รังสิต | |||||
- | ทางลงดอนเมือง | , ถนนวิภาวดีรังสิต, ดอนเมือง | |||||
ดอนเมือง | - | ทางขึ้นดอนเมือง | ทางยกระดับอุตราภิมุข - ดินแดง - พระราม ๙ | ||||
- | 25 | ทางเชื่อมต่อท่าอากาศยานดอนเมือง | เชื่อมต่อ ท่าอากาศยานดอนเมือง | ||||
26+597 | - | ทางขึ้นอนุสรณ์สถาน | ทางยกระดับอุตราภิมุข – หลักสี่ - ดินแดง | ||||
26+597 | 29 | ทางลงอนุสรณ์สถาน | ถนนวิภาวดีรังสิต – รังสิต - ลําลูกกา | ||||
26+597 | ด่านเก็บค่าผ่านทางอนุสรณ์สถาน | ||||||
0+000 | อนุสรณ์สถาน-รังสิต (ส่วนของ กรมทางหลวง) | ||||||
ปทุมธานี | ธัญบุรี | 5+400 | ทางลงต่างระดับรังสิต | ทล.346 – ปทุมธานี - ถนนรังสิต-นครนายก - นครนายก | |||
5+400 | ทางขึ้นต่างระดับรังสิต | ทางยกระดับอุตราภิมุข – ดอนเมือง - ดินแดง | |||||
7+327 | ทางขึ้นรังสิต | ทางยกระดับอุตราภิมุข – ดอนเมือง - ดินแดง | |||||
7+327 | ทางลงรังสิต | ถนนพหลโยธิน - บางปะอิน | |||||
1.000 mi = 1.609 km; 1.000 km = 0.621 mi
|
ฝั่งขาออกรังสิต
แก้- ทางขึ้นดินแดง
- ทางขึ้นสุทธิสาร
- ทางขึ้น-ลงลาดพร้าว
- ทางขึ้นรัชดาภิเษก
- ทางขึ้นบางเขน
- ทางขึ้นหลักสี่
- ทางขึ้นอนุสรณ์สถาน
- ทางลงรังสิต
ฝั่งขาเข้าดินแดง
แก้- ทางขึ้นรังสิต
- ทางขึ้น-ลงอนุสรณ์สถาน
- ทางขึ้นดินแดง
- ทางขึ้นแจ้งวัฒนะ
- ทางลงบางเขน
- ทางลงรัชดาภิเษก
- ทางขึ้น-ลงลาดพร้าว
- ทางลงสุทธิสาร
- ทางลงดินแดง
รายชื่อทางแยก และทางต่างระดับ
แก้จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ดินแดง-อนุสรณ์สถาน (ส่วนของ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง) | |||||
กรุงเทพมหานคร | 4+990 | แยกทางด่วนดินแดง | เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป พระราม 9, บางนา, ดาวคะนอง | ||
ทางแยกต่างระดับรัชวิภา | ทางเชื่อมต่อ ทางพิเศษประจิมรัถยา (โครงการในอนาคต) ไป ถนนราชพฤกษ์, ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) |
ไม่มี | |||
ทางเชื่อม ถนนงามวงศ์วาน (ฝั่งขาออกรังสิต) | ถนนงามวงศ์วาน ไป แยกพงษ์เพชร, แยกแคราย | ถนนงามวงศ์วาน ไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | |||
ทางเชื่อม ถนนแจ้งวัฒนะ (ฝั่งขาออกรังสิต) | ถนนแจ้งวัฒนะ ไป ปากเกร็ด | ถนนแจ้งวัฒนะ ไป บรรจบถนนรามอินทรา, มีนบุรี | |||
ทางเชื่อม ท่าอากาศยานดอนเมือง (ฝั่งขาออกรังสิต) | ไม่มี | เข้า ท่าอากาศยานดอนเมือง | |||
26+597 | ด่านเก็บค่าผ่านทางอนุสรณ์สถาน | ตรงไป: ทางยกระดับอุตราภิมุข (ส่วนของกรมทางหลวง) ไปรังสิต | |||
อนุสรณ์สถาน-รังสิต (ส่วนของกรมทางหลวง) | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 (26+597 ของ ) |
ด่านเก็บค่าผ่านทางอนุสรณ์สถาน | เชื่อมต่อจาก: ทางยกระดับอุตราภิมุข (ส่วนของ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง) จากดินแดง, ดอนเมือง | ||
ปทุมธานี | 5+400 (31+997 ของ ) |
ทางเชื่อมแยกต่างระดับรังสิต (ฝั่งขาออกรังสิต) | ทล.346 ไป ปทุมธานี | ทล.305 ไป นครนายก | |
7+327 (33+924 ของ ) |
ทางขึ้น-ลงรังสิต (สิ้นสุดทางยกระดับ) | ตรงไป: ถนนพหลโยธิน (ลงจากทางยกระดับ) ไป อ.บางปะอิน | |||
ตรงไป: ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 (โครงการในอนาคต) ไป นครสวรรค์ | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
โครงการส่วนต่อขยาย
แก้ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข จากโรงกษาปณ์ไปยังประตูน้ำพระอินทร์ เพื่อไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 รวมถึงทางเชื่อมต่อทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 18 กิโลเมตร และเมื่อรวมกับโครงการเดิมจะมีระยะทางทั้งสิ้น 46.224 กิโลเมตร[5] โดยภายหลังได้รวมส่วนต่อขยายนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษหมายเลข 5[6] ซึ่งปัจจุบันโครงการนี้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว[7]
นอกจากนี้ยังมีโครงการเชื่อมต่อกับทางพิเศษประจิมรัถยา ที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 2 กิโลเมตร เพื่อเป็นทางลัดสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง, สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์, หมอชิต 2 และผู้ที่ต้องการเดินทางข้ามฝั่งภายในกรุงเทพมหานคร สามารถสัญจรได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง
แก้- ↑ "แผนที่เส้นทาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-10-13.
- ↑ ตำนานยักษ์แบกเสา บนถนนวิภาวดีรังสิต - ทีนิวส์
- ↑ สัญญาสัมปทานทางหลวงในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 หน้า 55
- ↑ กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
- ↑ "เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์: ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (รังสิต-บางปะอิน)". ฐานเศรษฐกิจ. 13 พฤษภาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ The Bangkok Insight (26 สิงหาคม 2562). "'กรมทางหลวง' ยืนยันโครงการขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ถึงบางปะอิน จะไม่มี 'ค่าโง่'". www.thebangkokinsight.com. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ผ่านฉลุย บอร์ด PPP เคาะต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ รังสิต-บางปะอิน 3.1 หมื่นล". ฐานเศรษฐกิจ. 2023-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-03-18.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง เก็บถาวร 2016-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
- ภาพถ่ายทางอากาศของ ทางยกระดับอุตราภิมุข