สถานีบ้านภาชี
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี เป็นสถานีรถไฟประจำตำบลภาชี และอำเภอภาชี อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟระดับ 1 มีจำนวนทาง 18 ทาง เป็นทางหลัก 3 ทาง ทางหลีก 15 ทาง เป็นรางติดชานชาลา 8 ทาง โดยเป็นสถานีชุมทางแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ที่ระดับสถานี 1 ในจังหวัดอยุธยา โดยมีสถานีอยุธยา สถานีบางปะอิน สถานีชุมทางบ้านภาชีและสถานีท่าเรือ ซึ่งสถานนีรถไฟชุมทางบ้านภาชี อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 89.95 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ ถนนเทศบาล 5 หมู่5 บ้านตลาด ตำบลภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์13140 ทางเหนือของสถานีเป็นทางคู่แยกระหว่างสายเหนือกับสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเลี้ยวซ้ายเป็นเส้นทางสายเหนือไปสถานีหนองวิวัฒน์ จนถึงสถานีเชียงใหม่กับสถานีสวรรคโลก โดยสุดทางคู่ที่สถานีลพบุรีแล้วใช้ทางเดี่ยวไปตลอดทาง ส่วนทางตรงเป็นเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือไปสถานีหนองกวย จนถึงสถานีหนองคายกับสถานีอุบลราชธานี โดยสุดทางคู่ที่สถานีมาบกะเบาแล้วใช้ทางเดี่ยวไปตลอดทาง ส่วนทางใต้ของสถานีเป็นทางสามไปสถานีพระแก้ว จนถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ โดยสุดทางสามที่สถานีรังสิตแล้วใช้ทางคู่ไปตลอดทาง และเป็น 1 ใน 18 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไทยในปัจจุบัน
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี | ||
---|---|---|
![]() สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี | ||
ข้อมูลสถานี | ||
ที่ตั้ง | ถนนเทศบาล 5 หมู่5 บ้านตลาด ตำบลภาชี อำเภอภาชี พระนครศรีอยุธยา 13140 | |
เส้นทาง | ทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ | |
รูปแบบสถานี | ระดับดิน | |
จำนวนชั้น | 1 | |
ชานชาลา | 8 | |
ระบบอาณัติสัญญาณ | ไฟฟ้า-คอมพิวเตอร์ ไฟสีสามท่า | |
ข้อมูลอื่น ๆ | ||
เปิดใช้งาน | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 | |
รหัส | 1036 | |
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | |
พื้นที่ชำระเงิน | ช่องจำหน่ายตั๋วทุกสถานีรถไฟ | |
ปริมาณการเดินทาง | ||
ผู้โดยสาร | ไม่ต่ำกว่า 500 คน /วัน | |
จำนวนขบวน | 48 ขบวนที่จอดสถานีนี้ | |
บริการ | ||
ดี
| ||
ที่ตั้ง | ||
https://www.google.co.th/maps/place/ชุมทางบ้านภาชี |
เนื้อหา
ข้อมูลจำเพาะแก้ไข
- ประเภทเส้นทาง : ทางรถไฟทางไกลสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ
- รหัส : 1036
- ชื่อภาษาไทย : ชุมทางบ้านภาชี
- ชื่อภาษาอังกฤษ : Ban Phachi Junction
- ชื่อย่อภาษาไทย : ภช.
- ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : PHC.
- ชั้นสถานี : สถานีรถไฟชั้น 1
- ระบบอาณัติสัญญาณ : ไฟฟ้า-คอมพิวเตอร์ ไฟสีสามท่า
- พิกัดที่ตั้ง : บริเวณหน้าตลาดสดภาชีตรงข้ามวัดภาชี
- ที่อยู่ : ถนนเทศบาล 5 หมู่5 บ้านตลาด ตำบลภาชี อำเภอภาชี พระนครศรีอยุธยา 13140
- ขบวนรถ/วัน : จอด 45 ขบวน รถด่วนดีเซลราง รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถชานเมือง (ขบวนรถด่วนพิเศษ และขบวนรถด่วนบางขบวน จะไม่จอดสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี) รถสินค้าและน้ำมัน
- ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ไม่ต่ำกว่า 500 คน
- สถานีก่อนหน้า : สถานีรถไฟพระแก้ว
- สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ : ป้ายหยุดรถดอนหญ้านาง
- สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : สถานีรถไฟหนองวิวัฒน์
- สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ : สถานีรถไฟหนองกวย
- ห่างจากสถานีกรุงเทพ : 89.95 กิโลเมตร
ประวัติแก้ไข
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เปิดใช้งานครั้งแรกวันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2440 หรือคริสต์ศักราช 1897 ในส่วนต่อขยายเส้นทางจากอยุธยา ผ่านชุมทางบ้านภาชี ถึงสถานีชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 53 กิโลเมตร โดยนับตั้งแต่วันเปิดใช้งานครั้งแรกถึงปัจจุบันมีอายุ 120 ปี
ต่อมาสถานีชุมทางบ้านภาชีก็ได้ถูกระเบิดพังเสียหายสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้มีการสร้างสถานีรถไฟใหม่ขึ้นทดแทนสถานีเก่า ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2490 และดำเนินการสร้างแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2492 หลังจากสร้างเสร็จได้ทำการเปิดใช้งาน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 โดยมีนายพิเชษฐ์ มีลาภ เป็นนายสถานีรถไฟคนแรกของสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี อาคารสถานีหลังใหม่(ปัจจุบัน)เป็นอาคารชั้นเดียวหลังคาไม้ถือปูน มีเนื้อที่ ยาว 30 เมตร กว้าง 15 เมตร อายุการใช้งานของอาคารสถานีหลังนี้จนถึงปัจจุบันมีอายุ 69 ปี
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชีได้ทำการสร้างอุโมงค์รถไฟขึ้นก่อนปี พุทธศักราช 2490 โดยทำการ สร้างอุโมงค์พร้อมการสร้างสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชีหลังจากสถานีเก่าได้ถูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอุโมงค์ที่ด้านบนเป็นรางรถไฟเพื่อให้รถไฟแล่นผ่าน ส่วนตัวอุโมงค์เป็นทางเดินและเป็นที่หลบ ภัยจากระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันอุโมงค์นี้ไม่ได้ใช้งาน นายสถานีรถไฟได้ทำรั้วล้อมรอบไว้ ไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปเพราะอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากภายในอุโมงค์มีน้ำขังและมีปลายอาศัยอยู่เป็น จำนวนมาก สภาพภายนอกมองไม่เห็นล่องลอยของอุโมงค์เลย
สะพานข้ามทางรถไฟชุมทางบ้านภาชี สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แทนอุโมงค์รถไฟที่ถูกทำลายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเสียหายมากยากแก่การบรูรณะ จึงได้สร้างสะพานข้ามทางรถไฟแทน เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในบริเวณนั้น เพราะในแต่ละวันจะมีรถไฟผ่านเป็นจำนวนมาก สะพานข้าทางรถไฟข้ามทางรถไฟนี้สร้างด้วยไม้ และเหล็ก ยาวประมาณ 100 เมตร กว้าง 2 เมตร จะมีทางลงหลายทาง ปัจจุบันยังพอใช้การได้แต่มีผู้ใช้งานน้อย เนื่องจากการรถไฟได้สร้างสะพานลอยคอนกรีตเสริมเหล็กมีหลังคาขึ้นมาแทนสะพานเดิม ในขณะเดี่ยวกันยังมีถนนข้ามทางรถไฟ เพื่อให้รถผ่านได้ตรงตลาดภาชีไปยังวัดภาชี ตรงกับอุโมงค์รถไฟและบ้านพักรถไฟ ทำให้คนหันไป ใช้ทางข้ามเป็นส่วนใหญ่
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี เป็นชุมทางรถไฟที่แยกไปภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรถไฟผ่านขาขึ้น-ขาลง วันละประมาณ 140 ขบวน รถไฟที่จอดสถานีนี้มากที่สุดคือรถไฟบรรทุกน้ำมัน มีผู้โดยสารใช้งานในปัจจุบันส่วนมาก เป็นนักเรียน และผู้ที่ทำงาน วันละไม่ต่ำกว่า 500คน ปัจจุบันมีนายนิวัฒน์ สายสุดใจ เป็นนายสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชีคนปัจจุบัน
รายนามนายสถานีชุมทางบ้านภาชีแก้ไข
- นายพิเชษฐ มีลาภ ระหว่าง 01 ตุลาคม 2492 - 31 สิงหาคม2495 ระยะเวลา 2 ปี 10 เดือน
- นายประเทือง พิทักษ์ธรรม ระหว่าง 15 ตุลาคม 2497 - 30 กันยายน 2497 ระยะเวลา 1 ปี 11เดือน
- นายจันท สุวรรณผ่อง ระหว่าง 15 ตุลาคม 2497 - 25 กันยายน 2499 ระยะเวลา 1 ปี 11 เดือน
- นายสุดใจ โพธิ์โต ระหว่าง 01 ตุลาคม 2499 - 15 มีนาคม 2503 ระยะเวลา 3 ปี 5 เดือน
- นายฉัตร กรมเหลี่ยมสาระ ระหว่าง 20 เมษายน 2503 - 01 ตุลาคม 2512 ระยะเวลา 8 ปี 6 เดือน
- นายสมัย เศตะพราหมณ์ ระหว่าง 26 ตุลาคม 2512 - 15 พฤศจิกายน 2514 ระยะเวลา 1 ปี 10 เดือน
- นายทองสุข เกิดผล ระหว่าง 16 พฤศจิกายน 2514 - 23 มีนาคม 2516 ระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน
- นายวิศิษฐ ปัญญาสาร ระหว่าง 24 มกราคม 2516 - 06 พฤศจิกายน 2517 ระยะเวลา 1 ปี 9 เดือน
- นายชุ่ม สุวิภาส ระหว่าง 07 พฤศจิกายน 2517 - 18 กันยายน 2518 ระยะเวลา 0 ปี 10 เดือน
- นายสุเทพ ชาวสวนเจริญ ระหว่าง 19 กันยายน 2518 - 06 ตุลาคม 2525 ระยะเวลา 7 ปี 0 เดือน
- นายชูชาติ วัจนะรัตน์ ระหว่าง 07 ตุลาคม 2525 - 29 กันยายน 2527 ระยะเวลา 2 ปี 12 เดือน
- นายเอก ปิ่นกระจาย ระหว่าง 30 กันยายน 2527 - 13 พฤศจิกายน 2528 ระยะเวลา 1 ปี 2 เดือน
- นายสมบูรณ์ เหล็กกล้า ระหว่าง 14 พฤศจิกายน 2528 - 29 มีนาคม 2532 ระยะเวลา 3 ปี 4 เดือน
- นายเสน่ห์ เชื้อเอี่ยมพันธ์ ระหว่าง 13 เมษายน 2532 - 04 มีนาคม 2533 ระยะเวลา 0 ปี 11 เดือน
- นายผจญ วิทยาบำรุง ระหว่าง 05 มีนาคม 2533 - 20 ตุลาคม 2535 ระยะเวลา 2 ปี 7เดือน
- นายถวิล มณฑาทอง ระหว่าง 21 ตุลาคม 2535 - 25 เมษายน 2538 ระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน
- นายมนตรี เที่ยงพูนวงค์ ระหว่าง 26 เมษายน 2538 - 05 ธันวาคม 2538 ระยะเวลา 0 ปี 6เดือน
- นายเฉลิมชาติ อนุศักดิ์พิทยา ระหว่าง 06 ธันวาคม 2538 - 16 ธันวาคม 2541 ระยะเวลา 3 ปี 0 เดือน
- นายนิยม ประสมทรัพย์ ระหว่าง 17 ธันวาคม 2541 - 27 พฤศจิกายน 2543 ระยะเวลา 1 ปี 12 เดือน
- นายสมัคร มั่นล้วน ระหว่าง 01 กุมภาพันธ์ 2544 - 31 ตุลาคม 2545 ระยะเวลา 1 ปี 8 เดือน
- นายบุญเลิศ ประดับรส ระหว่าง 14 มกราคม 2546 - 15 เมษายน 2550 ระยะเวลา 4 ปี 3 เดือน
- นายวิรัตน์ ไตรเดชา ระหว่าง 18 กันยายน 2550 - 30 กันยายน 2553ระยะเวลา 3 ปี 0 เดือน
- นายนิวัฒน์ สายสุดใจ ระหว่าง 10 พฤศจิกายน 2553 - ยังดำรงตำแหน่งอยู่
ขบวนรถโดยสารแก้ไข
|
เที่ยวไปมีจำนวน 33 ขบวน หยุดสถานี 23 ขบวน เที่ยวกลับมีจำนวน 32 ขบวน หยุดสถานี 22 ขบวน รวมมี 65 ขบวน หยุดสถานี 45 ขบวน
เที่ยวไปแก้ไข
สายเหนือแก้ไข
มีจำนวน 18 ขบวน หยุดสถานี 13 ขบวน
ขบวนรถ | ต้นทาง | ชุมทางบ้านภาชี | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ช303 | กรุงเทพ | 04.20 | 06.17 | ลพบุรี | 07.05 | ยกเว้นวันหยุดราชการ |
ช409 | อยุธยา | 06:00 | 06.26 | ลพบุรี | 07:25 | เดินรถเฉพาะวันหยุดราชการ |
ร111 | กรุงเทพ | 07.00 | 08.59 | เด่นชัย | 16.30 | |
ธ201 | กรุงเทพ | 09.25 | 11.47 | พิษณุโลก | 17.55 | |
ธ209 | กรุงเทพ | 11.20 | 13.30 | บ้านตาคลี | 15.40 | |
ธ211 | กรุงเทพ | 12.55 | 14.51 | ตะพานหิน | 19.15 | |
ร109 | กรุงเทพ | 13.45 | 15.37 | เชียงใหม่ | 04.05 | |
ธ207 | กรุงเทพ | 14.05 | 16.18 | นครสวรรค์ | 19.35 | |
ช301 | กรุงเทพ | 16.30 | 19.09 | ลพบุรี | 20.05 | เดินรถเฉพาะวันหยุดราชการ |
ช317 | กรุงเทพ | 17.25 | 19.31 | ลพบุรี | 20.25 | ยกเว้นวันหยุดราชการ |
ช313 | กรุงเทพ | 18:20 | 20.45 เป็นสถานีปลายทาง | ชุมทางบ้านภาชี | 20:45 | ยกเว้นวันหยุดราชการ |
ร107 | กรุงเทพ | 20.10 | 22.03 | เด่นชัย | 05.15 | |
ร105 | กรุงเทพ | 21.00 | 22.38 | ศิลาอาสน์ | 04.40 | |
ดพ7 | กรุงเทพ | 08.30 | ไม่จอดสถานีนี้ | เชียงใหม่ | 19.30 | ขบวนที่ 9 เดิม (ก่อน พ.ศ. 2555) |
ดพ3 | กรุงเทพ | 10.50 | ไม่จอดสถานีนี้ | ศิลาอาสน์ | 19.15 | |
ดพ9 | กรุงเทพ | 18.10 | ไม่จอดสถานีนี้ | เชียงใหม่ | 07.15 | ทดแทนขบวนที่ 1 (อดีตเป็นรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศ) |
ดพ13 | กรุงเทพ | 19.35 | ไม่จอดสถานีนี้ | เชียงใหม่ | 08.40 | |
ด51 | กรุงเทพ | 22.00 | ไม่จอดสถานีนี้ | เชียงใหม่ | 12.10 | |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
สายตะวันออกเฉียงเหนือแก้ไข
มีจำนวน 15 ขบวน หยุดสถานี 10 ขบวน
ขบวนรถ | ต้นทาง | ชุมทางบ้านภาชี | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ช339 | กรุงเทพ | 05:20 | 07.10 | ชุมทางแก่งคอย | 08:15 | ยกเว้นวันหยุดราชการ |
ร135 | กรุงเทพ | 06.40 | 08.47 | อุบลราชธานี | 18.00 | |
ด71 | กรุงเทพ | 10.05 | 11.43 | อุบลราชธานี | 19.50 | ขยายปลายทาง จากศรีสะเกษ[1] |
ธ233 | กรุงเทพ | 11:40 | 13.24 | สุรินทร์ | 20:00 | |
ร145 | กรุงเทพ | 15.20 | 17.24 | อุบลราชธานี | 03.15 | |
ช341 | กรุงเทพ | 17:00 | 19.27 | ชุมทางแก่งคอย | 20:15 | ยกเว้นวันหยุดราชการ |
ร139 | กรุงเทพ | 18.55 | 20.47 | อุบลราชธานี | 06.15 | |
ร141 | กรุงเทพ | 22.45 | 00.36 | อุบลราชธานี | 10.20 | |
ดพ21 | กรุงเทพ | 05.45 | ไม่จอดสถานีนี้ | อุบลราชธานี | 14.00 | |
ดพ23 | กรุงเทพ | 20.30 | ไม่จอดสถานีนี้ | อุบลราชธานี | 06.35 | เวลาเดิมของ ขบวนที่ 67 |
ด67 | กรุงเทพ | 21.30 | ไม่จอดสถานีนี้ | อุบลราชธานี | 07.50 | |
ด75 | กรุงเทพ | 08.20 | 09.59 | หนองคาย | 17.30 | |
ร133 | กรุงเทพ | 20:45 | 22.37 | หนองคาย | 07.55 | |
ด77 | กรุงเทพ | 18.35 | ไม่จอดสถานีนี้ | หนองคาย | 03.45 | |
ดพ25 | กรุงเทพ | 20.00 | ไม่จอดสถานีนี้ | หนองคาย | 06.25 | ทดแทนขบวนที่ 69 |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
เที่ยวกลับแก้ไข
สายเหนือแก้ไข
มีจำนวน 17 ขบวน หยุดสถานี 12 ขบวน
ขบวนรถ | ต้นทาง | ชุมทางบ้านภาชี | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ร108 | เด่นชัย | 19.05 | 03.02 | กรุงเทพ | 05.10 | |
ช302 | ลพบุรี | 04.40 | 05.37 | กรุงเทพ | 08.15 | เดินรถเฉพาะวันหยุดราชการ |
ช314 | ชุมทางบ้านภาชี | 04:45 | 05.00 เป็นสถานีต้นทาง | กรุงเทพ | 07:15 | ยกเว้นวันหยุดราชการ |
ช318 | ลพบุรี | 06.00 | 06.46 | กรุงเทพ | 09.05 | ยกเว้นวันหยุดราชการ |
ธ208 | นครสวรรค์ | 05.00 | 08.02 | กรุงเทพ | 10.20 | |
ช304 | ลพบุรี | 08:00 | 08.43 | กรุงเทพ | 10:35 | |
ธ212 | ตะพานหิน | 05.30 | 10.08 | กรุงเทพ | 12.10 | |
ธ202 | พิษณุโลก | 06.05 | 11.53 | กรุงเทพ | 14.05 | |
ร106 | ศิลาอาสน์ | 07.30 | 12.52 | กรุงเทพ | 14.40 | |
ร112 | เด่นชัย | 07.30 | 15.29 | กรุงเทพ | 18.00 | |
ธ210 | บ้านตาคลี | 16.00 | 18.24 | กรุงเทพ | 20.35 | |
ร102 | เชียงใหม่ | 06.30 | 18.55 | กรุงเทพ | 21.10 | |
ดพ4 | ศิลาอาสน์ | 19.50 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 04.00 | |
ด52 | เชียงใหม่ | 15.30 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 05.25 | |
ดพ14 | เชียงใหม่ | 17.00 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 06.15 | |
ดพ10 | เชียงใหม่ | 18.00 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 06.50 | ทดแทนขบวนที่ 2 |
ดพ8 | เชียงใหม่ | 08.50 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 19.25 | ขบวนที่ 12 เดิม (ก่อน พ.ศ 2555)[2] |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
สายตะวันออกเฉียงเหนือแก้ไข
มีจำนวน 15 ขบวน หยุดสถานี 10 ขบวน
ขบวนรถ | ต้นทาง | ชุมทางบ้านภาชี | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ร142 | อุบลราชธานี | 17.35 | 02.54 | กรุงเทพ | 05.00 | |
ร140 | อุบลราชธานี | 20.30 | 05.07 | กรุงเทพ | 07.20 | |
ช342 | ชุมทางแก่งคอย | 05:05 | 05.52 | กรุงเทพ | 08:40 | |
ช340 | ชุมทางแก่งคอย | 08:45 | 09.24 | กรุงเทพ | 11:10 | |
ธ234 | สุรินทร์ | 05:20 | 12.19 | กรุงเทพ | 14:15 | |
ด72 | อุบลราชธานี | 05.30 | 12.57 | กรุงเทพ | 14.55 | ขยายต้นทาง จากศีรขภูมิ[3] |
ร136 | อุบลราชธานี | 07.00 | 16.09 | กรุงเทพ | 18.40 | |
ร146 | อุบลราชธานี | 09.30 | 19.00 | กรุงเทพ | 21.10 | |
ด76 | หนองคาย | 07:46 | 15.18 | กรุงเทพ | 17:10 | |
ร134 | หนองคาย | 18:50 | 03.22 | กรุงเทพ | 05:45 | |
ดพ24 | อุบลราชธานี | 19.00 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 05.15 | เวลาเดิมของ ขบวนที่ 68 |
ด68 | อุบลราชธานี | 19.30 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 06.40 | |
ดพ22 | อุบลราชธานี | 14.50 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 22.55 | |
ด78 | หนองคาย | 18.30 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 04.35 | |
ดพ26 | หนองคาย | 19.40 | ไม่จอดสถานีนี้ | กรุงเทพ | 06.00 | ทดแทนขบวนที่ 70 |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีบ้านภาชีแก้ไข
บ้านภาชี Baan Pa-Chi | |
---|---|
ข้อมูลสถานี | |
เส้นทาง | สายสีแดงเข้ม |
รหัสสถานี | RN10 |
เขตที่ตั้ง | อำเภอบ้านภาชี |
แผนที่ | เว็บไซต์ รฟท. |
ข้อมูลอื่นๆ | |
เวลาให้บริการ | 06.00 - 24.00น. |
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
รูปแบบสถานี | ระดับดิน |
รูปแบบชานชาลา | เกาะกลาง |
จำนวนชานชาลา | 2 |
ทางออก | - |
บันไดเลื่อน | - |
ลิฟต์ | - |
จุดเชื่อมต่อ | |
รถโดยสารประจำทาง รถไฟสายภูมิภาค |
สถานีบ้านภาชี (อังกฤษ: Baan Pa-Chi Station; รหัสสถานี: RN24) เป็นสถานีรถไฟระตับดินในเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม
ที่ตั้งแก้ไข
ทางเข้า-ออกแก้ไข
เวลาให้บริการแก้ไข
ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสีแดงเข้ม | ||||||
RS24 มหาชัย |
อ้างอิงแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีบ้านภาชี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 14°27′03″N 100°43′17″E / 14.450866°N 100.721500°E