รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา

รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา (อีสานวัตนา แปลว่าเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; รหัสขบวน: 23/24) เป็นขบวนรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการผู้โดยสารระหว่างสถานีรถไฟกรุงเทพ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร กับสถานีรถไฟอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นขบวนรถด่วนพิเศษในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ชนิดรถที่ให้บริการได้แก่ รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 1 รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 รถเสบียงปรับอากาศรถเฉพาะผู้พิการมีลิฟต์สำหรับรับรถผู้พิการ และรถเฉพาะสุภาพสตรีและเด็กผู้หญิง ทุกตู้จะมีเจ้าหน้าที่ประจำตู้และรถไฟขบวนนี้มีทางขึ้นทั้งแบบชานชาลาตำและชานชาลาสูง รถไฟขบวนนี้มีตู้ปั่นไฟ มีถังเก็บนำ และมีถังเก็บสิ่งปฏิกูล

รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา
State Railway of Thailand Logo 2019.svg
201701 SRT CNR Second Class Sleeper Coaches as 023 at Bangkok Station.jpg
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ปลายทาง
จำนวนสถานี17
การดำเนินงาน
รูปแบบรถด่วนพิเศษ
เส้นทางทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ประวัติ
เปิดเมื่อ11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (6 ปีก่อน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง575 กิโลเมตร
รางกว้าง1.000 เมตร
ความเร็วสูงสุด 120 กม./ชั่วโมง ความเร็วที่ใช้ในการเดินรถ 100 กม./ชั่วโมง

รถด่วนพิเศษอีสานวัตนาเริ่มเดินรถเที่ยวปฐมฤกษ์ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดซื้อรถไฟโดยสารเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่จากประเทศจีนจำนวนทั้งหมด 115 คัน โดยขบวนรถได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ อุตราวิถี อีสานมรรคา และทักษิณารัถย์[1]

ผังขบวนแก้ไข

หมายเลขตู้ขาขึ้น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13
หมายเลขตู้ขาล่อง 13 12 11 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1
ชั้น ตู้ปั่นไฟ ชั้นสอง ตู้เสบียง ชั้นสอง ชั้นหนึ่ง
จำนวนที่นั่ง 6 40 40 40 40 36 26 40 40 40 40 40 24
สิ่งอำนวย
ความสะดวก
ที่นอนและห้องนำสำหรับเจ้าหน้าที่ สุขา สุขา สุขา สุขา สุขาผู้พิการ
พื้นที่วีลแชร์
โต๊ะสำหรับทานอาหาร สุขา สุขา สุขา สุขา สุขา สุขา
ห้องอาบน้ำ
  • ขาขึ้นหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ปั่นไฟ ขาล่องหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ชั้นหนึ่ง
  • เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการยกเลิกการพ่วงตู้เสบียงคันที่ 7 ทั้งขาขึ้นและขาล่อง ออกจากชุดขบวนรถจนถึงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565

กำหนดเวลาเดินรถแก้ไข

รถด่วนพิเศษอีสานวัตนามีกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

เที่ยวขึ้นแก้ไข

ขบวนที่ 23
(กรุงเทพ - อุบลราชธานี)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
กรุงเทพ ต้นทาง 20.30 -
สามเสน 20.42 20.43 -
ชุมทางบางซื่อ 20.47 20.49 -
บางเขน 20.57 20.58 -
หลักสี่ 21.03 21.04 -
ดอนเมือง 21.09 21.11 -
รังสิต 21.20 21.21 -
อยุธยา 21.52 21.53 -
สระบุรี 22.35 22.36 -
ปากช่อง 00.07 00.10 -
นครราชสีมา 01.36 01.46 -
ลำปลายมาศ 03.02 03.03 -
บุรีรัมย์ 03.31 03.34 -
สุรินทร์ 04.13 04.14 -
ศีขรภูมิ 04.42 04.43 -
อุทุมพรพิสัย 05.19 05.20 -
ศรีสะเกษ 05.38 05.39 -
กันทรารมย์ 06.05 06.06 -
อุบลราชธานี 06.35 ปลายทาง -



เที่ยวล่องแก้ไข

ขบวนที่ 24
(อุบลราชธานี - กรุงเทพ)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
อุบลราชธานี ต้นทาง 19.00 -
กันทรารมย์ 19.29 19.30 -
ศรีสะเกษ 19.55 19.56 -
อุทุมพรพิสัย 20.15 20.16 -
ศีขรภูมิ 20.52 20.53 -
สุรินทร์ 21.22 21.23 -
บุรีรัมย์ 22.01 22.04 -
ลำปลายมาศ 22.31 22.32 -
นครราชสีมา 23.44 23.59 -
ปากช่อง 01.28 01.31 -
สระบุรี 03.00 03.01 -
อยุธยา 03.41 03.42 -
รังสิต 04.15 04.16 -
ดอนเมือง 04.25 04.27 -
หลักสี่ 04.33 04.34 -
บางเขน 04.40 04.41 -
ชุมทางบางซื่อ 04.52 04.54 -
สามเสน 04.59 05.00 -
กรุงเทพ 05.15 ปลายทาง -


สิ่งสืบเนื่องแก้ไข

ภายหลังจากที่รถด่วนพิเศษอีสานวัตนาได้เริ่มให้บริการ การรถไฟฯ ได้ยกเลิกขบวนรถด่วนพิเศษที่ 73 กรุงเทพ–ศีขรภูมิ และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 74 ศรีสะเกษ–กรุงเทพ นอกจากนี้ยังได้ปรับเปลี่ยนเวลาการเดินรถของขบวนรถด่วนพิเศษที่ 67/68 กรุงเทพ–อุบลราชธานี–กรุงเทพ โดยให้หยุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมที่สถานีรถไฟลำปลายมาศ กระสัง สำโรงทาบ และห้วยทับทัน เพื่อทดแทนขบวนรถด่วนพิเศษที่ 73/74 อีกทั้งยังปรับเวลาการเดินรถของรถเร็วบางขบวน

อ้างอิงแก้ไข

  1. "ร.ฟ.ท.พร้อมให้บริการรถไฟรุ่นใหม่ กทม.-เชียงใหม่ เที่ยวแรกเริ่ม 11 พ.ย." ไทยรัฐ. 26 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)