สถานีรถไฟเด่นชัย
สถานีรถไฟเด่นชัย เป็นสถานีรถไฟระดับหนึ่งบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ–เชียงใหม่) เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดแพร่ เนื่องจากจังหวัดแพร่ยังไม่มีมีเส้นทางรถไฟผ่านตัวอำเภอเมืองแพร่ ตัวสถานีตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองแพร่ประมาณ 24 กิโลเมตร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นระยะทาง 533.94 กิโลเมตร ซึ่งถ้าลงสถานีรถไฟเด่นชัยสามารถเดินทางไปยังจังหวัดน่านได้อีกด้วย สถานีรถไฟเด่นชัย อยู่ระหว่างที่หยุดรถแม่พวก กับสถานีรถไฟปากปาน
สถานีรถไฟเด่นชัย | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีระดับที่ 1 | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | บ้านแพะโรงสูบ หมู่ที่6 ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 54110 | ||||||||||||||||
พิกัด | 17°58′49″N 100°02′46″E / 17.980357°N 100.046164°E | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 3 | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 6 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 1164 (ดช.) | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
สถานีเด่นชัยก่อสร้างและเปิดเดินรถในสมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันตัวสถานีและย่าน มีจำนวนทาง 11 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 6 ทาง ทางตัน 4 ทาง โดยเป็นทางติดชานชาลา 3 ทาง
ในอนาคตสถานีแห่งนี้จะถูกยกขึ้นเป็นสถานีชุมทางรถไฟแห่งใหม่ เชื่อมระหว่างทางรถไฟสายเหนือกับทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ และจะมีการตั้งสถานีรถไฟแพร่ ขึ้นเป็นสถานีประจำจังหวัดเเพร่แทน โดยสถานีรถไฟเด่นชัยจะมีฐานะเป็นสถานีประจำอำเภอเด่นชัย ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มต้นปี พ.ศ. 2564 และจะแล้วเสร็จประมาณ พ.ศ. 2571
ประวัติ
แก้สถานีรถไฟเด่นชัยก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 โดยเส้นทางช่วงแม่พวก-ปากปาน ซึ่งมีระยะทาง 10 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
ในอดีตเคยเป็นจุดจอดพักเติมน้ำมันของเส้นทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันถูกย้ายสร้างใหม่เป็นสถานีรถไฟศิลาอาสน์
อนาคตสถานีรถไฟเด่นชัยจะเปลี่ยนเป็นชุมทางเด่นชัยในทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ
ตารางเวลาการเดินรถ
แก้- ณ วันที่ 19 มกราคม 2566
เที่ยวไป
แก้ขบวนรถ | ต้นทาง | เด่นชัย | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ดพ9 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.40 | 02.48 | เชียงใหม่ | 07.15 | ||
ดพ13 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.05 | 04.16 | เชียงใหม่ | 08.40 | ||
ร107 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.45 | ปลายทาง | เด่นชัย | 05.15 | ||
ด51 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 22.30 | 07.17 | เชียงใหม่ | 12.10 | ||
ท407 | นครสวรรค์ | 05.00 | 10.12 | เชียงใหม่ | 14.35 | ||
ดพ7 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 09.05 | 15.23 | เชียงใหม่ | 19.30 | ||
ร111 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.30 | ปลายทาง | เด่นชัย | 16.30 | ||
ร109 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 14.15 | 23.39 | เชียงใหม่ | 04.05 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
เที่ยวกลับ
แก้ขบวนรถ | ต้นทาง | เด่นชัย | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ร112 | เด่นชัย | 07.30 | ต้นทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 17.20 | ||
ร102 | เชียงใหม่ | 06.30 | 10.46 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.25 | ||
ดพ8 | เชียงใหม่ | 08.50 | 12.39 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.55 | ||
ท408 | เชียงใหม่ | 09.30 | 14.19 | นครสวรรค์ | 19.55 | ||
ร108 | เด่นชัย | 19.05 | ต้นทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 04.30 | ||
ด52 | เชียงใหม่ | 15.30 | 20.26 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.10 | ||
ดพ14 | เชียงใหม่ | 17.00 | 21.41 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.10 | ||
ดพ10 | เชียงใหม่ | 18.00 | 22.36 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.50 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |