สถานีห้าแยกลาดพร้าว
สถานีห้าแยกลาดพร้าว (อังกฤษ: Ha Yaek Lat Phrao station; รหัส: N9) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทส่วนต่อขยายหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต ยกระดับเหนือถนนพหลโยธินบริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ห้าแยกลาดพร้าว N9 Ha Yaek Lat Phrao | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°49′0″N 100°33′43″E / 13.81667°N 100.56194°E | ||||||||||||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | พหลโยธิน รถโดยสารประจำทาง | ||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | N9 | ||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||
เปิดให้บริการ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562[1][2][3] | ||||||||||||||||||||
ชื่อเดิม | หอวัง | ||||||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||||||
2564 | 4,181,874 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
|
ที่ตั้ง
แก้ถนนพหลโยธิน บริเวณใกล้กับจุดบรรจบถนนลาดพร้าวกับถนนหอวัง ด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว และโรงเรียนหอวัง ในพื้นที่แขวงจตุจักรและแขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เดิมทีตามแผนงานของกรุงเทพมหานครและบีทีเอสซี สถานีแห่งนี้จะใช้ชื่อสถานีว่า สถานีหอวัง เนื่องมาจากตั้งอยู่ด้านหน้าถนนหอวังและโรงเรียนหอวังซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใหญ่ของพื้นที่ แต่หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนย้ายโครงการไปอยู่ภายใต้การดำเนินการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จึงได้มีการพิจารณาชื่อสถานีใหม่หลายแห่งโดยอ้างอิงจากความไม่แน่นอนของสถานที่ที่ใช้อ้างอิงชื่อสถานี จึงทำให้สถานีหอวังเปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีห้าแยกลาดพร้าว ในปัจจุบัน ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจากเดิม Ladphrao Intersection เป็น Ha Yaek Lat Phrao ซึ่งมาจากการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
แผนผังสถานี
แก้U3 ชานชาลา |
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (หมอชิต) |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (พหลโยธิน 24) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า เซ็นทรัล ลาดพร้าว และโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว สะพานลอยเชื่อมต่อ พหลโยธิน, ยูเนี่ยนมอลล์ และอาคารเอ็นเนอร์ยีคอมเพล็กซ์ (กำลังก่อสร้าง) |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, ถนนหอวัง, โรงเรียนหอวัง |
รายละเอียดของสถานี
แก้รูปแบบของสถานี
แก้เป็นแบบชานชาลาเกาะกลาง ขนาดมาตรฐาน เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถในกรณีที่ผู้ให้บริการเป็นอีกราย ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง
สัญลักษณ์ของสถานี
แก้ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ กรณีนี้จะแตกต่างจากสถานีในหมวด N ของบีทีเอสเดิมที่กำหนดให้สีส้มเป็นเส้นทางส่วนเหนือ เนื่องจาก รฟม. อ้างอิงสีของโครงการโดยใช้สีที่ปรากฏตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ที่กำหนดให้เส้นทางช่วงวงแหวนลำลูกกา–บางปู เป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม และเส้นทางช่วงยศเส–บางหว้า เป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน
สิ่งอำนวยความสะดวก
แก้- ลิฟต์ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา
- ทางเดินเชื่อมภายในสถานีระหว่างทางออกที่ 1, 3, 6 กับทางออกที่ 2, 4 และ 5 โดยไม่ต้องผ่านพื้นที่ตรวจบัตรโดยสาร
- สะพานลอยเชื่อมต่อกับโรงเรียนหอวัง และโลตัส สาขาลาดพร้าว
- สะพานลอยเชื่อมต่อกับศูนย์การค้ายูเนี่ยนมอลล์
- สะพานลอยและอาคารเชื่อมต่อกับสถานีพหลโยธิน ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- สะพานลอยเชื่อมต่อไปยังถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท ปตท.(กำลังก่อสร้าง)[4]
ทางเข้า-ออก
แก้ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (Sky Walk) ได้แก่
- 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว (สะพานเชื่อม), เดอะ วัน พาร์ค (บันไดเลื่อนขึ้นและลง)
- 2 คอนโดมิเนียม เอ็ม ลาดพร้าว (ลิฟต์)
- 3 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว (สะพานเชื่อม พร้อมลิฟต์), โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ, ถนนหอวัง
- 4 วานิสสา คลีนิคเวชกรรม, คอนโดมิเนียมไลฟ์ ลาดพร้าว (บันไดเลื่อนขึ้น)
- 5 โรงเรียนหอวัง, โลตัส สาขาลาดพร้าว (ทางเดินยกระดับ)
- 6 พหลโยธิน, ยูเนียนมอลล์, สวนสมเด็จย่า ๘๔ (ทางเดินยกระดับ, บันไดเลื่อนขึ้น, ลิฟต์)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออกที่ 2 บริเวณพื้นถนนก่อนถึงป้ายรถประจำทางไปสวนจตุจักร และทางออกที่ 3 บริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว ก่อนถึงถนนหอวัง
เวลาให้บริการ
แก้ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[5] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.41 | 23.42 |
E15 | สำโรง | – | 23.56 |
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.15 | 00.19 |
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
แก้ถนนพหลโยธิน
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
24 | 7 (กปด.38) | ประชานิเวศน์ 3 | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
26 | 2 (กปด.12) | อู่มีนบุรี | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
26 | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) งดให้บริการชั่วคราว ใช้รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงินให้บริการทดแทน | ||||
34 | 1 (กปด.31) | อู่รังสิต | สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
39 | 1 (กปด.21) | ตลาดไท | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
1-8 (59) | 1 (กปด.31) | อู่รังสิต | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
1-8 (59) | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) งดให้บริการชั่วคราว | ||||
63 | 7 (กปด.27) | MRT พระนั่งเกล้า | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
63 | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |||||
107 | 1 (กปด.11) | อู่บางเขน | คลองเตย | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านดินแดง ลงด่านท่าเรือคลองเตย) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) งดให้บริการชั่วคราว | |
107 | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน | |||||
107 | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | |||||
1-14E (129) | สำโรง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านดินแดง ลงด่านบางนา) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) งดให้บริการชั่วคราว | |||
1-14E (129) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |||||
136 | 4 (กปด.14) | อู่คลองเตย | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
191 | 8 (กปด.38) | เคหะคลองจั่น | กระทรวงพาณิชย์ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
503 | 1 (กปด.31) | อู่รังสิต | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
รถเอกชน
แก้ถนนลาดพร้าว
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
96 | 2 (กปด.12) | อู่มีนบุรี | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
145 | 3 (กปด.33) | อู่แพรกษาบ่อดิน | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) | ||
145 | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | รถบริการตลอดคืน | ||||
145 | เมกาบางนา | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||||
502 | 2 (กปด.12) | อู่มีนบุรี | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน |
รถเอกชน
แก้ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า วิภาวดีรังสิต รถขสมก. สาย 24 26 34 39 59 63 107 129 136 191 503 รถเอกชน สาย 39 104 126 524
ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า รัชโยธิน รถขสมก. สาย 24 26 34 39 59 63 107 129 136 191 503 รถเอกชน สาย 39 104 126 524
ถนนลาดพร้าว รถขสมก. สาย 96 145 502 รถเอกชน สาย 8 27 44 92 182
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้- เซ็นทรัล ลาดพร้าว
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว
- อาคารสำนักงานเซ็นทรัล ลาดพร้าว
- โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ
- บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว
- โรงเรียนหอวัง
- โลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต สาขาลาดพร้าว-พหลโยธิน
- กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- ยูเนียนมอลล์
- มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- อาคารเอ็นเนอร์ยีคอมเพล็กซ์
อ้างอิง
แก้- ↑ สถานีห้าแยกลาดพร้าวเปิดทดลองใช้ฟรี9ส.ค.
- ↑ คนกรุงเตรียมพร้อม! บีทีเอส แจ้งเปิดทดลองให้บริการฟรี สถานีห้าแยกลาดพร้าว 9 ส.ค.นี้
- ↑ Dhipkawee Sriyananda Selley (9 July 2019). "BTS Sukhumvit Line's Lat Phrao station is scheduled to open Aug 11". BK Magazine.
- ↑ ปตท. ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน สร้าง “สกายวอล์ค” เชื่อมการเดินทาง เพื่อคุณภาพชีวิตคนเมือง
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.