สถานีหมอชิต (อังกฤษ: Mo Chit Station, รหัส N8) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับ ในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าสวนจตุจักร[1] เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญของกรุงเทพฯ ด้านเหนือ โดยสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังสถานีสวนจตุจักร ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินได้ และยังอยู่ไม่ไกลจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) และสถานีกลางบางซื่อ

หมอชิต
N8

Mo Chit
สถานีหมอชิต
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°48′9.30″N 100°33′13.80″E / 13.8025833°N 100.5538333°E / 13.8025833; 100.5538333พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′9.30″N 100°33′13.80″E / 13.8025833°N 100.5538333°E / 13.8025833; 100.5538333
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2, 1 เข้าศูนย์ซ่อมบำรุง
การเชื่อมต่อ สวนจตุจักร
รถโดยสารประจำทาง
รถโดยสารประจำทาง หมอชิต 2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN8
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 23 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25645,166,915
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ห้าแยกลาดพร้าว
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท สะพานควาย
มุ่งหน้า เคหะฯ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
พหลโยธิน
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน
เชื่อมต่อที่ สวนจตุจักร
กำแพงเพชร
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
Map
หมายเหตุ

ที่ตั้ง แก้

 
ภายนอกของสถานีหมอชิต

ถนนพหลโยธิน ใกล้สวนจตุจักรด้านทิศใต้ ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สถานีหมอชิตเคยเป็นสถานีปลายทางของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เปิดทำการในปี พ.ศ. 2542 จนถึง พ.ศ. 2562 รวมเป็นเวลา 19 ปี 8 เดือน 4 วัน หลังจากที่เปิดใช้งาน รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต – คูคต ระยะที่ 1 หมอชิต – ห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ทำให้มีการเดินรถเพิ่ม 1 สถานีโดยข้ามทางยกระดับอุตราภิมุข ไปยังสถานีห้าแยกลาดพร้าว ตามด้วยการเปิดให้บริการในระยะที่ 2 จากห้าแยกลาดพร้าว-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และระยะที่ 3 ตั้งแต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – วัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และเปิดใช้งานทั้งโครงการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563

ทั้งนี้ ที่ตั้งของสถานีหมอชิต ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการคมนาคมระบบรางแห่งใหม่ของประเทศไทย โดยได้มีแผนที่จะก่อสร้างโมโนเรล และรถโดยสารด่วนพิเศษ ออกมาจากสถานีกลางบางซื่อ เพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารรอบ ๆ ศูนย์คมนาคม ตลอดจนสถานีหมอชิต เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงและระบบรถไฟความเร็วสูงให้เข้าถึงรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นหนึ่งในสายหลักที่จะเข้าสู่ย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศได้อย่างรวดเร็ว

แผนผังสถานี แก้

U3
ชานชาลา
- ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (สะพานควาย)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (ห้าแยกลาดพร้าว)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร,
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถ Park & Ride,
สวนจตุจักร, ตลาดนัดสวนจตุจักร, กรมการขนส่งทางบก
ทางเดินเชื่อม   สวนจตุจักร

เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีคูคตและสถานีหมอชิต รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีหมอชิต จะใช้ชานชาลาที่ 2 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีคูคตจะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถไฟฟ้าขบวนถัดไปที่ชานชาลาเดิม

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา

สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีส้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินใต้

ทางเข้า-ออก แก้

  • 1 สวนจตุจักร, ป้ายรถประจำทางไปห้าแยกลาดพร้าว, ตลาดนัดจตุจักร
  • 2 ป้ายรถประจำทางไปสะพานควาย, สถาบันการบินพลเรือน, กรมการขนส่งทางบก
  • 3 สวนจตุจักร, ป้ายรถประจำทางไปห้าแยกลาดพร้าว (บันไดเลื่อนปรับขึ้นช่วงเช้า และเลื่อนลงช่วงเย็น)
  • 4 ป้ายรถประจำทางไปสะพานควายและสถานีขนส่งจตุจักร, ลานจอดรถ, อาคารบีทีเอส (บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)), ซอยเฉยพ่วง (บันไดเลื่อนขึ้น)
  • ทางเดินลอยฟ้า เชื่อมต่อคอนโด เดอะไลน์ จตุจักร-หมอชิต (ลิฟต์), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท นอร์ทเทิร์นบางกอกโมโนเรล จำกัด, บริษัท อีสเทิร์นบางกอกโมโนเรล จำกัด, ธนาคารทหารไทยธนชาต สำนักงานใหญ่, อาคารเอส โอเอซิส ของ สิงห์ เอสเตท, โครงการหมอชิตคอมเพล็กซ์ (กำลังก่อสร้าง)
  • ทุกช่องทางสามารถเชื่อมต่อ   สวนจตุจักร

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออกที่ 2 หลังป้ายรถเมล์ข้างลิฟต์ของสถานีสวนจตุจักรของรถไฟฟ้ามหานคร

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[2]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.15 23.46
E15 สำโรง 00.00
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.57 00.16
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.29

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

  1. ลิฟต์ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา
  2. ลานจอดรถขนาดใหญ่ บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (สถานีขนส่งหมอชิตเดิม)

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง แก้

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า ห้าแยกลาดพร้าว รถขสมก. สาย 3 ปอ.8 26 34 39 59 63 77 96 134 136 138 145 502 503 510 517 A1 A2 รถเอกชน สาย 8 28 44 52 104 122 524 1-1(29) 1-3(34) 1-5(39) 2-17 2-34 4-29E(529) Y70E

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า หมอชิต 2 รถขสมก. สาย 96 134 136 138 145 517 A1 รถเอกชน สาย 52 104 122 4-29E(529) Y70E

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า สะพานควาย รถขสมก. สาย สาย 3 ปอ.8 26 34 39 59 63 77 502 503 509 510 A2 รถเอกชน 8 28 44 524 1-3(34) 1-5(39) 2-17 2-34 3-45(77) Y70E

บริการ สถานี/ป้ายหยุดรถ สายทาง
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน   สวนจตุจักร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รถโดยสารประจำทาง   สวนจตุจักร ช่วงเวลาปกติ

 A1   A2   3   8   26   27   28   34   39   44   52   59   63   77   90   96   104   122   134   136   138   145   502   503   509   510   517   524   Y70E   1-1 (29)   1-3 (34)   1-5 (39)   2-17   2-34   2-38 (8)   2-42 (44)   2-48 (122)   3-45 (77)   4-29E (529) 


กะสว่าง
 3   29   34   59   63   134   145 

รถชัตเติลบัส   สวนจตุจักร เชื่อมต่อไปยัง ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
3 8
(กปด.33)
  สถานีรถไฟกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คลองสาน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
3 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
26 2
(กปด.13)
  อู่มีนบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
26   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV
34 1
(กปด.13)
  อู่รังสิต สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
39 1
(กปด.13)
  อู่ธรรมศาสตร์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
59 1
(กปด.33)
  อู่รังสิต สนามหลวง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
59 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
63 7
(กปด.33)
  MRT พระนั่งเกล้า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
63 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
77 4
(กปด.33)
  อู่สาธุประดิษฐ์   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
77 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
96 2
(กปด.33)
  อู่มีนบุรี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
134 7
(กปด.33)
  อู่บัวทองเคหะ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีมน้ำเงิน
136 4
(กปด.33)
  อู่คลองเตย   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
138   5
(กปด.13)
  อู่ราชประชา   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
  ท่านํ้าพระประแดง
145 2
(กปด.13)
  อู่แพรกษาบ่อดิน   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
145   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
502 2
(กปด.13)
  อู่มีนบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีมน้ำเงิน
503 1
(กปด.13)
  อู่รังสิต สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
510 1
(กปด.13)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
A1 1
(กปด.13)
  ท่าอากาศยานดอนเมือง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
A2 1
(กปด.13)
 ท่าอากาศยานดอนเมือง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
4-70E 6
(กปด.13)
เซ็นทรัลศาลายา  

BTS หมอชิต

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
8 แฮปปี้แลนด์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีชมพู
รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีครีมขาว-นํ้าเงิน
บจก.กลุ่ม 39 เดินรถ
บจก.ทรัพย์ 888
8 (2-38)   แฮปปี้แลนด์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
28 (4-38)   มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) บจก.สมารท์บัส
29 (1-1)   บางเขน หัวลำโพง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) บจก.สมารท์บัส
34 (1-3)   บางเขน หัวลำโพง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
39 (1-5)   รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
44 (2-42)   เคหะคลองจั่น ท่าเตียน รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
52 (1-6)   ปากเกร็ด สถานีขนส่งผู้โดยสารจตุจักร (หมอชิต 2) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) บจก.สมารท์บัส
90 (1-27)   ปทุมธานี  BTS หมอชิต รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) บจก.กิตติสุนทร
104   ปากเกร็ด สถานีขนส่งผู้โดยสารจตุจักร (หมอชิต 2) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) บจก.สมารท์บัส
122 (2-48)   แฮปปี้แลนด์ สถานีขนส่งผู้โดยสารจตุจักร (หมอชิต 2) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) บจก.สมารท์บัส
524   สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน) หลักสี่ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) บจก.สมารท์บัส
529 (4-28)   แสมดำ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
2-17   วงกลม: สถานีบางซื่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
2-34   วงกลม: สถานีสามเสน ดินแดง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
3-54   ตลาดพลู อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
3-55   ท่าเรือคลองเตย พระราม 7 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

 
ทางออกฝั่งสวนจตุจักร

อ้างอิง แก้

  1. Into Asia - Sukhumvit Line Stations http://www.into-asia.com/bangkok/skytrain/sukhumvit.php เก็บถาวร 2015-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.