สถานีสยาม (อังกฤษ: Siam station; รหัส: CEN) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางระหว่างสายสุขุมวิทกับสายสีลม ยกระดับเหนือถนนพระรามที่ 1 ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

สยาม
CEN

Siam
สถานีสยาม มุมมองจากชั้น 4 สยามพารากอน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′44.23″N 100°32′3.22″E / 13.7456194°N 100.5342278°E / 13.7456194; 100.5342278
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง4
การเชื่อมต่อ รถโดยสารประจำทาง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีCEN
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 25 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25646,160,924
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ราชเทวี
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท ชิดลม
มุ่งหน้า เคหะฯ
สนามกีฬาแห่งชาติ
สถานีปลายทาง
สายสีลม ราชดำริ
มุ่งหน้า บางหว้า
สถานีก่อนหน้า   เรือโดยสารคลองแสนแสบ   สถานีต่อไป
ท่าประตูน้ำ
มุ่งหน้า ท่าวัดศรีบุญเรือง
  สายประตูน้ำ - ผ่านฟ้าลีลาศ
เชื่อมต่อที่ ท่าสะพานหัวช้าง
  ท่าสะพานเจริญผล
มุ่งหน้า ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
สถานีก่อนหน้า   รถโดยสารประจำทาง   สถานีต่อไป
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มุ่งหน้า สถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู ผ่านบางลำพู-สยาม
  สาย 15
เชื่อมต่อที่ ป้าย สยามเซ๊นเตอร์ และป้าย สยามสแควร์
  วัดปทุมวนาราม
มุ่งหน้า สถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู ผ่านสยาม-บางลำพู
แยกเฉลิมเผ่า
มุ่งหน้า ท่าเรือปากเกร็ต
  สาย 16
เชื่อมต่อที่ ป้าย สยามเซ๊นเตอร์ และป้าย สยามสแควร์
  วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
มุ่งหน้า ท่าเรือสีพระยา
แยกเฉลิมเผ่า
มุ่งหน้า วัดคู่สร้าง
  สาย 21E
เชื่อมต่อที่ ป้ายสยามสแควร์
  โอสถศาลา
มุ่งหน้า วัดคู่สร้าง
แยกเฉลิมเผ่า
มุ่งหน้า ท่าเรือพระประแดง
  สาย 37
เชื่อมต่อที่ ป้ายสยามสแควร์
  โอสถศาลา
มุ่งหน้า ท่าเรือพระประแดง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มุ่งหน้า ท่าช้าง
  สาย 48
เชื่อมต่อที่ ป้ายสยามเซ๊นเตอร์ และป้ายสยามสแควร์
  วัดปทุมวนาราม
มุ่งหน้า มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มุ่งหน้า อู่พระราม 9 ผ่านโบสถ์แม่พระ-สุทธิสาร
  สาย 54
เชื่อมต่อที่ ป้ายสยามเซ๊นเตอร์ และป้ายสยามสแควร์
  วัดปทุมวนาราม
มุ่งหน้า อู่พระราม 9 ผ่านสุทธิสาร-โบสถ์แม่พระ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง

แก้

สถานีตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1 ใจกลางย่านสยาม ระหว่างทางแยกปทุมวัน (จุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 1 กับถนนพญาไท) กับทางแยกเฉลิมเผ่า (จุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 1 กับถนนอังรีดูนังต์) หน้าศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน สยามพารากอน และสยามเซ็นเตอร์ ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี

แก้
U4
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (ราชเทวี)
ชานชาลาเกาะกลาง, สายสุขุมวิท ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
สายสีลม ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (สถานีปลายทาง)
U3
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (ชิดลม)
ชานชาลาเกาะกลาง, สายสุขุมวิท ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
สายสีลม ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (ราชดำริ)
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-6, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวบีทีเอส
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
สยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, สยามสแควร์วัน, เซ็นทรัลเวิลด์ - ราชประสงค์ สกายวอล์ก
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, สยามสแควร์
ศูนย์การค้าเซ็นทรัล สยามสแควร์, โรงแรมโนโวเทล, วัดปทุมวนาราม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โรงพยาบาลตำรวจ, คณะเภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รูปแบบของสถานี

แก้
 
ด้านข้างของสถานีสยาม
 
ทางเข้าสถานีสยาม จากลานพาร์ค พารากอน
 
ชานชาลาชั้นล่าง สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังสถานีเคหะฯ และสถานีบางหว้า (มุ่งหน้าไปยังทิศใต้และตะวันออก)
 
ชานชาลาชั้นบน สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังสถานีคูคตและสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (มุ่งหน้าไปยังทิศเหนือและตะวันตก)

เป็นสถานีแห่งแรกในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่เป็นแบบชานชาลาเกาะกลางและมีรถไฟฟ้าวิ่งอยู่ 2 ข้าง (ปัจจุบันในเส้นทางนี้มีอีกสามแห่งคือ สถานีสำโรง สถานีห้าแยกลาดพร้าว และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุของสายสุขุมวิท) การก่อสร้างสถานีเช่นนี้มีความยุ่งยากแต่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับการเปลี่ยนขบวนรถระหว่างสายสุขุมวิทกับสายสีลม และเนื่องจากต้องรองรับผู้โดยสารมากเป็นพิเศษ จึงมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสถานีมาตรฐาน กว้าง 21 เมตร ยาว 192 เมตร

ตัวสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นจำหน่ายตั๋ว, ชานชาลาชั้นล่างสำหรับขบวนรถมุ่งหน้าไปทางสถานีชิดลมและสถานีราชดำริ และชานชาลาชั้นบนสำหรับขบวนรถมุ่งหน้าไปทางสถานีราชเทวีและสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ซึ่งในปัจจุบันชั้นจำหน่ายตั๋วถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ทางออกที่ 3 ไปยังห้างสยามพารากอน และทางออกที่ 4 ไปยังป้ายรถประจำทางหน้าศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน สามารถเดินข้ามถนนถึงกันได้

สถานีสยามเป็นสถานีนำร่องในการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ซึ่งปัจจุบันได้ติดตั้งและเปิดใช้งานแล้วทุกชานชาลา[1]

โดยชั้นชานชาลาทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีการติดตั้งพัดลมเพดานขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนอากาศภายในสถานี

ทางเข้า-ออก

แก้

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (Sky Walk) ได้แก่

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 5 หน้าทางเข้าบางกอก ซี ไลฟ์ โอเชียนเวิลด์ และทางออก 3 บริเวณลานพาร์ค พารากอน

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[2]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.29 00.02
E15 สำโรง 00.15
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.43 00.02
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.15
สายสีลม[2]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า 05.31 00.15
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ 05.54 00.15

ทางเดินลอยฟ้า

แก้

สถานีสยามมีทางเดินเชื่อมใต้รางรถไฟฟ้าหรือทางเดินลอยฟ้า (skywalk) ขนาดกว้าง 7.5 เมตร ยาว 513 เมตร เชื่อมต่อกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, แยกราชประสงค์ และสถานีชิดลม โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนประมาณ 260 ล้านบาท เพื่อสร้างทางเชื่อมต่อโครงการเซ็นทรัลเวิลด์กับรถไฟฟ้าทั้ง 2 สถานี[3] มีจุดเริ่มต้นจากสะพานลอยสามแยกเฉลิมเผ่า (ทางออกที่ 6 ของสถานีสยาม) เชื่อมต่อกับสยามพารากอน, เซ็นทรัลเวิลด์, เกษรพลาซ่า, โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ, เอราวัณ บางกอก, อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า, อาคารมณียา เซ็นเตอร์ รวมถึง บิ๊กซี สาขาราชดำริ, เดอะ มาร์เก็ต แบงค็อก และเดอะ แพลตินั่ม แฟชั่นมอลล์ ทำให้ย่านสยามเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับแยกราชประสงค์ตลอดจนถึงแยกประตูน้ำ ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันมากขึ้น

ในอนาคตทางเดินลอยฟ้าแห่งนี้ จะเชื่อมต่อเข้ากับสถานีประตูน้ำ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่ตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรี บริเวณหน้าศูนย์การค้าเดอะ แพลตินั่ม แฟชั่นมอลล์ ทำให้สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปสายสีส้มได้จากสถานีสยาม และสถานีชิดลม โดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางที่สถานีราชเทวี

รถโดยสารประจำทาง

แก้

ถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าทางแยกราชประสงค์ รถ ขสมก. สาย 15 16 25 54 73 79 204 501 508 รถเอกชน สาย 40 48

ถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าทางแยกปทุมวัน รถ ขสมก. สาย 15 16 21 21E(4-7E) 25 54 73 141 204 501 508 รถเอกชน สาย 40 48

  ถนนพระรามที่ 1

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
15 (3)   BRT ราชพฤกษ์ บางลําภู 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
16 (2)   สถานีรถไฟกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สุรวงศ์
2-2 (16) (2)   ท่านํ้าปากเกร็ด   ท่านํ้าสี่พระยา
21 (1) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

3.รถโดยสารประจําทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถโดยสารประจําทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊ส) ตอนนี้ถูกตัดจอดทั้งหมด โดยไม่มีกําหนด
4-7E (21E)   (1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ทางด่วน) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) รถโดยสารประจําทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊ส) ตอนนี้ถูกตัดจอดทั้งหมด โดยไม่มีกําหนด
25 (3)   อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้าง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

54 (3)   วงกลม: อู่พระราม 9 ห้วยขวาง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (3)   อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
ตลาดห้วยขวาง
79 (2)   อู่บรมราชชนนี ราชประสงค์
141 (4-24E) (3)   อู่แสมดำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

รถโดยสารประจําทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊ส) ตอนนี้ถูกตัดจอดทั้งหมด โดยไม่มีกําหนด
204 (2-52)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ท่านํ้าราชวงศ์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ตลาดห้วยขวาง
501 (1)   อู่มีนบุรี สวนสยาม 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน

508 (2)   อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ท่าราชวรดิฐ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
40 (4-39)     BTS เอกมัย   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
48 (3-11)   ม.รามคำแหง 2 วัดโพธิ์
2-34   วงกลม: สถานีสามเสน ดินแดง บจก.ไทยสมายล์บัส
  • CU POP BUS สาย 1 (ศาลาพระเกี้ยว - BTS สยาม) (เดินรถเฉพาะวนซ้าย) / สาย 4 (ศาลาพระเกี้ยว - BTS สยาม - คณะครุศาสตร์)

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "BTS stations to get platform doors". Bangkok Post. 17 September 2012. สืบค้นเมื่อ 17 September 2012.
  2. 2.0 2.1 "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  3. "ผู้จัดการออนไลน์ 30 กันยายน 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้