สถานีราชดำริ
สถานีราชดำริ (อังกฤษ: Ratchadamri station; รหัส: S1) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม ยกระดับเหนือถนนราชดำริในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ราชดำริ S1 Ratchadamri | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
![]() | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนราชดำริ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°44′21.09″N 100°32′21.87″E / 13.7391917°N 100.5394083°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ | มีบริการ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | S1 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 525,739 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
ที่ตั้ง
แก้สถานีราชดำริตั้งอยู่เหนือถนนราชดำริ ระหว่างทางแยกราชดำริ (ซึ่งเป็นจุดบรรจบกับถนนสารสิน) กับทางแยกราชประสงค์ (ซึ่งเป็นจุดบรรจบกับถนนพระรามที่ 1) ในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บริเวณรอบสถานีเป็นย่านอาคารสำนักงานและเป็นแหล่งที่พักอาศัยซึ่งสงบและมีระดับ จากบนสถานีสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงาม เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ด้านหลังสนามม้าราชกรีฑาสโมสร ในตำแหน่งตรงกับอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ และหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเขตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่อยู่ห่างออกไป และยังอยู่ไม่ไกลจากสวนลุมพินีซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานคร
แผนผังสถานี
แก้U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 3 | สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (ศาลาแดง) | |
ชานชาลา 4 | สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (สยาม) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา ในพระบรมราชูปถัมภ์ (เอ.ยู.เอ.) โรงแรมอนันตรา กรุงเทพ สยาม, คลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย |
เนื่องมาจากระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส มีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ตั้งอยู่บริเวณสายสุขุมวิททั้งหมด ทำให้การให้บริการในสายสีลมจะต้องมีการป้อนขบวนรถเข้าสายสีลมโดยการสับรางก่อนเข้าสถานีสยามในช่วงเวลาก่อนช่วงเวลาเร่งด่วนของวันจันทร์-ศุกร์ ได้แก่ 07.00-08.00 น. และ 15.00-16.00 น. อยู่เสมอ และเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลาเร่งด่วน ก็จะมีการถอนขบวนรถออกจากสายสีลมเพื่อกลับสู่สายสุขุมวิทด้วยเช่นกัน รถไฟฟ้าขบวนที่จะให้บริการในสายสุขุมวิท จะใช้ชานชาลาที่ 4 เป็นชานชาลาสุดท้ายในการส่งผู้โดยสารสำหรับสายสีลม และเมื่อเข้าสู่สถานีสยาม ขบวนรถจะสลับรางเข้าชานชาลาที่ 2 และให้บริการต่อไปในสายสุขุมวิทตามปกติ ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ จะต้องออกจากขบวนรถทั้งหมด แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาที่ 4 ฝั่งตรงข้าม ณ สถานีสยาม
รูปแบบของสถานี
แก้เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา สถานีนี้เป็นสถานีแรกที่มีการติดตั้งจอภาพผลึกเหลวขนาดใหญ่ตรงบริเวณขอบชานชาลา
ทางเข้า-ออก
แก้- 1 ตรงข้ามซอยมหาดเล็กหลวง 3, ป้ายรถประจำทางไปราชประสงค์
- 2 ซอยมหาดเล็กหลวง 3, (บันไดเลื่อน)
- 3 ตรงข้ามซอยมหาดเล็กหลวง 2, โรงพยาบาลตำรวจ
- 4 ซอยมหาดเล็กหลวง 2, โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ, ป้ายรถประจำทางไปสวนลุมพินี (ลิฟต์)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 หลังบ้านพักเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา
เวลาให้บริการ
แก้ปลายทาง | ขบวนรถ | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสีลม[1] | ||||||
ชานชาลาที่ 3 | ||||||
S12 | บางหว้า | เต็มระยะ | 05.34 | 00.17 | ||
ชานชาลาที่ 4 | ||||||
W1 | สนามกีฬาแห่งชาติ | เต็มระยะ | 05.51 | 00.11 | ||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท | – | 23.56 |
เหตุการณ์สำคัญ
แก้ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สถานีราชดำริได้ถูกลอบวางเพลิงทำลายชั้นบันได และบันไดเลื่อนของสถานี รวมถึงได้มีการบุกเข้าปล้นทรัพย์สินในส่วนของสำนักงานของสถานี ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว บีทีเอสซีในฐานะเจ้าของสัมปทานจึงได้ลงตรวจสอบพื้นที่ทุกสถานี ที่อยู่ในเขตบริเวณการชุมนุม พบว่าสถานีเสียหายหนักถึง 4 สถานี คือสถานีราชดำริ เพลิงไหม้บริเวณบันไดเลื่อนและบันไดขึ้นสถานี ส่วนสำนักงานถูกทุบทำลายและทรัพย์สินบางส่วนถูกปล้น, สถานีศาลาแดง เสียหายจากการที่ถูกยิงระเบิด M79 เข้าใส่ และจากเหตุการณ์เดียวกัน ทำให้ขบวนรถไฟฟ้าเสียหาย 1 ขบวน, สถานีชิดลม ระบบอาณัตสัญญาณเสียหาย จากเขม่าควันจากการเผายาง และมีการรื้อค้นทรัพย์สินในส่วนสำนักงาน และสถานีสยาม ห้องควบคุมระบบปั๊มน้ำเสียหาย คิดมูลค่ารวมในการซ่อมแซมสูงถึง 180 ล้านบาท ซึ่งก็ได้ลงบันทึกแจ้งความกับกลุ่มผู้ชุมนุมไว้เรียบร้อยแล้ว
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวพบว่า สถานีที่เสียหายหนักทั้ง 4 สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติทั้งหมด ยกเว้นสถานีราชดำริสถานีเดียวที่ต้องมีการซ่อมแซมสถานีใหม่ทั้งหมด บีทีเอสซีจึงวางระบบให้ขบวนรถไฟฟ้าวิ่งผ่านสถานีราชดำริชั่วคราวจนกว่าการซ่อมแซมสถานีจะเสร็จสิ้น
รถโดยสารประจำทาง
แก้ถนนราชดำริ
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ผู้ให้บริการ | ประเภทของรถที่ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
13 (3-38) (1) | อู่คลองเตย | ตลาดปัฐวิกรณ์ | ขสมก. | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | เดินรถฝั่งขาออกเท่านั้น |
15 (4-2) (2) | วงกลม: BRT ราชพฤกษ์ | สยาม | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
76 (4-14) (3) | อู่แสมดำ | ประตูน้ำ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
||
514 (1-54) (1) | อู่มีนบุรี | สวนลุมพินี | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) | ||
A3 (1) | ท่าอากาศยานดอนเมือง | สวนลุมพินี | 1..รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) | ||
4-35 (2) | วงกลม: คลองสาน | เทเวศร์ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง |
ถนนราชดำริ | |||
---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | |||
13 | ห้วยขวาง | คลองเตย | เดินรถฝั่งขาออกเท่านั้น |
15 | อู่กัลปพฤกษ์ | บางลำพู | |
76 | แสมดำ | ประตูน้ำ | เดินรถฝั่งขาออกเท่านั้น |
77 | เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 | หมอชิต 2 | |
505 | ปากเกร็ด | สวนลุมพินี | |
514 | มีนบุรี | สีลม | |
A3 | สนามบินดอนเมือง | สวนลุมพินี | |
รถเอกชนร่วมบริการ | |||
14 | ศรีย่าน | โรงเรียนนนทรีวิทยา | |
74 | ห้วยขวาง | คลองเตย | |
504 | รังสิต | สะพานกรุงเทพ |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้- สวนลุมพินี
- คลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน
แก้- อาคารรีเจนท์เฮ้าส์
- อาคารเอสจี
โรงแรมและอาคารที่พักอาศัย
แก้- โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ (โรงแรมโฟร์ซีซันส์ เดิม)
- โรงแรมเซนต์รีจิส และเซนต์รีจิสเรซซิเดนซ์
- โรงแรมคอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพฯ
- โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ
- แมกโนเลียส์ ราชดำริ บูลเลอร์วาร์ด และโรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพ
- โรงแรมหรรษา กรุงเทพ
- โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์ พอยท์ ราชดำริ
- โรงแรมดุสิต สวีท ราชดำริ (ชื่อเดิม: โรงแรมอนันตรา บ้านราชประสงค์ เซอร์วิส สวีท)
อ้างอิง
แก้- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.